ธุรกิจพระเครื่องเมืองไทย มูลค่าสองหมื่นล้านบาท
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 04:09:28 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธุรกิจพระเครื่องเมืองไทย มูลค่าสองหมื่นล้านบาท  (อ่าน 3865 ครั้ง)
sunshine music
สนับสนุนLSV-server
member
***

คะแนน199
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 224

จริงใจไม่จิงโจ้


« เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 03:00:46 pm »



         ครั้งนี้ก็ถึงคราวเตรียมมีดปังตอ ....ผ่าธุรกิจพระเครื่องเมืองไทยมูลค่าสองหมื่นล้านบาท ออกมาดูกันให้หายสงสัยว่า.....อะไรกันหนอถึงได้ระเบิดเถิดเทิงกันเพียงนี้  ข้อมูลหลักก็ต้องให้เครดิตกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ เพราะปกติวงการพระเครื่องออกดูเหมือนอยู่ “นอกวงธุรกิจ” ที่สำนักวิจัยใหญ่ ๆ มักมองข้ามไป  แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสามารถรายงานออกมาได้ชัดเจนเป็นระบบก็ต้องขอปรบมือให้.........

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพระเครื่องแยกเป็นดังนี้

1.ธุรกิจการสร้างพระ

         ในกระบวนการสร้างพระเครื่องนั้นต้นทุนการผลิตแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุมวลสาร ปริมาณการสร้างแต่ละครั้ง วิธีการสร้าง ขนาดของพระเครื่องที่จะสร้าง การประกอบพิธีพุทธาภิเษก และการโฆษณาประชาสัมพันธ์การสร้างพระเครื่องในแต่ละรุ่น กล่าวคือ การสร้างพระเครื่องนั้นจะแยกเป็นเนื้อผง และเนื้อโลหะ โดยแยกรายละเอียดของต้นทุนการสร้างพระโดยสังเขป ดังนี้

- การสร้างพระเครื่องเนื้อผง

         ค่าแกะบล็อคแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังสำหรับเป็นแบบพิมพ์ กด หรือปั๊มพระเครื่องประมาณ 4,000 บาท อัตรานี้ขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างด้วย โดยถ้าเป็นช่างฝีมือดีมีชื่อเสียง  ราคาค่าแกะบล๊อกจะสูงขึ้นเป็น 5,000 - 6,000 บาท บางรายถึงหลักหมื่น   บวกกับค่าเนื้อพระรวมทั้งค่าจ้างแรงงานสำหรับพระเครื่อง ทุกขนาด 3 บาท - 7 บาทต่อองค์ ซึ่งอัตราต้นทุนที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น ถ้าใช้เนื้อวัสดุ หรือมวลสารที่หายากหรือเป็นที่นิยมราคาที่ให้บูชาก็จะสูงขึ้นอีก หรือมีการทำพิมพ์พิเศษ เช่น ฝังตะกรุด  โรยผงตะใบ  ปิดทอง  ก็จะมีสนนราคาเพิ่มขึ้น 

-การสร้างพระเครื่องเนื้อโลหะ

         ต้นทุนค่าบล๊อกประมาณ 5,000 - 7,000 บาททั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝีมือการแกะบล๊อกของช่างเช่นเดียวกับพระเนื้อผง ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆขึ้นอยู่กับเทคนิคการสร้างกล่าวคือ ถ้าเป็นการสร้างแบบปั๊มสำหรับเนื้อทองแดงขนาดใบมะขามต้นทุนประมาณ 2 - 3 บาทต่อองค์ เนื้อนวะโลหะ (โลหะธาตุ 9 ชนิด อาทิ ทองแดง  เงินและทองคำ) ต้นทุนประมาณ 10 – 20  บาทต่อองค์ เนื้อเงินต้นทุนประมาณ 90 – 120  บาทต่อองค์ ส่วนเนื้อทองคำนั้นแล้วแต่น้ำหนักของพระเครื่อง ทั้งนี้ต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนส่วนต่างๆ โดยเฉพาะประเภทของเนื้อโลหะที่ใช้และลักษณะการสร้าง

         การสร้างแบบเหรียญ ต้นทุนค่าบล็อคจะเท่าๆกับการสร้างแบบพระเนื้อผง ซึ่งต้นทุนเฉลี่ยต่อเหรียญสำหรับเนื้อทองแดงประมาณ 3 - 5 บาท การสร้างแบบหล่อ ถ้าใช้เทคนิคการหล่อแบบเก่าหรือที่เรียกกันว่าเทมือหล่อโบราณ  หรือแบบเบ้าทุบนั้นราคาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเป็นการหล่อแบบใด

         พระเครื่อง องค์เดียวหรือที่เรียกว่าช่อเดี่ยว และการหล่อแบบได้พระเครื่องหลายองค์ต่อการเทแบบแต่ละครั้ง ต้นทุนจะตกประมาณ 700 - 800 บาทต่อองค์ ส่วนถ้ามีการใช้เทคนิคการหล่อแบบสมัยใหม่หรือที่เรียกกันว่าหล่อเหวี่ยงหรือแบบฉีด ต้นทุนสำหรับพระกริ่งตกประมาณ 200 บาทต่อองค์สำหรับเนื้อโลหะทั่วๆไป

         จะสังเกตเห็นได้ว่าต้นทุนในการสร้างพระ นั้นไม่ได้สูง แต่เมื่อเทียบกับราคาพระเครื่อง ในท้องตลาดแล้วแตกต่างกันอย่างมากกล่าวคือ พระเครื่องเนื้อทองแดงสำหรับปรกใบมะขามราคาสูงถึง 20-30 บาทต่อองค์ เนื้อนวโลหะราคาสูงกว่า 100 บาทต่อองค์ เนื้อเงิน 300 -  500  บาทต่อองค์ เนื้อทองคำราคา 4,000 – 8,000  บาทต่อองค์ (เนื้อทองคำประมาณ 2 – 4  กรัมต่อองค์ ซึ่งคิดราคาทองที่บาทละ 9,500 บาท โดยทองคำ 1 บาท น้ำหนัก 15.2 กรัม) พระเครื่องที่เป็นเหรียญราคา 50 บาทขึ้นไป พระเครื่องเนื้อโลหะที่หล่อแบบโบราณราคา 2,000-3,000 บาทขึ้นไป

         ส่วนพระเครื่องเนื้อโลหะที่หล่อแบบเทคนิคใหม่ราคา 1,500 -2,000 บาทขึ้นไป ซึ่งราคาดังกล่าวนี้เป็นราคาทั่วๆไป ยังไม่ได้รวมในกรณีที่พระเครื่องรุ่นนั้นเกิดเป็นที่นิยมราคาจะพุ่งขึ้นอีกหลายเท่าตัว ดังนั้นธุรกิจรับสร้างพระนั้นนับว่าเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรหลายเท่าตัว

อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายของธุรกิจสร้างพระ นั้นต้นทุนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ต้นทุนค่าสร้างพระ เท่านั้น ค่าใช้จ่ายส่วนที่สำคัญคือ

- ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก

         ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบพิธีที่จัด กล่าวคือ ถ้าเป็นพิธีโบราณเต็มรูปแบบนั้นต้องมีพระระดับเกจิอาจารย์เจ้าของพระเครื่องชุดนั้น 1 รูป พระเกจิอาจารย์นั่งปรก 4 ทิศ พระระดับทั่วไปอีก 32 รูป และพระ สำหรับสวดชัยมงคลคาถาอีก 108 รูป ซึ่งค่านิมนต์พระระดับเกจิอาจารย์นั้นสูงถึงประมาณ 5,000 - 20,000 บาทต่อรูป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางและชื่อเสียงของพระเกจิอาจารย์นั้นๆ และค่านิมนต์พระ ทั่วๆไปประมาณ 1,000 บาทต่อรูป นอกจากนี้ยังต้องมีค่าเครื่องบวงสรวงประเภทบายศรี หัวหมู ขนมต้มแดงต้มขาว ผลไม้และอื่นๆ ตกประมาณ 10,000 บาท และค่าใช้จ่ายสำหรับพราหมณ์ในการประกอบพิธี

         การสร้างพระ ในปัจจุบันไม่ค่อยมีการทำพิธีเต็มรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นการประกอบพิธีแบบจัดสร้างโดยปลุกเสกเดี่ยว กล่าวคือ มีพระเกจิอาจารย์เพียงรูปเดียว และพระทั่วๆไปอีกเท่าใดก็ได้แต่ต้องเป็นจำนวนคี่ ทำให้ค่าใช้จ่ายในขั้นตอนนี้เหลือเพียง 1 ใน 10 เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการทำพิธีแบบโบราณ  อย่างไรก็ตาม วิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สำหรับผู้สร้างพระ ที่สร้างจำนวนไม่มากนัก คือ การขอนำพระเข้าพิธีพุทธาภิเษกร่วมกับผู้สร้างรายอื่นๆ ซึ่งทางวัดจะคิดค่าใช้จ่ายตามน้ำหนัก โดยส่วนใหญ่จะตกประมาณกิโลกรัมละ 500 บาท แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

- ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์

         ค่าใช้จ่ายส่วนนี้นับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่หรือกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งโดยปกติในการสร้างพระเครื่องแต่ละครั้งจะมีการตั้งงบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ประมาณ 300,000 - 400,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีวิธีการจ่ายใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ จ่ายเป็นเงิน หรือจ่ายเป็นพระเครื่อง ซึ่งในกรณีที่จ่ายเป็นพระเครื่องนั้นจะมีการคิดราคาพระเครื่องครึ่งราคาของราคาที่ให้เช่า

         แต่บางรายก็กล้าทุ่มกันเป็นล้าน หรือหลาย ๆ ล้าน ทำโบร์ชัวร์สี่สีสวยสดงดงาม  ลงแอดโฆษณาในนิตยสารพระเครื่อง  นสพ.รายวัน ยิงสปอตวิทยุทีวี เว็บไซต์ก็มีให้เห็นเหมือนกัน  เรียกว่ามีการนำหลักการตลาดสมัยใหม่  การสร้างแบนด์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

         กระบวนการสร้างพระเครื่องนั้นอาจดำเนินการโดยคณะกรรมการวัดเอง หรือคณะกรรมการที่เป็นคนภายนอกวัดที่อาสาเข้ามารับการจัดสร้างพระเครื่อง โดยอาจแบ่งผลประโยชน์ส่วนหนึ่งเป็นค่าดำเนินการ ซึ่งการจัดสร้างพระเครื่องโดยการดำเนินการของคณะกรรมการวัดมักประสบปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องมีการจ่ายล่วงหน้า   ส่วนการสร้างพระเครื่องที่ดำเนินการโดยคนนอกนั้นอัตราเสี่ยงของวัดนั้นไม่มี เนื่องจากผู้จัดสร้าง( นักลงทุน ) เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

         ดังนั้นหากการจัดสร้างไม่ประสบผลสำเร็จผู้จัดสร้างจะเป็นผู้แบกรับภาระขาดทุนทั้งหมด โดยมากการแบ่งผลประโยชน์จะอยู่ในอัตราที่ตกลงกัน เช่น วัดร้อยละ 60 และคณะกรรมการที่ดำเนินการจัดสร้าง( นักลงทุน )  ร้อยละ 40 หรือคนละครึ่ง ( วัดครึ่งหนึ่ง  กรรมการครึ่งหนึ่ง ) หรือแบ่งพระเครื่องไปจำหน่ายตามสัดส่วนผลประโยชน์ที่ตกลงกันไว้ แต่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ร่วมกัน
.itti-patihan.com


บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 03:55:04 pm »

เพื่อนผมวันๆไม่ยอมซ่อมทีวี (ไม่ยอมทำมาหากิน)

มัวแต่ปั๊มพระ และก็ปั๊มพระ 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!