@@พระนางพญา@@
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 12:18:08 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: @@พระนางพญา@@  (อ่าน 83286 ครั้ง)
maxmusic
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 171


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2007, 04:47:16 pm »

ท่านผู้รู้ครับ ช่วยดูช่วยวิจารณ์หน่อยครับ


บันทึกการเข้า

maxmusic
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 171


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2007, 06:24:32 pm »

@พอดีอ่านเจอประวัติ พระนางพญา  @    ตำนานพระเครื่องชุด เบญจภาคี เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของพระนางพญาพระเครื่องสำคัญ ในชุดเบญจภาคีโดยเฉพาะจุดประสงค์ของผู้เขียนต้องการเสนอข้อมูลทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญาว่ามีประวัติและความเป็นมาอย่าง ไร มีหลักเกณฑ์ในการดูอย่างไร เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะมุ่งเน้นเรื่อง ราวและประวัติความเป็นการสร้างและแนะนำวิธีการดูลักษณะตลอดทั้งนำภาพมาประกอบให้ดูรูปทรงและศิลปะการสร้างพระสมเด็จนางพญามากมาย ที่มา ของพระชุดเบญจภาคี มีดังนี้ เบญจ แปลว่า ๕ ภาคี แปลว่า ผู้มีส่วนร่วม การนำพระเครื่องสำคัญๆ ๕ องค์ มารวมกันเป็นชุดจึงเรียกว่า เบญจภาคี
ชุดที่ ๑ ได้แก่พระเครื่องสำคัญๆดังนี้
พระสมเด็จวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพฯ
พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี
พระรอดวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน
พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร

ชุดที่ ๒ ได้แก่สิ่งศักดิ์สิทธ์ ๕ สมัย
สมัยทราวดี ( พระรอด )
สมัยอู่ทอง ( พระผงสุพรรณ )
สมัยสุโขทัย ( พระซุ้มกอ )
สมัยอยุธยา ( พระนางพญา )
สมัยรัตนโกสินทร์ ( พระสมเด็จวัดระฆัง )

               จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นพระราชธิดา ท้าวศรี สุริโยทัย และเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สร้างวัดราชบูรณะ คือพระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระ หว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงมีการสร้างพระเครื่องมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบ พระเครื่องรุ่นแรกๆจะมีรูปทรงและองค์พระไม่สวย งาม การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอก เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงของสงครามถูกพม่ารุกราน จึงทำกันอย่างรีบร้อนทำให้บางองค์ไม่ได้ตัดแบ่งแยกออกจากกันก็มี คือ ยังติดกันเป็นแผงสามองค์

หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ
เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้าง พระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน

               พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี ๖ พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก
ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหา นิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น ปลุก เสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
          มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามาจัดเข้าชุด เบญจภาคี พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ

               ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระสมเด็จนางพญามีดังนี้ 1. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน 2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง 3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด 4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์ 5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน 6. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม 7. ว่าน 108 มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน 8. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์ 9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล 10. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง

ลักษณะพระสมเด็จนางพญามีดังนี้

ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดองค์พระแยกออกจากกัน ด้านหลังบางองค์จะมีลายนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่ บางองค์ไม่มีลายนิ้ว มือปรากฏแต่อย่างไร แต่ก็สังเกตเม็ดผดปรากฏนูนขึ้นมาให้สัมผัสได้

สีขององค์พระมีดังนี้ คือ ๑. สีตับเป็ด ๒. สีดอกพิกุลแห้ง ๓. สีอิฐ ๔. สีแดง ๕. สีหัวไพลแห้ง
                                     ๖. สีขมิ้นชัน ๗. สีเขียวมะกอกดิบ ๘. สีเขียวครกหิน ๙. สีดำ ๑๐. ดอกจำปี ๑๑. สีเขียว

เนื้อพระนางพญาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
     เนื้อละเอียดปนเนื้อหยาบ แก่ว่าน
     เนื้อหยาบ คล้ายพระผุ ไม่สวยงามน่าดูสักเท่าไหร่
     เนื้อแก่แร่ เนื้อพระชนิดนี้จะปรากฏมวลสารเม็ดใหญ่ๆโผล่ขึ้นมาให้เห็นชัดเจน
พระนางพญาที่สร้างขึ้นครั้งแรกจะมีรูปทรงไม่สวยงามน่าดูแต่อย่างใด
สร้างครั้งที่สองจึงมีรูปทรงสวยงามกว่าครั้งแรกมาก เพราะได้นำช่างหลวงมาช่วยแกะแม่พิมพ์

แม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์พระนางพญา
การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้งครูบาอาจารย์จะนิยมสร้าง 84.000 องค์เสมอ การจัดสร้างพระพิมพ์แต่ละครั้งจะมีแม่พิมพ์หลายอัน แม่พิมพ์แต่ละ อันพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ คือพิมพ์ออกมาติดกันสามองค์ แล้วนำมาตัดแยกออกด้วยตอก ส่วนต่างๆขององค์พระก็มีผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่สภาพยังคงอยู่ดังเดิม พระพิมพ์เดียวกันบางครั้งก็คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปได้ สภาพของดินที่นำมาสร้างพระก็มีส่วนทำให้การพิมพ์พระคลาดเคลื่อนพระพิมพ์เดียวกันบ้างครั้งก็คลาด เคลื่อนผิดเพี้ยนไปได้ เนื่องจากขณะที่พิมพ์พระลงไปในแม่พิมพ์ใหม่ๆดินยังสดและชื้น แต่พอนำไปเผาก็มีการหดตัวตามธรรมชาติทำให้รูปทรงต่างๆขององค์ พระผิดเพี้ยนไป เช่น เบี้ยวไปบ้าง ยาวไปบ้าง งอบ้าง แอ่นไปบ้าง ขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของไฟที่เผา เซียนพระมักจะสรุปหาว่าผิดพิมพ์บ้าง พระเก๊บ้าง ขนาด เซียนยังลงความเห็นพระแท้พระจริงเป็นพระผิดพิมพ์ พระเก๊ ต่อไปภายหน้าพระแท้พระจริงก็จะหายไปจากวงการ คงเหลือไว้แต่พระนางพญาที่พระเกจิอา จารย์และเซียนสร้างขึ้นใหม่เท่านั้น แม้แต่พระนางพญารุ่นที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้างแจกจ่ายแก่ทหารที่ออกรบ ปัจจุบันยังมีสภาพเดิมๆและดูใหม่ เซียนพระก็ยังมองเป็นพระผิดพิมพ์และพระเก๊ไปแล้ว คงต้องปล่อยให้พระนางพญาแท้แสดงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ออกมาให้พิสูจน์ความเก่าแก่ของท่าน เองแล้ว ของจริงของแท้แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ก็ยังคงดำรงความเป็นของแท้และของจริงอยู่อย่างนั้นตลอดไป ของใหม่หรือของเก่ามองดูด้วยตา เปล่าก็น่าจะรู้และดูออกแล้ว เซียนเป็นใครอายุเท่าไหร่ เกิดก่อนคุณกี่ปี มีความรู้มาจากไหนควรนำมาพิจารณาด้วย คนไม่เคยไปอเมริกาสามารถอธิบายลักษณะ เมือง LA จากการดูรูปถ่ายและฟังคำบอกเล่าของผู้อื่นได้ถูกต้องฉันใด การอธิบายลักษณะพระเครื่องเก่าแก่โดยไม่เคยเห็นมาก่อนก็มีได้ฉันนั้น ส่วนจะถูกต้อง หรือไม่คิดกันเอาเองก็แล้วกัน

พระกรุมี ๒ กลุ่มดังนี้
     กลุ่มที่ ๑ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไหโบราณปั้นด้วยดินเผา สี่หู
     กลุ่มที่ ๒ กลุ่มพระที่อยู่นอกภาชนะหรือไหดินเผา
สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสีและผิวของพระเครื่องอย่างมาก พระที่บรรจุในไหโบราณปั้นด้วยดินจะมีสีเขียวตากบหรือสีตับเป็ด ใกล้เคียงกับสีของพระผงสุพรรณ แต่การดูดซึมลึกลงไปในผิวมีน้อยมาก ทั้งนี้เกิดจากขบวนการของธรรมชาติ สภาพของพระเครื่องนางพญาที่บรรจุอยู่ในไหโบราณมีลักษณะสมบูรณ์คงสภาพเดิม คือไม่มีการชำรุดหรือแตกหักใดๆ ส่วนพระที่อยู่ภายนอกไหโบราณปั้นด้วยดิน จะถูกห่อหุ้มด้วยอิฐหินดินทรายและคราบใคร บางองค์จะปรากฏราดำ พระที่อยู่ ในความชื้นจะเกิดราดำ ตรงกันข้ามพระที่อยู่ในที่แห้งจะไม่มีราดำแต่อย่างไร โดยเฉพาะพระนางพญาที่ถูกนำไปแขวนสร้ายห้อยคอแล้วนานๆจะมีการแตกหักหรือ ไม่ก็สึกกร่อนจนแทบจะจำสภาพเดิมไม่ได้ก็มี
     นางหนูลูกสาวคนเล็กของปู่บุญคนเก่าคนแก่ที่อาศัยอยู่ใกล้วัดศรีมหาธาตุมาหลายชั่วอายุคนเล่าว่า ปู่บุญก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับแจกพระนางพญามาเก็บรัก ษาไว้เป็นไหๆเช่นกัน ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตท่านได้มอบไหบรรจุพระนางพญาให้แก่ลูกเขยสามีของพี่สาวชื่อ หมอบุญมี บุญไชยเดช ไปหมดแล้ว               

ปู่บุญท่านได้เขียนแนะนำวิธีดูพระกรุพระเก่าไว้ดังนี้ โดยเฉพาะพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
1. พระนางพญาแท้รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง รูปทรงขององค์พระจะมีลักษณะแข็งๆ หมายถึงมีรายละเอียดไม่มากและไม่สวยงามอ่อนช้อย เพราะพิมพ์ จากแม่พิมพ์ที่แกะจากไม้ โดยช่างฝีมือระดับชาวบ้านยังไม่มีศิลปะในการแกะแม่พิมพ์ให้ดูสวยงามมากนัก รูปทรงขององค์พระนางพญารุ่นแรกๆจึงมีลักษณะแข็งๆไม่ สวยงาม

2. พระนางพญาที่บรรจุอยู่ในกรุหรือไหดินเผา ถึงจะมีอายุเก่าแก่เป็นร้อยปีพันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์และคมชัดทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไม่ควรสึกกร่อน ใดๆปรากฏ เพราะไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน จะมีแต่คราบใครตลอดทั้งขี้กรุและราดำหรือเขียวตามธรรมชาติเท่านั้น

3. หากพบพระกรุหรือพระเก่า อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่ไม่มีคราบขี้กรุตลอดทั้งราดำหรือราเขียวๆปรากฏ ดูแล้วเหมือนกระเบื้องที่เพิ่งเอาออกจากเตาอบ ก็ให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นพระใหม่ ไม่ใช่พระกรุหรือพระเก่าแน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่พระกรุพระเก่ามีอายุเป็นร้อยปีพันปีจะไม่มีร่องลอยของคราบใครตลอดทั้งราดำหรือ ราเขียวปรากฏให้เห็นตามธรรมชาติ

4. พระนางพญาที่ผ่านการใช้งานมาแล้วควรจะมีสภาพสึกกร่อนทั้งด้านหน้าและด้านหลังคล้ายๆกัน หากพบว่าด้านหน้าสึกกร่อนจนแทบจำสภาพเดิมไม่ได้ แต่ด้านหลังยังอยู่ในสภาพดีมีลายนิ้วมือปรากฏนั่นแสดงว่าพระใหม่ไม่ใช่พระเก่าหรือพระกรุแน่นอน ในระหว่างการใช้งานด้านหลังย่อมถูไถไปมามากกว่าด้านหน้า ด้านหลังจึงควรจะมีการสึกกร่อนมากกว่าด้านหน้า เนื่องจากสมัยโบราณการแขวนสร้อยห้อยพระเครื่องจะนิยมถักด้วยลวดทองแดงเป็นตาข่ายไขว้ไปไขว้มา ยังไม่มี การใส่กรอบมิดชิดเหมือนสมัยปัจจุบัน

5. ดูความหนาแน่นของเนื้อพระ ถ้าเป็นพระเก่ามีอายุเป็นร้อยๆปีเนื้อดินหรือเนื้อปูนจะมีสภาพแน่นและแข็งแกร่งมากๆ หากมีมวลสารและส่วนผสมของผง ใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้มากๆ เนื้อพระเครื่องจะมีสภาพพรุนเหมือนดินผุๆมองเห็นแร่ธาตุต่างๆได้ชัดเจน ส่วนที่เป็นผงใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้ที่อยู่ ในองค์พระด่านนอกจะถูกเผาไม่เหลืออะไรไว้ให้เห็นนอกจากรูพรุนๆ บางองค์หักดูจะเห็นร่องรอยของเถ้าถ่านผงใบลานตลอดทั้งว่านและดอกไม้ ฝังอยู่ในเนื้อพระ เครื่องก็มี
หากใครจะนำพระเก่าหรือพระกรุที่มีสภาพสมบูรณ์คมชัดไปให้เซียนดู ก็ขอให้ทำใจไว้ล่วงหน้าเมื่อได้ยินเซียนท่านบอกว่าพระของคุณเป็นพระใหม่ไม่ถูกพิมพ์ ไม่ทราบเหมือนกันว่าไม่ถูกพิมพ์ของเซียนหรือว่าไม่ถูกพิมพ์ของวัดนางพญากันแน่ ส่วนมากเซียนท่านคุ้นเคยคุ้นตากับพระเครื่องที่มีสภาพสึกกร่อน พอมาเจอพระเครื่อง ที่คุณนำไปให้ดูมีสภาพคมชัดสมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ท่านก็เลยสรุปว่าพระที่คุณนำไปให้ดูเป็นพระใหม่บ้าง พระไม่ถูกพิมพ์บ้าง พระเก๊บ้าง

6. พระนางพญารุ่นที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจัดสร้าง ช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ พระนางพญายุคที่องค์สมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้สร้าง จึงมีรูปทรงองค์พระสวยงามอ่อนช้อย ความแน่นหนาของเนื้อดินและส่วนผสมที่นำมาสร้างไม่แน่นหนาและแข็งแกร่งเหมือนพระนางพญายุคที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง หากนำมาเทียบกันจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน

          ถึงเวลาที่นักนิยมพระเครื่อง จะได้เห็นและเป็นเจ้าของพระสมเด็จนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้างไว้สมัยกรุงศรีอยุธยา แท้ๆกันแล้ว หากใครลงความเห็นว่าพระนางพญา กรุวัดนางพญาที่นำมาให้ชมนี้ไม่ใช่พระนางพญาแท้ เป็นพระผิดพิมพ์ หรือพระใหม่ ขอได้โปรดหันไปพิจารณาอายุและ อาชีพดั้งเดิมของบุคคลผู้นั้นด้วยว่า มีความรู้สืบต่อกันมาอย่างไร เคยเห็นพระสมเด็จนางพญาแท้ๆกันมาก่อนหรือไม่ อย่าฟังเหตุผลและเรื่องเล่าจากคำพูดเท่านั้น ใช้สติและ พิจารณาหาเหตุผลด้วยต้นเองบ้าง อย่างน้อยดูสภาพความเก่าตลอดทั้งศิลปะของรูปทรงองค์พระและมวลสารต่างๆที่ควรจะมีปรากฏให้เห็น หากเป็นพระเก่าอยู่แต่ในกรุ ถึงจะ มีเวลาผ่านไปนานกี่พันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์ไร้ล่องรอยของการสึกกร่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะมีได้แค่คราบใคร ขี้กรุฝังอยู่ในเนื้อขององค์พระเท่านั้น

          การดูพระกรุ พระเก่าแก่ อายุเป็นร้อยๆปี ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ไหนถูกบรรจุในกรุอยู่ลึกๆ มีความอับชื้นมากย่อมมีคราบใคร ตกผลึก ฝังแน่นหนามากกว่า บางองค์เกาะกันเป็นแผ่นเหมือนสนิมเกาะโลหะเก่าๆ บางองค์ถูกบรรจุอยู่ในกรุตื้นๆความอับชื้นมีน้อย คราบใครตกผลึกที่องค์พระก็มีน้อยและ บางตามไปด้วย การดูพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระใหม่หรือพระเก่า จะดูตำหนิต่างๆเป็นเกณฑ์ตายตัวไม่ได้ การที่มีคนระบุตำหนิและตำแห่นงขององค์พระว่าจะต้องมีตำหนิ ตรงนั้น ตรงนี้ เป็นการชี้นำตำหนิและตำแหน่งพระเครื่องที่เขามีอยู่ หากมีคนสนใจต้องการพระเครื่องที่มีตำหนิและตำแหน่งดังกล่าวจริงๆก็หาเช่าที่ไหนไม่ได้นอกจากที่ตัว ของผู้ที่ชี้นำตำหนิและตำแหน่งเท่านั้น

          การดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัวจึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสินว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ พระพิมพ์เดียวกัน แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน โดยบุคคลคนเดี่ยว กันยังไม่เหมือนกัน การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ไร้ทั้งสาระและเหตุผล หากนำเครื่องมือทางวิท ยาศาสตร์มาตรวจดูก็จะรู้และประมาณความเก่าแก่ได้ดีกว่า การคาดเดาใดๆ ความเห็นที่นำมาเสนอนี้เป็นเพียงเหตุผลที่ควรจะเป็นเท่านั้น หากนำมาพิจารณาประกอบด้วยก็ จะช่วยทำให้ไม่ถูกหลอก ถูกต้มได้

          พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ที่ปู่บุญมอบให้หมอบุญมีไปนั้น ปัจจุบันทราบว่าได้ตกมาอยู่ในการครอบครองของอาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล ผู้เป็นลูกชายคนโตของหมอบุญมีทั้งหมดแล้ว

          หากใครอยากดูพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกแท้ๆ ก็ไปดูได้ที่มูลนิธิธรรมบันดาล 499/18 หมู่บ้านเฟื่องฟ้า แฮปปี้แลนด์ คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ หากยังไม่สะดวกที่จะไปดูได้ด้วยตนเอง จะดูในเว็บไซต์ www.BSNcenter.com ก่อนก็ได้ ในเว็บไซต์สามารถซูมให้เห็นมวลสารและแร่ธาตุต่างๆได้ชัด เจนกว่าการดูจากกล้องส่องพระทั่วๆไปครับ

 
 
บันทึกการเข้า
maxmusic
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 171


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2007, 06:30:54 pm »

ตอนเปิดกรุ ไห ใหม่ๆ ไหมี4หูตามตำนาน แต่ทำหักอันหนึ่ง
บันทึกการเข้า
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2007, 06:35:53 pm »

ทำไมไม่ต่อกระทู้เก่า
บันทึกการเข้า

maxmusic
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 171


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2007, 07:00:52 pm »

ขอโทษครับ ถ้าเห็นไม่สมควรก็ย้ายห้องให้หน่อยครับ  หรือลบเลยก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
Soda007
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2008, 06:21:23 am »

พุทธคุณทางด้านไหนครับ
บันทึกการเข้า
maxmusic
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 171


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2011, 04:23:31 pm »

ได้มาจากพิษณุโลกครับ คือว่าคนแถวบ้านไปทำงานขับรถแม็คโครขุดดินแล้วเจอไหโบราณ 2ไห และเหม็นมากจึงนำกลับมาที่บุรีรัม เอาถวายหลวงพ่อ หลวงพ่อจึงมอบลูกหลาน1ไห  และนำกลับมาทำพิธีทั้งๆที่ไหยังเหม็นอยู่ ใช้ใบเลื่อย1ชั่วโมงกว่าจึงเสร็จ แล้วไหก็หยุดเหม็นครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!