ธรรมที่ทำให้ลุ่มหลง ยึดติด ไม่สามารถทำให้หลุดพ้น
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมที่ทำให้ลุ่มหลง ยึดติด ไม่สามารถทำให้หลุดพ้น  (อ่าน 1646 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 03:00:34 pm »

กาม ๒
กาม คือ ความใคร่ ความอยาก ความปรารถนา สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่ายินดี น่าชอบใจ มี ๒ ประการ ดังนี้
๑. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ใหอยากให้ปรารถนาต้องการ หรือความอยากที่เป็นตัวกิเลส ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โลภะ (ความโลภ) อิจฉา (ความปรารถนาอยากได้) เป็นต้น
๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ สิ่งที่น่าปรารถนา สิ่งที่อยากได้ ได้แก่ กามคุณ ๕

กามคุณ ๕
กามคุณ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจยินดี อันเป็นเครื่องผูกพันในทางกามารมณ์ มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. รูปปะ คือ รูป ที่น่าพอใจ น่ารื่นรมย์
๒. สัททะ คือ เสียง ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๓. คันธะ คือ กลิ่น ที่น่าพอใจ น่ายนินดี น่ารื่นรมย์
๔. รสะ คือ รส ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๕. โผฏฐัพพะ คือ สัมผัสทางกาย หรือ อารมณ์ที่จะถูกต้องสัมผัสได้ทางกาย เช่น ร้อน เย็น อุ่น อ่อน นุ่ม เนียน เป็นต้น ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์

ตัณหา ๓
ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ความปรารถนา ความกระหาย ความกำหนัด มี ๓ ประการ ดังนี้
๑. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกาม ความอยากในกามคุณหรือความใคร่ ความพอใจหมกมุ่นใน กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
๒. ภวตัณหา คือ ความอยากให้สิ่งที่ได้ที่มี อันเป็นสภาวะที่น่าชอบใจ น่าปรารถนา ให้คงอยู่ต่อไปหรือตลอดไป เช่น ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ ได้แก่ อยากเป็นคนสวย คนฉลาด คนเก่ง คนรวย คนมีสุขภาพดี เป็นต้น
๓. วิภวตัณหา คือ ความอยากหนีหรือสลัดสภาวะที่ไม่น่าชอบใจไม่น่าปรารถนา ให้พรากหรือพ้นออกไป เช่น ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ได้แก่ ไม่อยากเป็นคนแก่ คนโง่ คนไม่เก่ง คนจน คนเจ็บป่วย เป็นต้น

ตัณหา ๖
กองหรือหมวดตัณหาอันเป็นความทะยานอยาก ความปรารถนา ๖ ประการ มีดังนี้
๑. รูปตัณหา อยากได้ รูป ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๒. สัททตัณหา อยากได้ เสียง ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๓. คันธตัณหา อยากได้ กลิ่น ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๔. รสตัณหา อยากได้ รส ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๕. โผฏฐัพพตัณหา อยากได้ สัมผัสทางกาย หรือ อารมณ์ที่จะถูกต้องสัมผัสได้ทางกาย เช่น ร้อน เย็น อุ่น อ่อน นุ่ม เนียน เป็นต้น ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๖. ธัมมตัณหา อยากได้ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ทางใจ อารมณ์ที่เกิดอยู่กับใจ อารมณ์ที่ใจรู้ สิ่งที่ใจคิด ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์ เช่น เมื่อเห็นรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอมสดชื่น รสอร่อย สัมผัสอ่อนนุ่ม เป็นต้น

มานะ ๙
มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์ มีลักษณะ ๙ ประการ ดังนี้
๑. ตนเองเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๒. ตนเองเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๓. ตนเองเป็นผู้เลิศกวาเขา สำคัญตัวว่าเลวหรือต่ำกว่าเขา
๔. ตนเองเป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๕. ตนเองเป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๖. ตนเองเป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวหรือต่ำกว่าเขา
๗. ตนเองเป็นผู้เลวหรือต่ำกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๘. ตนเองเป็นผู้เลหรือต่ำกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๙. ตนเองเป็นผู้เลวหรือต่ำกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวหรือต่ำกว่าเขา

กิเลส ๑๐
กิเลส คือ สภาพหรือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ เสมือนความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด เป็นเหตุให้กระทำกรรมชั่วได้ง่าย และประกอบความดีได้ยาก มี ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. โลภะ คือ ความโลภ คิดอยากได้ของผู้อื่น
๒. โทสะ คือ ความคิดประทุษร้ายด้วยความโกรธ
๓. โมหะ คือ ความหลง ความเขลา ความไม่รู้จริงในเหตุและผล ดี-ชั่ว คุณ-โทษ (อวิชชา)
๔. มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๕. ทิฐิ หรือ ทิฏฐิ ความเห็นผิด มีความเห็นหรือทฤษฎีอันผิดจากทำนองคลองธรรม อาทิ เห็นว่าโลกเที่ยงแท้ยั่งยืน ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว บุญและบาปไม่มี ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
๖. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเล ไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสงสัย หรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม ทั้งหลาย ใน ปฏิปทา (ทางดำเนิน ความประพฤติ) และ ในพระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น
๗. ถีนะ ความหดหู่ ความท้อแท้ใจ
๘. อุทธัจ หรือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบใจ ความคิดพล่านในอารมณ์
๙. อหิริกะ หมดความละอาย ความไม่ละอายต่อความชั่ว ความไม่ละอายต่อกุศลและทุจริต
๑๐. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อบาปหรือความชั่ว

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หรือ อุปกิเลส ๑๐
วิปัสสนูปกิเลส คือ อุปกิเลสหรือสิ่งอันเป็นโทษ เครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์หรืออารมณ์ที่เกิดแก่ผู้เริ่มได้วิปัสสนาอ่อน ๆ ดูเหมือนเป็นสภาพที่น่าชื่นชม แต่ความจริงเป็นโทษ เพราะจะทำให้เกิดเข้าใจผิดลุ่มหลงว่าได้บรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่บำเพ็ญให้เจริญก้าวหน้าขึ้นไปอีก อันเป็นเหตุขัดขวางไม่ให้สำเร็จหรือบรรลุได้จริง มี ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. โอภาส แสงสว่าง แสงสุกใสผุดผ่อง
๒. ญาณ ความรู้ ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งกำหนดรู้
๓. ปีติ ความอิ่มเอมใจ ความดื่มด่ำในใจ
๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ ความสงบเย็นอารมณ์ผ่อนคลาย
๕. สุข ความสุขสบายใจ ความสบายกายสบายจิต ความสำราญเบิกบานใจ
๖. อธิโมกข์ ความปลงใจ น้อมใจเชื่อ มีศรัทธาแก่กล้า
๗. ปัคคาหะ ความเพียร ความหมั่น ความพยายาม
๘. สุปัฏฐาน สติชัด มีสติแก่กล้า
๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
๑๐. นิกันติติดใจ ความพอใจ

อุปกิเลส ๑๖
อุปกิเลส คือ สิ่งอันเป็นโทษที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้รับคุณธรรมได้ยาก ประดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย่อมไม่อาจนำไปย้อมให้ดีได้อย่างต้องการ (หากไม่สละหรือทำให้สิ่งปรนเปื้อนสกปรกสิ้นไป) มี ๑๖ ประการ ดังนี้
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบโลภกล้า จ้องจะเอาโดยไม่เลือกว่าควรไม่ควร คิดเพ่งเล็งอยากได้โดยไม่เลือกวิธีการ
๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่นด้วยมีโทสะ
๓. โกธะ โกรธ เคือง ความขุ่นเคือง
๔. อุปนาทะ ผูกโกรธ จดจำความขุ่นเคืองไว้ในใจ
๕. มักขะ หลบหลู่คุณท่าน หลบหลู่คุณความดีผู้อื่น ลบล้างเปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น
๖. ปลาสะ ความตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน การยกตนข่มผู้อื่น
๗. อิสสา ริษยา รู้สึกไม่พอใจที่เห็นผู้อื่นเขาได้ดี หรือเห็นใครได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด หลอกเขาด้วยคำโอ้อวด แสร้งทำให้เขาเกิดความเข้าใจผิด
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ กระด้าง
๑๒. สารัมภะ แข่งดี ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะ
๑๓. มานะ ถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่น ถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา
๑๕. มทะ มัวเมา
๑๖. ปมาทะ ประมาท ละเลย เลินเล่อ

อุปสัย ๗ หรือ สังโยชน์ ๗
อนุสัย คือ กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน เป็นกิเลสอย่างละเอียด บางทีปกติไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีอารมณ์มายั่วก็จะเกิดหรือปะทุขึ้ได้ทันใด มีดังนี้
๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความอยากได้หรือติดใจในกาม
๒. ปฏิฆะ ความขัดใจ ความหงุดหงิด ขัดเคือง (โทสะ)
๓. ทิฏฐิ หรือ ทิฐิ ความเห็นผิด มีความเห็นหรือทฤษฎีอันผิดจากทำนองคลองธรรม อาทิ เห็นว่าโลกเที่ยงแท้ยั่งยืน ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว บุญและบาปไม่มี ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
๔. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสงสัยหรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี ธรรมที่เป็นกุศล) ทั้งหลายใน ปฏิปทา (ทางดำเิน ความประพฤติ) และใน พระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น
๕. มานะ ถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๖. ภวราคะ ความกำหนดในภพ คือความเป็นนั่นเป็นนี่ อยากยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน
๗. อวิชชา ความหลง ความไม่รู้จริงในเหตุและผล ดี-ชั่ว คุณ-โทษ หรือคือ โมหะ ได้แก่ ความเขลา ความไม่รู้อริยสัจ ๔

อาสวะ ๓
อาสวะ คือ กิเลสหรือสภาวะที่หมักหมม หรือกิเลสที่ดองนองเนื่องอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิต เมื่อได้ประสบอารมณ์ต่าง ๆ มี ๓ ประการ ดังนี้
๑. กามาสวะ อาสวะคือ กามหรือกิเลสสภาวะที่หมักดองนองเนื่องอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิด ความใคร่ ความอยากได้ ความปรารถนา
๒. ภวาสวะ อาสวะคือ ภพ (โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้เสพกาม) หรือ กิเลสสภาวะที่หมักดองนองเนื่องอยู่ในสันดานที่ทำให้ อยากเป็น อยากเกิด อยากให้มีให้อยู่คงอยู่อย่างนั้นตลอดไป
๓. อวิชชาสวะ อาสวะคือ อวิชชา หรือกิเลสสภาวะที่หมักดองนองเนื่องอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิด ความเขลา ไม่รู้ตามความเป็นจริงหรือไม่รู้จริงในเหตุ-ผล ดี-ชั่ว บุญ-บาป คุณ-โทษ ไม่รู้ในอริยสัจ ๔

นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ คือ กิเลสที่เป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นสิ่งซึ่งขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม หรือเป็นอกุศลธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองและทำให้ปัญญาเสื่อมถอยอ่อนกำลัง มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. กามฉันทะ ความพอใจลุ่มหลงและต้องการในกามคุณ
๒. พยาบาท ความคิดร้ายต่อผู้อื่น ความขัดเคืองขุ่นแค้นใจ
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม ความที่จิตหดหูเคลิบเคลิ้ม ความง่วงเหงาซึมเซา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเร่าร้อนในใจ ความกระวนกระวายกลัดกลุ้ม กังวล
๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสงสัยหรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี ธรรมที่เป็นกุศล) ทั้งหลายใน ปฏิปทา (ทางดำเนิน ความประพฤติ) และใน พระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น

สังโยชน์ ๑๐
สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์ ใครละได้น้อยก็เป็น พระอริยบุคคลขั้นต้น (พระโสดาบัน) เมื่อละได้มากเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงขึ้น (พระสกทาคามี พระอนาคามี) ใครละได้หมดจึงเป็นอริยบุคคลขั้นสูงสุด (พระอรหันต์)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. สังกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน เช่น เห็น รูป เวทนา วิญญาณ (ความรู้แจ้งในอารมณ์ด้วยจิต) ว่าเป็นตัวตน เป็นต้น
๒. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสังสัยหรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี ธรรมที่เป็นกุศล) ทั้งหลายใน ปฏิปทา (ทางดำเนิน ความประพฤติ) และใน พระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย คิดว่าจะบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร ด้วยเพียงปฏิบัติโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรอง
๔. กามราคะ ความติดใจในกามารมณ์ ความกำหนัดในกาม
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคืองใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง มี ๕ ประการ ดังนี้
๖. รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูป หรือติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น สิ่งล้ำค่าสวยงาม เป็นต้น
๗. อรูปราคะ ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป หรือติดใจในอรูปธรรม เช่น คำสรรเสริญ คำเยินยอ คำยกย่องชมเชย เป็นต้น
๘. มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความายิ่งใญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบใจ
๑๐. อวิชชา ความหลง ความไม่รู้จริงในเหตุและผล ดี-ชั่ว คุณ-โทษ คือโมหะ ได้แก่ ความเขลา ความไม่รู้อริยสัจ ๔

อุปทาน ๕
อุปาทาน คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ด้วยถูกครอบงำให้หลงผิดโดยอำนาจแห่งกิเลสตัณหา จนเกิดอุปาทาน เลยหลงยึดถือเอาความคิดความเข้าใจของตนเป็นหลัก เป็นที่ตั้ง ถ้ามีใครเชื่อหรือคิดเห็นผิดไปจากความเข้าใจของตน ถือว่าโง่เขลา ไม่รู้จริง ทรยศ เป็นกบฏ มี ๔ ประการ ดังนี้
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นใน กาม คือ อุปาทานใน รูป เสียง กลิ่น รส อารมณ์ที่มาต้องกาย (โผฏฐัพพะ) ว่าเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนา น่าพึงพอใจ จนเกิดการลุ่มหลง หวงแหน ต้องการยึดครองไว้เป็นของตรง
๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นใน ทิฏฐิ (ทิฐิ) หรือ ทฤษฎี คือ อุปาทานว่า ความเห็นลัทธิ หรือหลักคำสอนต่าง ๆ ที่ตนยึดอยู่นั้นได้ชือว่าดีเลิส เป็นทฤษฎีที่น่าสรัทธาเลื่อมใส น่าเชื่อถือ ควรยึดถือปฏิบัติ ไม่ควรโต้แย้ง ไม่จำเป็นต้องสอบสวนหาเหตุและผล ไม่ควรมีความลังเลสงสัย หรือข้อกังขาใด ๆ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นใน ศีล และ พรต คือ อุปาทานว่า หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิม ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานแล้ว ควรเป็นอย่างนั้นต่อไป ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องไปสนใจในเหตุและผล ไม่ควรขวนขวายในการสอบสวนสืบค้น สักแต่ว่ากระทำสืบ ๆ กันมา หรือปฏิบัติตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย โดยนิยมหรือเห็นว่าเมื่อขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ก็ไม่จำเป็นต้องไปรู้หรือทำความเข้าใจใด ๆ ทั้งสิ้น ว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดปัญญาหรือนำไปสู่ความถูกต้องดีงาม และความหลุดพ้นหรือไม่
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่น เชื่อถือใน ความเป็นตัวเป็นตน (อัตตา) คือ อุปาทานว่า มีตัวตน เชื่อว่ามีความสามารถบังคับบัญชาสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ตามที่อยากให้เป็น (เช่น ให้คงความไม่แก่ ไม่เหี่ยวย่น) ไม่สามารถมองเห็นว่า เหตุ และ ปัจจัย ทั้งหลายต่างหากเป็นสิ่งที่มาประกอบกันเป็นตัวตน ตัวตนแท้ ๆ ไม่มี (อนัตตา) มองไม่เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่อาจควบคุมได้ ย่อมมีความเสื่อมสลายไปตามกาล

คัดลอกจาก หนังสือใกล้ชิดสนิทธรรม

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาครับ...

ที่มา ธรรมะออนไลน์


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: