การบำรุงรักษารถมอเตอร์ไซค์เบื้องต้น ตรวจสอบอาการเบื้องต้น
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 26, 2024, 01:24:52 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การบำรุงรักษารถมอเตอร์ไซค์เบื้องต้น ตรวจสอบอาการเบื้องต้น  (อ่าน 47276 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 07:11:43 am »

ล้อและยาง
ชีวิตสิงห์แมงกะไซค์อย่างเราต้องฝากไว้กับ 2 ล้อนี่แหละ สิ่งแรกที่กระผมอยากให้ใส่ใจ ก็คือ "ลมยาง" เมื่อท่านเติมลมทุกครั้งควรวัดลมยางให้ได้ตามสเป็คด้วย แต่เกย์ที่อยู่ตามปั๊มน่ะ มันไม่ค่อยชัวร์ ทางที่ดีหาซื้อแบบพกพาไว้ซักอันติดรถไว้ใต้เบาะซึ่งได้ผลดีกว่า ส่วนอัตราแรงดันลมยางนั้นมักดูได้ที่บังโซ่หรือสวิงอาร์ม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแรงดันลมดังนี้
ยางหน้า 28 ปอนด์
ยางหลัง 30-32 ปอนด์ (ขึ้นกับรุ่นและน้ำหนักบรรทุก)
ท่านควรเช็คลมยางสัปดาห์ละครั้ง เพื่อยืดอายุของยาง อีกทั้งการทรงตัวและการรับแรงกระแทก นอกจากนี้หากมีการกระแทกควรเช็คดูขอบวงล้อด้วยว่าดุ้งหรือไม่ เพราะจะทำให้มีอาการส่าย ต้องรีบแก้ไขดัดให้ตรงหรือเปลี่ยนใหม่

เบรก
ระบบเบรกมีทั้งดรัมเบรกและดิสค์เบรก ซึ่งแน่นอนว่าดิสค์เบรกชัวร์กว่า แถมดูแลรักษาง่าย กว่า แค่อย่าให้น้ำมันเบรกต่ำกว่าขีดบอกระดับ Min ที่กระปุกน้ำมันเบรก คอยเติมอย่าให้ พร่องและต้องใช้ยี่ห้อเดิมตลอด นอกจากจะเปลี่ยนถ่ายทั้งหมดซึ่งควรทำปีละครั้ง เบอร์ มาตรฐานของน้ำมันเบรกให้ใช้ DOT3 หรือ DOT4 เท่านั้น จากนั้นก็ตรวจเช็คผ้าเบรก โดยดูจากร่องที่ผ้าเบรก ถ้าสึกจนมากมากให้รีบเปลี่ยน เพราะจะ ทำให้จานเบรกเสียหาย สำหรับการปรับระยะผ้าเบรกนั้น ระบบดิสค์เบรกเป็นระบบอัตโนมัติ ในขณะที่ระบบดรัมเบรก ต้องปรับตั้งระยะผ้าเบรกทันทีที่รู้สึกว่าเบรกต่ำ (ต้องบีบหรือเหยียบ มากกว่าปกติ) ซึ่งเมื่อปรับจนหมดระยะที่เครื่องหมายบอกแล้วแสดงว่า ผ้าเบรกบางมาก ให้ รีบเปลี่ยนใหม่ เพราะจะทำให้เบรกไม่อยู่ เกิดเสียงดัง และเบรกค้างได้

โซ่ / สเตอร์
รถแมงกะไซค์ที่ขับเคลื่อนด้วยโซ่และสเตอร์นั้นซ่อมง่ายดูแลง่าย แต่ก็สึกหรอง่ายกว่าระบบ เพลา เพราะทั้งสองส่วนต้องทำงานร่วมกัน เช่น หากโซ่หมดอายุก็จะพาให้สเตอร์เสียหายไปด้วย จึงต้องคอยดูแลเช็คความตึงหย่อนของโซ่ทุกๆสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะรัน-อินที่โซ่จะยืดตัวมาก อีกทั้งไม่ควรตั้งโซ่ตึงเกินไปเพราะจะทำให้ทั้งโซ่และสเตอร์สึกหรอมาก และหากรถท่านต้องใช้งานบรรทุกหนัก ลุยน้ำลุยโคลน ต้องคอยตรวจดูความแน่นหนาของข้อต่อโซ่และลูกกลิ้งว่ายังหมุนได้คล่องหรือไม่ หากข้อต่อติดตายต้องรีบเปลี่ยนทันที เพราะมีสิทธิ์ขาดได้ทุกเมื่อนะครับส่วนการบำรุงรักษาก็เพียงหล่อลื่นด้วยน้ำมันเกียร์ (SAE90) เป็นประจำ (เพราะเกาะติดโซ่ได้นานกว่าน้ำมันหล่อลื่นทั่วไป) หากสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำมันโชล่า หรือเบนซินโดยใช้แปรง อย่างแช่ทิ้งไว้เพราะจะทำให้โอริงแข็งและเสื่อมคุณภาพ ส่วนสเตอร์นั้นจะเสื่อมไปตามสภาพ เช่น ฟันล้มหรือบิ่น โดยมากโซ่และสเตอร์มีอายุใช้งานประมาณ 10,000 กม. ก็ต้องเปลี่ยน และควรเปลี่ยนทั้งชุด จะลดการสึกหรอได้ดีกว่าเยอะ !

ไฟฟ้า
พลังงานขับเคลื่อนรถที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ ไฟฟ้า ซึ่งมาจากแหล่งพลังงาน "แบตเตอรี่" ที่เราต้องคอยดูแลบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องระบบไฟ เช่น
- ตรวจดูระดับน้ำยาแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับสูงสุด (Max) หรืออย่างน้อยต้องไม่อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด (Min) ถ้าน้ำยามีระดับต่ำต้องรีบเติมน้ำกลั่นลงไปให้ได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมและเสียไว แล้วยังต้องคอยสังเกตด้วยว่า น้ำยาในแบตเตอรี่แห้งหรือไฟหมดเร็วกว่าปกติหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบเช็คระบบไฟฟ้าทันที
- ตรวจดูขั้วสายแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบว่าหลุดหลวม หรือมีขี้ตะกรันหรือไม่ ถ้ามีให้ใช้น้ำอุ่นล้างและเอาแปรงลวดขัดให้ออก รวมทั้งตรวจสอบสายระบายไอของแบตเตอรี่ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะอาจทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกไอระเหยของแบตเตอรี่ผุกร่อนได้
- นอกจากนี้ก่อนขับขี่ทุกครั้ง ควรตรวจดูไฟสัญญาณต่างๆ ทั้งไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟเบรก และแตรสัญญาณ ว่ายังทำงานเป็นปกติหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัยที่ละเลยไม่ได้เลยนะครับ

หัวเทียน
อาการผิดปกติของเครื่องยนต์บางอย่าง เช่น สตาร์ทติดยาก ออกตัวไม่ดีไม่ค่อยมีกำลัง ล้วน มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของหัวเทียน การหมั่นสังเกตดูสภาพหัวเทียน จึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ซึ่งพอแนะนำได้ดังนี้ครับ
- หัวเทียนสภาพปกติ
จะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวไฟมีการสึกหรอน้อย
- มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวไฟ และด้านในเปลือกเหล็ก
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่สะดวกขณะเดินเบา ซึ่งทำให้หัวเทียนบอดได้ง่าย
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป ไส้กรองอากาศอุดตัน โช้คค้างหรือโช้คมากไป ตั้งไฟอ่อนมากไป หรืออาจจะเป็นที่ระบบจุดระเบิดบกพร่อง
แก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับตั้งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง


- มีคราบน้ำมันเปียกและดำ เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวไฟ และด้านในเปลือกเหล็ก
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่สะดวกขณะเดินเบา ซึ่งทำให้หัวเทียนบอดได้ง่าย
สาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึก หรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า ไม่ก็ส่วนผสมหนาไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น หรือทำความสะอาดและใช้ไปจนกว่าแหวนลูกสูบจะเข้าที่ หากส่วนผสมหนาไปก็ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่


- กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัดหรือคราบตะกั่ว
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ค่อยออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกลๆ หรือบรรทุกของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่ไป ไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่อง
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น หรือปรับตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่


- กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาว เขี้ยวกลางจะสึกหรอเร็ว
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ค่อยออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกลๆ หรือบรรทุกของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป ใช้น้ำมันอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่ไป หรือส่วนผสมบางไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่


- เขี้ยวไฟละลาย และกระเบื้องละลายไปด้วย (อาการร้ายแรงนะครับ!)
อาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุด และเป็นอันตรายต่อลูกสูบ
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป ใช้น้ำมันอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่ไป หรือส่วนผสมบางไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

กรอง / ไส้กรอง
- เริ่มจากเรื่องกรองอากาศ ที่ไส้กรองต้องรับหน้าในการกรองฝุ่นละออง ที่ปะปนอยู่ในอากาศไม่ให้เข้าไปในเครื่องยนต์ นานๆเข้าจะทำให้ "กรองอากาศตัน" ซึ่งมีผลให้ส่วนผสมไอดีเปลี่ยนไป เครื่องยนต์จะกินน้ำมันมากขึ้น แต่วิ่งไม่ค่อยออก โดยทั่วไปให้ทำคามสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 4,000 กม. และเปลี่ยนทุกๆ 12,000 กม. แต่ก็ขึ้นกับสภาพการใช้งานด้วยนะครับ บางคันใช้งานในชนบทที่มีฝุ่นมากๆก็ต้องทำความสะอาดกันบ่อยหน่อย วิธีทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ก็แค่ถอดออกมาล้างด้วยน้ำมันเบนซินซักสามสี่น้ำ ดูจนสะอาดแล้วก็บิดผึ่งให้แห้งสนิท จากนั้นก็นำมาชะโลมให้ทั่วด้วยน้ำมันออโต้ลู้บให้พอหมาดๆ ตัวกล่องกรองอากาศก็ให้ทำความสะอาดด้วย แล้วประกอบกลับคืนระวังอย่าให้ไส้กรองฉีกขาด
- ไส้กรองอื่นๆ เช่น ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง แบบที่เป็นตะแกรงกรองในเครื่องยนต์สี่จังหวะ ซึ่งถอดออกล้างทำความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำมันเบนซิน (แต่ไม่ต้องล้างกันบ่อยๆ) ซึ่งจะใช้งานได้เกือบตลอดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ แต่ถ้าเป็นกรองกระดาษ ควรเปลี่ยนทุกๆ 5,000 กม. เพราะทำความสะอาดไม่ได้

หม้อน้ำ / หม้อพัก
รถที่มี "หม้อน้ำ" ระบายความร้อนได้ดีกว่า "หม้อลม" ก็จริง แต่ต้องดูแลมากกว่า ด้วยการ หมั่นดูระดับน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำสำรองทุกวัน (โดยปกติแล้วระดับน้ำในหม้อน้ำและใน ถังพักน้ำสำรองจะเท่ากัน แต่ถ้าให้ชัวร์ควรเปิดเช็คดูทั้งสองที่) และควรล้างหม้อน้ำอย่างน้อย 2-3 เดือนครั้ง และใช้น้ำยาหม้อน้ำผสมกับน้ำธรรมดาในอัตราส่วน 50/50 จะช่วยไม่ให้เกิด สนิมหรือตะกรันในหม้อน้ำ ทางเดินน้ำก็ไหลคล่อง น้ำยาที่ผสมนี้ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่ล้างหม้อ น้ำ และยังต้องคอยตรวจครีบระบายความร้อนของหม้อน้ำไม่ให้บู้บี้ เพราะจะทำให้ลมพัด ผ่านลำบากระบายความร้อนได้ไม่ดี นอกจากนี้ขณะขับขี่ต้องคอยดูเกจ์ความร้อน หากขึ้นถึง ขีดแดง หรือที่เรียกว่า "โอเวอร์ฮีด" ให้ดับเครื่องพักทันที

น้ำมัน
เรื่องของ "น้ำมัน" ต้องหมั่นตรวจสอบความสิ้นเปลืองของทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมัน ออโต้ลู้บ เพราะจะทำให้เรารู้สภาพของเครื่องยนต์ได้ว่า มีความสึกหรอมากน้อยขนาดไหน เครื่องยนต์ที่สึกหรอมากมักจะ "ยัดทาน" น้ำมันทั้งสองอย่างนี้มากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเครื่องหลวม หัวเทียนเสื่อม หรืออาจจะกรองอากาศตัน วิธีตรวจสอบง่ายๆให้ทำดังนี้
- เติมน้ำมันให้เต็มถัง แล้ววัดระยะจากน้ำมันที่เติมเข้าไปกับปากถังว่าได้ระยะเท่าไหร่ ให้จดเอาไว้ และต่อไปก็ต้องเติมให้ได้เท่านี้ การเติมก็ควรใช้กระบอกตวง หรือขวดที่มีขีดบอกปริมาตรที่แน่นอนด้วยนะ ค่อยๆเติมลงไปจนน้ำมันอยู่ในระดับเดิม เมื่อวัดจากปากถัง ซึ่งปริมาณน้ำมันที่เติมลงไปนั่นแหละ คือ ปริมาณน้ำมันที่รถ "ยัดทาน" น้ำมันเข้าไปนั่นเอง
- จดตัวเลขระยะบนเรือนไมล์ตอนเติมน้ำมันเอามาคำนวณ ถ้าเป็นไมล์แบบเซ็ทศูนย์ไม่ได้ ก็ต้องเอาตัวเลขแรกไปลบออกจากตัวเลขหลังเพื่อให้ได้ระยะทางที่เราวิ่งไป แล้วนำระยะนี้ไปหารด้วยปริมาณน้ำมันที่เราตวงได้ ก็จะได้เป็นอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน การวัดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันนี้ ควรจะทำเป็นระยะโดยเริ่มครั้งแรก ตั้งแต่ตอนอยู่ในระยะรัน-อิน แล้วเก็บข้อมูลเอาไว้เปรียบเทียบกับครั้งต่อๆไป ถ้าแตกต่างกันมากจะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีนะครับ

ที่มา http://www.bikermc.com/index.php?topic=42.0


บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 07:31:33 am »

ทุกวันนี้ หาช่างตั้ง โซ่ ที่เก่ง ที่เข้าใจหลักการที่ถูกต้องแทบไม่เจอแล้วครับ

คุณ นัด ช่วยบอกวิธีตั้งโซ่ ที่ถูกต้องให้ฟังหน่อยครับ  lv!
บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 07:35:56 pm »

ต้องขอออกตัวเลยนะครับ ว่าผมไม่เก่งเรื่องนี้เลย....
ผมพยายามที่จะศึกษาเรื่องรถมอเตอร์ไซค์ไว้บ้าง..เพราะว่าเราขับขี่อยู่ทุกๆวัน เราก็ต้องดูแลรถเรา
เวลาผมตั้งโซ่ ผมจะให้ศูนย์ Honda ตั้งให้ครับ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาเอาอะไรวัด และมีหลักการยังไงในการตั้งโซ่
วันนี้ผมพึ่งเปลี่ยนหัวเทียนรถมอเตอร์ไซค์ไปครับ แต่กว่าจะเปลี่ยนได้ ด้วยความที่ไม่เคยรื้อรถมอเตอร์ไซค์(เคยปีนแต่เสาไฟ อิอิ)
เปลี่ยนหัวเทียนเฉยๆ 1 ชั่วโมงเต็มๆอาการรถผม เวลาเราเร่งเครื่อง ไปถึง 80-90 เครื่องจะสดุด เร่งไม่ขึ้น
แล้วเมื่อวานก่อนฝนตกผมขี่รถกลับจากวิทลัย แ่ข่งฝนกลับบ้าน เครื่องนี่เร่งแทบไม่ขึ้นเลย
ผมก็เลยสันนิฐานว่า หัวเทียนแน่ๆ ถอดออกมาปรากฏว่าสนิมเครอะเลย เปลี่ยนใหม่เครื่องก็เร่งได้เหมือนเดิม ไม่มีสดุด
โม้มาซ่ะเยอะเลย เอาเป็นว่า ถ้าท่านใดรู้วิธีตั้งโซ่ที่ถูกต้องตามหลักการก็ชี้แนะด้วยครับ....ผมก็อยากทราบเหมือนกัน    Smiley
บันทึกการเข้า
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 07:32:27 am »

เรื่องหัวเทียน แท้จริงแล้ว แค่ทำความสะอาด คือเอาขเม่าออก ขัดสนิ่มออก ตั้งหัวเล็กน้อย ก็ใช้ได้เหมือนเดิมแล้วครับ

เรื่องตั้งโซ่ มันคุยกันยาว มันต้องเห็นภาพจริง จึงเข้าใจได้  และต้องคนที่ขี่รถจริงๆและบรรทุกหนักด้วย ถึงรู้ว่าใครตั้งโซ่ได้ดี ใครตั้งโซ่ไม่ผ่าน (ตั้งโซ่ไม่ดี เวลาบรรทุกหนักจะเบรคไม่อยู่ครับ)

 (เรื่องศูนย์  Honda ผมไม่ได้ดูถูกเขานะ คนเก่งเขาอาจมี แต่ไม่ได้ลงมาทำหรอก คนที่ทำ แค่เช็คไดโอดบริด ยังเช็คไม่เป็นเลย ผมยังต้องบอกเขาเลย แต่เก็บผมไป800บาท เมือ่สิบกว่าปีที่แล้ว
   เรื่องมีอยู่ว่า ผมมีรถโนวารุ่นแรกคันหนึ่ง มันกินแบตเตอร์รี่ เปลี่ยนกี่ลูกมันก็กินหมด หมายถึงเสียเร็ว ใช้ได้ไม่กี่เดือนก็เสีย ผมเลยเอารถเข้าศูนย์ เขาเอารถผมเข้าไปเช็คอยู่นาน ผมเลยเดินไปดู เห็นเขากำลังคุยว่าตั้งเร็งอะไรวัดไดโอดดี คือช่าง3คน วัดไม่เป็นสักคน  ผมเลยบอกว่า Rคูณ1Kไง จากนั้นผมจำไม่ได้แล้วว่าเขาบอกว่าอะไรเสีย แต่ที่แน่ๆจำได้ขึ้นใจ คือเก็บค่าแรงเช็ค800บาท รถผมก็เหมือนเดิม  จากนั้นผมก็ไม่ได้ซ่อมอาการนี้อีก ขี่ทั้งๆไม่มีแบตเตอร์รี่ จนทถึงเมื่อ2ปีก่อน แล้วขายไป )
บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 12:17:08 pm »

จำไว้มีรถอย่าเข้าศูนย์เด็ดขาด
อ้ายที่เสียน้อยจะเสียมาก
อ้ายที่พังน้อยจะพังมาก
อ้ายที่เสียช่วงบน มันดันไปซ่อมช่วงล่าง
โดยเฉพาะศูนย์Honda ทุกที่ในรังสิต
โดนมากับตัวเอง

 
บันทึกการเข้า
shokunmusicsound
วีไอพี
member
***

คะแนน37
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 591


ตายซะดีกว่า ที่จะละทิ้งหน้าที่


เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 01:17:51 pm »

ไม่รู้ว่าถูกหลักวิชาการหรือเปล่า ผมตั้งแบบนี้ตั้งแต่สมัยขับโนวารุ่นแรกจนถึงเวฟเอ็ก ลองดูครับ  ping!



บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 01:50:10 pm »

ตั้งโซ่แบบนั้น ก็แบบทั่วๆไปครับ ร้านทั่วๆไปก็ตั้งประมาณนั้นครับ

***บรรทุกหนัก มีโอกาศเบรดไม่อยู่ครับ***

สายตาเรา ไม่ตรงไปกว่าผ้าเบรดหรอกครับ
***ตั้งโซ่เสร็จ ก่อนขันน็อตให้แน่น  ต้องตั้งผ้าเบรดให้ตรงกับต่ำเหน่งเดิม หรือให้ผ้าเบรดกินให้ได้มากที่สุด ให้แน่นที่สุดครับ
     พอเข้าใจไหม พอนึกภาพออกไหม ว่าถ้าผ้าเบรดเอียง หรือกินข้าง หรืออะไรก็ตามที่มันทำงานไม่เต็มร้อย เวลาบรรทุกหนักๆจะเบรดไม่อยู่ ***

(ผมเด็กสวนเก่า ผมอยู่ เบตง วันๆขี่รถขึ้นเขา ลงเขา แถบบรรทุกยางแผ่น45แผ่น แผ่นละ3 กก.เท่ากับ 135 กก.เวลาลงเขาที ถ้าเบรดไม่ดี เลิกคุยเลยครับ คนที่เคยอยู่เขาคงนึกออกนะ ว่าถนน เส้นทาง  มันสุดยอดแค่ไหน )
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!