การรักษาใจ กับ การข่มใจ โดย หลวงพ่อจรัญ และ พระมหาวุฒิชัย
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษาใจ กับ การข่มใจ โดย หลวงพ่อจรัญ และ พระมหาวุฒิชัย  (อ่าน 1496 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 09:26:28 pm »

วันนี้จะบรรยายธรรม อนุสาวรีย์ของสมเด็จพระบรมศาสดา
แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ซึ่งเป็นหลักแห่งพระศาสนาที่นับถือของตน
คนเราจะต้องมีพระศาสนาเป็นเครื่องจูงใจ
จึงจะทำความรู้และความประพฤติของตนให้ประกอบด้วยประโยชน์
การนับถือพระศาสนาต้องเคารพนับถือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของ
ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของพระองค์
นับถือพระสงฆ์เป็นผู้ปกครองรักษา เช่นเดียวกับอาณาจักร
อย่างพวกทหารเคารพนับถือสมเด็จพระมหากษัตริย์
และประพฤติตามวินัยที่ทรงบัญญัติ
สำหรับหมู่คณะของตนไม่ฝ่าฝืน
นับถือนายที่เป็นผู้ใหญ่เหนือตน
อันได้รับการศึกษาคุ้นเคยในกิจการ
ซึ่งสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงวางพระทัย
แต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชา
ฉะนั้นพระศาสนา ปฏิบัติให้ถูกทางแล้ว
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคลทุกจำพวก
แม้พวกข้าราชการทหารก็ต้องยึดธรรมเป็นหลัก
จึงจะนับว่าเป็นทหารที่ดี

ธรรมที่ทหารควรยึดถือเป็นหลักนั้น
จะยกขึ้นกล่าวในที่นี้ ๒ ประการคือ
๑ ความรักษาใจ
๒. ความข่มใจ

ธรรม ๒ ประการนี้เป็นของสำคัญ
เพราะใจเป็นเครื่องกระทบอยู่รอบข้าง
ถ้าไม่มีธรรมกำกับอยู่ด้วย
มักจะเพลิดเพลินไปในอารมณ์ที่ล่อให้มัวเมา
และสะดุ้งหวาดหวั่น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ขู่ให้ตกใจ
เมื่อใจแชเชือนไปเช่นนั้น
การพูดการทำก็ย่อมเชือนไปตามกัน
เมื่อความประพฤติเสีย แม้จะมีวิทยาความรู้สักเพียงไร
ก็ไม่เป็นประโยชน์ กลับจะใช้ความรู้ในทางที่ผิด
เป็นดังนี้ ก็ด้วยอำนาจความคิดอันวิปริต
สมดังสุภาษิตโบราณท่านกล่าวไว้ว่า
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ข้อนี้ ต้องจำใส่ใจไว้

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11263


บันทึกการเข้า

kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 09:27:05 pm »

การรักษาใจ กับ การข่มใจ 

                     

         ใจ ของเรานั้น ไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า

เมื่อเราใส่อะไรเข้าไปในห้องที่ว่างเปล่านั้น
 
สถานภาพของห้องก็จะเปลี่ยนไปทันที เป็นต้นว่า

เรามีห้องว่างเปล่าอยู่ห้องหนึ่ง เมื่อ - -

เราใส่น้ำเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องน้ำ

เราใส่พระพุทธรูปเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องพระ

เราใส่เครื่องมือปรุงอาหารเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องครัว

เราใส่เครื่องนอนเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องนอน

เราใส่ชุดรับแขกเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องรับแขก

เราใส่บุคคลสำคัญเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องวีไอพี

         

         ห้องแห่งหัวใจของเราก็ไม่ต่างอะไรกับห้องว่างเปล่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเลย

ทุกครั้งที่เราบรรจุอะไรเข้าไปในใจ ใจของเราก็จะเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกัน

เราใส่ความเมตตาเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจดี

เราใส่ธรรมะเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจบุญ

เราใส่ความโกรธเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจร้อน

เราใส่ความเลวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจทราม

เราใส่ความกลัวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจเสาะ

เราใส่ความเป็นนักสู้เข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจสู้

เราใส่ความขาดสติเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจลอย

         

         เห็นด้วยหรือไม่ว่า ใจของเรานั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกาย

เป็นสิ่งที่คอยออกแบบชีวิตของเราให้เป็นไปอย่างไรก็ได้

         พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้นำ ใจเป็นผู้สร้างสรรค์ ... หรือบางทีก็ตรัสว่า

จิตฺเตน นียติ โลโก แปลว่า โลกหมุนไปตามใจสั่งการ

โลกในที่นี้ หมายถึง ชีวิตของเรานั่นเอง โลกคือชีวิต จะหมุนซ้าย หมุนขวา

หมุนตรงหรือหมุนเอียง หมุนไปข้างหน้า หรือว่าหมุนไปข้างหลัง

ทั้งหลายทั้งปวงนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมขอ! งใจทั้งห มดทั้งสิ้น

         ใจของเราไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า เราบรรจุอะไรลงไป ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น

เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เราบรรจุอะไร ลงไปในห้องแห่งหัวใจของเราบ้าง ความรู้ ความงมงาย ความรัก 

ความเกลียด ความโลภ ความดี ความชั่ว ความริษยา ความหน้าด้าน ความสะอาด สว่าง สงบ หรือความตื่นรู้

ชีวิตจะเป็นอย่างไร รุ่งโรจน์หรือร่วงโรย ขึ้นสูงหรือลงต่ำ สำคัญที่เราบรรจุอะไรลงไปในใจของเราเอง ...

                 ว.วชิรเมธี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: