1. หากระบะหรือบ่อซีเมนต์ เตรียมไว้ ขอบบ่อถูด้วยสบู่เพื่อกันไส้เดือนหนี
2. ใส่ดินลงเล็กน้อย+มูลสัตว์ (ขี้วัว)
3. รดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้แฉะ เพราะไส้เดือนถ้าโดนน้ำท่วมขังมันจะหนี ถ้าหนีไม่ได้ก็คือตาย
4. ใส่เศษผัก เศษอาหารลงไปครับ (ค่อยๆ ใส่อย่าใส่ทีละเยอะๆ เดี๋ยวไส้เดือนกินไม่ทันก็เน่าตายทั้งไส้เดือนและผัก)
5. หมั่นสังเกต... หากไส้เดือนกินผักหมดก็ค่อยเติมลงไป ไม่ใช่เติมทุกวัน เดี๋ยวทับคอไส้เดือนตายก่อน
6. ไส้เดือนไวต่อสารเคมีมาก ดังนั้นผักผลไม้ที่ได้มาไม่ควรปนเปื้อนสารเคมีในปริมาณมากๆ ไม่เช่นนั้นตายหมด
7. พื้นบ่อควรทำแนวลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อให้น้ำเยี่ยวของไส้เดือนไหลไปรวมอีกข้าง
9. เมื่อกองปุ๋ยที่ไส้เดือนย่อยสลายได้ปริมาณมากพอแล้ว ก็แยกไส้เดือนออก แล้วนำมูลไส้เดือนที่ได้ไปผึ่งลมให้แห้ง
10. ร่อนมูลไส้เดือนที่แห้งแล้ว มาบรรจุกระสอบหรือถุง
ปล. ช่วงแยกไส้เดือนออกจากกองปุ๋ยต้องดูให้ดีๆ เพราะมีลูกไส้เดือนจำนวนมากที่อาจติดอยู่ข้างใน อันนี้ต้องศึกษาพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของไส้เดือนให้ดีด้วยว่าช่วงไหนมีลูกอ่อน จะได้นับเวลาคัดแยกไส้เดือนออกจากกองปุ๋ยได้สะดวก
* ใช้ลิ้นชักพลาสติกก็ได้ครับ ให้เจาะรูใต้ชั้นทุกชั้นยกเว้นชั้นสุดท้าย เพราะจะเอาไว้เก็บฉี่ไส้เดือน(สารพัดประโยชน์เหมือนอีเอ็ม)
การเจาะรูก็ไม่ต้องเจาะมากนะครับ อย่าให้พรุนเป็นรังผึ้ง ประมาณ25-30รูครับ
ข้อ2. ขี้วัวตากแห้งแล้วถ้า สดใหม่ ข้างในจะร้อน ไส้เดือนตาย
ข้อ4.+5. ให้เศษอาหารสัปดาห์ละครั้งครับ อย่าใส่อาหารเผ็ด ไส้เดือนตายครับ
ควรใช้ไส้เดือนสีแดง พันธุ์ขี้ตาแร่ ดีที่สุด
ข้อคิดเพิ่มเติม
1. ต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงไส้เดือนไปเพื่ออะไร
1.1 เลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะ
1.2 เลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย
1.3 เลี้ยงไส้เดือนเพื่อเอาตัวมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำยา ทำอาหารสัตว์ เป็นต้น
2. หลังจากมีเป้าหมายแล้วก็เลือกพันธุ์ที่จะนำไปใช้ ซึ่งปัจจุบันไส้เดือนที่นิยมเลี้ยงกันมี 3-4 สายพันธุ์
2.1 ไส้เดือนพันธุ์ Eudrilus eugeniae (African NightCrawler)
- ข้อดี คือกินเก่งโดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง
ขยายพันธุ์เร็ว มีลูกดก
ตัวโตเหมาะจะไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารโปรตีน
- ข้อเสีย บางครั้งไส้เดือนชนิดนี้มักจะถูกฝึกให้กินแต่โปรตีน หรือกินแต่อาหารดีๆ จึงมักไม่กินขยะ
ตัวมักเปื่อยง่าย เนื่องจากตัวของมันมีโปรตีนมาก
2.2 ไส้เดือนพันธุ์ Perionyx excavatus (ฺBlue worm)
- ข้อดี คือกินเก่งไม่เลือกกินเหมือน AF
ขยายพันธุ์เร็ว มีลูกดกมากๆๆๆๆ
- ข้อเสีย ตัวเล็กแยกตัวลำบาก, พอเยอะแล้วมันชอบรามไปที่บ่ออื่น
2.3 ไส้เดือนพันธุ์ Eisenia foetida (Tiger)
- ข้อดี คือกินเก่ง
ตัวมีขนาดใหญ่พอสมควร
- ข้อเสีย ฝักไข่นาน และชอบอากาศค่อนข้างเย็นเหมาะสมที่จะเลี้ยงทางเหนือ หรืออีสาน ถ้าเลี้ยงในกรุงเทพมักจะกินไม่เก่งเท่า
2.4 ไส้เดือนพันธุ์ Pheretima peguana (ขี้ตาแร่)
**** เป็นไส้เดือนแดงพันธุ์ไทยที่นิยมกันอยู่ในตอนนี้ ทั้งเทศบาล โรงเรียน โรงพยาบาล กำลังหันมาใช้ไส้เดือนชนิดนี้ เนื่องจากเป็นไส้เดือนท้องถิ่น สามารถเก็บรวบรวมจากธรรมชาติได้
- ข้อดี คือกินขยะเก่ง ตัวมีขนาดใหญ่พอสมควร
ไส้เดือนประจำถิ่นสามารถหาได้จากธรรมชาติ
- ข้อเสีย โตช้ากว่าไส้เดือนเมืองนอก และที่สำคัญหนีเก่ง
3. การเลี้ยงไส้เดือน
ไส้เดือนแต่ละชนิดจะมีอุปนิสัยที่แตกต่างกัน
AF ชอบกินดีอยู่ดี อาหารโปรดคือขี้วัว อากาศถ่ายเท และความชื้นปานกลาง (60-70)
บลู กะ ขี้ตาแร่ ..... ชอบแฉะ แต่อย่าท่วม ไม่เช่นนั้นไส้เดือนจะหนี
พื้นบ่อที่เลี้ยง AF ควรให้มีการระบายน้ำที่ดีมากๆ
สำหรับบลู กะขี้ตาแร่ ให้ระบายน้ำได้ดีพอสมควร
อาหาร.... ผักสดให้เน่าบนเบดดิ้ง หรือจะหมักก่อนสัก 1 - 2 วันให้พอเน่าก็ได้ แต่อย่าหมักนานเกินอาหารจะเป็นกรด และคุณค่าทางอาหารเสีย
อาหารที่เหมาะสมควรมี C/N ratio อยู่ระหว่าง 25 - 35 (บลู กับ AF) , 30 -40 (ขี้ตาแร่)
เบดดิ้งหรือที่อยู่ของไส้เดือน....
- ตามตำราฝรั่งคือขี้วัว 70 + ขุยมะพร้าว 30 หมัก 15 - 30 วัน
- ของท่านอาจารย์ อานัฐ ดินป่า (ดินขุยไผ่ดีัสุด) 4 ส่วน + ขี้วัว 1 ส่วน รดด้วยน้ำฉี่ไส้เดือน หรือ EM แล้วหมักทิ้งไว้สักครู่ใช้ได้เลย
จริงๆมีอีกหลายอย่าง ยังไงก็ลองดูลิงค์ข้างล่างดูนะครับ เป็นการทำปุ๋ยไส้เดือนจากอินเดีย
หรือลองซือ้หนังสือของท่านอาจารย์อานัฐ มาอ่านก็ได้ ^^
ขอบคุณครับ
รวบรวมจากhttp://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=870
http://www.maejoearthworm.org/สำหรับลิงค์
http://video.google.com/videoplay?docid=5949630525588788935