มารวมข้อมูล กระท้อน กันเถอะ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 06:56:01 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารวมข้อมูล กระท้อน กันเถอะ  (อ่าน 5412 ครั้ง)
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 11:36:43 am »



               
         
 
 
   
     
 
 
 
กระท้อน
 
   
    กระท้อนเป็นไม้ผลเมืองร้อนอีกชนิดหนึ่งที่มีปลูกกันในประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนมากจะปลูกกันตามสวนหลังบ้านและ มักจะเป็น พันธุ์พื้นเมือง รสเปรี้ยว จึงไม่มีการเอาใจใส่ดูแลรักษาต่อมาระยะหลังนี้มีผู้นิยมปลูก กระท้อนพันธุ์ดีกันมากขึ้น ความต้องการของตลาดก็มีมากขึ้นด้วย จึงทำให้พื้นที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ดีขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะดูแลรักษาง่ายแล้ว ผลผลิตยังจำหน่ายได้ราคาดีอีกด้วย เดิมแหล่งผลิตกระท้อนพันธุ์ดีจะมีเฉพาะที่จังหวัดนนทบุรีและบางเขตของกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ปัจจุบันกระจายไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ปราจีนบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

            กระท้อนพันธุ์
ในสมัยก่อนนิยมปลูกกระท้อนด้วยต้นที่เพาะจากเมล็ด จึงทำให้ได้กระท้อนพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งอาจได้พันธุ์ที่มีคุณภาพดีกว่าต้นแม่เสียอีก (แต่มีไม่มากนัก) เมื่อมีพันธุ์ใหม่ที่ดีเกิดขึ้นก็จะมีการตั้งชื่อ ตามชื่อของเจ้าของหรือตามลักษณะของผลหรือแหล่งที่ต้นกระท้อนขึ้นอยู่ จึงทำให้ในปัจจุบันมีกระท้อนพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 พันธุ์ ได้แก่ ทับทิม เขียวหวาน ปุยฝ้าย นิ่มนวล ขันทอง เทพรส อีล่า บัวลอย หลังท่อ ไหว ตาเชื่อม ทองหยิบ ทับทิมทอง อีจาน หมาตื่น ปุยเมฆ ทองใบใหญ่ ตาอยู่ ไกรทอง เมล็ดในไหว กำมะหยี่ ผลกระท้อนส่วนใหญ่จะมี ลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายกัน บางครั้งก็ทำให้เกิดความสับสนในการแยกพันธุ์ ต้องอาศัยความชำนาญมาก ๆ จึงจะสามารถบอกได้ว่าเป็นพันธุ์อะไรได้อย่างถูกต้อง
 
 
 
 
การขยายพันธุ์
กระท้อนสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การเสียบยอด การติดตา เดิมนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากทำได้ง่ายแต่มักจะกลายพันธุ์ ปัจจุบันไม่นิยมปลูกต้นที่เพาะจากเมล็ด แต่จะทำการเพาะเมล็ด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการทำต้นตอในการทาบกิ่งหรือติดตาเท่านั้น ส่วนการตอนก็ไม่นิยม เช่นกันเพราะปัญหาเรื่องการออกรากยาก และเมื่อตัดมาชำมักจะตายมากด้วย
 
 
 
 
สภาพดินฟ้าอากาศ
เนื่องจากกระท้อนเป็นไม้ผลเมืองร้อน จึงสามารถปลูกได้ดีแทบทุกแห่งในประเทศไทย แต่เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี ควรจะเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำให้อย่างเพียงพอ ดินที่เหมาะควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียวมีอินทรียวัตถุมาก อาจกล่าวได้ว่ากระท้อนที่ปลูกในดินร่วนหรือดินเหนียวจะทำให้คุณภาพของเนื้อและรสชาติดีกว่าที่ปลูกในดินร่วนทราย
 
 
 
 
การปลูก
การปลูกกระท้อนในประเทศไทยแบ่งตามสภาพพื้นที่ได้ 2 ประเภท คือ
ประเภทสวนยกร่อง
พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ทางที่ลุ่มภาคกลาง พื้นที่ เดิม เป็นท้องนามีน้ำท่วมถึง จึงต้องยกร่องขึ้นเพื่อสะดวกในการระบายน้ำ ขนาดของสันร่องโดยทั่วไปจะกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะมีร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ระยะปลูกสำหรับพื้นที่ยกร่องจะใช้ระยะระหว่างต้นประมาณ 6 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 35 ต้น
ประเภทสวนที่ดอน
เป็นพื้นที่ที่นอกเหนือไปจากประเภทแรก และมักไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมจึงไม่ต้อง ยกร่อง เมื่อไถปรับพื้นที่แล้วก็สามารถขุดหลุมปลูกได้เลย ตามปกติกระท้อนเป็นไม้ผลที่ทรงพุ่มขนาดใหญ่ แต่เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาและห่อผลซึ่งจะต้องทำทุกปี จึงนิยมตัดแต่งกิ่งนำที่จะทำให้ทรงพุ่มสูงขึ้นไปออกเสีย ทรงพุ่มจะขยายออกด้านข้างแทนด้านบน จึงสะดวกในการปฏิบัติงานสำหรับพื้นที่ดอนสามารถใช้ระยะปลูกตั้งแต่ 6 x 8 เมตร ถึง 5 x 8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 25 - 30 ต้น
           การเตรียมหลุมปลูก
ควรจะขุดหลุมให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า 50 x 50 x 50 เมตร (กว้าง x ยาว x ลึก) หลุมถ้ามีขนาดใหญ่ยิ่งดี จะช่วยให้ต้นกระท้อนโตเร็วมากยิ่งขึ้น ผสมดินที่ขุดขึ้นมากับปุ๋ยคอกเก่า ๆ (ประมาณ 10 กก. ต่อหลุม) รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม กลบดินผสมลงในหลุมให้พูนขึ้นกว่าระดับปากหลุมเล็กน้อย วางต้นกระท้อนที่เตรียมไว้ (เอาถุงที่ชำออกก่อน) ปลูกลงกลางหลุมกดดินให้แน่น ใช้ไม้หลักป้ายยึดลำต้นกันลมพัดโยก รดน้ำให้ชุ่ม ถ้ามีแดดจัดควรมีการพลางแดดให้ด้วยจะทำให้ต้นกระท้อนตั้งตัวเร็วขึ้น
 
 
 
 
การออกดอกติดผล
เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ใบของกระท้อนจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองส้มและร่วงในเวลาต่อมา จากนั้น จะมีการแทงยอดอ่อนและช่อดอกออกมาประมาณมกราคม ดอกจะเริ่มบานติดผลเล็ก ๆ ตามปกติกระท้อนจะติดผล ค่อนข้างมากแต่ก็จะร่วงไปในขณะที่ผลยังเล็กอยู่เป็นจำนวนมากด้วย เช่นกัน เมื่อถึงเวลาห่อ ก็จะมีการเด็ดผลที่ไม่ดี หรือช่อที่ติดผลมากไปทิ้งด้วย จนในที่สุดจะเหลือผลกระท้อน ที่ห่อได้ประมาณ 400-600 ผลต่อต้น
 
 
 
 
การห่อผล
หลังจากดอกบานแล้วประมาณ 80-100 วัน ผลจะมีขนาดโตประมาณ 5-6 ชม. ผิวจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว ขี้ม้า และหลังจากนี้อีก 7-10 วัน จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีกระดังงา ซึ่งเป็นช่วงที่แมลงวันผลไม้จะเริ่มเข้าทำลายแล้ว จึงจะต้องทำการห่อผลตั้งแต่สีผิวเป็นสีเขียวขี้ม้า วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ และผลที่ได้ตามมาคือ ผิวของผลจะสวย ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื้อมีคุณภาพดีขึ้น แต่ไม่ควรห่อผลตั้งแต่ผลที่ยังเล็กอยู่เพราะจะทำให้ผลแคระแกรนและร่วงอยู่ในถุงห่อเป็นจำนวนมากด้วย

สำหรับวัสดุที่ใช้ห่อนั้น เดิมนิยมใช้ใบตองแห้งมาพับเป็นถุงสำหรับห่อเรียกว่า กระโปรง มีการพับไว้เป็น จำนวนมากเพื่อใช้เองและขายด้วย เวลาจะใช้จะแช่น้ำให้ใบตองอ่อนตัว ผึ่งให้แห้งก่อนจึงนำขึ้นไปห่อผล การใช้ใบตองห่อผลจะทำให้ผลมีผิวเป็นสีน้ำตาลและมีนวลสวยงาม แต่บางครั้งอาจมีคราบของเชื้อราขึ้นเป็นคราบที่ผิวได้


ปัจจุบันใบตองแห้งหายากขึ้น จึงมีการเอากระดาษสีน้ำตาลซึ่งได้จากถุงบรรจุปูนซิเมนต์หรือถุงบรรจุอาหาร สัตว์ นำมาตัดให้มีขนาด 12 x 18 นิ้ว บางแห่งจะนำมาพับเป็นถุงห่อคล้ายกับการพับกระโปรงใบตอง แต่บางแห่ง จะพับเป็นถุงก้นกว้างก็ได้เช่นกัน การใช้ถุงกระดาษห่อจะทำให้ผิวเป็นสีเหลืองทอง สะอาด แต่ไม่มีนวลที่ผิวเหมือนกับใบตอง ส่วนถุงพลาสติกถ้านำมาห่อผลแล้วจะทำให้ผิวไม่สวย ผิวจะกร้านบางครั้งที่ด้านขั้วผลจะยังมีสีเขียวเหลืออยู่จนถึงระยะผลแก่ด้วย นอกจากนั้นยังทำให้ผลร่วงมากด้วยจึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงพลาสติกในการห่อผล
 
 
 
 
การดูแลรักษา
หลังจากปลูกแล้วจะต้องคอยดูแลรักษาต้นกระท้อนอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่ากระท้อนจะเป็นไม้ผลที่ไม่ค่อยมีโรคแมลงรบกวนมากนัก แต่การบำรุงรักษาให้ดีอยู่เสมอจะช่วยให้ต้นกระท้อนเจริญเติบโตเร็วมาก การดูแลรักษาโดยทั่วไปมีดังนี้
การให้น้ำ
ปกติกระท้อนเป็นพืชที่ชอบน้ำแต่ขณะเดียวกันก็ทนสภาพความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดีในช่วงที่กระท้อนยัง เล็กอยู่จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นการให้น้ำก็จะมีช่วงห่างขึ้น อย่างไรก็ดีในช่วงที่ต้นกระท้อน เริ่มออกช่อดอกและติดผลจะต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้
1. ช่อดอกมีความสมบูรณ์ การติดผลดี
2. ผลที่ติดแล้วมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ สวนที่มีการให้น้ำดีจะทำให้ผลมีขนาดโตกว่าสวนที่ ขาดแคลนน้ำ
3. ลดปัญหาเรื่องผลแตกได้ ซึ่งปัญหานี้จะพบเสมอในสวนที่ขาดแคลนน้ำ
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งกระท้อนในแต่ละปีจะทำเพียงเล็กน้อย สำหรับต้นที่ยังไม่ให้ผลมักจะให้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ มีการตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบออกบ้าง เมื่อกระท้อนเริ่มให้ผลผลิตแล้ว การตัดแต่งจะมีมากขึ้นเล็กน้อย โดยจะทำการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วสิ่งที่ควรพิจารณาตัดแต่งออกมี
- กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งแห้งตาย
- กิ่งที่แน่นทึบอยู่ในทรงพุ่ม
- กิ่งนำซึ่งมักจะเจริญไปในทางด้านสูง ซึ่งจะทำให้ทรงพุ่มสูงขึ้น ควรจะทำการตัดเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้มีการเจริญออกทางด้านกว้างมากกว่า เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา ตลอดจนการห่อผลและเก็บเกี่ยวผลผลิต
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยต้นกระท้อนที่ยังไม่ให้ผลจะเน้นไปที่เพื่อบำรุงต้นให้มีการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านเป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเป็นหลัก เช่น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราที่ใส่ควรจะไม่มากนักแต่ควรใส่บ่อยครั้งจะดีกว่า เช่น 3 เดือน/ครั้ง
เมื่อต้นกระท้อนให้ผลผลิตแล้ว การใส่ปุ๋ยจะเปลี่ยนสูตรไปตามระยะเวลาของความต้องการ กล่าวคือ
1. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 เพื่อช่วยบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์เหมือนเดิม
2. ช่วงก่อนที่ต้นกระท้อนจะพักตัว ควรจะมีการใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยให้ต้นมีการเก็บสะสมอาหารเพื่อการสร้างตาดอกดีขึ้น โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 9-24-24 หรือ 12-24-12 ในเดือนตุลาคม
3. ระยะติดผลแล้ว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
4. ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 20 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูง เช่น 13-13-21 เพื่อช่วยให้มีการปรับปรุงคุณภาพของผลให้ดีขึ้น เช่น เนื้อมีความนุ่มขึ้น รสชาติหวานขึ้น

สำหรับอัตราที่ใช้ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่ม สภาพความสมบูรณ์ของต้นและปริมาณผลผลิตในแต่ ละปี ตัวอย่างเช่น ต้นอายุ 10 ปี มีขนาดทรงพุ่มกว้างประมาณ 8 เมตร มีการให้ผลผลิตดีอย่างสม่ำเสมอ ก็ควรให้ปุ๋ย ไม่ต่ำกว่า 8 กก./ปี แบ่งใส่เป็น 4 ครั้ง (ครั้งละ 2 กก.) โดยพิจารณาใช้สูตรตามช่วงระยะเวลาที่ได้กล่าวแล้ว ส่วนปุ๋ยคอกอาจใส่ในช่วงหลังจากเก็บผลแล้วครั้งเดียวก็พอ อัตราการใส่แล้วแต่ชนิดของปุ๋ยคอกที่ใช้ สำหรับต้นอายุ 10 ปี อาจใช้ อัตราตั้งแต่ 25 - 50 กก./ต้น
การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชในสวนกระท้อนถ้าเป็นสวนขนาดเล็ก อาจใช้จอบดายหญ้าก็ได้ แต่ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่ ควรใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ หรืออาจจะเป็นแบบรถเข็นตัดหญ้าก็ได้จะทำให้สะดวกมากขึ้น การใช้ สารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ผลดีเช่นกัน แต่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะบางครั้งอาจทำให้เกิดความเสียหายกับ ต้นกระท้อนขึ้นได้ ในแต่ละปีจะทำการกำจัดวัชพืชประมาณ 3-4 ครั้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงฤดูฝน นับตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นต้นไป จนหมดฤดูฝนแต่ถ้ามีวัชพืชมากก็อาจจะทำการกำจัดวัชพืชในช่วงออกดอกอีกครั้ง
 
 
 
 
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ผลกระท้อนแต่ละพันธุ์จะทะยอยแก่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมของแต่ละปีการสังเกตผลแก่อาจจะดูได้หลายวิธี ได้แก่ การนับอายุของผล เช่น พันธุ์เบา(ทับทิม, เขียวหวาน, ทับทิมทอง) จะมีอายุตั้งแต่ดอกบานถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 130 - 150 วัน ถ้าเป็นพันธุ์หนัก (เทพรส ปุยฝ้าย อีล่า นิ่มนวล) จะประมาณ 170 - 180 วัน เป็นต้น นอกจากนั้นอาจสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายในของผล เช่น เนื้อนุ่มขึ้น ความฝาดลดลงหรือลักษณะภายนอกผล เช่น การเปลี่ยนสีผิวเป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาลจนถึงก้นผลเป็นต้น เมื่อผลกระท้อนแก่แล้ว หากปล่อยไว้บนต้นต่อไปอีก เป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีที่ไส้กลางผลเป็นสีน้ำตาลและมีกลิ่นบูดเกิดขึ้นเรียกว่าไส้เป็นน้ำหมาก และยังทำให้ผลร่วงมากขึ้นด้วย
การเก็บเกี่ยวผลอาจใช้บันไดหรือพะองสำหรับขึ้นไปเก็บผลได้โดยใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผลใส่ตะกร้า หรือใช้กรรไกรสำหรับเก็บผลไม้ที่มีที่หนีบขั้วผลด้วยก็จะสะดวกขึ้น นำไปแกะเอาวัสดุที่ใช้ห่อออก เพื่อคัดขนาดเพื่อของผลและทำความสะอาดรอการจำหน่ายต่อไป
 
 
 
 
การป้องกันและกำจัดแมลง

ไรแดง
ไรแดงจะเข้าทำลายกระท้อนในระยะตั้งแต่ใบอ่อนจนถึงใบแก่ ทำให้ใบหงิกงอเป็นปุ่มปม ด้านใต้ใบจะมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่ สีน้ำตาลถ้ามีระบาดมากจะทำให้ใบอ่อนหงิกงอหมดเมื่อพบว่าเริ่มมีไรแดงระบาดควรทำการตัดแต่งใบที่ถูกทำลายไปเผาทำลายทิ้ง และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดไรแดง เช่น กำมะถันผง ไดโคโฟล อามีทราส ไดโนบูตัน โดยฉีดพ่นหลังจากตัดแต่งกิ่งและเริ่มแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง ทุก 4 วัน

หนอนผีเสื้อยัก
หนอนผีเสื้อยักษ์จะมีขนาดตัวใหญ่สีฟ้า จะเข้ากัดกินใบและยอดอ่อนทำให้ต้นกระท้อนชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ถ้ามีระบาดควรจับตัวหนอนมาทำลายและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เมทโธมีลประมาณ 1-2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน

หนอนร่านกินใบ
ตัวหนอนมีขนาดเล็กมีขนถ้าาถูกผิวหนังจะรู้สึกแสบและคัน ตัวหนอนเข้ากัดกินใบเสียหาย ถ้ามีระบาดมากจะพบว่าตัวหนอนจะรวมกันเป็นกระจุกกัดกินใบแหว่งเป็นวง กำจัดโดยตัดใบที่มีตัวหนอนอยู่ด้วยไปทำลายทิ้งและฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพอร์เมททริน เมทโธมมีล ประมาณ 1-2 ครั้ง

หนอนเจาะขั้วผล
หนอนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรังที่ทำจากกลีบดอกกระท้อนแห้ง ๆ และเข้ากัดกินขั้วผลขณะที่ผลกระท้อนยังเล็กอยู่ ทำให้ผลแห้งและร่วงหล่น การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ โดยการตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง เมื่อเริ่มติดผลขนาดเล็ก ควรมีพ่นละอองน้ำล้างช่อดอกจะช่วยลดการทำลายลงได้ ถ้าระบาดมากควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น โมโนโครโตฟอส ประมาณ 3-4 ครั้ง ทุก 7-10 วัน

เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายกระท้อนตั้งแต่ระยะยอดอ่อน ระยะช่อดอกจนถึงติดผลขนาดเล็กทำให้ดอกแห้งร่วง ผลจะมีผิวลายและจะติดไปจนผลแก่ หากพบว่ามีเพลี้ยไฟระบาาดควรรีบทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน ฟอร์มีทาเนท ในช่วงเริ่มออกช่อดอกและก่อนดอกบาน แต่งดการฉีดพ่นช่วงดอกบานหลังจาก ติดผลแล้วจึงฉีดพ่นใหม่ประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

แมลงวันผลไม้
แมลงวันผลไม้จะเข้าวางไข่บนผลที่ผิวเปลือกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีกระดังงาเป็นต้นไป ตัวหนอนจะชอนไช เข้าไปกัดกินเนื้อ ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่น การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การห่อผลในระยะที่ผลกระท้อนเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีขี้ม้า (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีกระดังงา) ก็จะป้องกันได้
หนอนชนิดนี้จะพบว่า ระบาดในสวนกระท้อนที่ไม่มีการดูแลรักษา เช่น ไม่มีการตัดแต่งกิ่งตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้นเข้าทำลายท่อน้ำ ท่ออาหารทำให้กิ่งแห้งตาย การป้องกันกำจัดโดยดูแลตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง ถ้าพบว่ามีตัวหนอนเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้น โดยจะสังเกตจากมีขุยอยู่ตรงรูที่หนอนเจาะเข้าไป ให้ใช้เข็มฉีดยา ใส่สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโครวอสฉีดเข้าไปในรูปที่หนอนเจาะ แล้วใช้ดินหรือดินน้ำมันปิดรูไว้

โรคใบจุด
โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อมีการระบาดจะทำให้เกิดเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ บนใบ ขอบแผลมีสีเข้มตรงกลางมีสีเหลืองจุดเล็ก ๆ จะขยายไปจนทั่วใบตามความยาวของใบ เมื่อพบว่ามีโรคดังกล่าวระบาดมากควรทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บิโนมีล คาร์เบนดาซิม ทุก 10-15 วัน
 
 
 
 
   
   
 
 
   
 


บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!