เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า...ควรปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธอย่างไร (ตอน๔)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า...ควรปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธอย่างไร (ตอน๔)  (อ่าน 1460 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:42:29 pm »

ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...จะได้มั่นคงดำรงอยู่ในโลกปัจจุบันได้อย่างไม่วุ่นวาย ไม่เร่าร้อน เพื่อความสงบสุขของชีวิต..

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส.

พระสีวลีเถระ/มหาโพธิสมาคม พุทธคยา อินเดีย


วิสัชนา : “กฎอนัตตา” จึงเป็นแก่นธรรมแท้ในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ชอบ ค้นพบด้วยพระองค์เอง ทรงประกาศพระธรรมคำสั่งสอน เพื่อหมู่มหาสัตว์ทั้งหลายให้รู้แจ้ง เห็นจริง ในกฎอนัตตาดังกล่าว เพื่อเข้าถึงชั้นความจริงสูงสุด ที่เรียกว่า อริยสัจ ทั้งนี้เพื่อละวางคลายออกจากการยึดติดในโลกขันธ์ หรือ รูปนาม (ขันธ์ ๕) นี้ เพื่อความดับทุกข์ให้สิ้น...

การละวางคลายออกจากความรัก ความโกรธ หรือ ความชอบความไม่ชอบ ไม่ว่าในสิ่งใดๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ ผู้ประพฤติธรรมจึงต้องพัฒนาจิตใจให้มีความเห็นรู้แจ้งจริงตามกฎอนัตตาดังกล่าว อันจะนำไปสู่การตกผลึกความรู้ที่สร้างปัญญาธรรมให้เกิดขึ้นในเบื้องต้น เพื่อเข้าใจความจริงในขั้นปรมัตถธรรม ที่ว่า “ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา...ไม่ใช่ตัวตนของเรา” ด้วยการรู้เห็นสภาวะความไม่เที่ยงของโลกขันธ์หรือรูปนามนี้ ซึ่งหากมีอุปาทานยึดมั่น ยึดถือ ย่อมรวมลงที่ความทุกข์ อันมีสามัญลักษณะที่ปรากฏ คือ ความเกิดดับ สืบเนื่องไปในวิถีของสังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร

ดังนั้น การพัฒนาความรู้จนนำไปสู่ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) สามารถแทงตลอดเข้าไปในธรรม จนเข้าถึงแก่นธรรมอนัตตา และพบว่าความทุกข์เกิดขึ้น เพราะอุปาทานการยึดถือในความเป็น ตัวเรา...ของเรา (อหังการ มมังการ) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้ผู้รู้และเข้าถึงธรรมดังกล่าวนั้น เกิดดวงตาธรรม (The Eyes of Truth) เกิดตกผลึกความรู้ในชั้นของจิต (ผู้รู้) ว่า “ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธ ธัมมันติ” แปลให้ชัดตรงกับกฎอนัตตาว่า “สิ่งใดเกิดมาจากเหตุ สิ่งนั้นๆ ย่อมดับสิ้นไป เพราะเหตุดับ...”

เมื่อพิจารณาให้แยบคาย เข้าให้ถึงเหตุปัจจัยของความจริงอันเกี่ยวกับโลกและชีวิต เพื่อความรู้เข้าใจตามสภาวะธรรมชาติ จึงกลายเป็นหลักการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในที่มีบทบาทสำคัญมากในการศึกษา เพื่อเข้าให้ถึงตัวสภาวธรรมที่แท้จริง อันเป็นการเข้าถึงแก่นแท้ของปัญหา ซึ่งนำไปสู่การรู้จริงในเหตุปัจจัย อันทำให้เกิดสภาวธรรมหรือปัญหานั้นๆ เพื่อออกมาจากอำนาจของค่านิยม ที่เกิดจากการหล่อหลอมแห่งสังคม และเพื่อออกมาจากอารมณ์อันปรุงแต่งไปตามสิ่งเร้า ซึ่งเกิดจากภายในจิตใจของตน หรือกล่าวโดยย่อพอเข้าใจได้ไม่ยากว่า เพื่อออกมาจากอำนาจค่านิยมภายนอก และออกมาจากอำนาจความทะยานอยาก (ตัณหา) จากภายใน
จึงต้องรู้จักกระบวนการศึกษาปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่มีหลักการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่ปัญญาความรู้แจ้งในสภาวธรรมนั้นๆ ที่เรียกว่า กระบวนการโยนิโสมนสิการ ที่แปลสั้นๆ ว่า “การพิจารณาโดยแยบคาย” หรือพูดให้ฟังง่ายๆ ว่า “การรู้จักคิด” ซึ่งเป็นหัวใจในการศึกษาดังคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนรู้จักคิด” ส่วนจะพิจารณาอย่างไร...จะใช้หลักธรรมอันใด เพื่อหยุดจิตไว้ที่ธรรม... เพื่อน้อมนำธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า มารักษาจิตให้ไม่หวั่นไหวต่ออำนาจโลกที่แก่กล้าวัตถุนิยม ตามที่ปุจฉามา ก็เชิญติดตามพิจารณาในตอนต่อไป



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: