ว่าด้วย ‘โรค’ ร้อน!
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 04:05:16 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย ‘โรค’ ร้อน!  (อ่าน 1473 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 22, 2010, 07:47:05 am »





ล่วงเข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ใครต่อใครไม่อยากพาตัวไปออกแดด หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง แต่สำหรับคนบางกลุ่มที่ต้องทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพท่ามกลางแสงแดด พึงรู้ไว้ว่า ร่างกายของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรคจากแดด หรือความร้อน ประกอบด้วย ตะคริวแดด เพลียแดด และลมแดด

เริ่มรู้จักกับ ‘ตะคริวแดด’ อาการขั้นเบา แต่ก็นำความเจ็บปวดมายังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง ต้นขา ไหล่  และหลัง โดยเกิดจากการทำกิจกรมหรือออกกำลังกายกลางแดดจ้าเป็นระยะเวลานานจนมีเหงื่อ ออกมาก แต่ร่างกายกลับไม่ได้รับน้ำหรือเกลือแร่ทดแทนเหงื่อที่เสียไปในปริมาณที่ เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการเกร็ง และเป็นตะคริว

ส่วนความอันตรายจากภัยร้อนที่หนักกว่าตะคริวแดด คือ ‘เพลียแดด’ เพราะร่างกายสูญเสียน้ำมาก เหงื่อออกน้อยจนเกิดอาการปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเบาแต่เร็ว ผิวหนังเย็นและชื้น บางรายมีอาการตะคริวแดดร่วมด้วย

และอาการซึ่งอันตรายที่สุด สามารถทำให้เสียชีวิตได้ คือ ‘ลมแดด’ หรือ ฮีทสโตรก อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะรู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนจัด เพ้อหรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง ช็อค ผิวหนังแห้งและร้อน ระดับความรู้สึกตัวจะลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก ไม่มีเหงื่อออก

สาเหตุที่ร่างกายเกิดภาวะฮีทสโตรกเป็นเพราะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ทัน และส่งน้ำไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้

สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิด 3 อาการที่มากับสภาพอากาศสุดร้อน นอกจากจะเป็นผู้ที่ออกไปอยู่กลางแจ้งแล้ว คนอ้วน ที่มีไขมัยเป็นฉนวนความร้อนทำให้ร่ายกายระบายความร้อนได้ช้า เด็กและคนชรา ที่ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จัดเป็นกลุ่มที่ควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เกลือแร่ เป็นพิเศษ

พรุ่งนี้ ‘ภาษาหมอ’ มีวิธีช่วยชีวิตผู้ที่ถูก 3 อาการจากความร้อนคุกคามมาให้ผู้อ่านเตรียมรับมือ.

takecareDD@gmail.com

ภาพประกอบจาก www.bryanking.net


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!