พงศา ชูแนม ทรัพยากรณ์บุคคล แนวคิดที่ต้องยกย่อง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 01:26:37 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พงศา ชูแนม ทรัพยากรณ์บุคคล แนวคิดที่ต้องยกย่อง  (อ่าน 3834 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 11:07:59 am »

 Lips Sealed


นายพงศา ชูแนม
การจัดการชุมชนป่าต้นน้ำ ตามแนวทาง ?คนอยู่-ป่ายัง?

นายพงศา ชูแนม เป็นตัวอย่างของข้าราชการยุคใหม่ ที่เชื่อมั่นในแนวทางการอนุรักษ์และจัดการป่า ควบคู่กับการพัฒนาคน พัฒนาชุมชน นายพงศาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านการใช้ทรัพยากรระหว่างรัฐ กับชาวบ้านในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่น้ำหลังสวนด้วยสันติวิธี โดยเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวบ้านอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการจัดการทรัพยากร เพื่อสร้างความมั่นใจให้ชาวบ้าน ว่าเขาสามารถมีสุขภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึก และเชื่อมั่นศักยภาพของตนในการมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่า
 



ในสำนักของข้าราชการกรมป่าไม้ อย่างนายพงศา ชูเนม ภารกิจสำคัญของเขาคือการอนุรักษ์ป่า พร้อมพัฒนาคน โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ดูแล รักษา และใช้ประโยชน์ โดยเริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ หาคุณค่าสำคัญยิ่งกว่านั้น คือการที่เขาร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมแก้ไข ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้าน เสมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความผูกพันด้านจิตใจภายในชุมชนและระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่

ประสบการณ์จากการทำงานที่ผ่านมาทำให้นายพงศาได้ข้อสรุปกับตนเองว่า การปราบปรามจับกุมผู้ตัดไม้ทำลายป่า มิใช่คำตอบของความอยู่รอดของผืนป่าอย่างยั่งยืน

เมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำ พะโต๊ะ ในปีพ.ศ. 2535 นายพงศาได้แปลแนวความคิด ?คนอยู่ได้ ป่าอยู่รอด? สู่รูปธรรมของกิจการด้านต่างๆ ทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ในนามของโครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? เพื่อแสดงให้ชาวบ้านเห็นว่า ยังมีทางเลือกในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเกื้อกูลกัน

นายพงศา ชูแนม คือหนึ่งในพลังขับเคลื่อนสังคมไทยสู่อนาคต ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีสิทธิในการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความเข้มแข็ง บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน นายพงศา ชูแนม และชุมชน ในโครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? พิสูจน์ให้เห็นว่าแนวความคิดเรื่อง ?คนอยู่กับป่า? เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเป็นไปแล้วในชุมชนคนต้นน้ำแห่งนี้


จากผู้พิทักษ์ป่า มาเป็นนักประสานความร่วมมือ

ในปี พ.ศ. 2533 นายพงศาเริ่มปฏิบัติหน้าที่ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่า หน้าที่หลักของเขาคือ การปราบปรามชาวบ้านที่บุกรุกป่าเพื่อถางไร่ ต่อมาในปีพ.ศ. 2534 เขาได้เปลี่ยนแนวทางการทำงาน จากการจับกุมเป็นการพูดคุย ด้วยต้องพิสูจน์ความเชื่อที่ว่า เจ้าหน้าที่น่าจะสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านได้

นายพงศาเป็นฝ่ายเริ่มเข้าหาชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านหยุดยั้งการทำลายป่า และชักชวนให้รวมกลุ่มเป็นสมาชิกในคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร และชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมพะโต๊ะ เพื่อต่อสู้กับนายทุนผู้มีอิทธิพลและกลุ่มข้าราชการที่ลักลอบป่าไม้ ทำลายป่า ผลก็คือ ปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าลดลงจนเกือบจะหมดไป หากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ต้องสูญเสียสมาชิกในชมรมฯ ซึ่งถูกฆ่าตายไป 1 คน

แนวทางการทำงานของนายพงศาแตกต่างจากข้าราชการป่าไม้ทั่วไปเขาจึงค่อนข้างโดดเดี่ยวบนเส้นทางการทำงานสายนี้ ต่อมานายพงศาจึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยเริ่มต้นจากชุมชนเล็กๆ ที่บ้านคลองเรือน และบ้านหลักเหล็ก ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กันดารที่สุดในจังหวัดชุมพร

 
 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 นายพงศาได้รับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำพ๊ะโต๊ะ หน้าที่หลักของเขาคือการจัดการลุ่มน้ำและชุมชน พร้อมการฟื้นฟูระบบนิเวศในเขตต้นน้ำ ซึ่งขณะนั้นมีอุปสรรคสำคัญอยู่ที่การบุกรุกทำสวนกาแฟ สวนผลไม้ของชาวบ้าน หากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ชาวบ้านเริ่มเป็นมิตรกับข้าราชการที่ทำงานรักษาป่า นายพงศาจึงสามารถเป็นแกนนำประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนกับข้าราชการป่าไม้ ทำแนวเขตป่าต้นน้ำของหมู่บ้านห้วยตรอกข้าว คลองช้าง ห้วยขอน พระรักษ์ คลองเหนก พื้นที่รวม 8,500 ไร่ นายพงศา เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดกฎกติกาของหมู่บ้าน ขณะดำเนินการอพยพราษฎรที่อยู่บนที่สูงมาอยู่พื้นล่างได้ 12 ครัวเรือน โดยนายพงศาได้เจรจาขอที่ดินจากนายทุนที่ซื้อทิ้งร้างไว้เพื่อจัดสรรให้ชาวบ้านได้อยู่อาศัย เพราะนายพงศามีความเชื่อมั่นว่าคนกับป่าสมารถอยู่ด้วยกันได้ถ้ามีการจัดการที่ดี

จากนั้นนายพงศาได้ประสานความร่วมมือกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดต่อกับพื้นที่ป่า ในการจัดสร้างสำนักงานหน่วยย่อยบริเวณที่มีธรรมชาติสวยงามในป่า จนเกิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของหมู่บ้าน เช่น น้ำตกเหวโหลม น้ำตกเหวเตย น้ำตกเหวตาจันทร์ น้ำตกเหวพลูหนัง

ในปีพ.ศ. 2535 นายพงศา ถูกกลั่นแกล้งจากข้าราชการในท้องถิ่น จนต้องถูกจับกุมไว้ที่ห้องขังสถานีตำรวจภูธรอำเภอพะโต๊ะเป็นเวลา 7 วัน ชาวบ้านรวมพลังต่อสู้ให้กำลังใจอย่างเนืองแน่น จนในที่สุดอัยการสั่งยกฟ้อง เนื่องจากนายพงศาได้ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นก่อให้เกิดความเข้มแข็งด้านจิตสำนึกการ่อสู้เพื่อการอนุรักษ์ป่าในกลุ่มมากขึ้น

เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาป่าไม้แห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้นายพงศาได้รับรางวัลผู้นำการประชาสัมพันธ์เพื่อการหยุดยั้งการทำลายป่าในท้องที่อำเภอพะโต๊ะ จาก UNDP

โครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? : องค์รวมของการพัฒนาป่า-พัฒนาคน

โครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2536 โดยหน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะครอบคลุมพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่น้ำหลังสวน 73,900 ไร่ มีชุมชนที่อาศัยในเขตป่า 12 หมู่บ้าน ในระยะแรกมีหมู่บ้านเป้าหมาย 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองเรือ และบ้านหลักเหล็ก

สาเหตุหลักของการบุกรุกทำลายป่าของชาวบ้านมาจากปัญหาเศรษฐกิจ ภาระหนี้สินกับนายทุนในพื้นที่ นอกจากนั้น ชาวบ้านยังมีปัญหาไร้ที่ทำกิน จากการได้คลุกคลีกับชาวบ้าน ทำให้นายพงศาทราบถึงปัญหาเหล่านี้และเกิดแนวคิดว่า การแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรและการแย่งชิงทรัพยากรไม่อาจสัมฤทธิ์ผล หากมิได้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย

นายพงศาเข้าไปสำรวจข้อมูลร่วมกับชุมชนและจัดตั้งองค์กรชาวบ้าน ในรูปของคณะกรรมการโครงการคนอยู่-ป่ายัง ปัจจุบันประกอบด้วยหมู่บ้านหลักเหล็ก คลองเรือ หลางตาง ห้วยค้อ มีการกำหนดกฎกติกาชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญหมู่บ้าน

การดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการฯ ต้องผ่านคณะกรรมการโครงการฯ ทุกครั้งมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง เพื่อให้กฎกติกาชุมชนที่ร่างขึ้นก่อให้เกิดความสมดุลแห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับดิน น้ำ ป่า ผ่านกิจกรรมต่างๆได้แก่

เกษตร 4 ชั้น นายพงศาเสนอทางเลือกให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต จากการเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสาน ประกอบด้วยพืชชั้นบน ปลูกไม้ เช่น สะตอ หมาก มะพร้าว ไม้ใช้สอยต่างๆ พืชชั้นกลาง ปลูกไม้ผล เช่น มังคุด ลางสาด ลองกอง เงาะ จำปาดะ ทุเรียน พืชชั้นล่าง ปลูกกาแฟ ผักเหลียง พริก มะเขือและต่อมาได้เพิ่มอีกชั้นหนึ่ง คือพืชชั้นใต้ดิน ปลูกพืชมีหัว เช่น ข่า ตะไคร้ มัน กลอย เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มตลอดปี ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมี โดยจัดทำแปลงสาธิตไว้ที่หน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ และที่โรงเรียนต้นน้ำหลางตาง ก่อ
ให้เกิดเศรษฐกิจแบบพอเพียงพร้อมรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน

 การใช้ประโยชน์จากที่ดินในหมู่บ้าน กำหนดมาตรการให้ยึดปฏิบัติตามกฎกติกาของชุมชน ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมาจากการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน หากมีหลักการคล้ายคลึงกัน เช่น ห้ามครอบครองที่ดินเกิน 50 ไร่ มิฉะนั้นจะถูกยึดคืน, ห้ามมิให้มีการซื้อ-ขายที่ดินให้คนภายนอก ยกเว้นญาติทางสายเลือดห้ามตัดไม้ใช้สอย, ห้ามนำไม้ใช้สอยออกจากหมู่บ้านอย่างเด็ดขาด, ห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด ยกเว้น หมูป่า กระรอก หรือสัตว์ที่ทำลายพืชผลทางเกษตร, หากใครบุกรุกพื้นที่ในเขตอนุรักษ์จะถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ นับเป็นวิธีการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าได้เป็นอย่างดี

ประปาภูเขา นับเป็นกุศโลบายอันแยบยลของนายพงศาในการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำ หากไม่มีการดูแลรักษาไว้ ชุมชนจะขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร นอกจากนั้น ชุมชนได้ตั้งกฎกติกาแบ่งปันปริมาณน้ำตามความเหมาะสมและยุติธรรมก่อให้เกิดเครือข่ายดูแลป่าเหนือจุดต่อประปาภูเขา

กลุ่มออมทรัพย์ จัดตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2539 เพื่อให้เป็น ?ธนาคารของหมู่บ้าน? ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาวบ้าน ประกอบด้วยกลุ่มต้นน้ำออมทรัพย์ ปัจจุบันมีเงินสะสม ประมาณ 2,000,000 บาท และกลุ่มออมทรัพย์หลางตาง ปัจจุบันมีเงินสะสม ประมาณ 400,000 บาท ขณะเดียวกันทางกลุ่มพยายามเชื่อมโยงปัญหาทางเศรษฐกิจสู่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น รณรงค์ให้สมาชิกเลิกใช้สารเคมีปราบวัชพืช และปราบแมลงศัตรูพืช

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากชุมชนมีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อเป็นการเปิดชุมชนให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก นอกจากนั้น ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง เช่น กิจกรรมการเดินป่า ล่องแพ


โครงการ ?เด็กนักเรียนต้นน้ำ? เริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2535 นายพงศาได้ร่วมกับชุมชนและผู้มีศรัทธา สร้างบ้านพักให้เด็กจากในหมู่บ้านในป่าห่างไกลให้มาอยู่ร่วมกัน โดยทางหน่วยจัดการต้นน้ำฯ อุปการะเรื่องอาหารการกิน บ้านพัก และการรับ-ส่ง รวมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่นายพงศาใช้ทุนทรัพย์ของตนเอง มีผู้ร่วมสมทบทุนเพียงจำนวนน้อย โครงการนี้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีเด็กนักเรียนประมาณปีละ 20-30 คน

โรงเรียนต้นน้ำรับเด็กที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนต้นน้ำหลางตาง ซึ่งก่อตั้งโดยความร่วมมือจากสถาบันต่างๆ และชุมชน โดยมีลูกจ้างของหน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะเป็นครูผู้สอน ปัจจุบันเปิดสอน 4 ระดับชั้น มีนักเรียนรวม 34 คน ลูกจางที่ทำหน้าที่เป็นครู 4 คน

หลักสูตรอบรมเยาวชน ?การศึกษาระบบนิเวศต้นน้ำ? เพื่อให้เด็กได้ศึกษาระบบนิเวศของป่าในพื้นที่จริง ใช้สถานที่ที่หน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะและเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาหือโรงเรียนนำนักเรียน นักศึกษามาเข้าค่ายเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ปีละ ประมาณ 5 รุ่น โดยนายพงศามิได้ใช้งบประมาณราชการแต่ได้อย่างใด หน่วยฯ จึงเป็นเสมือนสถาบันให้การศึกษาด้านการจัดการต้นน้ำ

ป่าสมุนไพรประจำหมู่บ้าน พื้นที่ 1,200 ไร่ และพื้นที่ป่าสมุนไพรในหน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ มีการจัดสัมมนาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านสมุนไพรในปีพ.ศ. 2538 โดยเชิญนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันศึกษาป่าสมุนไพรซึ่งจะเอื้อประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษา วิจัย และการนำไปใช้

 

การศึกษาป่าผักพื้นบ้าน และจัดทำแหล่งผักป่าพื้นบ้านอาหารชุมชนชาวบกไฟและกลุ่มเก็บผักป่าพื้นป่า พื้นที่ 400 ไร่ ที่บ้านบกไฟ หมู่ 3 ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จัดเป็นพื้นที่สำหรับเก็บหาของป่าและสมุนไพรหรือ FOOD BANK ของชาวบ้าน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการบุกรุกทำลายป่า และสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้าน จากการสำรวจรายได้จากการหาของป่าจากชาวบ้าน 37 ราย ปรากฏว่าชาวบ้านมีรายได้ถึง 624 ,667 บาท ต่อปี ในปีพ.ศ. 2542 ชาวบ้านรวมตัวกันเป็นกลุ่มองค์กรเพื่อปลูกเสริมพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดในพื้นที่

ชุมชน ต้นไม้ ฝาย แฝก

โครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? ใช้กิจกรรมเป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้าน นายพงศาให้ความสำคัญต่อการสร้างความผูกพันด้วยใจ เขาจะเข้าไปคลุกคลีและใช้ชีวิตกับชาวบ้านเหมือนเป็นลูกหลานคนหนึ่ง เขาเชื่อว่าหากชาวบ้านมีใจจะเข้าร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมต่างๆและจะเข้าร่วมด้วยความเต็มใจ นายพงศาทำงานโดยให้ความสำคัญต่อคนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงเชื่อมโยงให้คนความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตของเขา กับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ป่า

 สาระสำคัญของแนวคิดในการทำงานของพงศา ?ชุมชน ต้นไม้ ฝาย แฝก?

ชุมชน หมายถึง การจัดการชุมชน นายพงศาให้ความสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึก เพราะเชื่อว่า คน คือปัจจัยสำคัญที่สุด การจัดการป่าต้องมีบูรณาการเรื่องคนในมิติต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์

ต้นไม้ หมายถึง การฟื้นฟูระบบนิเวศ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ป่าไม่ต้องปลูกเพิ่ม ปล่อยให้เติบโตเอง ขอเพียงอย่ารังแก ?เกษตร 4 ชั้น? คือรูปธรรมการลดปัญหาไฟป่าในที่ทำกิน โดยเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ผสมผสานเลียนแบบป่าธรรมชาติ

ฝาย ฝายต้นน้ำช่วยกักน้ำให้อยู่บนผิวดินได้นาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน นายพงศาชี้ให้ชาวบ้านเห็นความสัมพันธ์ระหว่างฝาย-น้ำ-ป่า เพราะหากไม่รักษาป่า ก็ไม่มีน้ำฝายนอกจากช่วยเก็บกักน้ำแล้ว ยังช่วยเก็บกักตะกอนได้อีกทางหนึ่ง

ในปีแรก นายพงศาได้เสนอของบประมาณซื้อท่อประปา หากไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจากมิได้อยู่ในแผนงานของกรมป่าไม้ หากเขาได้พยายามชี้ให้เห็นว่าท่อประปาสามารถรักษาป่าไว้ได้ ในที่สุดข้อเสนอนี้ก็ผ่านการอนุมัติ ต่อมาแนวคิดเรื่องประปาภูเขา ไดขยายสู่หน่วยงานต่างๆ จนเกิดการทำประปาภูเขากันทั่วไป ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนในหมู่ชาวบ้านแล้ว ยังก่อให้เกิดความร่วมมือของชาวบ้านในรูปของการตั้งกฏะเบียบกติกาการใช้น้ำร่วมกัน ชาวบ้านยังช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังป่าให้อีกด้วย

แฝก หมายถึงการอนุรักษ์ดิน นอกจากการปลูกแฝกแล้ว ยังมีการปลูกต้นไม้เป็นแนว และปลูกพืชคลุมดินอื่นๆ

คณะกรรมการรักษาป่าของหมู่บ้านจัดตั้ง ?ชุดลาดตระเวนไพร? มีกิจกรรมหลักคือ การลาดตระเวนรอบหมู่บ้าน ทั้งทางเรือและทางบก นอกจากนั้นยังมีการฝึกอบรม ดูงาน ทำฝาย ทำแปลงสาธิตการเกษตรเชิงอนุรักษ์ ส่งเสริมกรทำแปลงเพาะชำประจำหมู่บ้าน ปัจจุบันทุกบ้านมีแปลงเพาะชำของตนเอง ชาวบ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การเกษตรแบบพอเพียงทำการปลูก ขุดบ่อเลี้ยงปลาในบ้าน

ผลสำรวจที่น่าภาคภูมิใจอีกประการหนึ่ง คือ ไม่มีการถางป่าในหมู่บ้าน หากมีบ้าง คณะกรรมการหมู่บ้านก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่จะดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการหมู่บ้านมีฉันทามติก่อนเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

ปัจจุบันสภาพป่าต้นน้ำในเขตพื้นที่ทำงานมีความอุดมสมบูรณ์มาก ต่างจากก่อนหน้าที่นายพงศาจะเข้ามาทำงาน ตัวชี้วัดที่เห็นได้ชัด คือ พันธุ์พืช และสัตว์ป่าแทบทุกชนิด ทางหน่วยฯ และชุมชนมีการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย เขตทำกิน แต่อนุญาตให้เก็บของป่าได้ แนวเขตดังกล่าวมาจากการตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน นอกจากนั้นชาวบ้านยังร่วมชี้เบาะแส เพื่อให้เจ้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ซึ่งในระยะเริ่มต้นของโครงการได้ถูกขัดขวางจากผู้ลุกลอบ นักการเมือง และข้าราชการในท้องถิ่นอย่างมาก

สร้างเครือข่ายประชาคมคนรักป่า

กลุ่มหมู่บ้านในโครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? รวมพลังจัดตั้งองค์กรชุมชนเครือข่ายในลุ่มน้ำภายใต้ชื่อ ?กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำหลังสวน? เพื่อรณรงค์เผยแพร่กิจกรรมการดูแลทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยประสานกับเครือข่ายจากกลุ่มรักษ์แม่น้ำหลังสวนเกษตรทางเลือกภาคใต้ องค์กรป่าชุมชนจากชุมชนต่างๆ ของจังหวัดชุมพร รวมทั้งยังมีความพยายามผลักดัน ให้เกิดร่างแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง เป็นการวางแผนโดยชุมชนในนามขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ปัจจุบัน ชุมชนต่างๆ ยอมรับแนวทางการทำงานของนายพงศา ชูแนม และประสานงานให้ทางหน่วยฯ เข้าไปทำงานในพื้นที่ หากด้วยงบประมาณอันจำกัด หน่วยฯ สามารถให้การสนับสนุนได้เพียงการจัดประชุม และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพงศา ชูแนม ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะขยายโครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? สู่หมู่บ้านในป่าต้นไม้ให้ครบทั้ง 12 หมู่บ้าน เขามีแผนงานร่วมกับชุมชนในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยชาวบ้านหลักสูตร ?การจัดการชุมชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร? แห่งแรกในภาคใต้เพื่อให้เป็นการกรณีศึกษากับชุมชนอื่น มีชาวบ้านเป็นวิทยากร ใช้งบประมาณจากกองทุนชุมชน

โครงการ ?คนอยู่-ป่ายัง? แสดงให้เห็นความร่วมมือระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในการสร้างสรรค์ และอนุรักษ์ป่าจนประสบความสำเร็จ สามารถรักษาป่าต้นน้ำหลังสวนผืนใหญ่ไว้ได้

ผู้นำโครงการฯ คือนายพงศา ชูแนม ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านและการแก้ปัญหาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแก้ปัญหาของนายพงศาสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสำฤทธิ์ได้จริง นายพงศา ยังเป็นนักกลยุทธ์ที่สามารถสร้างความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับชาวบ้าน ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคต่างๆ มากมายทั้งจากระบบราชการ นายทุนท้องถิ่นและการขาดงบประมาณสนับสนุน หากนายพงศาก็ยังต่อสู้ฝ่าฟันด้วยปณิธานมุ่งมั่นที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องคนปับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงอุดมเพ้อฝันใดๆ เพียงทุกฝ่ายหันหน้าประสานความร่วมมือกันเท่านั้น

http://www.songkhlaportal.com/
ที่เกี่ยวข้อง
http://www.treebankthai.com/phatotonnam/basic.html


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!