พันโทวีระ ใจหนักแน่น ประชาสัมพันธ์หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก ฉายา คิมซากัสส์ หรือ ลุงคิม ที่ผู้คนในวงการเกษตรลดต้นทุนโดยการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพและจุลินทรีย์รู้จักกันดีเจ้าของสูตรลับอีกสูตรหนึ่งที่ผู้คนพากันถามหากันให้ทั่วบ้านทั่วเมืองคือสูตร กล้อมแกล้มทำเอง และที่จะลืมเสียมิได้ก็คือ ดร.ฮีงะ จากประเทศญี่ปุ่น เจ้าของสูตรลับ อีเอ็ม ที่คิดว่าน่าจะเป็นผู้ที่ริเริ่มจุดประกายเรื่องปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือปุ๋ย จุลินทรีย์ขึ้นเป็นคนแรกโดยผ่านเข้ามาทางชมรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนาหรือโยเร ในปี พ.ศ.2529 สูตรลับนี้ถูกปกปิดเร้นลับมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีจึงได้ถูกเปิดเผยขึ้น ถูกเปิดเผยขึ้นอย่างไรและโดยใคร รอคำตอบอีกนิดใจเย็น ๆ ก็จะบอกให้ทราบ
7.การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรรวมมิตร
7.1 ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรกล้อมแกล้มทำเอง
ผู้เผยแพร่ :พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) ประชาสัมพันธ์หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก โทร (02) 888-0277 มือถือ (01) 913 4986
ส่วนผสมหลักและอัตราส่วน : พืชสด + ผลไม้ดิบ + ผลไม้สุก + เนื้อสัตว์ + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์
1 : 1 : 1 : 1/2 : พอท่วม : 1/100
คุณลักษณะของส่วนผสม
พืชสด : 1) สด ใหม่ สมบูรณ์ โตเร็ว ไม่มีโรค 2) วัชพืชหรือพืชขึ้นเองดีกว่าพืชที่ปลูก 3) ใช้ทุกส่วนของพืช 4) ใช้พืชหลายอย่างดีกว่าอย่างเดียว
ผลไม้ดิบ : 1) สด ใหม่ ใหญ่ สมบูรณ์ โตเร็ว ไม่มีโรค 2) ใช้ทั้งเนื้อเปลือกและเมล็ด
3) เลือกผลที่มีเมล็ดมาก ๆ 4)เมล็ดขนาดเล็กใช้ทั้งเปลือกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เฉพาะ เมล็ดใน
ผลไม้สุก : 1) เลือกเฉพาะผลไม้รสหวาน 2) มีเนื้อมาก ๆ 3) ใช้ทั้งเนื้อและเปลือก 4) สดใหม่ ใหญ่ สมบูรณ์ ไม่มีโรค
เนื้อสัตว์ : 1) ปลา หอย กุ้ง ปู กิ้งกือ ไส้เดือน หนอน แมลง 2) สด ใหม่ สมบูรณ์ ไม่มีโรค
3) ใช้ทุกส่วนหรือทั้งตัว 4) สัตว์น้ำจืดดีกว่าสัตว์ทะเล 5) ไข่และเนื้อหอยเชอรี่มีธาตุอาหารพืชมาก
วิธีทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
1. บดป่นหรือสับเล็กส่วนผสมทั้งหมด คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุลงภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ
2. ใส่กากน้ำตาลพอท่วม เติมน้ำมะพร้าวท่วมมาก ๆ ตามต้องการ ใส่จุลินทรีย์ คนหรือเขย่าให้เข้ากันดี
3. เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง ปิดฝาพอหลวม ๆ คนหรือเขย่าบ่อย ๆ
4. หมักนาน 7 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานฉุนถือว่า ใช้ได้ ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาล น้ำมะพร้าว และจุลินทรีย์แล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอม
5. ระหว่างการหมักมีฟองเกิดขึ้นถือว่าดี หมดฟองแล้วนำไปใช้ได้
6. หมักในภาชนะขนาดเล็กได้ผลเร็วกว่าหมักในภาชนะขนาดใหญ่
7. พยายามกดให้ส่วนผสมจมอยู่ใต้กากน้ำตาลเสมอ
เทคนิคเฉพาะปุ๋ยน้ำชีวภาพ
1. ส่วนผสมที่ข้นมาก แก้ไขด้วยการเติมน้ำมะพร้าวมาก ๆ ไม่ควรเติมน้ำเปล่าทุกกรณีและน้ำมะพร้าวอ่อนดีกว่าน้ำมะพร้าวแก่
2. หมักไว้เป็นเวลานาน ๆ มีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมน้ำมะพร้าวกับกากน้ำตาลและจุลินทรีย์ลงไปอีก
3. จุลินทรีย์ธรรมชาติมีใน เปลือก / ตา / แกนจุกสับปะรด แกนต้นปรง ผักปรัง เหง้าหญ้าขนสด ฟางเห็ดฟาง เนื้อผลไม้รสหวานทุกชนิด หรือที่จำหน่ายตามท้องตลาด เช่น จินเจียงลินซีส บาซิลลัสสุริยา-โน ไซโมจินัส พด-1 เป็นต้น ให้เติมจุลินทรีย์เพียงเล็กน้อยพอเป็นหัวเชื้อ
4. ส่วนผสมทั้งหมดไม่จำเป็นต้องหมักพร้อม ๆ กัน ส่วนไหนมาก่อนหมักก่อน มาทีหลังหมักทีหลังในภาชนะเดิม
5. กากปุ๋ยหมักชีวภาพคือส่วนที่ยังย่อยสลายไม่หมด เมื่อใช้น้ำหัวเชื้อหมดแล้วให้ใส่ส่วนผสมชุดใหม่ ผสมกับกากเดิมเติมกากน้ำตาล น้ำมะพร้าวและจุลินทรีย์แล้วหมักต่อไป
6. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสามารถเก็บได้นานนับปีหรือข้ามปีโดยไม่เสื่อมสภาพ
7. ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยน้ำชีวภาพมีอะไรบ้างและจำนวนเท่าไรขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้
8.น้ำหัวเชื้อปุ๋ยน้ำชีวภาพเมื่อกรองออกมาใส่ขวดทึบแสงแล้วเก็บในตู้เย็นที่ช่องเย็นธรรมดาหรือในอุณหภูมิห้องสามารถเก็บไว้ได้นาน ระหว่างเก็บให้ตรวจสอบด้วยการดมกลิ่น ของดีมีกลิ่นหอมหวานฉุน
9. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีต้องไม่มีกลิ่นของส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจน
10. หัวเชื้อปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักใช้การได้ใหม่ ๆ เป็นกรดจัด เมื่อหมักนาน ๆ ความเป็นกรดจะลดลงเอง
11. หนอนที่เกิดในภาชนะหมักเกิดจากไข่แมลงวัน หนอนนี้จะไม่เป็นแมลง เมื่อโตเต็มที่จะตายไปเอง
12. ฝ้าที่ลอยอยู่ที่ผิวหน้าคือจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว คนหรือเขย่าให้จมลงเป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ยังไม่ตาย
13. ประกายระยิบระยับที่ผิวหน้า คือ ฮิวมัส ธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช
14. อัตราใช้ เนื่องจากความเข้มข้นที่แต่ละคนทำไม่เท่ากัน ก่อนใช้งานจริงต้องทดสอบก่อนอัตราตั้งแต่ 1-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ถ้าใช้อัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ใบพืชไหม้โดยทั่วไปอัตราที่ใช้ให้ทางใบ 1/1,000 ทุก 7-10 วัน ให้ทางราก 1/500 ทุก 1015 วัน
15. ก่อนการให้กับพืชอาจผสมปุ๋ยเคมีหรือฮอร์โมนพืชร่วมด้วยก็ได้ตามความเหมาะสม
16. ปุ๋ยน้ำชีวภาพจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักชีวภาพ
http://www.doae.go.th/soil_fert/biofert/histirybiofer.htm