ชากะเพราไร้ไขมัน เพื่อสุขภาพและคลายเครียด เสนอเป็นเครื่องดื่มทางเลือก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 03:45:38 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชากะเพราไร้ไขมัน เพื่อสุขภาพและคลายเครียด เสนอเป็นเครื่องดื่มทางเลือก  (อ่าน 4228 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 29, 2009, 05:56:07 pm »

ขอเสนอสูตรชากระเพรา (แบบอายุรเวท)
          เทน้ำเดือดในถ้วยชาที่ใส่ใบกะเพราสด 4-6 ใบ ทิ้งไว้ 2-5 นาที ถ้าทิ้งไว้ถึง 5 นาทีจะได้ชาแก่ที่มีสรรพคุณเข้มข้นกว่า) เติมสารให้ความหวานจากธรรมชาติ หรือเติมนมตามต้องการ ใส่น้ำแข็งถ้าต้องการเป็นชาเย็น ประดับด้วยใบสะระแหน่เพิ่มกลิ่นหอม ถ้าใส่น้ำแข็งให้เพิ่มใบกะเพราเป็น 2 เท่า ชาวอินเดียกล่าวว่าชากะเพรานี้ทำให้กระชุ่มกระชวยและคลายเครียดอีกด้วย

ชากะเพราไร้ไขมัน เพื่อสุขภาพและคลายเครียด เสนอเป็นเครื่องดื่มทางเลือก



กะเพราจัดเป็นราชินีสมุนไพร (Queen of Herb) ใช้ทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ
กะเพรา Ocimum tenuiflorum L.
ชื่อพ้อง Ocimum sanctum
ชื่ออื่น (ไทย) กอมก้อดง, กอมก้อ, กะเพราขาว, กะเพราแดง, ห่อกวอชู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ
ชื่ออื่น (เทศ) Holy basil, Sacred basil, Tulsi (สันสกฤต), Tulasi (ฮินดู)

          กะเพราเป็นพืชวงศ์ Lamiaceae หรือ Labiatae เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสี่เหลี่ยม (ลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์นี้) ลำต้นมีขน มีก้านสาขามาก สูง 12-24 นิ้ว

          ใบรูปไข่ขอบหยักมีก้านใบ เรียงตัวแบบตรงข้าม มีสีเขียวหรือสีอมม่วง และมีกลิ่นหอมแรง
          ดอกช่อยาวสีม่วงเป็นชั้นถี่ๆ ดอกย่อยมีสีชมพูแกมม่วง ดอกสั้นบานจากโคนช่อสู่ปลาย

          กะเพราเป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า คือบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา ทั้งที่จงใจปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ การเพาะปลูกกะเพราเป็นไปเพื่อใช้งาน ทั้งด้านศาสนาและการแพทย์

          ประเทศไทยและอินเดียมีการปลูก 2 พันธุ์คือ กะเพรา (Lakshmi tulsi) และกะเพราแดง (Krishna tulsi) ที่ประเทศอินเดียจะเก็บเกี่ยวหลังผลิดอกครั้งแรกเพื่อให้ได้สรรพคุณทางยาสูงสุด

          ใบกะเพรามีกลิ่นรสฉุนพิเศษ เนื่องมาจากมีสารเซสควิเทอร์พีน ชื่อบีตาคาร์โยฟิลลีน (ß-caryophyllene) ร้อยละ 30 และบีตาเอลิมีน (ß-elemene) นอกจากนี้ยังมีพรีนิลโพรพานอยด์หลายตัว ได้แก่เมทิลยูจีนอล (methyl eugenol) ร้อยละ 30 และเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) ร้อยละ 10

          การแพทย์อายุรเวทและศาสนาฮินดูมีการใช้กะเพรา มากว่า 5,000 ปี จัดเป็นราชินีสมุนไพร (Queen of Herb) ใช้ทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ โดยกล่าวว่ากะเพรามีคุณสมบัติปรับธาตุ ช่วยภาวะสมดุลหลายกระบวนการของร่างกาย และช่วยให้เผชิญความเครียด ทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ดีขึ้น

          การแพทย์อายุรเวทเชื่อว่ากะเพรา เป็นพืชที่ช่วยให้อายุยืน ใช้บรรเทาอาการหวัด ปวดศีรษะ อาการต่างๆ ของกระเพาะอาหาร อาการอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือด ปรับสมดุลระบบภูมิต้านทาน บรรเทามาลาเรีย และขับสารพิษต่างๆ

          ปัจจุบันสถาบันวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม ประเทศแคนาดา ได้สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของกะเพราข้างต้นนี้แล้ว

          การแพทย์อายุรเวทใช้สารสกัดกะเพราในรูปชาชง ผงแห้ง ใบสด หรือผสมเนยใส น้ำมันสกัดจากใบกะเพรา ใช้ทำยาและเครื่องสำอาง พบมากตามสูตรรักษาผิวหนัง


เพราะมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย มีการใช้ใบกะเพราแห้งปนกับเมล็ดพันธุ์เพื่อไล่แมลง
          คนไทยใช้กะเพราประกอบอาหาร จะมีใครบ้างใช้กะเพราเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพ การศึกษาวิจัยเรื่อง กะเพรามีจำนวนมาก เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
          การกินสารสกัดจากใบกะเพรา 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก่อนการฉายรังสีหนูทดลอง หนูกินสารสกัดดังกล่าวมีความผิดปกติของโครโมโซมเซลล์ไขกระดูกที่แยกจากหนู ที่รับรังสี 4.5 Gy ติดต่อกัน 5 วันต่ำกว่ากลุ่มควบคุม มีผลให้ระดับ GSH GST เอนไซม์กลูตาไทโอนรีดักเตส (GSPx) และ SOD ในตับมีระดับสูงขึ้น แต่ลดการเกิดออกซิเดชันของไลพิด

          นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์จากใบกะเพราคือ โอเรียนทิน (orientin) และไวซีนิน (vicenin) ก็มีฤทธิ์ป้องกันความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไขกระดูกหนูอย่างมีนัยสำคัญ เช่นกัน

ฤทธิ์ลดความดันเลือด
          การศึกษาในสุนัข พบว่า fixed oil จากกะเพรามีฤทธิ์ลดความดันเลือด อันอาจมีผลจากฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย และเชื่อว่ามีคุณสมบัติยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด เพิ่มระยะเวลาแข็งตัวของเลือด

ฤทธิ์ลดปริมาณไขมันในเลือดและปริมาณคอเลสเตอรอลสุทธิ
          พบว่าฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาจากความสามารถในการต้านออกซิเดชันของกะเพรา
กระต่าย ที่ได้รับใบกะเพราสดผสมอาหารขนาด 1-2 กรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์จะมีปริมาณ คอเลสเตอรอลสุทธิ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดลง และมีไขมันดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) และคอเลสเตอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น

ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ
          เมื่อให้ใบกะเพราสดบดละเอียด 50 และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 30 วันแก่หนู แล้วจึงเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายด้วย isoproterenol
          พบว่าใบกะเพราบดเพิ่มภาวะต้านออกซิเดชันในหัวใจ เพิ่มระดับ GSH SOD คาทาเลส และ GPx activity และลดการเกิดไลพิดเพอออกซิเดชันและการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ


ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลกระเพาะอาหาร
          สารสกัดกะเพราลดการหลั่งกรด เพิ่มการหลั่งสาร เยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร เมื่อป้อนสารสกัดกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทางท่อเข้าที่กระเพาะหนูขาว ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลรักษาแผลกระเพาะอาหารที่เกิดจากแอสไพริน แอลกอฮอล์ ฮิสตามีน และความเครียด พบว่าสามารถลดการหลั่งกรด และป้องกันการถูกทำลายของเยื่อบุกระเพาะอาหารได้

ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
          สารสกัดน้ำหรือแอลกอฮอล์ 50% ของใบสดหรือใบกะเพราแห้ง มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภาและกระต่ายที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิ สตามีน อะเซทิลโคลีน หรือคาร์บาคอล (carbachol)

ฤทธิ์ขับลม
          ใช้น้ำต้มใบกะเพรา 2-3 หยด ผสมน้ำนมให้ทารกดื่ม ทำให้ทารกสบายท้อง เพราะน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากกะเพราช่วยขับลมในท้อง

ฤทธิ์ลดการอักเสบ
          การศึกษากะเพราพบว่ามีฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์ค็อกซ์-1 (Cox-1) และค็อกซ์-2 (Cox-2) เหมือนยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (ที่นิยมใช้รักษาโรคข้ออักเสบ) อันเนื่องมาจากสารยูจีนอล cirsillenol, cirsimaritin, Isothymonin, Apigenin, rosmarinic acid ในน้ำมันกะเพรา มีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin)

          เมื่อป้อนสารสกัดเอทานอล 50% ของใบกะเพรา น้ำมันหอมระเหย และ fixed oil จากเมล็ดกะเพราครั้งเดียวให้หนูตะเภาที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้ง เท้าด้วยสารคาราจีแนน  เซอราโทนิน และฮิสตามีน พบว่าสารสกัดจากใบและลำต้นของกะเพรามีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ เนื่องจากไปยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ


          นอกจากนี้ เมื่อป้อน fixed oil จากเมล็ดกะเพรา ขนาด 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้กับหนูขาวกินเป็นเวลา 10 วัน ก่อนที่จะฉีดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อเข่าของหนู  พบว่า fixed oil จากเมล็ดกะเพรา สามารถยับยั้งการอักเสบของข้อเข่าของหนูได้ โดยมีผลยับยั้งเทียบเท่ากับยาแอสไพริน และตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ขนาด 300 และ 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อทดสอบกับอุ้งเท้าหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสารคาราจีแนน และฟอร์มาลีน มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ เนื่องจากไปยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบดังกล่าว

ฤทธิ์แก้ปวด   
          สารสกัดใบกะเพราด้วยแอลกอฮอล์หรือให้กินทางปาก สามารถยับยั้งอาการปวดได้ เมื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการปวดโดยการฉีดกรดอะเซติกเข้าทางช่องท้องหนูทดลอง

ฤทธิ์ปกป้องตับ
          เมื่อฉีดสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ 70% เข้าช่องท้องหนูถีบจักร 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือป้อนตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบขนาดต่างๆ กันให้กับหนูขาวทางปาก  และสารสกัดใบกะเพราขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักรทางปากนาน 10 วัน พบว่าป้องกันตับจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตราคลอไรด์หรือสารปรอทได้

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและรักษาเบาหวาน
          ประเทศอินเดียมีประวัติการใช้น้ำชงช่อดอกดื่มรักษาเบาหวาน และใช้ชาชงจากใบดื่มเพื่อควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ส่วนประเทศปากีสถานกินผงใบกะเพรา มื้อละ 21 กรัม วันละ 2 ครั้งเพื่อรักษาเบาหวาน
          เมื่อให้ใบกะเพราผงแก่หนูเบาหวานจาก strep-tozocin และหนูปกติ 1 เดือน พบว่าระดับ fasting blood sugar, uronic acid กรดอะมิโนรวมสุทธิ ปริมาณคอเลสเตอรอลสุทธิ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และปริมาณไลพิดสุทธิลดลง

          การศึกษาเชิงคลินิกกับผู้ป่วยแบบไม่พึ่ง อินซูลิน กินผงใบกะเพรา 2.5 กรัม/คน ยืนยันผลของการกินกะเพราลดน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารและลดระดับน้ำตาลใน ปัสสาวะอีกด้วย

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
          สารในกลุ่มฟีนอล แทนนิน และซาโพนินจากต้น กะเพราและสารสกัดเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากกะเพราสามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย E. coli  และ Shigella dysenteriae ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

ฤทธิ์ต้านเชื้อสิว
          งานวิจัยของประเทศไทยพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา ซึ่งมีสารยูจีนอล แกมม่าคาร์โยฟิลีน และเมททิลยูจีนอลเป็นองค์ประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ต้านการเติบโตของเชื้อสิว Propionibacterium acnes ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารรักษาสิวต่อไป
เรารู้จักกะเพรากันแต่ในเมนู กะเพราไก่ไข่ดาว (มันย่อง) เห็นสรรพคุณด้านสุขภาพมากมายของกะเพราแล้วลองชงชากะเพราแบบอินเดียดื่มเพื่อสุขภาพบ้างดีไหมคะ


ที่มาวิชาการดอดคอม




บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!