“อย่า”พิสูจน์ศาสนศาสตร์บนเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “อย่า”พิสูจน์ศาสนศาสตร์บนเหตุผลทางวิทยาศาสตร์  (อ่าน 1923 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 19, 2009, 09:14:59 am »

ชื่อของบทความของวันนี้ ที่ประหนึ่งตั้งเป็นข้อห้ามอันเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น มีอยู่สองประเด็นที่อาจจำเป็นต้องอธิบาย ประเด็นแรก



คำ ว่าศาสนาศาสตร์นั้นผู้เขียนหมายถึงองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่มาของศาสนา ความจริงที่ศาสดาผู้ประกาศศาสนาได้พบเป็นประสบการณ์จากภายใน ที่ก็คือญาณทัศน์ หรือความรู้เร้นลับ (mysticism) ที่ได้จากฌานหรือจากสมาธิ ประสบการณ์ ตรงและส่วนตัว - ที่โดยหลักการ - ชี้บ่งสัทธรรมความจริงแท้ที่อยู่เบื้องหลังศาสนาทุกๆ ศาสนา รวมทั้งอยู่ข้างหลังลัทธิความเชื่อทุกๆ วัฒนธรรมความเชื่อ เพียงแต่จะแปลกต่างกันบ้างในความลึกซึ้งและในรายละเอียด ส่วนประเด็นหลัง คำว่าเหตุผลและวิทยาศาสตร์จะหมายถึงเหตุผลรวมทั้งตรรกะที่มนุษย์เรา "สร้างขึ้นมา" บนความจริงที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสภายนอกทั้งห้า ตรรกะและเหตุผลที่เป็นองค์ประกอบ หรือเป็นหลักเกณฑ์ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยองค์ความรู้ทางกายภาพ (empirical or physical science) ที่ให้ "วิชา" ทั้งหลายทั้งปวงแก่เรา

ทั้ง นี้ก็เพราะว่า - ในความเห็นของผู้เขียน - องค์ความรู้และเส้นทางที่ได้มาของทั้งสองศาสตร์ สำหรับคนทั่วไป - เราท่าน - ที่ไม่ใช่อัจฉริยะหรืออรหันต์ คงจะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ จริงๆ แล้วก็เหมือนกับที่หมอประเวศ วะสี ปรารภกับผู้เขียนว่า "เมื่อไรหนอที่เราจะเลิกคิดเปรียบเทียบระหว่างองค์ความรู้ทั้งสองนี่กันเสีย ที" คำปรารภที่ผู้เขียนเห็นด้วยหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ดังที่ผู้เขียนเองก็เคยพูดเช่นนั้นเมื่อผู้เขียนได้ไปอภิปรายให้พระสงฆ์ที่ เป็นนักศึกษาพุทธศาสตร์ที่ทำปริญญาโทของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยฟัง เมื่อร่วม 5 ปีก่อน โดยอภิปรายร่วมกับพระเทพดิลกและกับอดีตพระสุชีโวภิกขุ หรืออาจารย์สุชีพ บุญญานุภาพ ที่ล่วงลับไปแล้ว นั้นคือผู้เขียนสรุปเป็นความเข้าใจ - อย่างแจ่มแจ้งสำหรับผู้เขียนเองโดยไม่สงวนสิทธิ์หากใครจะร่วมความเข้าใจด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไรต่อการทำธรรมะให้เป็นทยาศาสตร์ของผู้เขียน - เพียงแต่ธรรมะที่ผู้เขียนสนใจที่จะรู้อย่างยิ่งนั้น จะต้องมีลักษณะสามประการดังนี้คือ หนึ่ง เป็นความรู้ที่ได้มาจากเส้นทางภายใน เช่น จากฌานหรือสมาธิ หรือเป็นความรู้เร้นลับที่มีมาเอง (intuition or insight)

ที่ผู้เขียนคิดและเชื่อว่าเป็นความจริงแท้ สอง ธรรมะนั้นไม่จำเป็นต้องมาจากศาสนาที่อุบัติขึ้นทาทางตะวันออก หรือเป็นพุทธศาสนธรรม แต่มาจากคำสอนหรือเป็นธรรมะของศาสนาใดก็ได้ หรือเป็นความรู้ของศาสดาใดก็ได้ หรือแม้แต่จะเป็นวัฒนธรรมความเชื่อของลัทธิไหนก็ได้ และสาม ธรรมะหรือความรู้เร้นลับนั้นๆ ต้องไม่มีทั้งตรรกะและเหตุผลทางโลกกายภาพหรือถูกสร้างขึ้นอย่างไม่เป็น ธรรมชาติโดยมนุษย์บนการรับรู้ของประสาทสัมผัสภายนอกทั้งห้า - หู ตา จมูก ลิ้น และกายสัมผัส - และที่สำคัญอย่างยิ่ง คำว่าวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องไม่ใช่วิทยาศาสตร์กายภาพ หากแต่เป็นวิทยาศาสตร์ "แห่งยุคใหม่" ที่ละเอียดอย่างยิ่ง ชนิดที่วัดหรือชั่งหรือตวงหาปริมาตรไม่ได้ ทั้งยังอยู่เหนือที่ว่างและเวลา (space-time) อันเป็นรูปแบบของฟิสิกส์กายภาพหรือฟิสิกส์คลาสสิก รับรู้ได้ก็แต่เพียงด้วยการสังเกตส่วนขยาย (attribute) หรือจากพลังงานแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (เช่น สะท้อน (resonate) หรือสั่นไหว (vibrate-fluctuate) หรือหมุน (spinning) หรือมุด (tunneling) ฯลฯ)

จึง อาจเห็นได้ว่า ธรรมะ กับวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนกำหนดเอาไว้นั้น เป็นเรื่องคนละเรื่องกับการนำเอาคำสองคำ ธรรมะกับวิทยาศาสตร์มาสมาสง่ายๆ หรือเฉยๆ แม้ว่าจะตีความโดยอาศัยปรัชญาหรือจิตวิทยา แต่ก็เป็นเพียงปรัชญาระดับประถม การเรียนรู้เพื่ออยู่ "รอด" ดังที่ผู้เขียนอธิบายมาตลอด แต่ผู้เขียนลงไปละเอียดกว่านั้นยิ่งนัก นั่นคือ "ธรรมวิทยาศาสตร์" ที่เป็นหัวข้อของการบรรยายที่ผู้เขียนถวายให้พระธรรมทูตของทั้ง สองมหาวิทยาลัยสงฆ์มาเป็นเวลายาวนาน และนั่นเป็นประเด็นที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่พระสงฆ์ไม่รู้ ที่เราต้องมาทำความเข้าใจกัน

อีก ประการหนึ่ง ผู้เขียนเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือเป็นกรรมการตรวจ และ/หรือสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของนักศึกษามหาวิทยาลัย ต่างๆ หลายครั้ง ในจำนวนนี้มีอยู่สามรายที่หัวข้อของวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ หลักศาสนศาสตร์กับทฤษฎีหนึ่งใดทางวิทยาศาสตร์กายภาพเก่า ที่คงเป็นเจตนาดีของผู้วิจัย (ที่คิดว่าวิทยาศาสตร์กับความจริงเป็นเรื่องเดียวกัน) นักวิจัยที่ต้องการเห็นความเป็นวิทยาศาสตร์ของศาสนศาสตร์ โดยคิดว่าการทำเช่นนั้น จะเป็นการช่วยให้เครดิตหรือให้ความเป็น "วิชาการ" แก่ศาสนามากขึ้น - ที่ไม่จำเป็นเลย - นั่นคือเจตนาดีหรือความรู้สึกที่ทำให้ผู้ที่ต้องทำให้ที่อยู่ตรงกลางต้อง รู้สึกอึดอัดใจ และนั่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราต้องเอามันมาทำให้มันกระจ่างใส บทความนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกและความเห็นของผู้เขียนในเรื่องนี้
ยก ตัวอย่างธรรมะสองเรื่องที่ผู้เขียนตอบคำถามพระคุณเจ้าที่ถามหรือให้ความเห็น หลังจากที่ผู้เขียนได้นำธรรมะสองข้อนั้นมาเปรียบเทียบแล้วเปรียบเทียบอีกกับ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใหม่โดยรอบ

ข้อมูล ที่ผู้เขียนได้มาจากหนังสือนับร้อยๆ เล่ม ที่นักวิทยาศาสตร์ระดับนำของโลก หลายคนได้รางวัลโนเบลหรือรางวัลอื่นๆ - ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ให้คำตอบหรือให้ความเห็นที่สอดคล้องต้องกันหรือเหมือนๆ กัน - สองเรื่องสองประเด็นที่จะยกเป็นตัวอย่างนี้ก็คือ หนึ่ง เรื่องของปฏิจจสมุปบาท กับสอง เรื่องของแสง - ในความหมายของรูปาหรืออรูปา - ในด้านของศาสนศาสตร์ และในด้านของวิทยาศาสตร์ใหม่ โดยเฉพาะแควนตัมเมคานิกส์ที่ต่อยอดโดยปรัชญาหรือเมตาฟิสิกส์ - ที่นักฟิสิกส์ยุคใหม่ไม่ว่าใครหรือจากที่ไหนๆ - ต่างก็ให้ความคิดความเชื่อ (ปรัชญา) ไปในทางเดียวกัน

พุทธศาสนา นั้นจะเน้นธรรมชาติเสมอ ธรรมะที่อธิบายความหมายแห่งชีวิตก็คือธรรมชาติทั้งระดับหยาบละเอียดและ ละเอียดอย่างยิ่ง ทั้งสามต่างถูกกำหนดและควบคุมด้วยกฎธรรมชาติหรือปฏิจจสมุปบาท (การอาศัยพึ่งพากันบวกกับความพร้อมบวกกับการโผล่ปรากฏ) ที่เป็นไปของมันเองทั้งนั้น แท้ที่จริงแล้วหลักการแห่งการโผล่ปรากฏ (emergent) การเจริญเติบโต (growth) การสืบเนื่อง (continuum) และเสื่อมสลายมีมานานแล้วตั้งแต่ก่อนมีลัทธิพระเวทย์ แต่หลักการสำคัญของการเกิดหรือการโผล่ปรากฏขององค์กรธรรมชาติ (สำหรับโลกแห่งกามโลกีย์คือชีวิต) ด้วยการอาศัยพึ่งพากันแบบถึงพร้อม หรือปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นพระองค์เองที่ทรงค้นพบ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กฎธรรมชาติกฎนี้ยากที่จะเข้าใจก็คือ "มันเป็นไปของมันเอง" โดยไม่ต้องมีเหตุที่ก่อผลมาเกี่ยวด้วยเลย เพราะเรื่องของเหตุผลเป็นเรื่องที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นมา เหตุผลเป็นกฎของมนุษย์มีขึ้นมาหลังจากโลกมีมนุษย์ขึ้นมาแล้ว มนุษย์หรือชีวิตที่มีขึ้นมาหลังการเกิดขึ้นมาของโลกและสรรพสิ่งที่เป็นวัตถุ ธาตุนานยิ่งนัก ปัจจยตาจึงไม่เกี่ยวกับ "สาเหตุ" (causality ของอริสโตเติลที่มีแค่เดินไปข้างบนหรือเดินไปข้างหน้าตามลูกศรแห่งเวลาที่ ไม่มีจริง) เท่าๆ กับที่มีปัจจยการไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องของเหตุผลเลย นั่นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเข้าใจ ที่ไปตรงกับความจริงทางแควนตัมข้อที่ 5 (Quantum Reality # 5 : The world obeys a non-human kind of reasoning- logic is worng ; Nick Herdert : Quantum Reality, 1985)

นั่น ตรงกับนิยามของปฏิจจสมุปบาทของนักคิดอัจฉริยะหลายๆ ท่าน เช่นพุทธทาสภิกขุที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกัน "หลายๆ ชั้น" ไร้ที่ว่างและเวลา กระทั่งข้ามภพข้ามชาติ ที่แม้ว่าท่านพุทธทาสจะเน้นเฉพาะเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เป็นสำคัญ แต่ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปของมันเอง ซึ่งเห็นได้ว่าท่านไม่พูดถึงคำว่าเหตุผลหรือตรรกะสักคำ หรือเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ (มหาประยุทธ์) ที่เน้นคำว่าปัจจัยให้พ้นไปจากเหตุที่ก่อผล นั่นคือปัจจัยที่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการอาศัยสิ่งนี้ (conditioning จึงไม่ใช่ causality) นอกจากนั้น ท่านยังเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องหรือ "กระแส" (เรื่องของความสัมพันธ์กันนั้น อย่าได้เอาไปปนกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ที่นักคิดทางเถรวาทหลายคนเข้าใจว่าหลักปฏิจจสมุปบาทมีความสอดคล้องหรือเทียบ ไดักับทฤษฎีที่ว่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ปฏิจจสมุปบาททั้งลึกซึ้งกว่าและละเอียดกว่ามากนัก ทั้งยังสามารถนำมาอธิบายธรรมชาติทั้งสามระดับได้เป็นอย่างดี

บาง ทีปฏิจจสมุปบาทด้วยคำแปล (พึ่งพาอาศัยกันบวกกับพร้อมๆ กันบวกการโผล่ปรากฏ) อาจสอดคล้อง หรือเข้าไปใกล้ๆ อย่างพอจะนำมาเปรียบได้กับกฎธรรมชาติของการจัดองค์กรตัวเองทางวิทยาศาสตร์ ใหม่ (self-organizing system ; of non-linear complexity) ที่มีทฤษฎีไร้ระเบียบ (chaos theory) เป็นเครื่องมือ แต่ในรายละเอียดทฤษฎีไร้ระเบียบที่ว่าย่อมจะต้องอาศัยกฎและทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฎีทางแควนตัมต่างๆ (e. g. Niels Bohr's Complimentarity Principle) หรือกฎสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ และอาศัยกฎแห่งแรงโน้มถ่วงและกฎอื่นๆ รวมทั้งการรวมเข้าด้วยกันของทฤษฎีเหล่านั้น เช่น แควนตัมสัมพัทธภาพ (quantum relatavistic) และทฤษฎีห่วงโซ่แรงโน้มถ่วง (loop gravitation)

และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หลักการจัดองค์กรตัวเองที่แม้ว่าจะดำเนินไปของมันเอง กระนั้นมันก็ยังแตกต่างไปจากกระบวนการทั้งสามระดับของธรรมชาติหยาบ ละเอียด และละเอียดอย่างยิ่ง (Ricard, M. and Tuan, T.X. : Quantum and Lotus, 2000) ดังคำว่า "กระแส" ที่ท่านมหาประยุทธ์กล่าวถึง ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นสนามจิตที่ร้อยรวงอาณาจักรธรรมชาติไว้ให้เป็นหนึ่ง เดียวกัน (the great holarchy of being of Ken Wilber)
อีกประเด็นหนึ่งที่อาจทำให้พระคุณเจ้าพระธรรมทูตกับผู้เขียนเห็นแตกต่างกันคือ เรื่องของแสง

- ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นได้ทั้งรูปและอรูป แต่พระสงฆ์โดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยกับแสงที่เป็นรูปเพียงประการเดียว แสงแดด แสงไฟ แสงสีขาวที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสภายนอก ในขณะที่แสงแห่งอรูปนั้นแม้ในเถรวาทพุทธศาสนาก็มีกล่าวไว้ เช่น ที่อธิบายไว้ถึงมิติที่สว่างในตัวเอง "...ไม่ใช่ว่าจะเป็นแสงจากดาว ไม่ใช่ว่าเป็นแสงแห่งดวงอาทิตย์ และไม่ใช่ความสว่างที่เกิดจากดวงจันทร์ แต่ที่นั่น...ไม่มีซึ่งความมืด" (นะ ทัตถา สุกกะ โชติตันติ อาทิจโจ นะ ปากะสาติ นะ ทัตถา จันทิมา ภาติ ตะไม ทัตถา นะ วิชาติ...อุทาน 9) นั่นคือมิติแห่ง "จิตที่ไร้สัญญา ที่ไม่มีสิ้นสุด สว่างไสวไปทั่ว..." (วิญญานามัง อนิทัสสนามัง อนันตามัง สัพโต ปภามัง...ทีฆะนิกาย-I) นั่นคือแสงที่เป็นอรูป จริงๆ แล้วแสงแห่งจักรวาล

(cosmicray) รวมทั้งรังสีเหนือแกมมาที่เชื่อว่าหลุดมาจากหลุมดำที่เริ่มรวมตัวขึ้นมา ใหม่ๆ (black hole gamm-ray) ที่ให้ความถี่ระดับรังสีคงที่ของแพลงก์ (Planck constamt) ที่มีขนาดคลื่นหรือความถี่ที่ละเอียดยิ่งกว่าขนาดของอะตอมที่วัดไม่ได้ หรือรับรู้ทางกายภาพไม่ได้ จริงๆ แล้วเมื่อปีกลายนี้มีการค้นพบที่ออกมาเป็นชุดๆ (pulse of light) สามารถมีความเร็วเหนือคลื่นแสงที่เราวัดได้ (มีความเร็วที่ราวๆ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) หลายเท่าตัวทีเดียว

พระ พุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในมิติที่อยู่เหนือที่ว่างและเวลา ด้วยการเดินทางเหนือกายภาพ (นะ หามัง...เอวารูปายะ...) และข้อจำกัดของมนุษย์เรา (เช่นด้วยลำแสงหรือช่องลมพายุ... worm hole?) เราจะรับรู้ได้ซึ่งความไม่สิ้นสุดของจักรวาล (อังคุตนิกาย iv และดูบทความเรื่อง - จักรวาลและมิติแห่งนิพพานของนักฟิสิกส์ใหญ่ - ด้วย)

ผู้ เขียนเชื่ออย่างยิ่งว่า นักฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะนักจักรวาลวิทยาใหม่ของวันนี้ ที่ยอมรับในเรื่องของความไร้สิ้นซึ่งตรรกะและเหตุผล สามารถจะมองหน้าและเข้าใจนักศาสนศาสตร์และนักเทววิทยาที่นักวิทยาศาสตร์ใน อดีตหมาดๆ รับกันไม่ได้.

ที่มา


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: