อันดับแรกก็ขึ้นพระอุโบสถ กราบพระพุทธนิมิต อายุ 500 ปี
"พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" พระประธานวัดหน้าพระเมรุ
พระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องกษัตริย์ที่งดงามองค์หนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
หน้าตักกว้าง 4.5 เมตร สูง 6 เมตร ซึ่งไม่ถูกพม่าเผาทำลายในการเสียกรุง
สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งคงสร้างขึ้นราวรัชกาลของพระเจ้าปราททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปพระนารายณ์ทรงครุฑแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดหลวง
สำหรับ พระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ก็สร้างในคติของพระพุทธเจ้าาปางโปรดพญามหา ชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อลงมาจนถึงสมัย รันตโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธรูปองค์นี้อาจเปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศ เมรุรายของวัดไชยวัฒนารามที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราททองได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงอนุมานได้ว่าพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุก็ คงจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน
วิหารน้อย กราบหลวงพ่อคันธารราฐ อายุ 1500 ปี
สถานที่ประดิษฐาน วิหารน้อย วัดหนาพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธลักษณะ ศิลปะแบบทวารวดีพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท
ปางปฐมเทศนา
ขนาด สูง ๔.๒ เมตร วัสดุ หินปูนสีเขียวแก่ (Bluish Limestone)
พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทศิลปะแบบทวารวดีเช่นนี้ในประเทศไทยพบเพียง ๕ องค์ ซึ่งนับว่าน้อยอย่างยิ่ง และในจำนวนนี้มีเพียงองค์นี้องค์เดียวที่สร้างจากศิลาเขียว อีก ๔ องค์ที่เหลือเป็นพระชุดเดียวกันที่สร้างจากศิลาขาวทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ยังก่อให้เกิดความสับสนกันอยู่เนือง ๆ
พระพุทธรูปศิลา (เขียว) องค์นี้ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหาน้อยวัดหน้าพระเมรุพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่พระพุทธรูปศิลาชุดขาว ๔ องค์ มีแหล่งเดิมอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม การขุดพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งซึ่งเป็น พระพุทธรูปศิลาขาวที่นครปฐมในปี ๒๔๘๒ และ ร่องรอยที่แสดงว่ามีพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้ทั้งหมดสี่องค์ ทำให้เกิดความพยายามที่จะติดตามหาพระสามองค์แรกขึ้น พระพุทธรูปสามองค์ถูกเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ ก่อนที่จะขุดพบองค์ที่ ๔ เป็นเวลานาน จึงค่อนข้างลำบากและมืดมน จากการติดตามพบว่า องค์หนึ่งนั้นเคลื่อนย้ายไปไว้ยังวัดพระปฐมเจดีย์นั้นเอง แต่อีกสององค์เมื่อติดตามหาอยู่เป็นเวลานานก็พบว่าได้ถูกเคลื่อนย้ายมาถึง ยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานกันว่าได้เคลื่อนย้ายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งปรักหักพังเป็นชิ้นส่วนทั้งจากกาลเวลา และการถูกลักลอบขโมยชิ้นส่วนไปขายในร้านค้าของเก่า ย่านเวิ้งนาครเขษม
ในระหว่างการติดตามหาพระพุทธรูปศิลา (ขาว) จากวัดพระเมรุ นครปฐม ให้ครบสี่องค์ได้เกิดความสับสนขึ้น โดยมีผู้เข้าใจว่าพระพุทธรูปศิลา (เขียว) ที่วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยาเป็นพระองค์หนึ่งในชุดดังกล่าว แต่ได้ถูกซ่อมแปลงส่วนพระกรผิดจากยกพระหัตถ์เสมอพระอุระ ในท่าแสดงปฐมเทศนาไปเป็นวางพระหัตถ์บนพระชานุ ซึ่งผู้รู้จากกรมศิลปากรได้นำมาเขียนชี้แจงในประวัติพระพุทธรูปศิลาขาวในเวลาต่อมาแล้ว
พระพุทธรูปศิลา (เขียว) เก่าแก่ร่วมพันปีองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดหน้าพระเมรุมาเป็นเวลานานโดยไม่ทราบประวัติความเป็นมา ลักษณะองค์พระกล่าวได้ว่าสมบูรณ์มีเพียงส่วนเรือนแก้วที่หักหายไป ภายหลังเมื่อมีการขุดแต่งวัดมหาธาตุพระนครศรีอยุธยา พบเศษเรือนแก้วที่หายไปจมอยู่ในดินลึกลงไปชั้นล่างท่านผู้รู้สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปศิลานี้คงเคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุมาก่อน วัดมหาธาตุนั้นเป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมาบูรณะในสมัยอยุธยาคงขุดพบพระพุทธรูปศิลาองค์นี้แต่ขุดขึ้นมาไม่หมด ภายหลังจึงมีการเคลื่อนย้ายไปไว้ยังวัดหน้าพระเมรุและประดิษฐานอยู่ ณ วัดนั้นสืบมาปัจจุบัน
เดินอ้อมไปด้านหล้งพระอุโบสถ เพื่อไปกราบหลวงพ่อขาว กัน ครับ
อ่านประวัติดู ช่วยตอบหน่อยว่า พม่าเผ่าวัดอื่นๆวอดวาย แต่ทำไมไม่ยอมเผา วัด หน้าพระเมรุ