วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น  (อ่าน 38973 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2007, 08:20:55 pm »

วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น

การเดินจงกรม

ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้ทำความรู้สึกโดย จิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อมแล้วกำหนด ยืนหนอ  ๕  ครั้ง  เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า   เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา  ยืนหนอ ๕ ครั้ง  แล้ว  หลับตา  ตั้งตรง  ๆ   เอาจิตปักไว้ที่กระหม่อม  เอาสติตามดังนี้  ยืน……..(ถึงสะดือ) หนอ…..(ถึงปลายเท้า)  หลับตาอย่าลืมตา  นึกมะโนภาพ  เอาจิตมอง  ไม่ใช่มองเห็นด้วยสายตา  ยืน……(จากปลายเท้าถึงสะดือ  หยุด) แล้วก็หนอ…….ถึงปลายผม  คนละครึ่ง  พอทำได้แล้ว   ภาวนา ยืน….หนอ  จากปลายผม ถึงปลายเท้า ได้ทันที  ไม่ต้องไปหยุดที่สะดือ แล้ว  คล่องแคล่วว่องไว  ถูกต้อง เป็นธรรม 

ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่าง หนอ กำหนดในใจคำว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม คำว่า ย่าง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอ เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ ขวา ย่าง หนอ แล้วตามด้วย เท้าซ้าย ย่าง หนอ จะประกบกันพอดี แล้วกำหนดว่า หยุดหนอ จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ ๔ ครั้ง คำว่ากลับหนอ

ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา
ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา
ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑
ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒
หากฝึกจนชำนาญแล้วเราสามารถกำหนดให้ละเอียดขึ้น โดยการหมุนตัวจาก ๙๐ องศา เป็น ๔๕ องศา จะเป็นการกลับหนอทั้งหมด ๘ ครั้ง

เมื่ออยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ

การนั่ง

กระทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลงเมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนด ยืน หนอ อีก ๕ ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ช้า ๆ จนกว่าจะลงสุดเวลานั่งค่อย ๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามการการที่ทำไปจริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆ ๆ ๆ เท้าพื้นหนอ ๆ ๆ คุกเข่าหนอ ๆ ๆ นั่งหนอ ๆ ๆ เป็นต้น

วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่ พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้องให้มีความรู้สึก ตามความเป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด

เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแน่นอน จะต้องมีความอดทนเป็นการสร้างขันติบารมี ไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว

ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาความเจ็บ ปวด เมื่อย คัน ๆ เกิดขึ้นให้หยุดเดิน หรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิด และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า ปวดหนอ ๆ ๆ เจ็บหนอ ๆ ๆ คันหนอ ๆ ๆ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อย ๆ จนกว่าเวทนาจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป

จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สินหรือคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ นา ๆ ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่พร้อมกับกำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนดเช่นเดียวกันว่า ดีใจหนอ ๆ ๆ ๆ เสียใจหนอ ๆ ๆ ๆ โกรธหนอ ๆ ๆ ๆ เป็นต้น

เวลานอน

เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอ ๆ ๆ ๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อย ๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่า จะหลับไป ตอนพอง หรือตอนยุบ

อิริยาบถต่าง ๆ การเดินไปในที่ต่าง ๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงานทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติ สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา

สรุปการกำหนดต่าง ๆ พอสังเขป ดังนี้

๑. ตาเห็นรูป จะหลับตาหรือลืมตาก็แล้วแต่ ให้ตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า เห็นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ถ้าหลับตาอยู่ ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป

๒. หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเสียง ก็สักแต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๓. จมูกได้กลิ่น ตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ากลิ่น ก็สักแต่ว่ากลิ่น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๔. ลิ้นได้รส ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ารส ก็สักแต่ว่ารส ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๕. การถูกต้องสัมผัส ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส กำหนดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๖. ใจนึกคิดอารมณ์ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าความนึกคิดจะหายไป

๗. อาการบางอย่างเกิดขึ้น กำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่าจะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า รู้หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการนั้นจะหายไป

การที่เรากำหนดจิต และตั้งสติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจิตของเราอยู่ใต้บังคับของความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่น ตาเห็นรูป ชอบใจ เป็นโลภะ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ขาดสติไม่ได้กำหนด เป็นโมหะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกต้องสัมผัส ก็เช่นเดียวกัน

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับตามอายตนะนั้น เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าตัดที่ต่อของอายตนะต่าง ๆ เหล่านั้นมิให้ติดต่อกันได้ คือว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ทำความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความพอใจหรือความไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฎให้เห็น และได้ยินนั้น รูป และ เสียงที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็จะดับไป เกิด และดับ อยู่ที่นั้นเอง ไม่ไหลเข้ามาภายใน อกุศลธรรมความทุกข์ร้อนใจที่คอยจะติดตาม รูป เสียง และอายตนะภายนอกอื่น ๆ เข้ามาก็เข้าไม่ได้

สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรม และความทุกข์ร้อนใจที่จะเข้ามาทางอายตนะแล้ว สติเพ่งอยู่ที่ รูป นาม เมื่อเพ่งเล็งอยู่ก็ย่อมเห็นความเกิดดับของ รูป นาม ที่ดำเนินไปตามอายตนะต่าง ๆ อย่างไม่ขาดสาย การเห็นการเกิดดับของ รูป นาม นั้นจะนำไปสู่การเห็น พระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของสังขาร หรือ อัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง


บันทึกการเข้า

mic.2210
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2007, 04:31:05 am »

อาจารย์ของท่านคือใครครับ
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2007, 07:26:35 am »

ผมไปปฏิบัติธรรมที่นี่ครับ ..อ่านให้จบแล้วจะทราบว่าอาจารย์ผมคือใคร...หากว่างเว้นภาระกิจก็ขอเรียนเชิญไปปฏิบัติธรรมได้ที่วัดนี้ครับ  Tongue Smiley
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=4727.0
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=5325.0
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2007, 11:45:38 am »

 Smiley
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2007, 11:47:06 am »

 Smiley
บันทึกการเข้า
talapkap
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2007, 02:25:43 pm »

การทำสติปัฏฐานมี 2 ขั้นตอน

การทำสติปัฏฐานมี 2 ขั้นตอน ขั้นเพื่อให้เกิดสติ กับขั้นเพื่อให้เกิดปัญญา
 
ขั้นจะให้เกิดสติ พอมีสติแล้วเราจะรู้ตัวขึ้นมา (บางคนใช้คำว่ารู้สึกตัว รู้สึกตัวคือจิตมันมีสติ มี
สัมมาสมาธิขึ้นมา)
บางทีเถียงกันนะ ต้องรู้สึกตัวก่อนถึงจะดูจิต หรือว่าดูจิตก่อนแล้วรู้สึกตัว
ความจริงก็คือว่าให้รู้กาย ให้รู้ใจไป จนจิตจำสภาวะได้แม่นแล้วก็มีสติรู้สึกตัวขึ้นมาได้เอง
บางคนบอกดูจิตก่อน แล้วรู้สึกตัว ก็ถูกเหมือนกันแต่ว่ามันไม่ใช่การดูจิตแท้ๆ หรอก เป็นเบื้องต้น
เท่านั้นเอง เป็นการฝึกหัดรู้สภาวะ แล้วก็ไม่ใช่ดูแต่จิต ดูกายด้วย บางคนต้องดูกาย บางคนต้องดู
เวทนา บางคนก็ดูจิต
เบื้องต้นเอาอันเดียวก่อนเป็นหลักไว้ก่อน อันอื่นเป็นของแถม ไม่ใช่รู้อันเดียวนะ
นักปฏิบัติไม่ใช่รู้กายอย่างเดียว ไม่ใช่รู้เวทนาอย่างเดียว ไม่ใช่รู้จิตอย่างเดียว อย่าสำคัญผิดไปนะ
เพียงแต่มีอันนึงเป็นวิหารธรรมไว้
ถ้าหากต้องรู้เพียงอันเดียว (ต้องรู้กายอย่างเดียว รู้จิตอย่างเดียว) โดยไม่ให้ไปรับรู้อย่างอื่น อย่าง
นั้นก็ไม่ใช่วิหารธรรมแล้ว แต่เป็นคุก เป็นตารางขังจิตไม่ให้ไปที่อื่น เพราะฉะนั้น

คนไหนถนัดรู้กายก็รู้กายเนืองๆ บางทีจิตก็หลงไปคิดเรื่องอื่น บางทีก็เข้าไปรู้จิต
คนไหนถนัดรู้เวทนา ก็รู้เวทนาเนืองๆ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต บางทีก็หลงไปคิดเรื่องอื่น
คนไหนถนัดดูจิตก็ดูจิตไป ที่เป็นกุศลเป็นอกุศล บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้เวทนา บางทีก็ไปรู้เรื่องอื่น
หลงไป
เพียงแต่มีอันใดอันหนึ่งนั้นแหละเป็นฐาน เป็นบ้าน ไว้ดูบ่อยๆ ถนัดรู้กายก็รู้กาย ถนัดรู้เวทนาก็รู้
เวทนา ถนัดรู้จิตก็รู้จิตไป เรียนกับหลวงพ่อไม่ใช่ดูจิตนะ สิ่งที่หลวงพ่อถ่ายทอดให้มันคือหลักการ
ปฏิบัติกว้างๆ ใครถนัดแนวไหนก็เดินแนวนั้นไม่ได้ผิดอะไร
ต้องถูกหลัก พอรู้กายบ้าง รู้จิตบ้าง ถูกต้องแล้วสติจะเกิดเอง ค่อยรู้สึกตัวขึ้นมา
บางคนเลยบอกว่าดูจิตแล้วรู้สึกตัวก็ได้ ไม่ดูจิตแล้วรู้สึกตัวก็ได้ ไปดูกาย ดูกายแล้วรู้สึกตัวก็ได้
ความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นจากการดูกาย ความรู้สึกตัวที่เกิดจากการดูจิต เหมือนกันเปี๊ยบเลย
พอรู้สึกแล้วบังคับไม่ได้ เดี๋ยวสติก็รู้กาย เดี๋ยวสติก็รู้จิต แต่จะรู้ด้วยความรู้สึกตัว
จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ไม่หลงไม่เผลอไป ไม่เพ่งไม่เผลอ จิตจะรู้สึกตัว ตั้งมั่นที่จะรู้สึกตัว
คำว่ารู้สึกตัว คือไม่เผลอ ไม่เพ่งนั่นเอง มีสติ แล้วก็ไม่ไปเผลอไป ไม่ไปเพ่งไว้ ปัญญามันก็เกิด
 
คอยมีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น อย่างนี้เรียกว่าการเจริญสติปัฎฐานเพื่อให้เกิดปัญญา
หัดตามรู้กาย หัดตามรู้ใจเรื่อยๆ จนจิตจำสภาวะได้ นี่เป็นการทำสติปัฎฐานให้เกิดสติ
มีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางทำให้เกิดปัญญา
มีปัญญาแก่รอบก็เกิดวิมุติ จิตก็จะปล่อยวางความถือมั่น
เพราะฉะนั้นบางคนบอกรู้สึกตัวแล้วถึงจะดูจิตได้ก็ถูกเหมือนกัน เป็นธรรมะที่มองคนละระดับกัน 

บันทึกการเข้า
TAWA
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 136


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 07:28:46 pm »

ผมว่าช่างเล็กน่าจะรวบรวมพลชาวช่างไปนั่งปฎิบัติธรรมไปเป็นส่วนรวมจะดีกว่าเป็นบุคคล

ตกอยู่350/คน/ 7วัน ชุดมีให้เช่าชุดละ 20 บาท ทั้งหญิงและชายนอนกับเสื่อไม่มีมุ้ง(กางมุ้งไม่ได้มีพัดลมไล่ยุงครับผมผมไปมาแล้ว4-5 ครั้ง)
              โดยมีพระอาจารย์เดชา เป็นพระที่รับหน้าที่สอนและบรรยายตลอดระยะ 7 วันครับ
บันทึกการเข้า
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2011, 07:37:36 am »

อ้างถึง
ส่วนรวมจะดีกว่าเป็นบุคคล
ไม่เข้าใจดีกว่าครงไหน

ใครพร้อมก็ไป
มันต้องไปด้วยใจ
ไม่ใช่ไปเพราะมีเพื่อน

ใครทำใครได้ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นหมู่คณะ

ใครมีบุญก็ได้ไป ใครไม่มีบุญแค่ฟัง ยังฟังไม่รู้เรื่องเลย แค่อ่านก็ไม่ยอมอ่าน

การนั่ง กรรมฐาน ถ้าใครนั่งได้ครั้งละ 3-3 (เดิน3ชม. นั่ง3ชม.) จะสมหวังในทุกๆด้าน ภาคใน3 วัน 7 วัน  นี้คือสุดยอดวิชากรรมฐาน มีคนรู้ไม่มากนัก และมีคนทำได้ก็ไม่มากนะ (ส่วนมากนั่งแค่ไม่กี่นาที แต่หวังผลมากมาย ซึ้งมันเป็นไปไม่ได้)
เช่นตกงาน ไปนั่ง 3-3 ไม่เกิน7วันได้งานแน่ๆ
หาร้านค้าขายหรือจะเช่าร้าน มีอุปสรรค ไม่ลงตัวสักที ไปนั่ง 3-3 ไม่เกิน 3-7 วัน ได้ร้านแน่นอน

โลกใบนี้ ทุกสิ่งอย่างมีเหตุและผล ไม่มีอะไรได้มาโดยบังเอิญ
สร้างกรรมอะไรไว้ก็ต้องได้รับกรรมนั่นๆ ไม่มีทางหนีพ้นได้
เพราะคนเรามีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นที่ตั้ง
มีกรรมเป็นของตน
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย
มีกรรมเป็นมรดก
มีกรรมเป็นทายาท

ในเวปนี้ มีคนกำลังสร้างกรรมกันอย่างเมามัน  แค่ให้เขาหยุดเขายังไม่หยุดเลย แล้วจะให้เขาไปนั่งกรรมฐาน เขาคงไปหรอก ในเวปนี้ มีคนที่เข้าถึงเรื่องนี้ไม่กี่คนเอง
แค่ทาน ยังแทนหาไม่เจอ  จะไปเอากรรมฐาน แล้วหรอ มันเป็นไปไม่ได้

ทุกสิ่งอย่างมันมีขั้นตอน
ต้องมีทานก่อน
ถึงมีศีล
ตามด้วยสามาธิ
ภวนา
ถึงจะถึง วิปัสสนากรรมฐาน 

วิปัสสนากรรมฐาน  เป็นขั้นสูงสุดแล้ว ทำดีๆก็สำเร็จเลยนะครับ

กรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร ?

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2732

วิปัสสนากรรมฐานแก้กรรม
http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/12/01/entry-4

บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2011, 08:17:34 am »

ต่ออีกสักหน่อย

ถ้านั่ง7วัน จะมีแจกโบนัสด้วย คูณ2เท่า

แต่ผมจะไม่บอกนะว่าแจกกันวันไหน
เดียวคนที่จิตไม่ปกติ ก็จะเลือกนั่งแต่วันที่แจกโบนัสเท่านั้น การทำแบบนั้นมันผิดเพราะคุณไม่ได้นั่งด้วยจิตที่ดี แต่นั่งด้วยจิตที่มีความโลภความขี้โกง ผลที่ออกมาจะเปลี่ยนไป
ดังนั้นควรนั่งด้วย จิตบริสุทธิ์   เมื่อจิตบริสุทธิ์ ผลออกมาจึงบริสุทธิ์  จิตบริสุทธิ์ดินแดนจึงบริสุทธิ์

มีคนเป็นจำนวนมากมาย เมื่อรู้ว่าถวายผ้าไตรจีวร ได้บุญมาก แกจะตั้งหน้าตั้งตาถวายผ้าไตรจีวรอย่างเดียวเลย แบบนี้ผลที่ได้รับก็จะผิดไปนะครับ อย่าลืมว่า ทานต้องบริสุทธฺ ใจต้องบริสุทธิ์

เรื่องพวกนี้คุยแล้วยาว เอาง่ายๆคือ อย่าคิดโกง จงทำดีด้วยจิตที่บริสุทธิ์ จงทำด้วยจิตที่สัทธา แล้วผลจะออกมาดีและบริสุทธิ์ เช่นเกิดภพหน้าจะได้มีเงินมีทองมีบ้านมีหน้าตาดี ไม่ใช่มีเงินแต่เดินไม่ได้ หรือมีเงินแต่ไม่มีลูกหรือมีหน้าตาดีแต่หาคู่ไม่ได้หรือมีหน้าที่การงานดี แต่หาสุขไม่ได้ นั่นคือผลกรรมที่เราทำมาไม่บริสุทธิ์ สิ่งที่ได้มาจึงขาดๆเกินๆ
บันทึกการเข้า

TAWA
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 136


« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 04:53:40 pm »

สุดยอดเลยครับ  สาธุ  สาธุ  สาธุ[/b]
บันทึกการเข้า
TAWA
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 136


« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 14, 2012, 07:57:49 pm »

ใครไม่ลองไม่รู้ผมนะครับก็อีกคนหนึ่งไม่เชื่อแต่พอได้สัมผัสแล้ว( ต้องมีความเชื่อความศรัธาด้วยนะครับ) ผมไป 5 ครั้งแล้ว 2-3 ครั้งอาจจะไม่เห็นผลเพราะเราอาจจะทำไม่ถูกต้องหรือไม่ตั้งใจอะไรทำนองนั้นแต่พอไปหลายครั้งแล้ว ผมว่าพุทธาณุภาพเกิดขึ้นได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ ไม่สัมผัสด้วยตัวเองไม่รู้จริงๆ และไม่สามารถอธิบายให้ใครฟังได้ เพราะเหนือความเป็นจริงที่ทุกคนคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้

ผมยากให้ชมรมนี้จัดสักครั้งหรือ สองครั้งครั้งละ 3-5 วันแล้วแต่จะตกลงกันถ้าจัดจริงๆ ผมคนหนึ่งล่ะขอไปร่วมด้วยนะครับ ผมชื่อจริง ร้อยตรี ประดิษ  ฟูแก้ว อตีดนายทหารหน่วยรบพิเศษ ( พลร่มป่าหวาย)
tel....086- 1235586
บันทึกการเข้า
Admax
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 09:19:32 pm »

สาธุ ขอบคุณช่างเล็กที่นำแนวทางดีๆมาเผยแพร่ครับ เป็นประโยชน์ได้มากครับ
บันทึกการเข้า
yasa_ud
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 02:33:51 pm »

 ju_ju!!ผมท้วงนิดนึงครับผลของสมาธิปกติจะไม่นับเวลาที่ทำนะครับ
คนที่ทำสมาธิเข้ารูปฌานได้5นาทีย่อมได้มากกว่าคนเดินนั่ง3+3ชม.Huh??(ทำนานแต่จิตไม่สงบปล่อยวาง)
แค่อุปจารสมาธิแค่วันละ1นาทีนี่ก็หายากแล้วครับ
ส่วนมากคนมักทำเพราะอยากได้บุญกันเริ่มต้นด้วยกิเลสอยากได้ก็หลงทางแล้ว? sleep!!
และถึงเข้าฌานนานถึง100ปีก็ไม่เทากับจิตที่ถึงวิปัสสนาธรรมนานแค่ไก่กระพือปีกช้างกระดิกหู
 ping!เวลาไม่สำคัญอยู่ที่ทำให้ตรงจุดทำให้ถึงแก่นอย่าหลงกับเปลือกของสมาธิครั
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2023, 09:23:30 am »

https://www.pohchae.com/2023/02/04/basic-meditation-practice-charan/
วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น ตอนฝึกเดินจงกรม,นั่ง-นอนทำสมาธิ โดยหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
#วิธีปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น   #เดินจงกรม   #นั่งนอนทำสมาธิ  #หลวงพ่อจรัญ  #วัดอัมพวัน
-------------


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: