เป็นการจำกัดกระแสให้กับ ขา B หรือขา G (กรณีFET) เพราะว่าถ้ากระแสผ่าน B-E (เฟท G-D) นานเข้ามันจะเกิดความร้อน ตามหลักของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำยิ่งร้อนยิ่งนำกระแสสุดท้ายก็ไหม้ พอใส่ R จำกัดกระแสเข้าไป R มันมีคุณสมบัติตรงข้ามกับสารกึ่งตัวนำ คือยิ่งร้อนความต้านทานยิ่งเพิ่มกระแสก็ไหลผ่านได้น้อยลง พอเอามาต่ออนุกรมกับสายกึ่งตัวนำมันจึงช่วยป้องกันไม่ให้กระแสไหลเกินได้นั่นเอง
ขออนุญาต เสริมนิดนึงครับ นอกจากที่ท่านapichataกล่าวไว้แล้ว
(คุยกันแบบคร่าวๆไม่เจาะลึกก็แล้วกันครับ)
"ใช้หลายตัวขนานกัน แต่ละตัว มันคงไม่ได้มีคุณสมบัติเท่า หรือเหมือนกันเป๊ะๆทั้งหมดทุกตัว ทั้งสองซีก N - P หรือสำหรับไฟบวก ไฟลบ หรือเหมือนกันไปตลอดชั่วอายุการใช้งานของมันหรอกนะครับ"
๑) ตัวต้านทานที่ขา เบส หรือเกท เป็นการแบ่งกระแส ให้ทรานซิสเตอร์หรือมอสเฟ็ทรับไปในปริมาณใกล้เคียงกันด้วยครับ ไม่เช่นนั้นกระแสมันก็ไหลไปตัวที่รับง่าย(อิมพีแด้นซ์ต่ำ/ อัตราขยายสูง) มากกว่าตัวอื่น
๒)ตัวต้านทานที่ขา อิมิตเตอร์ หรือซอร์ส ทำหน้าที่บาล้านซ์กระแส ของทรานซิสเตอร์ขาออกให้มันใกล้เคียงกัน ด้วยส่วนหนึ่ง แล้วก็ป้องกันการไหลกระแสเกินด้วยอีกส่วนหนึ่งครับ