อยากทราบวิธีการใช้มัลติมิเตอร์วัดอุปกรณ์ว่าดีหรือเสียครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 08:08:31 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบวิธีการใช้มัลติมิเตอร์วัดอุปกรณ์ว่าดีหรือเสียครับ  (อ่าน 24978 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 09:15:10 am »

 Tongue
เรียน พี่ ๆ เพื่อน ๆครับ
 TRIAC กับ SCR เราจะเช็คได้อย่างไรครับ ว่าเสียหรือเปล่า โดยถอดออกมาเช็คด้านนอก ด้วยการใช้มัลติมิเตอร์ครับ  Cheesy
 Smiley


บันทึกการเข้า

BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 09:34:45 am »

SCR

วัดอย่างรวดเร็ว

- เมื่อเราใช้สายวัดมิเตอร์ตั้งย่ายวัด Rx10 แล้ววัดสลับขากันทั้งหมด หากพบว่าเข็มชี้ขึ้น 1 ครั้ง แสดงว่าปกติดี
หากมากกว่านี้ หรือไม่ขึ้นเลย แสดงว่าเสีย......................
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 09:38:24 am »

SCR

วัดแบบแน่นอน

- เมื่อทราบขาแต่ละขาแล้ว ก็วัดแบบแน่นอน คือตั้งย่านวัด Rx1 แล้วนำสายวัดสีแดงจับที่ขา K และสายวัดสีดำจับที่ขา A
แล้วใช้สายไฟ

อีกเส้นหนึ่งมาทดสอบ โดยให้ปลายสายหนึ่งของสายนี้จับที่ขา A เช่นเดียวกับสายสีดำ ส่วนอีกด้านนึง แตะกับขา G เข็มมิเตอร์จะชี้ขึ้น และเมื่อปล่อยสายไฟออก เข็มมิเตอร์ก็ยังค้างอยู่ จนกว่าจะถอดสายวัดออก ก็แสดงว่า SCR ตัวนี้เป็นปกติอย่างไรก็ตาม การตรวจวัดด้วยมิเตอร์นี้ คงหวังผลไม่ได้ 100% เนื่องจากกระแส และแรงดันที่มิเตอร์จ่ายออกมาเพียง 150ma
3V  เท่านั้น ทำให้ SCR ไม่สามารถ ทำงานได้เต็มที่ครับ
บันทึกการเข้า
prom jantapho
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน413
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4845


ทำดีเท่าที่ทำได้


« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 09:45:32 am »

SCR

วัดแบบแน่นอน

- เมื่อทราบขาแต่ละขาแล้ว ก็วัดแบบแน่นอน คือตั้งย่านวัด Rx1 แล้วนำสายวัดสีแดงจับที่ขา K และสายวัดสีดำจับที่ขา A
แล้วใช้สายไฟ

อีกเส้นหนึ่งมาทดสอบ โดยให้ปลายสายหนึ่งของสายนี้จับที่ขา A เช่นเดียวกับสายสีดำ ส่วนอีกด้านนึง แตะกับขา G เข็มมิเตอร์จะชี้ขึ้น และเมื่อปล่อยสายไฟออก เข็มมิเตอร์ก็ยังค้างอยู่ จนกว่าจะถอดสายวัดออก ก็แสดงว่า SCR ตัวนี้เป็นปกติอย่างไรก็ตาม การตรวจวัดด้วยมิเตอร์นี้ คงหวังผลไม่ได้ 100% เนื่องจากกระแส และแรงดันที่มิเตอร์จ่ายออกมาเพียง 150ma
3V  เท่านั้น ทำให้ SCR ไม่สามารถ ทำงานได้เต็มที่ครับ

ในการวัด SCR นั้นวิธีการวัดอย่าง BenQ บอกครับแต่เวลาที่เราทำการทริกที่ขา G แล้วปล่อยเข็มมิเตอร์จะต้องค้างอยู่หากว่า ขึ้นแล้วลงก็เสีย
ทำการวัดแบบนี้สัก 2-3 ครั้งเพื่อความแน่ใจว่าทริกแล้วเข็มมิเตอร์ต้องค้างไว้ SCR ตัวนั้นดีครับ


บันทึกการเข้า

สามารถติดต่อได้ที่ 0841987970
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 09:48:09 am »

Triac

ลักษณะโครงสร้างของไตรแอกนี้เหมือนกับการนำเอา SCR 2 ตัวมาต่อขนานกันในลักษณะกลับขั้ว ส่วนขาเกตต่อร่วมเข้าด้วยกัน ดังนั้นไตรแอกจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม ระบบไฟได้ทั้งแบบไฟตรง และไฟสลับ นั้นคือความสามารถในการนำกระแสได้ทั้งสองทิศทาง โดยการทริกที่เกตนั้นก็สามารถกระทำได้ทั้งสองทิศทางเช่นกัน รูแสดงการใช้ SCR 2 ตัวต่อเป็นไตรแอค

คุณสมบัติพื้นฐานเป็นข้อของไตรแอกซึ่งมีดังนี้

1. โดยปกติ ถ้าไม่มีสัญญาณทริกที่เกต ไตรแอกจะไม่ทำงานโดย จะมีลักษณะเหมือนกับสวิตช์ที่ถูกเปิดวงจร

2. ถ้าในกรณีที่ MT2 และ MT1 ถูกป้อนด้วยแรงดันบวกและลบตามลำดับไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้โดยการป้อนสัญญาณพัลส์เพียงสั้น ๆ ที่เกตของมัน โดยจะมีแรงดันตกคร่อมตัวมัน มีค่าประมาณ 1 หรือ 2 โวลต์ เท่านั้น และก็เช่นกันคือเมื่อไตรแอกเริ่มทำงานแล้ว ก็จะสามารถคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังมีกระแสไหลผ่านตัวมันอย่างต่อเนื่อง

3. หลังจากที่ไตรแอกคงสภาพการทำงานอยู่นั้น ทางเดียวที่จะหยุดการทำงานลงได้ ก็โดยการลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านตัวมันลง ให้มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของมัน ในกรณีที่ใช้ไตรแอกในการจ่ายกระแส AC การหยุดทำงานจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อแรงดันของไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์ที่เกิดขึ้น ทุก ๆ ครึ่งคลื่น นั่นคือกระแสจะลดลงเป็นศูนย์

4. ไตรแอกถูกกระตุ้นให้ทำงานได้ ทั้งสัญญาณแบบบวกและลบที่ป้อนให้แก่ขาเกต โดยไม่คำนึงถึงขั้วที่ต่ออยู่ที่ MT1 และ MT2

5. ไตรแอกสามารถทนการกระชากของกระแสได้สูง เช่นโดยปกติสำหรับไตรแอกที่ทนกระแสปกติได้ 10 แอมแปร์ (rms) สามารถทนการกระชากของกระแสในช่วงหนึ่ง คาบเวลาของไฟ 60 เฮิรตซ์ได้สูงถึง 100 แอมแปร์ เป็นต้น

ส่วนการวัดด้วยมิเตอร์ก็ไม่แน่นอนเท่าไหร่ เพราะแรงดัน และกระแสต่ำครับ


บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 09:53:01 am »

Triac

ขอพูดถึงการวัดไตแอคนะครับ TRIAC  แปลว่า  ตัวสามขาที่ใช้กับไฟ AC
( ไดโอด  แปลว่าอุปกรณ์ 2 ขั้ว  มาจากคำว่า DI  ที่แปลว่าสอง  กับคำว่า ODE  ซึ่งมาจากคำว่า
Electrode  ซึ่งแปลว่าขั้ว  ไดโอด  คือตัวสองขั้ว  (ไดแอค(DIAC)   คือไดโอดที่ใช้กับไฟ AC )ไตรโอด 
คือตัวสามขั้วใช้กับไฟ AC)
 
  ขาMT1  กับMT2    ปกติจะวัดไม่ขึ้น  แต่ถ้ามีไออัสมาให้ที่ขา Gate  จะทำให้ MT1  กับ MT2 ต่อถึงกัน
เมื่อไม่มีไบอัส  แต่ MT1,  MT2 วัดขึ้น  น่าจะชอร์ทครับ
         
รายละเอียดอุปรกณ์อิเล็กทรอนิกส์ครับ

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
บันทึกการเข้า
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2007, 10:00:43 am »

Very thank u.  Cheesy
 Smiley
บันทึกการเข้า
momename
member
*

คะแนน16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 219



« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 05, 2007, 09:54:06 pm »

ตอบได้เยี่ยม! ขอบคุณค่ะ Lips Sealed
บันทึกการเข้า

รวมวงจร อิเล็กทรอนิกส์
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!