สุขภาพ ! ศัพท์ควรรู้ !
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 02:26:35 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุขภาพ ! ศัพท์ควรรู้ !  (อ่าน 1509 ครั้ง)
kusol-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 601



« เมื่อ: เมษายน 27, 2008, 06:52:07 pm »

ศัพท์ควรรู้ 



Term Definition
blood sugar น้ำตาลในเลือด
ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดวัดเป็น mg/dL ค่าปกติอยู่ระหว่าง 70-110 mg/dL
 
 
 
 
caffeine คาเฟอีน
สารธรรมชาติที่มีฤทธิกระตุ้น มีปนอยู่ในเครื่องดื่มและอาหารจำนวนมาก เช่น กาแฟ ชา โคล่า ชอกโกเลท สารนี้อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการหลั่งกรดไขมันเพิ่มความอดทนในการออกกำลังกาย การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้ปวดหัว สั่น หัวใจเต้นเร็ว นอกจากนั้น ยังอาจมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่แน่นอน และนำไปสู่การรับประทานมากเกินไป
 
 
carbohydrate abbr. carb
คาร์โบไฮเดรต, คาร์บ
1 ใน 3 หมู่อาหารสำคัญ ช่วยสร้างพลังงานให้ร่างกาย อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตมีเช่น ธัญญพืชต่างๆ (ข้าว, ข้าวสาลี ฯลฯ) ผลไม้ ผัก ถั่ว คาร์โบไฮเดรตเมื่อแตกตัวแล้วจะให้พลังงานประมาณ 4 คาลอรี่ต่อกรัม คำแนะนำทั่วๆไปในการรับประทานอาหารครบทุกหมู่อย่างสมดุลย์ คือ ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตประมาณ 300 กรัมต่อวัน แต่สำหรับวิถีพร่องแป้งแนะนำให้รับประทานไม่เกิน 100 กรัมต่อวัน

See also: ►refined carbohydrate 
 
 
diabetes โรคเบาหวาน
ภาวะผิดปกติที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 mg/dL และร่างกายไม่สามารถส่งน้ำตาลในเลือดไปสู่เซล
 
 
fat ไขมัน
1 ใน 3 ของหมู่อาหารสำคัญที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ไขมันเป็นของแข็งหรือกึ่งแข็ง ไม่ละลายน้ำ ทำหน้าที่ในการปกป้องอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยกระจายวิตามิน A, D, E และ K ซึ่งละลายในไขมัน และให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยไขมันที่แตกตัวแล้วจะให้พลังงาน 9 คาลอรี่ต่อกรัม
 
 
glycemic index GI

ค่าแสดงผลกระทบของการที่อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่เรารับประทานเข้าไปถูกเปลี่ยนไปเป็น น้ำตาลในเลือด โดยเปรียบเทียบกับการรับประทานกลูโคสบริสุทธิซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลในเลือดไ ด้เกือบทันที ถ้าค่า GI ของอาหารชนิดใดยิ่งต่ำ ก็หมายความว่า อาหารชนิดนั้นเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลในเลือดได้น้อย ทำให้ร่างกายสร้างอินซูลินน้อยในการแปลงน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานและส่งต่อไปยังเซ ลต่างๆ ยิ่งอินซูลินถูกหลั่งออกมาน้อย ก็จะทำให้มีการแปลงพลังงานส่วนเกินไปเป็นไขมันเพื่อสะสมในร่างกายน้อยด้วย
 
 
high-density lipoprotein HDL

เป็นโมเลกุลตัวพา (carrier molecule) ทำหน้าที่พาคอเลสเตโรล และ ไตรกลีเซอไรต์ จากเซลต่างๆ กลับไปสู่ตับ ระดับ HDL สูงมีความเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงที่ลดลงของภาวะหัวใจล้มเหลว HDL จึงได้ชื่อว่าเป็น "คอเลสเตโรลตัวดี"

See also: ►low-density lipoprotein 
 
 
ketone คีโตน
สารที่ได้จากการเผาผลาญไขมันในร่างกาย อันเนื่องมาจากการลดหรืองดการบริโภคแป้ง หรือแม้แต่การอดอาหาร ทำให้ร่างกายหันไปหาไขมันเป็นแหล่งพลังงานแทนคาร์โบไฮเดรต และทำให้น้ำหนักลดลง เมื่อมีการเผาผลาญไขมันจะเกิดคีโตนซึ่งจะขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ดังนั้น วิธีหนึ่งในการดูว่าร่างกายของเราได้ปรับไปสู่การเผาผลาญไขมันแทนคาร์โบไฮเดรตหรือยั ง ก็คือการตรวจวัดคีโตนในปัสสาวะ

See also: ►ketosis 
 
 
ketosis คีโตซิส
เป็นขบวนการทางชีววิทยาที่ร่างกายหันมาใช้ไขมันที่สะสมอยู่เป็นแหล่งพลังงาน แทนน้ำตาลในเลือดในกรณีที่น้ำตาลในเลือดมีไม่เพียงพอกับพลังงานที่ต้องการใช้ ร่างกายจะปล่อยกรดไขมันเข้าสู่เส้นเลือดและเปลี่ยนไปเป็นคีโตน (ketone) ซึ่งกล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะต่างๆ สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ คีโตนที่เหลือจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะ

See also: ►blood sugar, ►ketone 
 
 
lactose น้ำตาลนม
เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง มีอยู่ในน้ำนมทุกชนิด ทำให้น้ำนมเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดคตสูงชนิดหนึ่ง
 
 
low-density lipoprotein LDL

เป็นโมเลกุลของตัวพา (carrier) ทำหน้าที่พา คอเลสเตรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ จากตับไปสู่เซลต่างๆ การมีระดับ LDL ที่สูงมีความเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะเป็นสิ่งแสดงว่ามีคอเลสเตโรลอุดตันอยู่ในเส้นเลือดมาก LDL จึงได้ชื่อว่าเป็น "คอเลสเตโรลตัวร้าย" แต่ก็มีผลการวิจัยหลังๆ ที่ชี้ว่า ส่วนหนึ่งของ LDL ช่วยปกป้องหัวใจ

See also: ►high-density lipoprotein 
 
 
protein โปรตีน
1 ใน 3 หมู่อาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เพื่อการเจริญเติบโต การซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ ช่วยให้พลังงานและความร้อน จำเป็นสำหรับการสร้างฮอร์โมน แอนตี้บอดี้ และเอ็นไซม์หลายชนิด โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโน 22 ชนิด โดย 13 ชนิดร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่อีก 9 ชนิดต้องได้รับจากอาหารที่เรารับประทาน อาหารที่ให้โปรตีนคือพวกเนื้อสัตว์ ปลา และถั่วชนิดต่างๆ
 
 
refined carbohydrate คาร์โบไฮเดรตผ่านการขัดสี
คาร์โบไฮเดรตจากธัญญพืชที่ผ่านการขัดสีเอาเปลือก รำ จุลลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ ด้วยวิตามิน และเส้นใยถูกขจัดออกไป ตัวอย่างเช่น แป้งลาสี ข้าวขาว คาร์โบไฮเดรตเหล่านี้จะมีค่า GI สูง ไม่เหมาะที่จะบริโภค

See also: ►glycemic index 
 
 
transformed fatty acid trans fat
ไขมันแปรรูป
ไขมันแข็งที่ได้จากการทำไขมันที่เป็นของเหลวให้ร้อนพร้อมกับผ่านไฮโครเจนเข้าไป (hydrogenated) ทำให้เป็นของแข็งและเก็บไว้ได้นานไม่เสียง่าย ไขมันแปรรูปที่เรารู้จักดีก็คือ เนยเทียม (margarine) และ ครีมช็อตเทนนิ่ง ในขบวนการนี้ สารอาหารจะถูกทำลาย และมีการศึกษาที่พบว่า ไขมันแปรรูปมีส่วนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มและเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ
 
 
triglyceride ไตรกลีเซอไรด์
เป็นรูปแบบหลักของไขมันที่มีอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน และไขมันที่สะสมในร่างกาย ปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่ถือว่าปกติคือ ต่ำกว่า 200 mg/dL

See also: ►fat 
 
 
whole grain โฮลเกรน
ธัญญพืช (ข้าว, ข้าวสาลี ฯลฯ) ที่ผ่านการกระเทาะเปลือกออก แต่ไม่ผ่านการขัดสี ยังคงมีรำ วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ และเส้นใยปนอยู่ ทำให้มีค่า glycemic index ต่ำ




LowCarb-Thailand.com
Thai Lowcarber Community  Smiley    Cheesy


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!