มหาวิทยาลัยเกษตรศึกษาวิจัย เสาวรสพันธุ์รับประทานผลสดสำเร็จ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 29, 2024, 05:39:29 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มหาวิทยาลัยเกษตรศึกษาวิจัย เสาวรสพันธุ์รับประทานผลสดสำเร็จ  (อ่าน 7092 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 29, 2008, 06:36:07 am »

มหาวิทยาลัยเกษตรศึกษาวิจัย เสาวรสพันธุ์รับประทานผลสดสำเร็จ





สาวรสพันธุ์รับประทานสด เป็นผลไม้ส่งเสริมของมูลนิธิโครงการหลวงที่ได้รับความนิยมมากอีกชนิดหนึ่งและมีปริมาณความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากทุกปี ในแง่ของเสาวรสเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ เสาวรสสดมีปริมาณเบต้า แคโรทีน วิตามินซีและวิตามินอีสูง เสาวรสที่มีรสเปรี้ยวจะปลูกส่งโรงงานเพื่อนำไปบริโภคโดยตรง ปัจจุบันเสาวรสเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากเนื่องจากมีรสชาติดีประกอบกับให้คุณค่าทางอาหารสูง โดยมีวิตามินซี 20 มิลลิกรัมต่อเนื้อ 100 กรัม
 
ผศ.ดร.สิริภัทร์ พราหมณีย์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนและคณะ ได้ทำการศึกษาวิจัยเสาวรสขึ้นและประสบความสำเร็จสามารถนำมาขยายผล เพื่อการเพาะปลูกของเกษตรกรของประเทศไทยได้แล้วในตอนนี้
 
และจากรายงานการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวได้ระบุว่า เสาวรสสามารถปลูกได้ในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง แต่พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดส่องทั่วถึง เสาวรสให้ผลผลิตได้ตลอดปีถ้าไม่ขาดน้ำ การปลูกมี 2 แบบ คือ การปลูกแบบอาศัยน้ำฝนและการปลูกแบบให้น้ำ เสาวรสพันธุ์รับประทานสดควรปลูกในพื้นที่ให้น้ำได้ การปลูกแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นต้องวางแผนการปลูกก่อนเดือนสิงหาคมอย่างน้อย 7 เดือน ส่วนการปลูกแบบให้น้ำสามารถทำ  ได้ทุกช่วงเวลา แต่ควรคำนึงถึงความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เช่น ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะประหยัดในเรื่องการใช้น้ำแต่จะมีการกำจัดวัชพืชมากขึ้น ถ้าปลูกในช่วงฤดูร้อนจะพบปัญหาการให้น้ำ แต่การกำจัดวัชพืชจะน้อยลง




ประเทศไทยเริ่มปลูกเสาวรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดย เป็นพันธุ์สีม่วงมีรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว สำหรับมูลนิธิโครงการหลวงมีการปลูกเสาวรสอยู่ 2 ชนิด คือ เสาวรสโรงงานได้ส่งเสริมปลูกมานานแล้ว และเสาวรสสำหรับรับประทานสด ซึ่งคัดเลือกพันธุ์ได้ในปี พ.ศ. 2539 และส่งเสริม  ให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2540 เสาวรสที่ส่งเสริมปลูกในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงแบ่งได้ 2 ประเภท คือ



1. เสาวรสพันธุ์สำหรับส่งโรงงาน เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติเปรี้ยว ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งโรงงานเพื่อนำไปแปรรูปน้ำผลไม้ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือเสาวรสโรงงานชนิดสีม่วง เสาวรสชนิดนี้ผิวผลสีม่วง ผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดี ดอกบานในตอนเช้า   ผลสุกมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมมากกว่าพันธุ์สีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล
 
และเสาวรสโรงงานชนิดผลสีเหลือง เสาวรสชนิดนี้ผิวผลสีเหลือง ดอกจะบานในตอนเที่ยง ส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้น ทนต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัส และทนต่อไส้เดือนฝอย นิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งพันธุ์ของผลสีม่วงเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักผล 80-120 กรัมต่อผล มีรสเปรี้ยวมาก เนื่องจากเนื้อในมีความเป็นกรดสูงกว่าพันธุ์สีม่วง
 
2. เสาวรสพันธุ์รับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดี รสหวานกว่าพันธุ์ที่ส่งโรงงาน มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1 ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง ผลที่ผ่าตามขวางมีลักษณะมี 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนัก 70-80 กรัมต่อผล รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix
 
และพันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2 ลักษณะคล้ายพันธุ์เบอร์ 1 แต่ผลจะสีเข้มและเปลือกมีความหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงเก็บรักษาไว้ได้นาน   เส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนัก 70-100 กรัมต่อผล เปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ยประมาณ 17-18 Brix
 
เสาวรสจะให้ผลผลิตดีในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่สามารถให้น้ำได้จะสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี ผลเสาวรสจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 50-70 วันหลังดอกบาน
 
นับว่าเป็นความสำเร็จอีกชิ้นหนึ่งของ     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการทำการศึกษาวิจัยพืชเพื่อการต่อยอดและขยายผลให้กับเกษตรกรนำไปเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ต่อไปได้.


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!