ผลิตภัณท์ทีวีโอแอลอีดี แบรนด์ซัมซุง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 28, 2024, 10:43:46 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผลิตภัณท์ทีวีโอแอลอีดี แบรนด์ซัมซุง  (อ่าน 4494 ครั้ง)
song bk
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2007, 09:53:33 am »

      ผลิตภัณท์ทีวีโอแอลอีดี แบรนด์ซัมซุง  
ผู้บริหารไทยซัมซุงเผย ผลิตภัณฑ์ทีวีโอแอลอีดี (OLED) แบรนด์ซัมซุงจะเข้าสู่ตลาดไทยอีกไม่เกิน 2-3 ปีนี้ เชื่อหลังวางจำหน่ายไม่เกินสองปีจะเริ่มแพร่หลายในวงกว้างตามรอยแอลซีดีทีวี (LCD) ย้ำตลาดแอลซีดีบ้านเรายังโตได้อีกไกล ส่วนตลาดจอแก้วยังอยู่ได้ในพื้นที่ต่างจังหวัด

นายโอฬาร รุ่งเสรีชัยตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค บริษัท ไทยซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด กล่าวว่า สาเหตุที่เชื่อว่าผลิตภัณฑ์โอแอลอีดีทีวีจะเข้าถึงผู้บริโภคชาวไทยในช่วงเวลาไม่เกิน 2 ปีหลังจากวางจำหน่าย เป็นเพราะตลาดไทยตอบรับเทคโนโลยีใหม่ง่าย เชื่อว่าตลาดจะเติบโตในลักษณะเดียวกับตลาดแอลซีดีทีวี

"โอแอลอีดีทีวีของซัมซุงพัฒนาสำเร็จแล้ว มีที่สำนักงานใหญ่ ไม่น่าจะเกิน 2-3 ปีอาจจะนำเข้ามาขายในเมืองไทย เชื่อว่าจะเข้าลูปเดียวกับแอลซีดี ใช้เวลาไม่น่าจะเกินสองปีก็แพร่หลาย ซึ่งที่ผ่านมา การที่ตลาดเปลี่ยนจากทีวีจอแก้วมาเป็นพลาสมา สถิติการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคตอนนี้อยู่ในสัดส่วนครึ่งๆแล้ว เร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้มาก"

นายโอฬารเชื่อว่าราคาที่ค่อนข้างสูงของหน้าจอโอแอลอีดีทีวีจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำตลาด โดยอธิบายว่าจะมีองค์ประกอบอื่นๆที่ส่งให้ตลาดขยายตัว ทั้งเรื่องราคาเทคโนโลยีที่ลดลง และการซัปพอร์ตเทคโนโลยีของวงการผู้ผลิตคอนเทนท์ความบันเทิง

"ตลาดทีวีไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะมีองค์ประกอบอื่นๆที่ช่วยเสริม เช่นการซัปพอร์ตเทคโนโลยี ถ้าเทคโนโลยีซัปพอร์ตคนก็จะเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือราคาเทคโนโลยีที่ลดลง ไม่ได้สูงมากอย่างในอดีต"

นายโอฬารระบุว่าสาเหตุที่ซัมซุงไม่ตั้งราคาผลิตภัณฑ์แอลซีดีในระดับสูงลิ่วเช่นที่แบรนด์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นทำ เป็นเพราะซัมซุงมุ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคหลายกลุ่ม โดยอาศัยความได้เปรียบจากการมีฐานการผลิตในประเทศไทย จุดนี้นายโอฬารให้ข้อมูลว่าหลายค่ายเริ่มให้ความสำคัญกับการขยายฐานการผลิตเข้ามาที่เมืองไทยมากขึ้น

"อนาคตเชื่อว่าตลาดพลาสมาทีวียังมีอยู่ แต่แคบกว่าแอลซีดี ตลาดแอลซีดียังไปได้อีกไกล สำหรับทีวีจอแก้วก็จะยังไม่หมดไป โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดยังขายได้"

หน้าจอเทคโนโลยีโอแอลอีดี (organic light emitting diode) นั้นมีจุดเด่นที่ขนาดเล็กและบางเบา สามารถประหยัดพลังงานและแสดงผลคมชัด ไม่มีปัญหาเรื่องมุมมองของภาพเหมือนเทคโนโลยีแอลซีดี โดยเทคโนโลยีโอแอลอีดีทำงานบนฟิล์มขนาดนาโนเมตร ทำให้สามารถลดขนาดลงเทียบเท่าระดับเส้นผม สามารถพัฒนาเป็นอุปกรณ์โค้งงอได้ด้วย ในขณะที่จอซีอาร์ที (CRT) แบบเก่านั้นต้องการพื้นที่ด้านหลังที่เพิ่มขึ้นตามขนาดของหน้าจอ ส่วนหน้าจอพลาสมา (Plasma) นั้นไม่สามารถทำให้บางได้เนื่องจากต้องมีช่องบรรจุก๊าซเฉื่อยเพื่อสร้างพลาสมา

ในแง่ของหลักการทำงาน โอแอลอีดีอาศัยการเปล่งแสงจากตัววัสดุโดยตรงต่างจากเทคโนโลยีอื่น ซีอาร์ทีอาศัยการเรืองแสงจากลำอิเล็กตรอนที่วิ่งมาตกกระทบที่จอภาพซึ่งเคลือบสารเรืองแสงไว้ ส่วนจอพลาสมาอาศัยการเรืองแสงของสารเคลือบจากการตกกระทบของแสงอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) ที่เกิดขึ้นจากพลาสมา ในขณะที่แอลซีดีนั้นต้องใช้แสงจากฉากหลัง จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้จอแอลซีดีด้อยกว่าโอแอลอีดีแม้จะมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่เท่าเทียมกัน

บริษัทวิจัยตลาดดิสเพลย์เสิร์ช (DisplaySearch) เคยคาดการณ์แนวโน้มโทรทัศน์คุณภาพสูงในปี 2007 ไว้ว่า ตลาดโทรทัศน์แอลซีดีจะมีมูลค่าตลาดรวมราว 2.74 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.04 แสนล้านบาท) ขณะที่ตลาดพลาสม่าทีวีจะมีมูลค่าตลาดที่ต่ำกว่าราว 7.5 พันล้านเหรียญ (ประมาณ 2.47 แสนล้านบาท)

สำหรับส่วนแบ่งการตลาดแอลซีดีทีวีของซัมซุงประเทศไทยคือ 34% ข้อมูลช่วงเดือนเมษายนปีนี้ระบุว่าตลาดภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ยอดขายของแอลซีดีทีวีมีอัตราเติบโตกว่า 400% ถือเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค ขณะที่ตลาดในประเทศไทย ซัมซุงคาดการณ์ว่าปีนี้ตลาดรวมแอลซีดีทีวีจะมีอัตราการเติบโตที่ 250% จากปีที่แล้ว โดยตั้งเป้ายอดขายแอลซีดีทีวีภายในปีนี้ไว้ที่ 100,000 เครื่อง
                                         
                                                                                                                     ขอบคุณวรสารซัมซุง


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!