เทคนิคการซ่อมเร็วโทรทัศน์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14" » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้ว » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้วโทรทัศน์ ++++++ » หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมเร็วโทรทัศน์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมเร็วโทรทัศน์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)  (อ่าน 5755 ครั้ง)
TRE
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: มกราคม 19, 2007, 12:22:56 pm »

เทคนิคการซ่อมเร็ว จากคุณ grandcom

  การซ่อมเร็ว ก็มีหลายวิธีแล้วแต่ใครจะมีความสามารถเฉพาะตัวแบบไหนสำหรับผมใช้วิธีนี้ครับ
ใช้ซ่อมภาคฮอร์และภาคจ่ายไฟนะครับเพราะสองส่วนนี้พบเสียมากที่สุด
วิธีการ เช็คภาคจ่ายไฟ โดยใช้มิเตอร์ ซันวา 361 ใช้ 360 ก็ได้ แต่ที่ผมจะกล่าวถึงในที่นี้ขออ้างอิง 361 นะครับ
คือถ้าลูกค้านำโทรทัศน์เข้ามาซ่อมบอกไฟไม่เข้า เปิดฝาหลังออกมาแล้ว ให้วัดที่ขา C และ  E ของทรานซิสเตอร์ตัวเพาว์เวอร์
สมมติ SANYO แท่น A7 ก้ให้ตั้งค่าวัดโอมห์ ที่ Rx1k ใช้สายสีดำจับที่ขา C ของ Q513 และสายสีแดงจับที่ขา E ของQ513
( ก่อนวัดอย่าลืมดิสค์ชาร์ทไฟที่ C507 100mfd400v ออกก่อนนะครับ)หลังจากนั้นสักครู่หนึ่งดูว่ามิเตอร์อ่านค่าที่เท่าไหร่
ถ้าอ่านค่ามากกว่า 5Kให้ถือว่าจุดนั้นไม่มีปัญหา การวัดทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้าท์ก็เหมือนกันครับใช้หลักการเดียวกันครับ
     การวัด AC  หรือการวัดฮอร์พัลซ์  ปัญหาทรานซิสฮอร์ไม่ทน ใส่ไปแล้วใช้ได้ไม่กี่นาทีก็ช็อตอีก หรือบางที ร้อนจัดจนลวกมือปัญหาส่วนใหญ่
เกิดจากฮอร์พัลซ์เกิน เท่าไหร่ถึงพอดี  อันนี้ช่างต้องพยายามวัดแล้วก็จำค่าปกติเอาไว้  จากที่ผมเคยทดลองวัดเอาไว้โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ
900 vac หมายถึงการวัดโดยใช้มิเตอร์ตั้งค่าที่ AC1000V สำหรับ SANYO และ SINGER โดยทั่วไป
  ถ้าวัดค่าได้ตามนี้ก็ถือว่าส่วนนี้เป็นปกติ ถ้าวัดแล้วค่ามากกว่านี้ หรือน้อยกว่านี้ อาจเป็นเพราะคอนเดนเซอร์ ที่คร่อมอยู่ที่ขา C-E
ตัวที่ใหญ่  ทนไฟสูง ๆ สีน้ำตาลหรือสีฟ้า 1.6kv-2kvของทรานซิสเตอร์ฮอร์เอาท์เปลี่ยนค่า ส่วนมากถ้า คอนเดนเซอร์
ตรงนี้เปลี่ยนค่า ทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้าท์ จะพังบ่อยมาก ใน SANYO จะพบบ่อยมากในแท่น AA1 และ A3,A5 รองลงมา
  สำหรับเนชั่นแนล แท่น M14Lผมเคยวัดได้ ประมาณ 700vac
      ถ้าอ่านตามนี้แล้วนำไปปฏิบัติ ผมว่ามันน่าจะช้านะ เดี๋ยวจะไม่เหมาะกับคำว่าซ่อมเร็ว  เอาง่ายๆและเร็วๆก็คือ เอาสายสีดำจับ B+
และสายสีแดง จับที่B- ทั้งที่ภาคจ่ายไฟและภาคฮอร์ ถ้าอ่านค่าความต้านทานได้ต่ำกว่า 5K มากๆก็คือจุดนั้นเสีย สามารถวัดได้ทั้ง
ภาคจ่ายไฟ  แบบทรานซิสเตอร์  แบบไอซี   แบบเฟท
   อีกจุดหนึ่งวัดฮอร์พัลซ์ที่ขา B-Eของทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้าท์  ถ้าไม่ใส่ทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้าท์ ที่ปริ้นจะวัดได้ประมาณ 1.5vac
แต่ถ้าใส่ทรานซิสเตอร์ฮอร์เอ้าท์ แล้วบัดกรีขา B-E ลอยขา Cไว้ จะวัดได้ ประมาณ 0.7vac จุดนี้ตั้งมิเตอร์ที่สเกล 2.5vac
ถ้าใส่ทรานซิสเตอร์ ฮอร์เอ้าท์แล้ววัดที่ขา B-Eได้ไฟมากกว่า 1.5vac ก็แสดงว่าฮอร์พัลซ์ส่วนนี้ไม่ปกติ ต้องรีบแก้ไขครับผม



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14" » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้ว » ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้วโทรทัศน์ ++++++ » หัวข้อ: เทคนิคการซ่อมเร็วโทรทัศน์ (คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
 
กระโดดไป: