แต่ได้อ่านบทความนี้แล้วเป็นห่วงว่าการกำจัดฝุ่นรุ่นนี้จะมีปัญหา เอาไงดีน้องโอ๋
ระบบกันฝุ่นในกล้อง DSLR
ฝุ่นกับเซ็นเซอร์รับภาพเป็นของที่ไม่ถูกกันมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะกล้องแบบ DSLR ที่มีการเปลี่ยนเลนส์อยู่บ่อยๆ ดังนั้นโอกาสที่ฝุ่นจะเข้าไปถึงเซ็นเซอร์รับภาพได้นั้นมีมาก ในอดีตกล้องดิจิตอล DSLR จะต้องมีส่งเข้าศูนย์ เข้าร้านซ่อม เพื่อทำการล้างฝุ่นออกจากเซ็นเซอร์อยู่เป็นประจำ
จนกระทั่ง Olympus ได้คิดค้นระบบกำจัดฝุ่นด้วยตัวเองขึ้นมาในชื่อ Supersonic Wave Filter แล้วนำมาใส่ในกล้องดิจิตอล DSLR ของ Olympus ทุกรุ่น ซึ่งระบบนี้ก็สามารถทำงานได้ดี จนมีชื่อเสียงชนิดที่ว่าคนที่ใช้กล้องดิจิตอล DSLR ยี่ห้ออื่นๆ ต่างเรียกร้องอยากได้ระบบกำจัดฝุ่นบ้าง เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาล้างเซ็นเซอร์รับภาพอีกต่อไป
ระบบกำจัดฝุ่นของ Olympus มีหัวใจอยู่ที่ แผ่นวัสดุบางๆที่ปิดตัวเซ็นเซอร์รับภาพเอาไว้ โดยที่แผ่นนี้สามารถสั่นได้ ในระดับอัลตราโซนิค (สั่นมากกว่า 20,000 ครั้งต่อนาที) ซึ่งเป็นช่วงระดับความสั่นที่นิยมใช้ในการทำความสะอาด โดยที่อัตราการสั่นในระดับนี้ จะทำให้ฝุ่นที่ติดอยู่บนแผ่นวัสดุหลุดออกได้โดยง่าย
รายถัดมาที่ทำระบบกำจัดฝุ่นก็คือ Sony Alpha ซึ่งนับเป็นเจ้าแรกที่ทำระบบนี้ขึ้นมาหลังจากปล่อยให้มีเพียง Olympus มีระบบกำจัดฝุ่นอยู่เพียงเจ้าเดียวมานานหลายปี ทาง Sony Alpha ได้ออกระบบระบบกำจัดฝุ่นมาในเดือน มิถุนายน 2550 ซึ่งมาพร้อมกับ Sony Alpha A-100
ระบบกำจัดฝุ่นของ Sony Alpha A-100 พัฒนามาจากระบบกันภาพสั่นไหวที่ CCD ซึ่งระบบกันภาพสั่นไหว จะทำการเคลื่อน CCD (เซ็นเซอร์สำหรับรับภาพ) เพื่อชดเชยการสั่นของกล้อง ทำให้ได้ภาพที่คมชัด แม้ตัวกล้องมีการสั่นเล็กน้อย
ด้วยระบบกันสั่นนี้ทาง Sony Alpha ก็ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นระบบกำจัดฝุ่น โดยการสั่งให้ CCD เคลื่อนเป็นจังหวะ ด้วยความไวสูง (สั่นประมาณ 100 รอบต่อนาที) เพื่อให้ฝุ่นที่เกาะอยู่บน CCD หลุดออกมาได้ นอกเหนือจากการสั่น CCD แล้ว Sony Alpha ยังได้เคลือบผิวของ CCD ด้วย indium-tin oxide เพื่อช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิตบน CCD อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นที่เกาะอยู่นั้นหลุดออกไปยาก
ในการทดลองตัวกล้อง Canon EOS-400D ที่ใช้ทดสอบนั้นมีฝุ่นพอสมควร และไม่สามารถกำจัดออกให้หมด ด้วยการพ่นลมได้ ซึ่งทางผู้ทดลองคิดว่าน่าจะเป็นเพราะไฟฟ้าสถิตที่ตัว CMOS ทำให้ฝุ่นเกาะแน่น และ ในการทดลองจริงพบว่าระบบกำจัดฝุ่นของ Canon EOS-400D นั้นทำงานได้ไม่ดีนัก ถึงแม้ว่าในการกำจัดฝุ่น 2 ครั้งแรกจะสามารถกำจัดฝุ่นได้พอสมควร (ประมาณ 10 กว่าจุดจาก 500 กว่าจุด) แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น แม้จะผ่านการกำจัดฝุ่นถึง 25 ครั้ง
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบกำจัดฝุ่นของ Canon EOS-400D นั่นยังไม่ดีเท่าที่โม้เอาไว้ และจากการทดสอบ ด้วยการทำความสะอาดได้ด้วยลมจากลูกยางเป่าลมก็พบว่าไม่สามารถกำจัดฝุ่นได้ดีเช่นกัน ซึ่งจุดนี้คาดว่า น่าจะเกิดจากไฟฟ้าสถิตที่ทำให้ฝุ่นเกาะแน่นจนลมเป่าไม่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้ว ก็ต้องทำการล้างด้วยน้ำยา จึงจะล้างฝุ่นออกได้ดีที่สุด
Olympus E-300 : ระบบกำจัดฝุ่นประสิทธิภาพ 50%
ระบบกำจัดฝุ่นที่เป็นต้นตำหรับอย่าง Olympus ก็ไม่ทำให้ผิดหวังเพราะ Olympus E-300 ให้ผลการทดสอบ ออกมาในระดับที่ดี ถึงแม้ว่าในการกำจัดฝุ่น 2 ครั้งแรกจะยังกำจัดได้ไม่ดีนัก แต่เมื่อกำจัดฝุ่น ถึงครั้งที่ 25 ก็พบว่าจำนวนฝุ่นที่เกาะบนเซ็นเซอร์ลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ทางผู้ทดสอบได้ให้ความเห็นว่า ถ้าเป็นการใช้งานจริง ที่มีฝุ่นเกาะในแต่ละครั้งจำนวนไม่มากนัก ระบบกำจัดฝุ่นของ Olympus น่าจะสามารถจัดการได้เป็นอย่างดี
สำหรับการเป่าลมเพื่อล้างฝุ่นก็สามารถล้างฝุ่นออกได้จำนวนหนึ่ง แต่สุดท้ายแล้ว ก็ต้องใช้นำยาล้างจึงจะทำความสะอาดได้อย่างหมดจด
Pentax K10D : ระบบกำจัดฝุ่นประสิทธิภาพ 0%
ระบบกำจัดฝุ่นของ Pentax K10D นั้นเรียกได้ว่าไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย เพราะจากการทดลอง ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดฝุ่น 2 ครั้งแรก หรือจะผ่านไปแล้ว 25 ครั้ง ก็ไม่พบว่าสามารถกำจัดฝุ่นออกไปได้อย่างชัดเจน หนำซ้ำยังดูแล้วจะยิ่งมีฝุ่นเกาะมากขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะระบบเขย่าเซ็นเซอร์นั่นมีความถี่ในการสั่นน้อยเกิดไป
อย่างไรก็ตามเมื่อทำการเป่าลมเพื่อล้างฝุ่นออก ก็สามารถล้างฝุ่นออกจากเซ็นเซอร์ของ Pentax K10D ได้เกือบหมด นั่นแสดงว่าเซ็นเซอร์รับภาพของ Pentax K10D นั่นแทบจะไม่มีไฟฟ้าสถิตย์เลย ทำให้สามารถกำจัดฝุ่นออกได้ อย่างง่ายดายด้วยการเป่าลมจากลูกยาง แต่นั่นก็ทำให้น่าผิดหวังยิ่งขึ้นกับระบบกำจัดฝุ่นที่ไม่สามารถเอาฝุ่นออก ไปได ้แม้ว่าจะไม่มีไฟฟ้าสถิตย์ที่เซ็นเซอร์ และสุดท้ายฝุ่นทั้งหมดก็หายไปด้วยการล้างเซ็นเซอร์ด้วยน้ำยา
Sony Alpha DSLR-A100 : ระบบกำจัดฝุ่นประสิทธิภาพ 0%
ผลการทดลองของ Sony Alpha DSLR-A100 นั้นแทบจะไม่ต่างจาก Pentax K10D เลย เพราะทั้งสองยี่ห้อนี้ ต่างใช้ระบบแบบเดียวกัน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ระบบกำจัดฝุ่นของ Sony Alpha DSLR-A100 นั่นแทบจะไม่มีประโยชน์
และเช่นเดียวกัน Sony Alpha DSLR-A100 ก็สามารถกำจัดฝุ่นได้ง่ายด้วยการเป่าลมจากลูกยาง ซึ่งก็เป็นการพิสูจน์ได้ว่าระบบเคลือบป้องกันไฟฟ้าสถิตนั้น ทำงานดีตามโฆษณา แต่อย่างไรก็ตาม การเป่าลมก็ไม่สามารถกำจัดฝุ่นได้ทั้งหมดสุดท้ายก็ต้องจบลงด้วยน้ำยาล้างอยู่ดี
บทสรุป
ระบบกำจัดฝุ่นที่ดูจะใช้งานได้ก็คงเป็นของ Olympus เจ้าเก่าอยู่ดี ส่วนระบบอื่นๆนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่ถ้าจะมองถึงนวัตกรรมใหม่ๆแล้ว การป้องกันไฟฟ้าสถิตบนเซ็นเซอร์ของค่าย Sony Alpha และ Pentax ก็นับว่าเป็นอะไรที่ควรเอาแบบอย่างและนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยเฉพาะยี่ห้อที่มีระบบกำจัดฝุ่นที่ดีอยู่แล้ว ถ้านำการป้องกันไฟฟ้าสถิตไปใช้ด้วยน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด
ที่มา
www.techxcite.comและอ่านที่
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.kmutt.ac.th/ene/pic/techno/dslr_3_400d.jpg&imgrefurl=http://www.kmutt.ac.th/ene/forum/viewtopic.php%3Ft%3D11&h=477&w=550&sz=50&hl=th&start=40&tbnid=nUXxetxq12pmPM:&tbnh=115&tbnw=133&prev=/images%3Fq%3Dconon%2B400d%26start%3D20%26gbv%3D2%26ndsp%3D20%26svnum%3D10%26hl%3Dth%26sa%3DN