ผมอยากได้ความรู้เกี่ยวกับทรานซิสเตอร์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 11:19:14 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผมอยากได้ความรู้เกี่ยวกับทรานซิสเตอร์  (อ่าน 8190 ครั้ง)
ดอกอ้อมิวสิกส์
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27



« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 01:38:27 pm »

ผมอยากได้ความรู้เกี่ยวกับทรานซิสเตอร์
1มันทำงานอย่างไร
2 ทำไมต้องขนานเอ้าพุต
3 จุดเด่นของทรานซิสเตอร์
4 จะเลือกเบอร์ยังไงไห้แมชกับไฟ

ขอบคุณมากครับ อิอิอิ มากไปอะป่าว


บันทึกการเข้า

ดอกอ้อมิวสิกส์
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 04:29:31 pm »

ว้า......ไม่มีคนเก่งเลยหรอครับ
บันทึกการเข้า
mbsamart
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 04:39:14 pm »

ขอโทษนะครับ
ผมว่าไม่ใช่ไม่มีคนเก่ง
แต่คำถามมันบอกถึงว่าท่านไม่ได้รู้จักมันเลย คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะมาอธิบายกันตรงนี้สั้นๆ เหมือนคำถาม
ตั้งแต่คำถามแรก ทรานซิสเตอร์อย่างเดียวมันทำงานไม่ได้ ท่านต้องรู้จักอย่างอื่นมาประกอบด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 04:39:41 pm »

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=12576.0
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
ดอกอ้อมิวสิกส์
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 04:52:42 pm »

Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
ดอกอ้อมิวสิกส์
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27



« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 05:00:15 pm »

ขอโทษนะครับ
ผมว่าไม่ใช่ไม่มีคนเก่ง
แต่คำถามมันบอกถึงว่าท่านไม่ได้รู้จักมันเลย คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะมาอธิบายกันตรงนี้สั้นๆ เหมือนคำถาม
ตั้งแต่คำถามแรก ทรานซิสเตอร์อย่างเดียวมันทำงานไม่ได้ ท่านต้องรู้จักอย่างอื่นมาประกอบด้วยครับ
แง็ว.......เจอด่าเลยเรา  เอาแบบสั้นๆก็ได้ ผมล่ะพอเข้าใจง่ายอยู่  อิอิอิไม่โกรธหรอก ผิดเป็นครู 55555
โอ....โอ๋ ....อย่าโกรธผมเลยนะพี่ ก็ผมใจรักแต่ไม่รู้เรื่องเลย
บันทึกการเข้า
mbsamart
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2007, 05:33:05 pm »

เอ๊า...กลายเป็นด่าไปได้ Tongue
สั้นเข้าใจง่าย..แต่มันสั้นไม่ได้น่ะสิครับ เรื่องมันยาว....... Smiley
บันทึกการเข้า
Hooto cha-am
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน182
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 674



อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2007, 10:15:05 am »

ไม่รู้เลยอยากรู้   เมื่ออยากรู้ก็ต้องถาม       เมื่อถาม  มีคนตอบช้านิดช้าหน่อย      หาว่าไม่มีคนเก่ง      พอเขาอธิบายให้ฟังว่าเพราะสาเหตุใด           ก็หาว่าเขาด่า..................เฮ้อ  Lips Sealed Lips Sealed Lips Sealedสุดยอดเลยคุณ

    คนที่มาตอบคือคนที่อยากมีมิตรภาพที่แบ่งปันกัน     รู้จักการให้  รู้จักการรับ  ที่มีสัมมาคาระวะ      รู้จักการให้เกียรติกันบ้าง  .......ไม่ได้ตอบเพราะเก่งหรือไม่เก่ง   ....
บันทึกการเข้า
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2007, 10:23:01 am »

บัวมีหลายเหล่า  Tongue
บันทึกการเข้า

หลง สุรินทร์
วีไอพี
member
***

คะแนน96
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2441


ทีมงาน PS.SOUND


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2007, 05:28:03 pm »

ทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์ (TRANSISTOR) คือ สิ่งประดิษฐ์ทำจากสารกึ่งตัวนำมีสามขา (THREE LEADS) กระแสหรือแรงเคลื่อน เพียงเล็กน้อยที่ขาหนึ่งจะควบคุมกระแสที่มีปริมาณมากที่ไหลผ่านขาทั้งสองข้างได้ หมายความว่าทรานซิสเตอร์เป็นทั้งเครื่องขยาย (AMPLIFIER) และสวิทซ์ทรานซิสเตอร์
          ทรานซิสเตอร์ชนิดสองรอยต่อเรียกด้ายตัวย่อว่า BJT (BIPOLAR JUNCTION TRANSISTOR) ทรานซิสเตอร์ (BJT) ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น วงจรขยายในเครื่องรับวิทยุและเครี่องรับโทรทัศน์หรือนำไปใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิทซ์ (Switching) เช่น เปิด-ปิด รีเลย์ (Relay) เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ เป็นต้น
โครงสร้าง ของทรานซิสเตอร์
          โครงสร้างของทรานซิสเตอร์ประกอบด้วย สารกึ่งตัวนำ 2 ชนิด ประกบกัน 3 ชั้นวางสลับกันระหว่าง สาร P (P-type) และ สาร N (N-type) จากนั้นต่อขาออกมาใช้งานลักษณะการซ้อนกันนี้ ถูกนำมาแบ่งเป็นชนิดของทรานซิสเตอร์
 ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN โครงสร้างของมันก็คือ สาร P ประกอบด้วยสาร N ทั้งสองข้าง ดังรูปที่2(ก) จากนั้นต่อขาจากสารกึ่งตัวนำทั้งสามชั้นออกใช้งาน ขาที่ต่อจากชั้นสารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า ขาเบส (B,Base) ส่วนขาริมทั้งสอง คือขาคอลเล็กเตอร์ (C,Collector) และขาอีมิตเตอร์ (E,Emitter)
 ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP โครงสร้างประกอบด้วย สาร N ประกบด้วยสาร P ขาที่ต่อออกจากชั้นสารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า ขาเบส (B) สองขาที่เหลือคือ ขาคอลเล็กเตอร์ (C) และขาอีมิตเตอร์ (E) ดังรูปที่ 2 ข
 
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์
         ถึงแม้สารที่ถูกต่อขาเป็นขา C และ E เป็นชนิดเดียวกันก็ตาม แต่ที่จริงแล้วคุณสมบัติทางไฟฟ้าของมันต่างกัน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็น อย่างยิ่งในเวลาประกอบทรานซิสเตอร์ลงในโครงงานต้องดูตำแหน่งขาให้ถูกต้อง ถ้าคุณประกอบผิดก็อาจทำให้วงจรที่คุณสร้างเสียหายได้
 ความแตกต่างของ 2 ชนิด
          ทรานซิสเตอร์มีสองชนิดเป็นการแบ่งทางโครงสร้างของมัน ทีนี้เราก็จะมาดูกันว่าทรานซิสเตอร์ ทั้งสองชนิดนี้มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกันนี้ พอจะเปรียบเทียบได้กับไดโอดสองตัวต่อกัน ซึ่งทำให้เราเข้าใจโครงการสร้างของมันดีขึ้น
 ในรูปที่ 3 ได้แสดงทิศทางของกระแสที่ไหลเข้าออกจากตัวทรานซิสเตอร์ สังเกตได้ว่า กระแสไหลจากทิศทางของหัวลูกศรของทรานซิสเตอร์ (กระแสในที่นี้หมายถึง กระแสนิยมที่ไหลจากขั้วบวกไปขั้วลบ) ทรานซิสเตอร์ทั้งสองชนิดมีทิศทางการไหลของ กระแสกลับกัน จากรูปกล่าวได้ว่า กระแสที่ไหลผ่านขา E จะมีค่าเท่ากับกระแสที่ขา C รวมกับที่ขา B เป็นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ แต่กระแสที่ขา C เท่ากับกระแสที่ขา B คูณด้วยอัตราขยายของทรานซิสเตอร์ (hFE) ดังสมการในรูปที่ 3 เพราะฉะนั้นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ จึงถูกควบคุมโดยกระแสที่ไหลผ่านขา B นั่นเอง
 
 
อธิบายทิศทางการไหลของกระแสในทรานซิสเตอร์ทั้งสองชนิด
         ประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก ใช้รหัสบอกชนิดของทรานซิสเตอร์ โดยดูจากเบอร์ทรานซิสเตอร์จาก ตัวอักษรที่ตามหลัง 2S... เช่น 2SC1815 เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ใช้ในย่านความถี่สูง นอกจากอักษร C แล้วยังมีอักษรตัวอื่น อีกด้วยดังนี้
 A : PNP ใช้ในย่านความถี่สูง
 B : PNP ใช้ในย่านความถี่ต่ำ
 C : NPN ใช้ในย่านความถี่สูง
 D : NPN ใช้ในย่านความถี่ต่ำ
         ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ของผู้ผลิตในอเมริกา เบอร์ของทรานซิสเตอร์จะขึ้นต้นด้วย 2N และตามด้วยหมายเลข (หมายเลข 2 ที่นำหน้าเบอร์ หมายถึง 2 รอยต่อ)
ทรานซิสเตอร์ถูกนำไปใช้ในวงจรต่างๆ อย่างมากมาย ด้วยหลักการให้กระแสที่ขา B เป็นตัวควบคุมกระแสที่ไหลผ่านทางขา C และ E ที่เห็นและคุ้นเคยกันมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ วงจรขยายเสียง และส่วนใหญ่โครงงานในวารสารอิเล็กทรอนิกส์สมัครเล่น ก็ใช้ทรานซิสเตอร์ เพราะฉะนั้นควรจะทำความเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับตัวมันให้ดี
         ในบางวงจรอาจเห็นว่าทรานซิสเตอร์ ถูกเปรียบเทียบกับสวิตช์หรืออาจจะเป็นตัวขยาย เป็นเพราะเราสามารถจัดไบแอส   * ให้มันทำงานเหมือนกับเลือกว่าให้มันเป็นสวิตช์หรือตัวขยายก็ได้
         * การไบแอส : การทำให้สิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ พูดง่ายๆ ก็คือ การป้อนแรงดันให้กับขาต่างๆ ของอุปกรณ์จนมีช่วงทำงานที่เหมาะสม
 

รูปลักษณ์
         รูปร่างหน้าตาของทรานซิสเตอร์แสดงดังรูปที่ 3 พวกทรานซิสเตอร์กำลังหรือ ทรานซิสเตอร์ที่ทนกำลังได้สูงๆ (สังเกตได้จากตัวถัง ที่เป็นโลหะ) พวกนี้จะต้องมีการระบายความร้อนที่ดี เพราะพวกทรานซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่ออุณหภูมิที่ตัวมันสูงเกินที่กำหนด ทรานซิสเตอร์ประเภทนี้จึงจำเป็นจะต้องติดแผ่นระบายความร้อน (heat sink) เสมอ เมื่อใช้งาน เช่น ทรานซิสเตอร์ในภาคสุดท้ายของเครื่องขยายเสียง จำเป็นจะตัองติดแผ่นระบายความร้อน
 
แสดงรูปร่างของทรานซิสเตอร์กับตำแหน่งขา
          ทรานซิสเตอร์มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าขาไหนเป็นขา B , C และ E โดยทั่วไปผู้ผลิตอาจจะไม่เขียน หรือพิมพ์ติดไว้บนตัวทรานซิสเตอร์ แต่อาจจะมีรหัสหรือสัญลักษณ์ให้เป็นที่สังเกต หรือไม่ก็เป็นเปิดดูตำแหน่งจากได้จากคู่มือของตัวมัน แต่ควรจะตรวจสอบอีกทีด้วยการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์
          ในการประกอบโครงงานที่ใช้ทรานซิสเตอร์นั้น คุณควรจะตรวจสอบดูขาของทรานซิสเตอร์ให้ถูกต้องเสียก่อน จึงลงมือประกอบ และข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือ การบัดกรีความร้อนจากปลายหัวแร้ง อาจทำให้ทรานซิสเตอร์เสียได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรบัดกรีทรานซิสเตอร์แช่ไว้นานๆ จนทำให้มันร้อน
          เรื่องทรานซิสเตอร์ก็จบลงด้วยประการฉะนี้แหละครับ ถ้าสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ก็หาอ่านได้ในหนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป.
 


การทดสอบเพื่อหาตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์
              ในการพิสูจน์หาตำแหน่งของทรานซิสเตอร์ โดยการสังเกตดูว่า ขาใดอยู่ใกล้กับขอบเดือยเป็นขา E ขาที่อยู่ตรงข้ามเป็นขา C ส่วนตำแหน่งกลางคือขา B
การทดสอบหาชนิดของทรานซิสเตอร์ NPN และ PNP

1. เลือกขาตำแหน่งกลาง แล้วสมมุติให้เป็นขาเบส จากนั้นนำสายวัด(--) ของโอห์มมิเตอร์มาแตะที่ขาเบส ส่วนสายวัด ( + ) ให้นำมาแตะกับสองขาที่เหลือ
2. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันทีว่า ขาที่ตำแหน่งกลางเป็นขาเบส และทรานซิสเตอร์ที่ทำการวัดนี้เป็นชนิด PNP
3. สำหรับขาอิมิตเตอร์ คือ ขาที่อยู่ใกล้ตำแหน่งเดือย และขาที่เหลือคือขาคอลเลคเตอร์นั่นเอง
4. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้มีค่าสูงให้สลับสายวัด
5. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันที ขาตำแหน่งกลางคือขาเบส และเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
6. ถ้าหากว่าความต้านทานต่ำไม่ปรากฏในทั้งสองกรณี ให้เปลี่ยนเลือกขาอื่นเป็นขาเบส แล้วทำตามขั้นตอนเดิม
บันทึกการเข้า

รับงานะบบ LAN Wireless ติดตั้ง CCTV ดูผ่านระบบออนไลน์ Remote ทำให้ได้ทั่วประเทศ
หลง สุรินทร์
วีไอพี
member
***

คะแนน96
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2441


ทีมงาน PS.SOUND


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2007, 05:30:16 pm »

หรือว่าจะเอาง่ายๆ
ไดโอดต่อกัน2ตัวในTR 1ตัว
เขาเรียกรอยต่อว่า npn-pnp
บันทึกการเข้า

รับงานะบบ LAN Wireless ติดตั้ง CCTV ดูผ่านระบบออนไลน์ Remote ทำให้ได้ทั่วประเทศ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!