แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับครั้งแรก วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท
มีผลข้างเคียง ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และ เกล็ดเลือดต่ำ
สำนักข่าวดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ รายงานว่า
บริษัทยายักษ์ใหญ่ แอสตร้าเซนเนก้า ออกมายอมรับแล้วว่า
วัคซีนป้องกันโควิด ที่ใช้อันอย่างแพร่หลายในชื่อโควิชิลด์(Covishield)
สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่พบได้ยาก
รวมถึงลิ่มเลือดและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
อ้างอิงเอกสารของศาล ขณะที่อาร์ทีนิวส์
ระบุถึงขั้นว่าผลข้างเคียงดังกล่าวบางกรณี
อาจนำไปซึ่งการเสียชีวิต
การยอมรับครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ทางแอสตร้าเซนเนก้า
กำลังต่อสู้กับการยื่นฟ้องร้องคดีแบบกลุ่ม
ในคำกล่าวหาที่ว่าวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัทแห่งนี้
ที่พวกเขาทำการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
สามารถก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บสาหัสและบางครั้งถึงขั้นเสียชีวิต
วัคซีนตัวนี้ถูกใช้ฉีดไปในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก
รวมถึงสหราชอาณาจักร อินเดียและไทย
อย่างไรก็ตามการวิจัยพบว่าวัคซีนดังกล่าวของแอสตร้าเซนเนก้า
อาจทำให้บางคนเกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้
ในขณะที่คดีฟ้องร้องแบบกลุ่มในสหราชอาณาจักรอ้างว่า
วัคซีนตัวนี้ทำให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส
และเรียกร้องค่าเสียหายสูงถึง 100 ล้านปอนด์(ราว 4,600 ล้านบาท)
แก่เหยื่อประมาณ 50 ราย
แม้ทางบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า พยายามโต้แย้งคำกล่าวอ้างดังกล่าว
แต่ก็ยอมรับเป็นครั้งแรกผ่านเอกสารของศาลฉบับหนึ่งว่า
วัคซีน สามารถก่อให้เกิด
TTS (Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome)
หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน-ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ได้ในบางกรณี
หรือก็คือภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดตันและมีเกล็ดเลือดต่ำภายหลังได้รับวัคซีน
การต่อสู้ทางกฎหมายริเริมโดย เจมี สกอตต์ คุณพ่อลูก 2 ที่ป่วยเป็นลิ่มเลือด
ซึ่งทำให้เขาได้รับความเสียหายทางสมอง
หลังจากเขาเข้ารับการฉีดวัคซีนในเดือนเมษายน 2021
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่โควิด-19
เขาเรียกเงินชดเชยต่อคำกล่าวอ้างที่ว่าวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า
มีข้อบกพร่องและปลอดภัยน้อยกว่าที่คาดหมาย
คำกล่าวหาที่ทางบริษัทปฏิเสธ
ในเดือนพฤษภาคม 2023 แอสตร้าเซนเนก้า ยังคงยืนกราน
"ไม่ยอมรับว่าอาการ TTS มีบ่อกิดมาจากวัคซีนของพวกเขา
ในระดับทั่วไป" อ้างอิงรายงานของเดลีเทเลกราฟ ณ ขณะนั้น
แม้เคยปฏิเสธก่อนหน้านี้ แต่ทาง แอสตร้าเซนเนก้า
กล่าวในเอกสารที่ยื่นต่อศาลสูงของสหราชอาณาจักรในเดือนกุมภาพันธ์
ยอมรับเป็นครั้งแรกว่า "วัคซีนของ แอสตร้าเซนเนก้า
ในกรณีที่หายากมากๆ ก่อให้เกิดอาการ TTS และไม่ทราบถึงกลไก
ที่ก่อให้เกิดกรณีเช่นนี้" อย่างไรก็ตามทางบริษัทบอกว่า
"อาการ TTS สามารถเกิดขึ้นได้แม้ปราศจากวัคซีน
ของแอสตร้าเซนเนก้าหรือวัคซีนอื่นใด"
แอสตร้าเซนเนก้า ยืนยันว่าจากข้อมูลที่มี
เผยให้ห็นว่าวัคซีนตัวนี้มีประวัติด้านความปลอดภัยที่ยอมรับได้
และคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบทั่วโลกเน้นย้ำอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ
ประโยชน์ของวัคซีคที่อยู่เหนือความเยงต่างๆ
ของโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่หาได้ยากมากๆ
ประเทศตะวันตกหลายสิบชาติเคยระงับใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2021 ด้วยความกังวลว่า
มันอาจให้เกิดลิ่มเลือดในผู้ฉีดบางราย
ในตอนนั้น มาร์โก คาวาเลรี ประธานองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป
ระบุว่ามีความเชื่อมโยงโดยหลักฐานระหว่างการฉีดวัคซีน
ของแอสตร้าเซนเนก้ากับลิ่มเลือดในสมอง
แต่ยืนยันว่าประโยชน์ของมันอยู่เหนือความเสี่ยงต่างๆ
จากข้อมูลขององค์ารอนามัยโลก พบว่าวัคซีนต้านโควิด-19
ของแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพราว 72%
และจนถึงเดือนเมษายน 2021
มีประชาชนกว่า 17 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนตัวนี้
ในอียูและสหราชอาณาจักร และมีรายงานเกี่ยวกับ
เคสภาวะลิ่มเลือดอุดตันไม่ถึง 40 ราย
(ที่มา:ดิ อินดิเพนเดนท์/อาร์ทีนิวส์)
https://mgronline.com/around/detail/9670000037651?tbref=hp