โรคฝีดาษลิง เริ่มระบาด ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 11:58:51 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคฝีดาษลิง เริ่มระบาด ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา  (อ่าน 936 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2022, 09:14:11 am »

https://covidthai.com/2022/05/21/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%9d%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a9%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%87/
โรคฝีดาษลิง เริ่มระบาด ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา
#โรคฝีดาษลิง#ระบาด #ไม่มีวิธีรักษา
----------------------------------------

โรคฝีดาษลิงคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร โรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบครั้งแรกในลิงทดลองในปี พ.ศ. 2501 โรคนี้พบมากในแอฟริกากลางและตะวันตก สัตว์หลายชนิด รวมทั้งคนสามารถติดเชื้อนี้ได้ .. ในปี พ.ศ. 2546 ได้เกิดการระบาดของโรคนี้ในคนที่ติดเชื้อจาก prairie dog ในสหรัฐอเมริกา เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคนและฝีดาษวัว

สัตว์ชนิดใดเป็นโรคฝีดาษลิงได้บ้าง สัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด (หนู กระรอก prairie dog) กระต่ายสามารถติดเชื้อนี้ได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีสัตว์ชนิดใดอีกบ้างที่สามารถติดโรคนี้ได้ สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงหลายชนิดอาจสามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

สัตว์ติดโรคฝีดาษลิงได้อย่างไร โรคฝีดาษลิงติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงระหว่างสัตว์ที่ติดเชื้อกับสัตว์ปกติ โดยอาจสัมผัสกับรอยแผลบนผิวหนัง หรืออาจติดได้ทางการหายใจ

โรคฝีดาษลิงมีผลต่อสัตว์อย่างไร ในสัตว์ตระกูลลิง หลังได้รับเชื้อมักมีผื่นขึ้นอยู่นานประมาณ 4-6 สัปดาห์ และจะพบตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย โดยบริเวณที่พบบ่อยที่สุด คือ ใบหน้า แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหาง

เชื้อนี้มักไม่ทำให้สัตว์ตายแต่อาจพบการตายได้บ้างในลิงแรกเกิด ลิงบางตัวอาจจะติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการป่วยเลย ในกระต่ายและสัตว์ฟันแทะรวมถึง prairie dog จะมีอาการเริ่มต้น คือ มีไข้ ตาแดง มีน้ำมูก ไอ ต่อมน้ำเหลืองบวม ซึม และไม่กินอาหาร หลังจากนั้นจะเริ่มมีผื่นและตุ่มหนองขึ้นตามตัว ร่วมกับมีขนร่วงเป็นหย่อมๆ ในสัตว์บางชนิดเชื้ออาจทำให้ปอดบวมและตายได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เผย “ฝีดาษลิง” หรือ “ฝีดาษวานร” ไม่ใช่โรคใหม่ พบครั้งแรกในลิงปี พ.ศ.2501 และพบในคนตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 แหล่งระบาดจะอยู่ในแอฟริกา ย้ำไม่เคยพบในประเทศไทย ไม่มีอะไรต้องตื่นตระหนก การติดต่อแพร่กระจายต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด

20 พ.ค.65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเรื่องฝีดาษลิง โดยระบุว่า การเรียกชื่อ “ฝีดาษวานร”  อยากให้เป็นเกียรติ และระลึกถึงท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้ตั้งชื่อโรคนี้ในประเทศไทย

“ฝีดาษวานร” ไม่ใช่โรคใหม่ พบครั้งแรกในลิงปี พ.ศ.2501 และพบในคนตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ในแอฟริกาตอนกลาง และแอฟริกาตะวันตก “ฝีดาษวานร” คล้ายกับโรคฝีดาษในมนุษย์ แต่ความรุนแรง และการแพร่ระบาดได้น้อยกว่าฝีดาษมาก การติดต่อทราบกันดีว่า คนจะติดมาจากสัตว์ เช่น ลิง สัตว์ตระกูลฟันแทะ กลุ่มหนูในแอฟริกาและกระรอก

คนติดโรคฝีดาษลิงได้หรือไม่ คนสามารถติดโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสน้อยมาก .. ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังจากติดเชื้อแล้วประมาณ 12 วัน อาการป่วย ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และอ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย จากนั้นผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา อาการป่วยมักเป็นอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้

ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคฝีดาษลิง กรณีสัตว์ : แจ้งสัตวแพทย์ทันที กรณีคน : พบแพทย์ทันที

จะป้องกันสัตว์จากโรคฝีดาษลิงได้อย่างไร สามารถใช้วัคซีนป้องกันฝีดาษในคนฉีดป้องกันโรคนี้ในสัตว์ตระกูลลิงได้ สำหรับสัตว์อื่น วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ และไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง โดยเฉพาะ prairie dog หรือหนูป่าชนิดต่างๆ

จะป้องกันตัวจากโรคฝีดาษลิงได้อย่างไร หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ ถึงแม้วัคซีนฝีดาษคนจะสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษลิงได้ แต่การฉีดวัคซีนควรทำเฉพาะในคนที่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนการระบาดของโรคฝีดาษลิงและคนที่ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อเท่านั้น และสามารถให้วัคซีนได้ภายหลังการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน

ขณะนี้ไม่มีวิธีรักษาฝีดาษลิง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการป้องกันการติดเชื้อ

การรับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษในคน ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ได้ผล 85% ในการป้องกันฝีดาษลิง และบางครั้งก็ยังคงมีการใช้วัคซีนนี้อยู่ มีรายงานว่า สเปนกำลังเตรียมสั่งซื้อวัคซีนโรคฝีดาษหลายพันโดสเพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิง

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การได้รับวัคซีนหลังสัมผัสกับเชื้อโรคฝีดาษลิง อาจช่วยป้องกันโรคนี้ได้ หรืออาจทำให้มีความรุนแรงของโรคลดลง.

ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่ >  https://www.pohchae.com/2022/05/21/prairie-dog-monkeypox/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!