CPTPP กับความมั่นคงของอาหาร (ฉบับเข้าใจง่าย)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 01:07:03 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: CPTPP กับความมั่นคงของอาหาร (ฉบับเข้าใจง่าย)  (อ่าน 2440 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 28, 2020, 07:19:25 am »



หลายคนคงได้เห็นตัวย่อ CPTPP ผ่านตากันอย่างหนาแน่น
ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้
พร้อมข้อมูลมหาศาลจากสำนักข่าวหลายแห่ง
ที่ออกมาชี้แจงไล่เรียงความคืบหน้าของ
การเข้าร่วม CPTPP ของรัฐบาลไทยอย่างเข้มขั้น
นั่นก็เป็นเพราะว่าในวันพรุ่งนี้ (28 เมษายน 2563)
คณะรัฐมนตรีจะเตรียมลงมติเข้าร่วม CPTPP
 ตามข้อเสนอของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
และประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั่นเอง
.
ในบรรดาข้อมูลมากมายเหล่านั้น KRUA.CO
ขอหยิบยกข้อมูลที่เกี่ยวกับอาหารมานำเสนอเป็นพิเศษ
ด้วยว่าเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับปากท้องและการ “กิน” อยู่ของเราโดยตรง
.
CPTPPคืออะไร?
.
CPTPP หรือ
Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership
มีชื่อไทยเข้าใจยากว่า
“ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก”
ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ปรับแปลงมาจากความตกลงเดิม
ที่ชื่อ TPP ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นพี่ใหญ่ในกลุ่มประเทศสมาชิก

.
เดิมที TPP (ที่ยังมีสหรัฐฯ อยู่ด้วย)
ถูกประมาณการว่าเป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เพราะคิดเป็น 40% ของ GDP โลก แต่สหรัฐฯ ถอนตัวออก
โดยให้เหตุผลว่า TPP อาจทำให้มีแรงงานต่างชาติจำนวนมาก
เข้ามาแย่งงานของชาวอเมริกันในประเทศ
เมื่อพี่ใหญ่อย่างอเมริกาโบกมือบ๊ายบายไปแล้ว
จึงเกิดการทบทวนข้อตกลงกันใหม่ในหมู่ประเทศสมาชิก 11 ประเทศ
และปรับโฉมใหม่เป็น CPTPP
ซึ่งหดเล็กลงเหลือเพียง 14% ของ GDP โลกเท่านั้น
.
จากเดิมที่รัฐบาลไทยคาดหวังให้ TPP
เป็นหนทางในการเปิดตลาดกับสหรัฐอเมริกา
ซึ่งประเทศยักษ์ใหญ่ที่ไทยยังไม่มี FTA
(ข้อตกลงทางการค้าเสรี) ด้วย
จึงหล่นตุ๊บหายไป
เพราะเมื่อเป็น CPTPP แล้ว
จะมีประเทศสมาชิกเพียง 2 ประเทศเท่านั้น
ที่เป็นตลาดใหม่สำหรับไทย
นั่นก็คือแคนาดาและเม็กซิโก
ทำให้ปัจจุบัน จากข้อมูลการคาดการของรัฐบาล
หากไทยเข้าร่วม CPTPP ก็จะทำให้
มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)
เพิ่มขึ้นราว 0.12% (ประมาณ 13,000 ล้านบาท)
.
ปัจจุบันมีประเทศอาเซียนที่ตกลง
เข้าร่วมความตกลงนี้ไปแล้ว 4 ประเทศ คือ
เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน
ส่วนประเทศไทยเองก็เตรียมลงมติ
เข้าร่วมไปตามที่ได้เอ่ยถึงข้างต้น
.
#CPTPPมีผลอะไรบ้าง?
.
นอกจากอัตราการเติบโตของ GDP 0.12%
ที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้แล้ว CPTPP ยังมีผลกระทบกับไทยอยู่มาก
แน่นอนว่ามีองค์กรและหน่วยงานต่างๆ
ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ท่าทีและแนวโน้มการตัดสินใจ
เข้าร่วมของรัฐบาลไทยมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคมหรือกับหน่วยงาน
ของรัฐบาลอย่างกระทรวงสาธารณสุขเองก็ตามที
.
เป็นต้นว่า CPTPP มีข้อตกลงที่จะต้องให้ประเทศสมาชิก
ต้องเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืช (UPOV1991)
ไทยจึงจำเป็นจะต้องปรับแก้ พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ 2542
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาคประชาสังคมกลัวว่า
จะทำให้เกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์
เนื่องจากมีข้อกำหนดที่เข้มงวด เช่น

ไม่อนุญาตให้เกษตรกรเก็บ
ส่วนต่างๆ ของพืชไว้
เพื่อขยายพันธุ์ต่อเองได้

ดังนั้น เกษตรกรจะไม่สามารถเก็บและเพาะพันธุ์พืชได้ด้วยตัวเอง
แต่จะต้องกลับไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากระบบอุตสาหกรรม
เพื่อมาเพาะปลูกต่อ
หากเกษตรกรละเมิดสิทธิข้อนี้จะมีโทษจำคุก 2 ปี
ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ซึ่งการให้สิทธิโดยตลอดกับผู้จดสิทธิบัตรเช่นนี้
อาจทำให้เกิดการผูกขาด เมล็ดพันธุ์ในท้องตลาด
อาจมีราคาสูงขึ้น 2-6 เท่าตัว
ซึ่งเป็นภาระที่เกษตรกรจะต้องเป็นผู้แบกรับในด่านแรก
และจะส่งผลต่อราคาอาหารในท้องตลาด
เป็นอันดับต่อไปตามกลไกราคา
.
นอกจากการจดสิทธิบัตรพืชใหม่ภายใต้ UPOV1991
จะครอบคลุมส่วนพันธุ์พืชแล้ว
ยังอาจทำให้เกิดการผูกขาดพืช ผลผลิต
และผลิตภัณฑ์จากผลผลิต นั่นหมายถึง
เกษตรกรจะเป็น “ผู้ปลูก” อย่างแท้จริง
เพราะนอกจากสิทธิในการปลูกแล้ว
เกษตรกรก็แทบจะไม่เหลือสิทธิ์ใดๆ ในพืชผลของตนเองอีก
หากเกษตรกรจะนำผลผลิตไปขายโดยตรง
หรือขายแบบแปรรูปก็จะต้องแบ่งผลกำไร
ให้เจ้าของสายพันธุ์
อีกทั้งมีการห้ามนำเข้าส่งออกพืชเพื่อขยายพันธุ์
หรือต่อให้นำเข้าส่งออกเพื่อการค้าอื่นๆ
ที่ไม่ใช่การขยายพันธุ์ ก็ยังจะต้องแบ่งผลประโยชน์
ให้เจ้าของสายพันธุ์อยู่ดี
.
ไม่เพียงแต่ส่วนขยายพันธุ์ ผลผลิต และผลิตภัณฑ์เท่านั้น
แต่ UPOV1991 ยังมีข้อกำหนดให้พันธุ์พืช
ที่จดสิทธิบัตรแล้วได้ระยะการคุ้มครองนานขึ้น
จากพืชล้มลุกที่ได้รับความคุ้มครอง 15 ปี
จะขยายเป็น 20 ปี
และไม้ยืนต้นที่ได้รับความคุ้มครอง 18 ปี
จะขยายเป็น 25 ปี
หมายความว่าการพัฒนาสายพันธุ์
หรือศึกษาวิจัยโดยใช้เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์ของพืชนั้นๆ
จะทำได้ยากขึ้น ใช้เวลามากขึ้น และจากการศึกษาพบว่า
ผลกระทบจากการผูกขาดเมล็ดพันธุ์
เช่นนี้จะมีความเสียหายได้มากสุดถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี
.
แทนจะที่เป็นการผลักดันให้เกิดการพัฒนา
การอนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรพืชและจุลชีพ
กลับจะกลายเป็นหุบเหวสำคัญของไทย
เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
แต่มีความก้าวหน้าและต้นทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพ
ที่ช้ากว่าประเทศสมาชิก CPTPP หลายประเทศอยู่มากโข
นั่นอาจทำให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนกับ
กรณีบริษัทญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรใบกระท่อม
ซึ่งครอบคลุมไปถึงสารสกัดจากใบกระท่อมอย่างเช่น
 มิตราไจนีน (Mitragynine) และ
เซเว่นไฮดรอกซี่มิตราไจนีน (7-Hydroxymitragynine)
ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด
ทำให้ใบกระท่อมที่อยู่ในตำรายาโบราณของไทย
ไม่ใช่องค์ความรู้ที่ประเทศไทย
จะหยิบมาพัฒนาเพื่อต่อยอดเป็นยาตัวใหม่ได้อีกต่อไป

.
ทั้งหมดที่ยกมานี้เป็นผลกระทบเพียงส่วนหนึ่ง
จากการถูก CPTPP บังคับให้เข้าเป็นสมาชิก
อนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืช (UPOV1991) เท่านั้น
.
CPTPP ยังมีผลกระทบต่อประเทศในอีกหลายมิติ
ทั้งในเรื่องที่ว่าอาจจะเป็นอุปสรรค
ต่อการบริหารจัดการเภสัชภัณฑ์,
การนำเข้าเครื่องมือแพทย์ Remanufacturing
(เครื่องเก่าที่ปรับสภาพให้สามารถใช้ได้ใหม่)
ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นทะลักประเทศ,
การเสียสิทธิ์เข้าถึงยาเฉพาะบางชนิดที่ได้มาจาก
 “การประกาศบังคับใช้สิทธิ” หรือ CL (Compulsory Licensing)
ซึ่งเคยเป็นหนทางสำคัญที่ทำให้ไทย
เข้าถึงยาต้านไวรัส HIV
(และเป็นยาตัวเดียวกับที่ใช้รักษา COVID-19) ได้ เป็นต้น
เรียกได้ว่า CPTPP เป็นความตกลงที่จะเปลี่ยนชีวิต
ของคนไทยทั้งประเทศก็ว่าได้
กระนั้นเองก็ยังมีหน่วยงานของภาครัฐฯ
ออกมาชี้แจ้งถึงผลในเชิงบวกที่ไทย
จะได้รับหากเข้าร่วม CPTPP มากมาย
พร้อมมองว่าการตีความ CPTPP
จากภาคประชาชนนั้นเป็นการตีความที่กว้างเกินไป
.
แม้จะจั่วหัวไว้ว่าเป็น CPTPP ฉบับเข้าใจง่ายก็ตาม
แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไร CPTPP ก็ไม่อาจเป็นเรื่องที่ตัดสินใจกันง่ายๆ ได้เลย
ด้วยข้อกำหนดยิบย่อยมากมายที่ครอบคลุม
แทบทุกเรื่องในชีวิต จึงนับว่าเป็นรายละเอียด
ที่ควรจะได้ร่วมกันศึกษาและอภิปรายทั้งประเทศ
ทั้งเกษตรกร ผู้ค้า รวมถึงเราเองในฐานะของผู้บริโภค
และผู้ที่ยังอยู่ภายใต้นโยบายสาธารณสุขแบบเดียวกัน
เพราะท้ายที่สุดแล้ว เรื่องของพืชพันธุ์และความมั่นคง
ทางอาหารไม่ใช่เรื่องที่จะผูกอำนาจการตัดสินใจ
ไว้กับคนจำนวนเพียงหยิบมือเท่านั้น หรือไม่จริง?
.
แฟนๆ KRUA.CO ทราบข่าว CPTPP กันมากน้อยแค่ไหน
และคิดเห็นอย่างไรกับท่าทีของคณะรัฐมนตรี
ในการพิจารณาเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP ในวันพรุ่งนี้บ้างคะ?
.
NoCPTPP อย่าฉวยโอกาส
เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อ
ไม่ใช่อาชญากรรม
ความมั่นคงทางอาหาร
ความมั่นคงทางยา
คือความมั่นคงของสังคม
CPTPP


Cr: https://www.facebook.com/kruadotco/posts/4295689783778364


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!