คนโพสก็คง ก๊ง งึกๆงักๆ
โพสไม่มีเว้นวรรค ไม่มี แถว ไม่มีแนว
ติดกันยังกะ "ตังเม"
ยังไม่พอ ยังเอา บรรทัดต้นๆมาใสบรรทัดล่างสะอีก
ซ้ำกันไปๆมาๆ อ่าน 2 เที่ยวแล้ว รู้เลย คนโพสก็ ชรา มาก
ย้อนไปย้อนมา
ความจริงบทความนี้ "มีสาระมาก"
ขอจัดแถว จัดแนว ให้ อ่านง่าย นะคร๊าบ
ผมอ่าน หลายเที่ยวเลย ชอบ ท่านใดอายุ60แล้ว ..ควรอ่าน ❤
วัยสูงอายุ หมายถึง
มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต
ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ใน
วัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
โดยทั่วไปเรากำหนดให้อายุ 60 ปี
เป็นเส้นแบ่งระหว่างวัยกลางคนกับวัยชรา
แต่การตัดสินจากอายุตามปฏิทินว่า
ใครเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว
เป็นเกณฑ์ที่ไม่แน่นอน
เพราะการเข้าสู่ภาวะชราภาพนั้น
แตกต่างไปในแต่ละบุคคล
เนื่องจากการเสื่อมถอยทางร่างกาย
ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บางคนแก่เร็ว แต่บางคนอาจจะแก่ช้าก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว
และวัยกลางคน
เพราะความชราคือผลของการพัฒนาการ
ที่ต่อเนื่องกันในชีวิตของบุคคลนั่นเอง
วัยสูงอายุเป็นวัยแห่งความสุขุมรอบคอบ
เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก
ทำให้มองเห็นการณ์ไกล
มีการตัดสินใจที่ดีกว่าวัยอื่นๆ
สภาพความเสื่อมถอยทางร่างกาย
และจิตใจจะมีมากในระยะนี้
ขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ความจำเสื่อม
ความคิดความอ่านช้าลง
สภาพทางร่างกายเสื่อมถอย
หูตึง ตามัว ผมหงอก เป็นต้น
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้
เป็นผลทำให้ดุลการเจริญเติบโตลดลง
แต่ความเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น
ในลักษณะอนิจจังสังขาร
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ และก็มีตาย
ซึ่งผู้เข้าสู่วัยสูงอายุจะต้องยอมรับ
และรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเสียแต่เนิ่นๆ
เพื่อสร้างความพร้อมในการปรับตัว
ที่จะเป็นผู้สูงอายุอย่างมีความสุข
หรือดูแลให้ผู้สูงอายุมีความสุขตลอดไป
การเปลี่ยนแปลงตามอายุ
จะเกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละคน
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ผม
ผมเป็นสิ่งแรกของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง
ให้เห็นได้ชัดภายนอกจากสีเดิม
เป็นสีขาวแห้งและร่วงง่าย
เนื่องมาจากเนื้อเยื่อหนังศีรษะเหี่ยวย่น
การไหลเวียนของโลหิตลดลง
เส้นผมได้อาหารไม่เพียงพอ
และภาวะเครียดทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของเส้นผมได้ง่าย
การเปลี่ยนสีผมเป็นข้อบ่งชี้อันหนึ่งเท่านั้น
ที่จะบอกถึงความเสื่อมของร่างกาย
แต่จะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆด้วย
ผิวหนัง
เมื่ออายุมากขึ้น
เนื้อเยื่อต่างๆจะขาดความตึงตัว
เนื่องจากการลดจำนวนน้ำในเซลล์ต่อมเริ่มเหี่ยว
นำมันใต้ผิวหนังมีน้อย
เลือดมาเลี้ยงบริเวณผิวหนังก็น้อยลง
ทำให้ผิวหนังเริ่มเหี่ยวแห้ง หยาบ
การลดจำนวนไขมันใต้ผิวหนัง
ทำให้ผิวหนังหย่อนยาน
ปรากฏรอยย่นชัดเจน
ฉะนั้นคนวัยนี้จึงรู้สึกหนาวง่าย
เพราะไขมันใต้ผิวหนังน้อยลง
กระดูก
วัยสูงอายุเป็นวัยที่กระดูกเปราะง่าย
ถ้าได้รับอันตรายเพียงเล็กน้อย
จะทำให้กระดูกหักได้ ทั้งนี้เนื่องมาจาก
มีการสลายตัวของแคลเซียม
ออกจากกระดูกมากขึ้น
และอีกสาเหตุหนึ่งคือการขาดวิตามินดี
เพราะผู้สูงอายุมักไม่ชอบแสงแดด
จะอยู่แต่ภายในบ้าน
และการกินอาหารไม่เพียงพอ
เพราะมีปัญหาเรื่องการเคี้ยว
โอกาสขาดวิตามินดีจึงมีสูง
เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป
หมอนรองของกระดูกสันหลัง
มักจะกร่อนและแบนลงมาก ทำให้หลังโกงได้
เล็บ
เล็บจะหนาแข็งและเปราะ
เนื่องจากการไหลเวียนของโลหิต
ส่วนปลายน้อยลง
ทำให้การจับตัวของแคลเซียม
บริเวณเล็บลดลงด้วย
กล้ามเนื้อ
ร่างกายประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญ
คือกล้ามเนื้อลาย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อค้ำจุน
โครงสร้างของร่างกาย เช่น
กล้ามเนื้อแขน ขา เมื่อกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
มีความเสื่อมสมรรถภาพเกิดขึ้น
จะมีผลให้ความคล่องตัว
ในการทำกิจกรรมต่างๆ
ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อลดลงไปด้วย
กล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่งคือกล้ามเนื้อเรียบ
เช่น ลำไส้ กล้ามเนื้อชนิดนี้
จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง
จะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าพวกแรก
และอาจทำงานปกติดีตลอดวัยสูงอายุก็ได้
หู
การได้ยินจะเริ่มเสียเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
ของประสาทรับเสียงในหูชั้นใน
ทำให้การส่งกระแสประสาทของเสียง
ไปยังอวัยวะรับการได้ยินซึ่งอยู่ในหูเสียไป
อาการหูตึงในผู้สูงอายุ
จะพบมากเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป
ตา
ลักษณะตาของผู้สูงอายุจะเล็กลง
เพราะจำนวนไขมันหลังลูกตาน้อยลง
หนังตาบนจะตกหรือต่ำ
เนื่องจากการยืดหยุ่นของหนังตาลดลง
ตาลึก มีความเสื่อมโทรมของประสาทตา
มีความไวต่อแสงน้อยทำให้มองภาพใกล้ไม่ชัด
การยืดหยุ่นของเลนส์เสียไป
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ผู้สูงอายุมีสายตายาว
นอกจากนี้จะมีวงแหวนขาว
ที่ขอบตาดำเกิดขึ้น
แต่ไม่มีอันตรายใดๆ
และไม่มีผลต่อการเห็น
ระบบทางเดินหายใจ
ความจุของปอดจะลดลง
ทำให้มีปริมาตรของอากาศค้างในปอดเพิ่มมากขึ้น
เนื่องมาจากความยืดหยุ่นของเนื้อปอด
หลอดลมลดลง เยื่อหุ้มปอดแห้งทึบ
เป็นสาเหตุนำไปสู่การลดการขยายตัวของปอด
ซึ่งเป็นสาเหตุส่งเสริมให้เกิดการคั่ง
ของน้ำในปอดของคนสูงอายุได้ง่าย
นอกจากนี้จะมีการเกาะจับของแคลเซียม
ในกระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครง
และกระดูกสันหลัง
ประกอบการทำงานของกล้ามเนื้อ
เสื่อมสมรรถภาพด้วย
การเคลื่อนไหวของทรวงอก
จึงถูกจำกัด การหายใจส่วนใหญ่
จะต้องใช้กะบังลมช่วย
ฉะนั้น ผู้สูงอายุมักจะเหนื่อยหอบได้ง่าย
ระบบทางเดินอาหาร
ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหามาก
นับตั้งแต่ปากซึ่งจะมีฟันที่โยกคลอน หักง่าย
หรือใส่ฟันปลอม จึงมีปัญหาต่อการเคี้ยวมาก
และการรับรสจะไม่ดีเท่าที่ควร
ผู้สูงอายุมักเลือกอาหารประเภทแป้งมากขึ้น
เพราะเคี้ยวง่าย ทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็น
เช่น โปรตีน วิตามิน เกลือแร่
นอกจากนี้การหลั่ง
น้ำย่อยของกระเพาะอาหารลดลง
ทำให้การย่อยและ
การดูดซึมอาหารลดลงไปด้วย
เกิดภาวะการขาดอาหาร
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร
และลำไส้น้อยลง
ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง และมีปัญหาท้องผูก
ระบบการไหลเวียนของเลือด
ความยืดหยุ่นของเส้นเลือดมีน้อยลง
เนื่องจากมีการจับของแคลเซียม
ตามผนังเส้นเลือดมากขึ้น
ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว
ความแรงของชีพจรจะลดลง
รูของเส้นเลือดก็แคบลงด้วย
ทำให้มีแรงต้านทาน
การไหลเวียนของเลือดมากขึ้น
ผู้สูงอายุจึงมักมีความดันเลือดสูง
ขึ้นกว่าปกติได้ ปริมาณเลือด
ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง
เป็นผลให้เกิดการตาย
และการเสื่อมของอวัยวะต่างๆได้
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ขนาดของไตจะเล็กลง
และอัตราการกรองของไตจะลดลงด้วย
นอกจากนี้กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
จะอ่อนกำลังลง ขนาดก็เล็กลงด้วย
เป็นผลให้มีการขับถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ปัสสาวะมากขึ้น ในผู้ชายมักมีต่อมลูกหมากโต
ทำให้ถ่ายปัสสาวะลำบากและถ่ายบ่อยขึ้น
ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมต่างๆ เช่น ต่อมใต้สมอง
ต่อมไทรอยด์และต่อมเพศ ตับอ่อน ฯลฯ
จะทำงานน้อยลง
เป็นผลให้มีการผลิตฮอร์โมนน้อยลงด้วย
เช่น ตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อยลง
จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ผู้สูงอายุจึงเป็นเบาหวานได้มาก
ต่อมเพศทำงานลดลง
ในผู้หญิงรังไข่จะหยุดทำงาน
ทำให้ไม่มีประจำเดือน มดลูก
เต้านมจะเหี่ยวแฟบ บางคนจะอารมณ์หงุดหงิด
โมโหง่าย
ในผู้ชายก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
แต่มักน้อยและช้ากว่าผู้หญิง
ระบบประสาทและสมอง
เซลล์ของประสาทและสมองจะลดลง
ความรู้สึกความคิดจะช้า
สติปัญญาจะเสื่อมถอยลง ความจำเสื่อม
จำเรื่องในอดีตมากกว่าเรื่องปัจจุบัน
ประสิทธิภาพการสั่งงานของสมองต่ำ
นอกจากนี้ยังมีการตายและแฟบ
ของระบบเซลล์ประสาทเป็นอย่างมาก
เป็นผลให้เส้นประสาทเสื่อมเสีย
ความสามารถทางกิจกรรมและความรู้สึกได้
ฉะนั้น การสำลักอาหารจึงพบได้มากในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
ไม่เพียงแต่สภาพร่างกายเท่านั้น
ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึก
การรับรู้ บุคลิกภาพ ความจำ
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางพฤติกรรมด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งในครอบครัว
ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้สูงอายุจะต้องยอมรับ
จากที่เคยเป็นหัวหน้าครอบครัว
ก็จะกลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว
เป็นที่ปรึกษา หรือผู้คอยดูแลบ้าน
หรืออาจเป็นผู้อาศัยไป
การเสื่อมความเคารพและการถูกทอดทิ้ง
จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพจิตมาก
มีความวิตกกังวล บางรายอาจแยกตัวเอง
เป็นบุคคลไร้ความสามารถ สูญเสียความรู้สึกมีค่า
ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
ซึ่งทำให้เกิดข้อขัดแย้งในตัวเอง
และจะเพิ่มมากขึ้นตามระดับอายุ
การปรับตัวของผู้สูงอายุ
จะสำเร็จมากน้อยเพียงไร
ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว
และปกตินิสัยดั้งเดิมของแต่ละคนไป
จากการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง
ด้านร่างกายและจิตใจในผู้สูงอายุเป็นผล
ให้ผู้สูงอายุจะต้องปรับตัวและยอมรับต่อสภาพ
การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควรจะเข้าใจ
และยอมรับต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงนั้นๆด้วย
เพื่อที่จะได้ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุข..
"ตัดข้อความซ้ำออก"วัยชราเป็นวัยแห่งการรำลึกถึงความหลัง
และประเมินผลความสำเร็จ
หรือความล้มเหลวของชีวิต
เนื่องจากเข้าสู่วัยสุดท้ายของชีวิต
และภาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม
และบุคคลอื่นค่อย ๆ หมดไป
เวลาว่างส่วนใหญ่จึงนึกถึง
เรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา
ซึ่งจะก่อให้เกิดความทุกข์และความสุข
..วัยชราเป็นวัยแห่งความสุขสมหวัง
สำหรับบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
ในการปฏิบัติตามภารกิจเชิงพัฒนาการ
ที่ผ่านมาแต่ละวัย พอเข้าสู่วัยชรา
ก็จะปรับตัวได้ง่าย
คนชราจึงมีอิสระและความสุข
การเสื่อมความเคารพและการถูกทอดทิ้ง
จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพจิตมาก
มีความวิตกกังวล บางรายอาจแยกตัวเอง
เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
สูญเสียความรู้สึกมีค่า
ความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
ซึ่งทำให้เกิดข้อขัดแย้งในตัวเอง
และจะเพิ่มมากขึ้นตามระดับอายุ
การปรับตัวของผู้สูงอายุ
จะสำเร็จมากน้อยเพียงไร
ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
สังคม ครอบครัว
และปกตินิสัยดั้งเดิมของแต่ละคนไป