หัวข้อ: สเตียรอยด์คืออะไร?..อันตรายหรือไม่? เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ตุลาคม 18, 2018, 02:00:09 pm หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!! www.pohchae.com
. . สเตียรอยด์คืออะไร..อันตรายหรือไม่? สเตียรอยด์ บางครั้งถูกเรียกสั้นๆ ว่า roids หรือ juice ได้มาจาก.. 1.สเตียรอยด์สังเคราะห์ ที่บริษัทยาสร้างขึ้น ด้วยคุณสมบัติในการรักษาโรคของสารสเตียรอยด์มีมากมาย.. จึงทำให้บริษัทผลิตยา ผลิตยาสเตียรอยด์ขึ้นมาโดยเลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ หรือแม้แต่ใช้ในวงการเสริมความงาม เป็นยาเคมีที่ให้ผลในเรื่องการรักษาโรคได้ดีและรวดเร็วคล้ายสเตียรอยด์ธรรมชาติ แต่แตกต่างกัน ตรงที่สเตียรอยด์เป็นยาเคมีสังเคราะห์ และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายมากกว่า มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน มีหลายชนิดแต่ชนิดที่เรามักจะได้ยินคุ้นหู คือ เดกซาเมธาโซน และเพรดนิโซโลน . 2.สเตียรอยด์ธรรมชาติ ที่ร่างกายสร้างได้เอง เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น..ผลิตออกมาเองตามธรรมชาติจากต่อมหมวกไตซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่อยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้าง จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกายอีกหลายชนิด เช่น อะดรีนาลีน เป็นต้น ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดต่างๆ หรือปรับความเครียด ปรับความอ่อนเพลียไม่มีแรงให้เป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ ฯลฯ ประโยชน์ของสเตียรอยด์แม้ว่าทางการแพทย์จะใช้สเตียรอยด์ในการรักษาโรค แต่เนื่องจากสเตียรอยด์มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ดังนั้นทางการแพทย์จึงมักจะเลือกใช้สเตียรอยด์เป็นลำดับท้ายๆ ในกรณีที่ไม่มียาที่รักษาอาการของโรคนั้นแล้ว หรืออาจใช้เพื่อการรักษาช่วงต้นที่เร่งด่วน เพื่อลดอาการ เช่น ใช้ต้านการอักเสบในโรคปวดข้อรูมาตอยด์ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และนอกจากนี้สเตียรอยด์ยังมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน จึงมีการนำมาใช้เพื่อลดภูมิคุ้มกันในโรคแพ้ภูมิตนเองเพื่อไม่ให้โรคลุกลาม เช่น โรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง), โรคสะเก็ดเงิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (โอ๋ ภัคจีรา ก็เป็นโรคนี้) ฯลฯ การใช้ยาอะนาบอลิก-แอนโดรจีนิกสเตียรอยด์(Anabolic Androgenic Steroid: AAS) สเตียรอยด์ชนิดนี้มักนิยมใช้เมื่อต้องการสร้างกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งยาชนิดนี้อาจส่งผลอันตราย และส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้.. ผลข้างเคียงต่อผู้ชาย
โทษของสเตียรอยด์
อันตรายของสเตียรอยด์มีมากมาย แต่เท่าที่รวบรวมมาทั้ง 11 ข้อนี้ล้วนเป็นภัยอันตรายที่ค่อนข้างสำคัญที่ประชาชนควรรู้อย่างยิ่ง จะได้ระมัดระวังไม่ไปหลงเชื่อคำชักชวนของใครง่ายๆ ขอให้หยุดคิดซักนิด แต่ไม่ใช่ว่ายาสมุนไพรจะกินไม่ได้เลย หากแต่ต้องดูให้ดี มีวิธีดูหรือสังเกตว่ายาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณนี้จะมีสเตียรอยด์ผสมหรือไม่ ..
วิธีใช้สเตียรอยด์ให้ปลอดภัยสเตียรอยด์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ โดยเฉพาะชนิดกินและฉีด ต้องอยู่ในความดูแลของหมอ ไม่ควรหยุด หรือ ปรับยาเองแม้ไม่มีอาการแล้ว เรื่องนี้สำคัญมากจำไว้ว่า ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด หากมีอาการไม่ดีให้กลับไปหาหมอพร้อมนำยาไปด้วย และเนื่องจากสเตียรอยด์ มีผลข้างเคียงมาก การจะใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้น จึงไม่ได้ขึ้นกับการกินยาตามที่หมอสั่งเท่านั้น เพราะอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา อาจเกิดจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น เรื่องอาหาร หากหมอให้อธิบายอาการ ควรเล่าถึงสิ่งที่กินที่อาจจะมีผลทำให้เกิดอาการ เช่น กินเค็ม รสจัด อาหารมัน อาหารหมัดดอง อาหารไม่สุก ความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มที่อาจจะเป็นประโยชน์ ต่อการค้นหาสาเหตุและการรักษาวิธีเลิกใช้สเตียรอยด์ผู้ป่วยที่กำลังรักษาโรคกับหมอ โดยหมอสั่งใช้สเตียรอยด์ขนาดสูง เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยาต่อ หมอจะค่อยๆลดขนาดยาลงให้ โดยหมอจะไม่ให้หยุดหรือเลิกใช้ยาในทันที เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อก ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะหยุดยาได้ ผู้ป่วยโรค เอสแอลอี (SLE หรือโรคพุ่มพวง) โรคไตรั่ว โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคอื่นๆที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องกินสเตียรอยด์เพื่อกดภูมิคุ้มกันไว้ แต่หากผู้ป่วยอยากจะเลิกใช้สเตียรอยด์ เนื่องจากกลัวผลเสียจากการใช้ยาหรือทนผลข้างเคียงจากการใช้ยาไม่ไหว จะต้องปรึกษาหมอและเภสัชกรก่อน เพื่อพิจารณาผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นหลังจากหยุดใช้ยา และขอให้ระลึกไว้เสมอว่า แม้ในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกมากมายที่มาทดแทนการใช้สเตียรอยด์ได้ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การฝังเข็ม การรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็ก แต่ผลการรักษาก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน การรักษาโดยใช้แพทย์ทางเลือกจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นในบางกรณีอาจเกิดผลเสียมากกว่าการใช้สเตียรอยด์เสียอีก ผู้ที่ซื้อยาสมุนไพร ยาแผนโบราณหรืออาหารเสริมมากินเองเป็นเวลานานแล้ว หากสงสัยว่ายาที่กินจะมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ขอให้รีบไปให้หมอตรวจ เพื่อปรึกษาวิธีลดการใช้ยา ห้ามหยุดยาเองโดยทันทีเด็ดขาดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และไม่ควรกินยาที่สงสัยนั้นต่อ เพราะจะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆของร่างกายซึ่งเป็นอันตรายมาก.. การได้รับยาสเตียรอยด์โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นจากยาชุด ยาลูกกลอน ยาสูตรสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ รวมทั้งยาที่อวดอ้างสรรพคุณในการรักษาได้สารพัดโรค เนื่องจากยาเหล่านี้มักจะมีส่วนผสมของยาในกลุ่มสเตียรอยด์อยู่ ทำให้เห็นผลในการบรรเทาทุกอาการได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ ผู้ใช้ยาจึงมักรู้สึกพึงพอใจกับผลของยา โดยไม่ได้มุ่งรักษาที่สาเหตุของโรคโดยตรง แต่ยิ่งใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเท่าใด อาการไม่พึงประสงค์ของ steroid ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ตรงสาเหตุอย่างทันท่วงที จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้โดยเด็ดขาด.อาการปากเบี้ยว 9 แชมป์โรคสมอง วิธีป้องกันและรักษา..(ตอน1)ขอขอบคุณ http://www.steroidsocial.org/steroid.. https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%.. https://www.google.com/search?q=steroid&newwindow.. https://www.honestdocs.co/what-is-nsaids/is-it-safe-to-take-steroids http://kidshealth.org/en/teens/.. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/ss/.. https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/142/.. |