หัวข้อ: แพะ-วัว รกค้าง-สาเหตุและวิธีแก้ไข(อัพเดท#2 -27/8/2018) เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ สิงหาคม 27, 2018, 01:20:05 pm หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!! www.pohchae.com
. . http://bit.ly/2odbIdl http://bit.ly/2weZuVW การเกิดรกค้าง (RETAINED PLACENTA) รกค้างในแพะพบน้อยกว่าในโคนม ปกติรกควรออกมาหลังจากคลอดภายในไม่กี่ชั่วโมง การจัดน้ำอุ่นที่สะอาดให้แม่แพะกินหลังคลอด เชื่อว่าจะช่วยขับรกให้เร็วขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอุณหภูมิร่างกายแม่แพะลดลงเพราะออกแรงเบ่งและสภาพอากาศหนาวขณะคลอดลูก นอกจากนี้การเกิดรกค้างและมดลูกอักเสบเป็นหนองอาจมีสาเหตุมาจากการขาดธาตุซีลีเนียมก็ได้.. รกค้าง (Retention of Placenta) รกค้าง หมายถึงการที่รกไม่ลอกหลุดจากผนังมดลูกภายใน 12 ชั่วโมงภายหลังแม่แพะ-วัวคลอดลูกแล้ว (ปกติไม่ควรเกิน 5-6 ชั่วโมง) สาเหตุ 1. คลอดยาก 2. แม่แพะ-วัวคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งลูกจากสาเหตุต่างๆ 3. โรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ในส่วนของรก (Placenta) ระหว่างการตั้งท้องหรือในระยะคลอด เช่น โรคบรูเซลโลซิส มดลูกอักเสบจากการติดเชื้อต่างๆ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา 4. ความผิดปกติในตัวลูก เช่น ลูกตายทั้งกลมและเป็นมัมมี่ (ลูกกรอก) หรือคลอดลูกแฝด 5. การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางอย่าง เช่น วิตามินอี ธาตุซิลิเนี่ยม หรือแคลเซี่ยม 6. การใช้ยากลุ่มสตีรอยด์ (steroid) [embed]https://www.youtube.com/watch?v=f1-122AvJgw[/embed] อาการ แม่แพะ-วัวแสดงอาการปวดและพยายามเบ่งให้ส่วนของรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกออกมา อาการทั่วไปของแม่แพะ-วัวจะไม่มีความผิดปกติมาก นอกจากกินอาหารน้อยลงหรือปริมาณน้ำนมที่รีดได้ลดลง แต่ถ้าไม่รีบแก้ไขโดยเร็วภายใน 12-24 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการอักเสบของผนังมดลูกเป็นเหตุให้เกิดปัญหาผสมติดยากเนื่องจากมีการติดเชื้อภายในมดลูกอย่างเรื้อรังตามมา การแก้ไข ไม่ควรใช้มือล้วงดึงเอารกที่ค้างออกมา เพราะอาจจะทำให้เลือดภายในมดลูกไหลไม่หยุดจนทำให้แม่แพะ-วัวเสียเลือดมากและตาย หรือเกิดการอักเสบเพราะติดเชื้อตามมาภายหลังได้ ควรสอดยาเม็ดเข้ามดลูกครั้งละ 2-3 เม็ด วันเว้นวัน จนกว่ารกที่ค้างอยู่จะเกิดการสลายตัวและไหลหลุดออกมาเอง แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อร่วมด้วยสัตว์จะมีไข้ ควรให้ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนามีด (sulfonamide) ฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดร่วมด้วย การป้องกัน ในฝูงแพะ-วัวที่มีประวัติรกค้างบ่อยๆ หรือในบางพื้นที่ที่มีการขาดแร่ธาตุบางชนิด โดยเฉพาะซิลิเนี่ยม (Se) ควรฉีดยาในกลุ่มวิตามิน ADE เข้ากล้ามเนื้อในช่วง 1 เดือนก่อนคลอด หรือให้แร่ธาตุพวกนี้ผสมในอาหาร หรือมีแร่ธาตุก้อนให้สัตว์ได้เลียกินตลอดเวลา จะช่วยป้องกันการเกิดรกค้างได้ ถ้าแม่แพะคลอดแล้ว 12 ชั่วโมงยังมีรกค้าง ขอให้ผู้เชี่ยวชาญล้วงปลดรกที่ค้างและใช้นิ้วมือเกี่ยวแล้วค่อยๆ ดึงออก ถ้าไม่สามารถล้วงออกได้แก้ไขโดยการฉีดยาปฏิชีวนะและยาไดเอททิลสติลเบสโตรล (Diethylstilbestrol) (ฮอร์โมนเพศ) ขนาด 10-15 มิลลิกรัม เพื่อเปิดปากมดลูกและขับรกที่ค้างออกได้ หรือในหลายๆ กรณี จะฉีดฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน (Oxytocin) ทางเส้นเลือดเพื่อเร่งมดลูกให้หดรัดตัวและขับรกส่วนที่ค้างออกมา วิธีการนี้มักได้ผลดีกว่าวิธีอื่น แต่ปริมาณยา เป็นสิ่งที่ควรระวัง อย่าให้มากเกินไป เพราะแม่แพะจะเบ่งไม่หยุด มดลูกอาจทะลักได้ ปล. เกร็ดเล็กๆ อ.ทวีรัตน์ เกตุแก้ว : งดอาหารอื่น ให้แพะกินใบข่อย สามารถขับรกออกมาได้ในเร็ววัน [embed]https://www.youtube.com/watch?v=wyYQt2lghcc[/embed] กายวิภาคศาสตร์ของแพะ..ผู้เลี้ยงแพะควรรู้ขอบคุณ http://niah.dld.go.th/th/AnimalDisease/.. http://tulyakul.blogspot.com/2014/03/.. http://niah.dld.go.th/th/AnimalDisease/.. https://th.theasianparent.com/%E0%B8%82%E0%B.. https://www.yoycart.com/Product/556087417426/ https://www.google.com/search?q=Placenta+goat&newwindow.. |