หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com .
.
หญิงญี่ปุ่นเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสในเห็บ หลังจากถูกแมวจรจัดป่วยกัด รายงานเผย เป็นครั้งแรกของโลกที่มนุษย์ได้รับเชื้อนี้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ใช่จากเห็บโดยตรง
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560
เว็บไซต์เจแปนไทม์ส รายงานว่า หญิงชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเกิดล้มป่วยอย่างหนักและเสียชีวิตในเวลาต่อมา สาเหตุเพราะเธอติดเชื้อไวรัสเอสเอฟทีเอส (SFTS - Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome) ที่มีเห็บเป็นพาหะ ภายหลังจากที่ถูก
แมวจรจัดกัด นับเป็นเคสแรกของโลกที่มนุษย์ติดเชื้อชนิดนี้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเปิดเผยว่า หญิงคนดังกล่าวมีอายุราว 50 ปี เธอพบเห็นแมวจรจัดตัวหนึ่งที่กำลังป่วยและดูอ่อนแรง แต่แล้วก็ถูกมันกัดเข้าขณะพยายามอุ้มมันไปโรงพยาบาล หลังจากนั้นเธอก็ล้มป่วย และเสียชีวิตใน 10 วันต่อมา จากการชันสูตรศพพบว่าเธอเสียชีวิตเพราะได้รับไวรัสจากเห็บ แต่กลับไม่พบร่องรอยการถูกเห็บกัดบนร่างกายของเธอ จึงวินิฉัยว่าเธอได้รับไวรัสชนิดนี้มาจากแมวที่ถูกเห็บกัดอีกต่อหนึ่ง
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเห็บคือพาหนะนำโรคอันตรายหลายชนิด เช่น โรคไลม์ (Lyme) ซึ่งก่อให้เกิดการปวดเมื่อย อ่อนแรง ปวดตามข้อ รวมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ส่วนโรคเอสเอฟทีเอสนั้นเป็นโรคที่สามารถพบได้ในหลายพื้นที่ของประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยรายงานระบุว่าในญี่ปุ่นมีคนป่วยเป็นโรคนี้ครั้งแรกในปี 2556 และปัจจุบันมีผู้ป่วยทั้งหมด 266 คน มีผู้เสียชีวิต 57 ราย เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการง่วงซึม มีไข้สูง คลื่นไส้อาเจียน และมีโอกาสเสียชีวิตราว ๆ 6-30 เปอร์เซ็นต์
หลังจากการค้นพบโรคดังกล่าว นายมาซายูกิ ไซโจ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันโรคติดเชื้อแห่ชาติ ชี้ว่า เคสดังกล่าวนับว่าเกิดขึ้นได้ยากมาก อย่างไรก็ตามแมวที่เลี้ยงในบ้าน มีโอกาสเสี่ยงโดนเห็บกัดน้อยกว่าแมวที่ปล่อยเลี้ยงข้างนอก
ด้านกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นก็ได้มีการเรียกร้องให้ประชาชนรีบนำแมวของตนมารักษาที่คลิกนิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ทันที่ที่พบว่ามีอาการผิดปกติ และแนะนำว่าไม่ควรสัมผัส หรือเข้าไปเล่นกับสัตว์จรจัดที่มีอาการป่วยอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ยังได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ทุกคนสวมทุกมือทุกครั้งที่สัมผัสหรือรักษาแมวป่วย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ.
ข้อมูลจาก
bbc.co.uk,
mutualselfcare.org