พิมพ์หน้านี้ - EU สั่งปรับกูเกิ้ล 9 หมื่นล้าน ชี้ ละเมิดกฎหมาย..ผูกขาดทางการค้า

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => GooGle => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ มิถุนายน 28, 2017, 11:41:50 am



หัวข้อ: EU สั่งปรับกูเกิ้ล 9 หมื่นล้าน ชี้ ละเมิดกฎหมาย..ผูกขาดทางการค้า
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ มิถุนายน 28, 2017, 11:41:50 am
หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com     


  อียู สั่งปรับกูเกิ้ล 9 หมื่นล้าน ชี้ ละเมิดกฎหมายต้านการผูกขาดทางการค้า ด้านกูเกิ้ลเตรียมพิจารณายื่นอุทธรณ์ ยันเป็นการสร้างผลประโยชน์สองทางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย วันที่ 27 มิถุนายน 2560 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คณะกรรมาธิการป้องกันการผูกขาดทางการค้าของสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องการปรับบริษัทอัลฟาเบต ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิ้ล ผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลรายใหญ่ที่สุดของโลกจากสหรัฐฯ เป็นจำนวนเงิน 2,400 ล้านยูโร (ราว 91,920 ล้านบาท)
ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่บริษัทใช้อำนาจมิชอบในการเสนอบริการกูเกิ้ล ช้อปปิ้ง ที่เป็นการโฆษณาขายสินค้าออนไลน์ผ่านคำค้นหาหากสอดคล้องกัน ซึ่งถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างผิดกฎหมายของอียู ..อย่างไรก็ดีทางอียู ได้ให้เวลาสูงสุด 90 วัน เพื่อให้กูเกิ้ล ยุติเสนอบริการดังกล่าว หรือมิเช่นนั้นมูลค่าของค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระอาจเพิ่มขึ้นเป็น 5% เมื่อเทียบกับผลประกอบการหมุนเวียนต่อวันทั่วโลกของอัลฟาเบต ขณะที่ค่าปรับซึ่งอียูเรียกเก็บจากกูเกิ้ลในครั้งนี้นั้น เป็นผลจากการดำเนินการสืบสวนที่ยาวนานถึง 7 ปี และถือว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์สำหรับกรณีการผูกขาดทางการค้า ทำลายสถิติ 1,060 ล้านยูโร (ราว 40,598 ล้านบาท) ที่อียูเรียกเก็บจากบริษัทอินเทล ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ระดับโลกจากสหรัฐ เมื่อปี 2552 ขณะที่ทางกูเกิ้ล ออกมาชี้แจงว่า เมื่อผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ ความรวดเร็วและความง่ายดายในการเข้าถึงช่องทางเพื่อเลือกสรรสินค้าที่ต้องการถือเป็นกลไกสำคัญ ท่ามกลางการแข่งขันสูงระหว่างผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าบนโลกออนไลน์ กูเกิ้ลจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างผลประโยชน์สองทางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย สำหรับการประกาศของอียูที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่กูเกิ้ลเคารพแต่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยจะมีการพิจารณาคำตัดสินอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่การเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อไป. อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก