หัวข้อ: ความรู้เรื่องแสง+การจัดแสงเบื้องต้น เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 11, 2017, 12:56:53 pm หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com
แสงและการจัดแสงเบื้องต้น การถ่ายภาพนิ่งหรือวิดีโอ หากมีความรู้เรื่องแสงเบื้องต้นจะทำให้สามารถประยุกต์ใช้กับการทำงานในสถานการณ์ต่างๆได้ และงานที่ออกมาจะสวยงามมากขึ้น โดยเฉพาะงานถ่ายภาพและวิดีโอบุคคล โดยสิ่งหลักที่ต้องคำนึงเสมอในการจัดแสง คือ มิติ และความโดดเด่น มิติ ในที่นี้หมายถึงความมีมิติของภาพ เพราะปกตินั้นตาของมนุษย์จะมองภาพเป็น 3 มิติ แต่เมื่อเราถ่ายภาพผลงานที่ออกมาจะอยู่ในรูปแบบ 2 มิติ ถ้าหากขาดแสงเงาที่ดีจะทำให้ภาพไร้มิติหรือที่เรียกกันสั้นๆว่า ภาพแบน ดังนั้นการคำนึงถึงแสงเงาที่เกิดขึ้น หรือการจัดไฟให้เกิดแสงเงาที่ดี จะทำให้งานที่ออกมามีมิติ น่าสนใจ ความโดดเด่น หมายถึงการดูทิศทางของแสงหรือจัดแสงเพื่อให้ตัวแบบโดดเด่นออกมาจากฉากหลัง เพราะจะทำให้คนที่ดูงานเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าเราต้องการถ่ายเน้นไปที่ใด แหล่งกำเนิดแสง แสงจากธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงแสงอาทิตย์ การถ่ายภาพส่วนใหญ่แล้วก็อาศัยแสงจากดวงอาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งแสงจากดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลาจะมีทิศทางและสีที่แตกต่างกัน ช่วงแสงทไวไลท์ หรือช่วงเวลาโพล้เพล้หรือพระอาทิตย์กำลังจะขึ้นหรือตกไปแล้ว เวลาประมาณ 05.30-06.30 น. และช่วงเวลา 18.00-19.00 น. จะมีแสงน้อย ท้องฟ้าจะมีสีสันต่างๆ น้ำเงิน ม่วง ชมพู ฯลฯ ดังนั้นการถ่ายภาพมักจะใช้ขาตั้ง ถ้าถ่ายบุคคลจะต้องใช้ไฟเข้าช่วยถึงจะมองเห็นใบหน้าตัวแบบ ช่วงแสงสีทอง หรือช่วงเวลาเช้าตรู่และตอนเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก เวลาประมาณ 6.30-8.30 น. และ 16.00-18.00 น. แสงอาทิตย์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีทองหรือสีส้ม จะเป็นช่วงที่ช่างภาพนิยมเก็บภาพกัน จะได้ภาพที่มีความนุ่มนวล ดูมีมิติ ได้อารมณ์ มองดูสบายตา สภาพอากาศก็กำลังดีไม่ร้อนจนเกินไป แต่บางครั้งภาพอาจจะมีเงาดำมากเกินไป(Contrastสูง) ช่างภาพบางคนก็จะจัดแสงช่วยในการเปิดเงาด้วย ช่วงแสงใส เป็นช่วงที่แสงพระอาทิตย์ไม่มีสีส้ม และท้องฟ้าเป็นสีน้ำเงิน ฟ้า (ยกเว้นฝนตก) จะอยู่ที่เวลาประมาณ 9.00-11.00 น. และ 14.00-15.30 น. ช่วงนี้พระอาทิตย์จะมีตำแหน่งให้แสงในทิศทางที่เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคลให้สีสันที่ถูกต้อง ช่วงแสงเที่ยง เป็นช่วงที่แสงของพระอาทิตย์จะแรงมาก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แสงแข็ง โดยจะอยู่ที่เวลาประมาณ 11.30-13.30 น. ซึ่งช่วงเวลานี้ นอกจากจะให้แสงที่แรงและร้อนแล้ว ทิศทางของแสงยังมาจากด้านบน ทำให้เกิดเงาขึ้นที่ใต้ตา จมูกและปาก ซึ่งเป็นเงาที่ไม่พึงประสงค์ ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพและวีดีโอเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายภาพบุคคล ถ้าจะถ่ายควรถ่ายในร่มให้แสงสะท้อนเข้ามาทางหน้าต่างแทน แสงประดิษฐ์ หรือแหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หลอดไฟ กองไฟ เทียน แฟลช ฯลฯ โดยส่วนมากแสงเหล่านี้จะสามารถควบคุมได้ทั้งความแรงและทิศทาง แต่การใช้แสงประดิษฐ์จะมีอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน อาจจะต้องใส่ใจเรื่องการตั้งค่ากล้องมากขึ้น Tip: การใช้ชนิดหลอดไฟที่แตกต่างกัน จะทำให้กล้องไม่สามารถหาค่าอุณหภูมิสีที่ถูกต้องได้ ทิศทางของแสง ทิศทางแสงที่แตกต่างกันจะส่งต่อมิติของภาพ หรือให้อารมณ์ภาพแตกต่างกันได้ ดังนั้นในการถ่ายภาพสิ่งที่ควรพิจารณาอีกอย่างคือความเหมาะสมของทิศทางของแสง โดยเราสามารถแบ่งทิศทางของแสงออกเป็น 5 ทิศทางใหญ่ๆ ดังนี้ ทิศทางจากด้านบน คือแหล่งกำเนิดแสงจะอยู่บนหัวเรา จะทำให้เกิดเงาตกกระทบทางด้านล่างของวัตถุ แม้แสงในทิศทางนี้จะไม่นิยมใช้ถ่ายงาน แต่ในหลายๆครั้งก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยมักใช้ในฉากที่ต้องการให้ตัวแบบมีเงาขึ้นที่ผม หรือ สร้างออร่าดูเป็นผู้สูงส่ง ทิศทางแสงจากด้านหน้า แสงที่ส่องมาจากทางด้านหน้าของวัตถุที่จะถ่ายมาจากทิศทางเดียวกันกับกล้องถ่ายภาพ หรือที่เรียกกันว่า ถ่ายตามแสง ทำให้ตัวแบบได้รับแสงสว่างได้ทั่วด้านหน้า วัตถุจะไม่มีเงาทำให้ได้ภาพมีลักษณะเรียบแบนไม่มีความลึก ความหนา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นให้เห็นรายละเอียด ทิศทางแสงจากด้านข้าง แสงที่มาจากด้านข้างนี้ จะทำให้ภาพมีมิติ แต่จะทำให้เกิดแสงเงาทางด้านตรงข้ามของแสง โดยปกติมักจะใช้อุปกรณ์สะท้อนแสง หรือสร้างแสงที่อ่อนกว่าเพื่อเปิดเงาให้เห็นรายละเอียด และส่วนมากจะวางไว้ที่มุมราวๆ 45 องศาจากหน้าตรง ทิศทางแสงจากด้านหลัง แสงที่ส่องมาจากด้านหลังของวัตถุที่จะถ่าย อยู่ตรงกันข้ามกับกล้องถ่ายภาพ ทำให้มองเห็นวัตถุแยกออกจากพื้นฉากหลังชัดเจน บางครั้งก็จะเรียกว่าแสง Rim light แต่อาจจะต้องระวังรายละเอียดด้านหน้าของตัวแบบมืดเกินไป อาจจะมีการจัดแสงช่วยหรือใช่อุปกรณ์สะท้อนแสงเพื่อให้เห็นรายละเอียดในส่วนนี้ ทิศแสงจากด้านล่าง แสงที่ส่องมาจากด้านล่างของตัวแบบ จะใช้เปิดเงาด้านล่างของตัวแบบ หรือใช้ในงานถ่ายฉากสยองขวัญ ผีหลอก หรือเปิดเงาใต้คาง แม้จะไม่นิยมใช้แต่ก็สามารถจัดแสงให้ใช้งานได้ตามความเหมาะสม Tip: ปัจจุบันช่างภาพมืออาชีพจะใช้การจัดแสงที่ซับซ้อนเพื่อให้ได้ภาพที่มีมิติ สร้างสรรค์ แปลกใหม่ ให้เป็นไปตามความต้องการ การจัดแสงเบื้องต้น แม้ปัจจุบันจะมีเทคนิคการจัดแสงที่ซับซ้อนมากมาย แต่เทคนิคพื้นฐานก็ยังได้รับการยอมรับและใช้งานอยู่เสมอๆ เพราะสามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้อุปกรณ์ไม่มาก นั่นคือกฏ Three-Point Lighting Three-Point Lighting การจัดแสงแบบ Three-Point Lighting (การจัดแสงสามจุด) เป็นการจัดแสงที่ใช้กันใน Studio ต่างๆซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายคน โดยภาพที่ได้จะดูโดดเด่น มีมิติ ไม่ราบเรียบไปกับพื้นหลัง โดยตำแหน่งไฟ 3 ตำแหน่ง คือ Key Light, Fill Light และ Rim Light แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ ดังนี้ Key Light ทำหน้าที่เป็นตัวหลักที่ให้แสงสว่างกับวัตถุ จะอยู่ด้านซ้ายหรือขวาจากกล้องก็ได้ จะทำมุมไม่เกิน 15 45 องศาจากหน้าตรงของแบบ และระดับความสูงของไฟจะสูงกว่าใบหน้าของตัวแบบประมาณ15-45องศา ส่องกดลงมาที่ตัวแบบ Fill Light เมื่อเราถ่ายวีดีโอโดยใช้ Key Light อย่างเดียวมักจะเกิด contrast (ส่วนต่างแสงและเงา) เราจึงต้องใช้ Fill Light เป็นตัวช่วยเพื่อลบเงาที่เกิดขึ้นจากการใช้ Key Light ซึ่งมักจะใช้ไฟที่มีกำลังอ่อน หรืออุปการณ์สะท้อนแสงช่วย โดยจะตั้งไว้ด้านตรงข้ามกับ Key Light และอยู่ในระดับสายตาของตัวแบบ Rim Light/Back Light จะทำให้เกิดแสงจากด้านหลังเวลาถ่ายวีดีโอออกมาทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นขึ้นจากฉากหลังการวางตำแหน่งของไฟจะวางอยู่ข้างหลังวัตถุทางด้านข้าง และอยู่สูงกว่าวัตถุและส่องทำมุมประมาณ 45 องศาส่องลงมายังศรีษะ ไหล่ และหลัง Tip: ถ้าอุปกรณ์มีจำกัด เช่นไฟมี 1 หรือ 2 ดวง ให้เรียงจาก Key Light, Fill Light และ Rim Light ตามลำดับ โดยพยายามให้เห็นรายละเอียดของแบบและมีมิติบ้างตามความเหมาะสมในสถานการณ์นั้นๆ ตัวอย่างการจัดแสง 3 จุด คลิปตัวอย่างการจัดแสงแบบอื่นๆ ขอบคุณ camerastips.com cvcameraclub.org http://1.bp.blogspot.com/-gsjC-5PiPfQ/TW0S9lJbrmI/AAAAAAAAADQ/8aqIY2ZTbjY/s1600/4b1075b80c70d921871c2a037 |