พิมพ์หน้านี้ - กม.บังคับใช้แล้ว ห้ามญาติคนไข้ จ่ายเงิน รพ.เอกชนฯก่อนรักษา กรณีฉุกเฉินเด็ดขาด

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => หน้าที่พลเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2017, 11:54:13 am



หัวข้อ: กม.บังคับใช้แล้ว ห้ามญาติคนไข้ จ่ายเงิน รพ.เอกชนฯก่อนรักษา กรณีฉุกเฉินเด็ดขาด
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2017, 11:54:13 am
(http://upic.me/i/fr/usick.jpeg)

กม.บังคับใช้แล้ว ห้ามญาติคนไข้ จ่ายเงิน รพ.เอกชนฯ กรณีฉุกเฉินเด็ดขาด

โปรดช่วยกันแชร์
---
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต คนไทยทุกคนมีสิทธิรักษาฟรีใน 72 ชม.ในทุกโรงพยาบาล  และโรงพยาบาลไม่มีสิทธิเรียกมัดจำหรือให้ญาติเซ็นรับสภาพหนี้ กรมสนับสนุนฯ มีหนังสือเวียนถึงรพ.ต่าง ๆ รพ.ใดเก็บเงินผู้ป่วยฉุกเฉิน มีโทษตามกฎหมายทันที (อ่านข่าวที่ลิงค์นี้ http://bit.ly/2kDFYK6)
---
อาการวิกฤตคือ
1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
3. ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือ ร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก
---
หากยังถูกเรียกเก็บเงิน ให้โทร 1669 (สายด่วน สพฉ.- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)
---
ที่ผ่านมานโยบายนี้มีปัญหามาก รพ.เอกชนหลายแห่งเรียกเก็บโดยปชช.ไร้อำนาจต่อรอง เพราะชีวิตอยู่ในมือสถานพยาบาล บัดนี้เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว พวกเราปชช.ก็ต้องรู้สิทธิ และโต้แย้งเป็น จะได้ไม่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัวกันอีกต่อไป
---
ข้อความนี้ดิฉันนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เป็นผู้จัดทำ




เพิ่มเติมจาก  http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000005044



สบส. เผย พ.ร.บ. สถานพยาบาล ฉบับใหม่ ควบคุม “รพ.เอกชน” ต้องรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ปฏิเสธไม่ได้ เตรียมตั้ง อนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายให้ รพ.เอกชน รับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน
       
       ความคืบหน้านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ (EMCO) ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้จัดทำ..
       
      ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส. กล่าวว่า ตามมาตรา 36 พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 กำหนดให้สถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ เท่ากับว่าสถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งจะต้องให้บริการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินตามที่กฎหมายบังคับ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย สบส. จะต้องจัดทำกฎหมายลูก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการ ซึ่งเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายให้กับสถานพยาบาลเอกชนที่ให้บริการรักษาฉุกเฉินจะเป็นส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์นี้ โดยจะต้องมีการแต่งตั้งอนุกรรมการจัดทำกฎหมายลูกประกอบ พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 มี รองอธิบดี สบส .เป็นประธาน
       
       เมื่อถามว่า จะนำอัตราราคา Fee Schedule ของ สพฉ. มาพิจารณาด้วยหรือไม่ ทพ.ธงชัย กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายที่ สพฉ. ทำนั้น จะนำมาใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอนุกรรมการ จากนั้นจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. จึงจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งเมื่อหลักเกณฑ์นี้ของ สบส. ประกาศใช้แล้ว สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตาม เพราะเป็นเชิงควบคุม ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่ สพฉ. จะเป็นเชิงขอความร่วมมือ