หัวข้อ: ความคิดดี ชีวิตก็จะสดใส.. คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ ธันวาคม 30, 2016, 02:22:11 pm (http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/03/e0b89ae0b989e0b8b2e0b8991.jpg)
มีหลายคนมักสงสัยว่าทำไมคนเราถึงมีฐานะแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน แต่เมื่อลองมองลึกๆแล้วจะพบว่ามันมีปัจจัยอยู่หลายอย่าง แต่ที่เป็นความแตกต่างและเกิดขึ้นจริงมากที่สุดคือ ความคิด ความคิดเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างชีวิตที่ดี ถ้าเรามีความคิดดี ชีวิตก็จะสดใสได้ไม่ยาก คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น มาดูกันว่า คนที่มีแนวโน้มว่ากำลังจะรวย หรือรวยอยู่แล้วเค้ามีความคิดแตกต่างกับคนจน หรือคนชั้นกลางอย่างไร.. -คนรวยจะคิดว่า ชีวิตนี้ฉันเลือกได้ แต่กลับกัน คนจนจะคิดว่า ฉันเกิดมา ฉันเป็นแบบนี้ เพราะชะตาลิขิตไว้ -คนรวยส่วนใหญ่ เล่นเกมส์การเงินเพื่อหวังชัยชนะ แต่คนจนจะเล่นเกมการเงินเพื่อไม่ให้แพ้ -คนรวยมักจะทุ่มเทเพื่อที่จะให้รวย แต่คนจนคิดเพียงแต่อยากรวย แต่ไม่ทุ่มเท -คนรวยคิดทำการใหญ่ คนจนคิดการเล็กได้แค่ไหน เอาแค่นั้น -คนรวยจะมุ่งความสนใจไปที่โอกาส คนจนจะมุ่งความสนใจไปที่อุปสรรค เพราะ -คนรวยมองปัญหาเป็นเรื่องเล็ก คนจนมองปัญหาเป็นเรื่องใหญ่ -คนรวยชื่นชมผู้ที่ร่ำรวยกว่าและประสบความสำเร็จด้วยใจ แต่คนจนชอบอิจฉาและชิงชังผู้ที่รวยกว่าและประสบความสำเร็จ -คนรวยมักจะคบอยู่กับคนที่มีวุฒิภาวะและทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดีและประสบความสำเร็จ ส่วนคนจนจะคบอยู่กับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก -คนรวยสนใจมูลค่าทรัพย์สิน แต่คนจนสนใจรายได้จากการทำงาน -คนรวยทำงานหนักเพื่อความสบายของตัวเองในอนาคต แต่คนจนทำงานหนักเพื่อให้ได้เงิน และไม่ได้นึกถึงอนาคต (http://www.siamfishing.com/_pictures/board/upload2010/201012/1293263516627546.jpg) คิดอย่างไรให้รวย..ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องมองย้อนกลับไปดูตัวเองแล้วว่าเราคิดแบบไหน อยากให้อนาคตเป็นแบบไหน ความคิดจะเปลี่ยนชีวิตเราเอง หัวข้อ: Re: ความคิดดี ชีวิตก็จะสดใส.. คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ ธันวาคม 30, 2016, 04:47:52 pm เหตุสำเร็จความปรารถนาที่แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่าง นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จใน ความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล. ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล. ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง คหบดีมหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ ในภาวะนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาล. ภพภูมิ หน้า ๒๐๑ (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๒/๓๑๘-๓๒๐. ................... ................... ....... สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้ คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :- ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรม ประการที่๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :- สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑ สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑ จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑ ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ . คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา. ก็ สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. นี้เรียกว่า สีลสัมปทา. ก็ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ และการแบ่งปัน. นี้เรียกว่า จาคสัมปทา. ก็ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? บุคคลมีใจอันความโลภอย่างแรงกล้า คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข. คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้ รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น . คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้ เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา. คหบดี ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๓ จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑. |