หัวข้อ: โรคบรูเซลโลซิส(แท้งติดต่อ) เริ่มหัวข้อโดย: คนเกษตร ที่ กันยายน 25, 2016, 11:44:01 am (http://www.108kaset.com/up-pic/2559/9-59/bl4.jpg)
บรูเซลโลซิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบได้ทั่วโลก มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Brucella spp. จะทำให้สัตว์แท้งลูกจึงเรียกชื่อโรคนี้ในสัตว์ว่า “โรคแท้งติดต่อ” โรคนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อซึ่งตั้งตามสถานที่พบโรคและอาการเช่น Mediterranean fever, Rock fever, Malta fever, Undulant fever ซึ่งทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ทั้งในสัตว์และคน โดยจะติดต่อแพร่กระจายในฝูงสัตว์และติดต่อมาสู่คน และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มเชื้ออันตรายร้ายแรงระดับBiosafety level III (BSL3) และอาวุธชีวภาพกลุ่ม B ประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้มีอาชีพที่สัมผัสกับสัตว์ป่วย เช่น สัตว์แพทย์ สัตวบาล คนเลี้ยงสัตว์ ทำงานในฟาร์มสัตว์ประเภท แพะ แกะ โค และ กระบือ นอกจากนั้นผู้บริโภคอาหารประเภทนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนย นม จาก แพะและแกะ โรคบรูเซลโลซิสในคนพบได้ทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง เป็นระยะๆ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดข้อ ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงมีการติดเชื้อที่อวัยวะภายในจะมีอันตรายถึงเสียชีวิต มีอัตราตายร้อยละ 2-5 ปัจจุบันในประเทศไทยมีรายงานโรคบรูเซลโลซิสเพิ่มมากขึ้น และพบในกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ แกะ ประปรายทั่วทุกภาค (http://www.108kaset.com/up-pic/2559/9-59/bl5.jpg) อาการ ผู้ป่วยโรคบรูเซลโลซิสจะมีอาการแสดงได้ทั้งอาการไข้เฉียบพลันและเรื้อรัง และอาการแทรกซ้อนรุนแรง การติดเชื้อเฉียบพลันพบได้ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งมักมีระยะฝักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน (ส่วนใหญ่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ )ในกรณีติดเชื้อเรื้อรังมักมีอาการภายหลังได้รับเชื้อบรูเซลลามากกว่าหนึ่งเดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่จำเพาะ มีการติดเชื้อในกระแสเลือดและกระจายไปตามอวัยวะภายใน มากกว่า 90% ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง (50-80%) ปวดข้อ (40-50%) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (40-70%) มีเหงื่อออกมาก (40-90%) คลื่นไส้เบื่ออาหาร (80-90%) อ่อนเพลีย (80-95%) มักก่อโรคกับระบบสืบพันธุ์ อันฑะบวม ต่อมลูกหมากอักเสบ มดลูกอักเสบ อาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิต ในกรณีติดเชื้อเรื้อรังมักจะมีอาการไขข้ออักเสบ น้ำหนักลด ผอมซีด อ่อนเพลีย อาจคล้ายวัณโรคมีฝีหนองในตับ ม้ามและกระดูก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายภายใน 3-12 เดือน อาจพบมีไข้กลับมาภายหลังการรักษาหายแล้วหลายเดือน เชื้อก่อโรค เชื้อบรูเซลลา เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมลบ ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนที่ ไม่มีแคปซูลและแฟลกเจลลา เชื้อเจริญเติบโตในเซลล์ (Gram-negative coccobacilli; non-spore-forming and non-motile; aerobic, intracellular bacteria) ขนาด 0.6-1.5x0.5-0.7 ไมโครเมตร การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนค่อนข้างช้า เชื้อเจริญได้ดีที่ 37 องศาเซลเซียส จะเห็นโคโลนีบนอาหารแข็งเมื่อเพาะเชื้อนาน 2-3 วัน เชื้อบรูเซลลาเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด และระบบน้ำเหลือง สามารถมีชีวิตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเม็ดเลือดขาวได้ และ แพร่กระจายไปอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ม้าม ตับ ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก และระบบสืบพันธุ์ เชี้อบรูเซลลาแต่ละสปีชีส์มักก่อโรคจำเพาะในสัตว์บางชนิด เช่น B. abortus มักก่อโรคในโค กระบือ B. melitensis พบก่อโรคในแพะ แกะ B. suis ก่อโรคในสุกรและ B. canis มักก่อโรคในสุนัข เชื้อบรูเซลลาทั้ง 4 สปีชีส์นี้ติดต่อมาสู่คนได้ เชื้อ B. melitensis มีความรุนแรงสูงสุดสามารถก่อโรคในคนและสัตว์ได้แม้ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเพียง 10 เซลล์ เชี้อบรูเซลลาจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมได้นานเป็นเดือน แต่จะถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป และ ความร้อน (http://www.108kaset.com/up-pic/2559/9-59/Brucella_goat_92559_1.png) ระบาดวิทยา โรคบรูเซลโลซิสพบได้ทั่วโลก พบมากแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในคนทำงานในฟาร์ม แพะ แกะ และ อูฐ โรคนี้ติดต่อกันง่ายจากสัตว์ 1 ตัว ไปสู่สัตว์ตัวอื่นๆ ในฟาร์มมาสู่คน มีรายงานทางระบาดวิทยา 90% ของโรคบรูเซลโลซิสในคนติดต่อจากสัตว์ติดเชื้อในปศุสัตว์โดยตรงและการบริโภคนมหรือผลิตภัณฑ์นมที่ปนเปื้อนเชื้อ ในประเทศตะวันออกกลางโรคบรูเซลโลซิสนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วทั้งในสัตว์และคน อุบัติการณ์ของโรคบรูเซลโลซิสในคนจะสัมพันธ์โดยตรงกับความชุกของการติดเชื้อของ แพะ แกะ และสัตว์อื่นๆ เชื้อที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น B. melitensis และ B. abortus สำหรับ B. melitensis จะก่อโรคในคนรุนแรงที่สุด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อร้ายแรงและพิการได้ ตั้งแต่พ.ศ. 2546 พบการระบาดในแพะและแกะที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ยะลา จันทบุรี ชัยนาท สระบุรี สระแก้ว เพชรบูรณ์ และ เลย โรคที่แพร่เชื้อมาสู่คนที่สำคัญเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผลิตอาหาร เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร กวาง นอกจากนั้นอาจพบการติดเชื้อใน อูฐ สุนัข ม้า สัตว์ป่าและ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น แมวน้ำ วาฬ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เหล่านี้มีโอกาสติดเชื้อจากสัตว์ได้สูง (http://www.108kaset.com/up-pic/2559/9-59/bl8.jpg) ขอบคุณภาพจาก https://kasamsan.wordpress.com/ การติดต่อมาสู่คน การหายใจ การติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ และสัตว์สู่คนด้วยการอยู่ใกล้ชิดสัตว์เป็นโรค โดยสูดเอาละอองเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม สารคัดหลั่งของสัตว์ติดเชื้อ ทางการสัมผัสโดยตรง มักพบในคนงานเลี้ยงสัตว์ที่ทำคลอดสัตว์เป็นโรคโดยไม่ได้สวมถุงมือยางป้องกัน เชื้อจะเข้าทางผิวหนังและเยื่อเมือกที่มีรอยถลอกหรือแผล โดยเชื้อจะออกมากับสารคัดหลั่งจากช่องคลอด ปัสสาวะ เลือด เนื้อเยื่อ ลูกสัตว์ที่แท้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรกของสัตว์ติดเชื้อ การบริโภคอาหารปนเปื้อนเชื้อบรูเซลลา ได้แก่ นม เนยที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือบริโภครกสัตว์โดยไม่ปรุงให้สุก คนติดต่อสู่คนค่อนข้างยาก อาจติดต่อจากการให้ลูกดื่มนมของแม่ที่ป่วยเป็นโรคขณะยังไม่มีอาการ การบริจาคโลหิต การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก การติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเตรียมตัวอย่างผู้ป่วย การเพาะเชื้อมีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างสูง ควรสวมเครื่องป้องกันและปฏิบัติการวิเคราะห์ใน safety carbinet (http://www.108kaset.com/up-pic/2559/8-59/day2/goat2_108kaset_83159_2.jpg) การควบคุมป้องกัน ให้การศึกษาเรื่องการติดต่อและวิธีป้องกันแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์ของนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ ผู้ทำงานในฟาร์มต้องรู้วิธีป้องกันและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยสวมเครื่องป้องกันขณะทำคลอดสัตว์ สวมถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก มีสุขอนามัยที่ดีและรักษาความสะอาด มีการตรวจโรคและให้วัคซีนป้องกันโรคบรูเซลโลซิสในฝูงสัตว์ ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ข้อควรปฏิบัติในเรื่องอาหารปลอดภัย การรักษาความสะอาด และสุขอนามัย ล้างมือก่อนการเตรียมอาหาร และระหว่างเตรียมอาหาร ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าส้วม ล้างและทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องครัว และบริเวณปรุงอาหาร ปิดห้องครัว และอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลง สัตว์เลี้ยง และสัตว์อื่นๆ แยกอาหารปรุงสุกออกจากอาหารดิบ เนื้อสัตว์ แยกและจัดเก็บอาหารปรุงสุกออกจากอาหารดิบ แยกภาชนะหรือเครื่องครัวระหว่างเนื้อสัตว์จากอาหารประเภทอื่นเช่น มีด เขียง การประกอบอาหารประเภทเนื้อโค สุกร เป็ดไก่ ต้องใช้ความร้อนมากกว่า 70 องศาเซลเซียส ปรุงให้สุก การเก็บอาหารที่อุณหภูมิห้องไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส อุ่นอาหาร ก่อนรับประทาน การเลือกใช้น้ำและอาหารดิบก่อนปรุง ใช้น้ำสะอาดที่มั่นใจว่าปลอดภัย และ เลือกใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด ปลอดภัย ขบวนการผลิตถูกสุขลักษณะเช่น นม เนย โยเกริต ควรผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาด หากต้องการบริโภคสดๆ โดยไม่ปรุงสุก ไม่บริโภคอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารที่หมดอายุ (http://www.108kaset.com/up-pic/2559/9-59/bl7.jpg) ขอบคุณภาพจาก https://dailymed.nlm.nih.gov การรักษา การรักษาโดยยาปฏิชีวนะในผู้ใหญ่ และเด็กอายุเกิน 8 ขวบ มักใช้ doxycycline วันละ 200 mg นาน 6 สัปดาห์ ร่วมกับ streptomycin 1g ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์. หรือ ร่วมกับ rifampicin 600-900ต่อวัน (http://biologic.dld.go.th/th/images/stories/vaccine/114_plateantigen.jpg) http://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,187.0.html |