หัวข้อ: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: oop ที่ กรกฎาคม 03, 2007, 12:04:47 pm จุดสำคัญในการเลือกสาย
ด้วยความที่สายแต่ละประเภทมีหน้าที่ใช้งานแตกต่างกันไป จุดสำคัญในการเลือกใช้สายแต่ละประเภทสำหรับระบบเสียงรถยนต์ ย่อมมีข้อแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน จุดหลักที่ต้องสังเกตุสำหรับการเลือกสายแต่ละประเภทมีดังต่อไปนี้ สายนำสัญญาณะดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตุสำหรับการเลือกใช้สายนำสัญญาณ(สาย RCA) มีดังต่อไปนี้ 1.1 รอยต่อระหว่างเส้นสายนำสัญญาณและขั้วหัวแจ็คต้องแนบสนิทเป็นส่วนเดียวกันมากที่สุด(เพื่อลดความต้านทานให้น้อยที่สุด 1.2 เนื้อทองแดงภายในควรมีความบริสุทธิ์ เป็นไปได้ควรเลือกสายนำสัญญาณที่เส้นลวดภายในแบบ OFC ถึง OFCC 1.3 มีผนังเซลที่เป็นซีลหุ้มเอาไว้ตลอดทั้งสายจากปลายถึงปลาย เพื่อช่วยป้องกันสัญญาณรบกวนได้ระดับหนึ่ง ในปัจจุบันจะเน้นถึงการถักเกลียวตัวนำสายภายใน ซึ่งให้ผลในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากสนามแม่เหล็กได้ดีที่สุด 1.4 วัสดุที่ใช้ห่อหุ้มสายทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ไม่แข็งขืนตัว หรือหดตัวตามสภาพอุณหภูมิในรถ 1.5 บริเวณปลายหัวแจ็คควรเป็นวัสดุที่ไม่มีปฎิกริยาต่อออกไซด์(ไม่เกิดสนิม) เลือกได้ทั้งแบบเคลือบผิวทอง หรือเคลือบโรเดี่ยม 1.6 ตัวหนีบที่ปลายตัวแจ็คต้องมีการหนีบที่แน่นหนามากที่สุด ทดสอบได้โดยการเสียบเข้าไปที่หัวแจ็ค RCA ของเพาเวอร์แอมป์แล้วลองดึงออก ถ้าดึงออกยากที่สุดก็ถือว่าดีที่สุด สายลำโพงระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตุสำหรับการเลือกใช้สายลำโพง มีดังต่อไปนี้ 2.1 ตัวสายต้องมีเปลือกหุ้มที่ยืดหยุ่น สามารถดัดโค้งงอได้ง่ายโดยไม่เปราะแตก 2.2 เส้นตัวนำภายในควรมีสภาพความเป็นทองแดงสูง 2.3 มีจุดสังเกตุของเส้นสายบวกและเส้นสายลบที่เด่นชัด เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง 2.4 เปลือกที่หุ้มห่อสายต้องทนต่อกรด ความร้อน และน้ำยาเคมีต่างๆได้ดี สายไฟกำลังระดับมาตรฐาน จุดที่ต้องสังเกตุสำหรับการเลือกใช้สายไฟกำลัง มีดังต่อไปนี้ 1.1 เปลือกที่ห่อหุ้มสายต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง 1.2 เปลือกที่หุ้มสายต้องทนทานต่อน้ำยาเคมี, กรด และความร้อนได้ดี 1.3 ขนาดพื้นที่ของตัวนำกระแสไฟภายในสาย ต้องมีพื้นที่หน้าตัดตรงตามเบอร์ที่กำหนดจริงๆ ต้องมีแรงต้านทานภายในของสายต่ำที่สุด หัวข้อ: Re: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: khlaiprayoon ที่ พฤษภาคม 18, 2009, 10:42:34 am THANK!!ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่
หัวข้อ: Re: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤษภาคม 18, 2009, 05:04:13 pm ขอฝากด้วยครับเป็น ความรู้เกี่ยวกับสายลำโพง และสายนำสัญญาณ by wijit
ไม่ทราบว่ามีหรือยังครับ ถ้ามีแล้วต้องขออภัยด้วยครับ..................... สายลำโพง และสายสัญญาณนั้นมีความสำคัญต่อคุณภาพเสียงอย่างชัดเจน แต่มักจะถูกมองข้ามเสมอๆ เมื่อคุณใช้เครื่องเสียงฟังเพลง ทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับสายลำโพง และสายสัญญาณนั้น จะทำให้ชุดเครื่องเสียงที่คุณใช้อยู่เปล่งประสิทธิภาพได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน สายแย่ๆ หรือสายที่นำมาใช้แล้วไม่เข้ากันกับระบบ ก็จะไม่ให้ความเป็นดนตรีกับคุณได้เต็มที่ อย่างที่มันควรจะเป็น และการรู้ว่าจะซื้อสายอย่างไรให้ดีที่สุดสำหรับเครื่องเสียง และประหยัดที่สุดจึงเป็นเรื่องจำเป็นเสียแล้ว ในบทความนี้เรากำลังจะพาคุณไปมองถึงสายลำโพง และสายสัญญาณ เราจะกล่าวถึงสายแบบ Balanced และ Unbalanced, Bi-Wiring การจับคู่สายกับเครื่องเสียงของคุณ และวิธีการหาสายที่ดีที่สุดให้คุ้มค่ากับเงินที่คุณจ่ายไป ยิ่งกว่านั้น เราจะพาคุณไปดูกันซิว่า สายแพงๆ เหล่านั้นแน่จริงหรือเปล่าด้วย แต่สำหรับตอนนี้ เรามาเริ่มกันก่อนด้วยการทราบถึงความหมายในทางเครื่องเสียงเกี่ยวกับสายลำโพง และสายนำสัญญาณดังต่อไปนี้ CABLE ใช้อธิบายการเชื่อมต่อสายใดๆ ในระบบเครื่องเสียง CABLE ยังใช้อ้างอิงถึงการนำสัญญาณระหว่าง เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ และลำโพงอีกด้วย ซึ่งสายลำโพงนั้นจะต้องลำเลียงสัญญาณแบบ HIGH - CURRENT จากเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ไปยังลำโพง INTERCONNECT เป็นตัวนำสัญญาณเช่นเดียวกัน แต่เป็นการนำสัญญาณที่ระดับ LINE-LEVEL ซึ่งเป็นการส่งผ่านสัญญาณภายในระบบเครื่องเสียง INTERCONNECTS เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งโปรแกรมที่ใช้อยู่ในระบบ (เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นซีดี จูนเนอร์ เทปเด็ค) และปรีแอมปลิไฟเออร์ และระหว่างปรีแอมปลิไฟเออร์เอง กับเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างกันเช่นนี้ จะต้องใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า INTERCONNECTED CABLE UNBALANCED INTERCONNECT สายแบบนี้มีตัวนำสัญญาณภายในสาย 2 ตัวนำสัญญาณ และโดยปกติจะต้อง TERMINATED ด้วยขั้วต่อสัญญาณแบบ RCA และมักจะรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ SINGLE-ENDED INTERCONNECT BALANCED INTERCONNECT สายแบบนี้มีตัวนำสัญญาณภายในสาย 3 ตัวนำสัญญาณแทนที่จะมีเพียง 2 เหมือน UNBALANCED INTERCONNECT และจะต้อง TERMINATED ด้วยขั้วต่อสัญญาณแบบ 3-PIN XLR CONNECTOR เท่านั้น BALANCED INTERCONNECT นั้นจะนำมาใช้สำหรับต่อระหว่างเครื่องที่มีขั้วต่อแบบ BALANCED INPUT และ OUTPUT รับกันเท่านั้น DIGITAL INTERCONNECT เป็นสายนำสัญญาณที่มีตัวนำสัญญาณเพียงหนึ่ง และจะนำสัญญาณ STEREO DIGITAL AUDIO เท่านั้น ซึ่งก็จะผนวกมาให้กับภาค CD TRANSPORT หรือเครื่องเสียงแบบ DIGITAL อื่นใด ที่จะต้องต่อเข้ากับ DIGITAL PROCESSOR BI-WIRING เป็นอีกวิธีสำหรับการเชื่อมต่อเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ไปยังลำโพง ด้วยการใช้สายเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้น แทนที่จะใช้สายเพียงเส้นเดียวอย่างวิธีการปกติ RCA PLUG AND JACK บรรดาปลั๊ก และแจ๊คต่างๆ นั้นเป็นส่วนที่มีพบเห็นเป็นปกติสำหรับสัญญาณที่เป็นแบบ UNBALANCED ในเครื่องเสียงก็จะมี RCA แจ๊ค พร้อมสำหรับรับ RCA ที่เป็นขั้วต่อจากสายสัญญาณ UNBALANCED INTERCONNECT มาเสียบเข้าด้วยกัน XLR PLUG AND JACK ปลั๊กแบบ XLR นั้นเป็นขั้วต่อที่มี 3 PIN เพื่อที่จะมาต่อกับสายต่อระหว่างเครื่องแบบ BALANCED INTERCONNECT ตัว XLR แจ๊คนั้น จะมีแบบที่ผลิตขึ้นมาติดกับตัวเครื่องเล่นด้วย เพื่อรับตัวปลั๊กที่เป็นแบบ XLR ด้วยกัน BINDING POST เป็นการเสียบต่อบนเครื่องเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ และตัวลำโพง ที่แสดงจุดเชื่อมต่อสำหรับสายลำโพง FIVE-WAY BINDING POST เป็นรูปแบบหนึ่งของ BINDING POST ที่จะสามารถรองรับทั้งสายเปลือยขั้วต่อแบบ SPADE LUG หรือ BANANA PLUG ตัว FIVE-WAY POST นั้นจะพบอยู่ในเครื่องเล่นประเภท เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ และลำโพง SPADE LUG เป็นขั้วต่อลำโพงสำหรับลำโพงที่มีลักษณะแบน ทำเป็นง่ามคล้ายกับส้อมที่สามารถเสียบเข้ากับขั้วต่อลำโพง และเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ได้พอดี ขั้วแบบนี้เป็นขั้วต่อที่นิยมใช้กันมาที่สุดสำหรับการ TERMINATE สายลำโพง BANANA PLUG AND JACK BANANA PLUG นั้นบางทีเราสามารถพบมีการใช้กับสายลำโพงแทนการใช้ SPADE LUG ตัวBANANA PLUG นั้นจะเสียบเข้าในช่องที่ทำไว้โดยเฉพาะกับขั้วต่อแบบห้าทาง หรือที่แจ๊คแบบ BANANA เครื่องเสียงในแถบยุโรปจะใช้ BANANA JACK กับแอมปลิไฟเออร์ และลำโพง AWG (AMERICAN WIRE GAUGE) เป็นหน่วยวัดความหนาของตัวนำสัญญาณ สำหรับสายลำโพง ค่า AWG ที่มีตัวเลขต่ำๆ จะมีความหนาที่มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น LAMP CORD มีค่า AWG เท่ากับ 18 ก็จะแปลได้ว่า มีค่าเท่ากับ 18 GAUGE สายนำสัญญาณ และสายลำโพง จะเลือกอย่างไร?? โดยหลักนั้นทุกๆ ส่วนประกอบในระบบเครื่องเสียงนั้น ควรจะให้ความเป็นกลาง และตรงไปตรงมาอย่างที่สุด รวมถึงสายสัญญาณและสายลำโพงด้วย ไม่ควรมีผลใดๆ กับเสียงดนตรีทั้งสิ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงเราจึงถูกบังคับไปกลายๆ ให้เลือกสายสัญญาณ และสายลำโพงที่มีลักษณะเสียงแตกต่างกันออกไปนอกเหนือจากตัวเครื่องเสียงเอง ซึ่งมี COLORATION พอสมควรอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องเสียงคุณให้เสียงที่สดใน และมีรายละเอียดดี สายลำโพงและสายนำสัญญาณที่จะทำให้เสียงมีความฉ่ำ ก็สามารถทำให้ย่านเสียงแหลมของชุดเครื่องเสียงคุณดีขึ้นไปอีก และทำให้คุณมีความสุขกับเสียงเพลงได้เพิ่มขึ้น ถ้าเสียงเบสส์นั้นมากเกินไป ดูอวบอ้วน การเลือกสายที่ใช้เสียงเบสส์น้อย หรือเป็นสายเน้นเสียงแหลม ก็จะช่วยลดเสียงเบสส์ที่มากอยู่นั้นให้ลดลงได้ กับชุดเครื่องเสียงที่หาอิมเมจไม่เจอ ก็อาจจะแก้ไขให้ดีขึ้น ด้วยการเลือกสายที่เน้นการพุ่งของเสียงเป็นพิเศษ การเลือกสายลำโพงและสายนำสัญญาณสำหรับลักษณะดนตรีแบบใดๆ นั้น ควรจะมองจากการใช้งานในระบบเครื่องเสียงเป็นหลักเสียก่อน จะว่าไปเหมือนกับช่างที่ทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งกว่าชิ้นงานจะสำเร็จก็จะต้องใช้ทั้งเลื่อย ทั้งตะไบ และอุปกรณ์นานาชนิดกว่าจะได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นดีสักชิ้นหนึ่ง คุณก็ควรจะใช้วิธีแบบเดียวกันนี้กับสายลำโพง และสายนำสัญญาณด้วย อย่างเช่นทดลองกลับสายในทิศทางการไหลเวียนสัญญาณอย่างถูกต้องเป็นต้น สายลำโพงและสายนำสัญญาณนั้น ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขความเป็นดนตรี (จริงๆ) แล้วก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขความไม่เข้ากันทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ด้วย อย่างเช่นคุณมีเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์กำลังสูงอยู่ตัวหนึ่ง ใช้ขับลำโพงที่กินวัตต์มโหฬารอยู่คู่หนึ่ง เมื่อลองฟังแล้วเสียงเบสส์อ่อนยวบยาบ และไดนามิคแคบลง แบบนี้สายลำโพงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา คุณอาจจะเยียวยาเสียงเบสส์ที่อ่อนยวบยาบนั้นด้วยสายที่ถูกต้องได้ แต่ก็ไม่ได้ดีอะไรไปกว่าการแก้ปัญหาด้วยการจับคู่กับแอมป์กับลำโพงให้เข้ากันกว่าที่เป็นอยู่ สายสัญญาณที่ดีจะทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นในชุดเครื่องเสียงคุณ สามารถเปล่งประสิทธิภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่แน่นอนว่ามันไม่ได้ช่วยให้ชุดเครื่องเสียงที่แย่อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วเสียงดีขึ้น คุณจึงอาจจะต้องเริ่มต้นด้วยระบบที่เลือกมาอย่างดี และมีคุณภาพพอสมควร พร้อมทั้งเลือกสายสัญญาณ สายลำโพงที่ช่วยให้ระบบเสียงของคุณนั้นทะบานไปถึงความเป็นดนตรีอย่างสูงสุดได้ จำไว้อย่างหนึ่งว่า สายลำโพง หรือสายสัญญาณไม่สามารถมีผลต่อการปรับปรุงคุณภาพเสียงทั้งหมดได้ ในชุดเครื่องเสียงทั่วๆ ไปก็จะมีแค่ลำโพงคู่หนึ่งกับสายของมัน ซึ่งถ้าเลือกจะต่อแบบ BI-WIRE ก็จะใช้สายลำโพงสองชุด นอกจากนั้นก็จะมีสายต่อระหว่างเครื่องคู่หนึ่งจากปรีแอมป์มาที่ เพาเวอร์แอมป์ อันนี้อาจจะใช้สายยาวๆ ได้ ส่วนที่เหลือก็จะเป็นสายต่อระหว่างเครื่องสำหรับเชื่อมต่อ ระหว่างแหล่งโปรแกรมภายในชุดเครื่องเสียง และตัวปรีแอมป์ ถ้าเพาเวอร์แอมป์นั้นวางอยู่ไม่ไกลจากลำโพงนัก สายลำโพงไปยังเพาเวอร์แอมป์ก็ใช้สายสั้นได้ และสายต่อจากปรีแอมป์ไปยังเพาเวอร์แอมป์ก็สามารถใช้สายที่ยาวขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้าเพาเวอร์แอมป์นั้น วางอยู่ใกล้บรรดาแหล่งโปรแกรมทั้งหลายรวมทั้งปรีแอมป์ สามต่อระหว่างเครื่องจะใช้สายที่สั้นได้ แล้วใช้สายลำโพงที่ยาวขึ้นแทน ยังไม่มีผู้ชำนาญพิเศษคนไหนสามารถชี้ชัดลงไปให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันว่า วิธีที่ว่ามานี้อย่างไหนถูกต้อง แต่ผมเองใช้สายต่อระหว่างเครื่องที่มีขนาดยาวพอสมควรสำหรับการต่อระหว่างเครื่อง ส่วนสายลำโพงนั้นก็ค่อนข้างสั้น แต่โดยทฤษฎีแล้ว สายต่อระหว่างเครื่อง และสายลำโพงนั้นควรจะมีขนาดสั้น แต่ก็มักจะนำหลักที่ว่านี้มาใช้ในความเป็นจริงไม่ค่อยได้ เมื่อคุณมีความรู้สึกกับชุดเครื่องเสียงของคุณว่า อาจจะถึงกาลเวลาทีจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรสักอย่างสองอย่างแล้ว ก็ขอให้นึกเสมอว่าน่าจะรวมๆ เอาการเปลี่ยนสายลำโพง และสายสัญญาณเข้าไว้ในรายการของที่จะต้องเปลี่ยนด้วย เอาสายที่อยากได้รวมทั้งคิดคำนวณขนาดความยาวของมันไว้ด้วย พยายามให้ใช้ความยาวของสายแต่ละคู่ให้สั้นๆ เข้าไว้เท่าที่ทำได้ แต่ก็อย่าลืมเผื่อสายลำโพงให้ยาวๆ หน่อย เพราะไม่แน่ว่าคุณอาจจะต้องมีการขยับที่ตั้งลำโพงไปๆ มาๆ ในการจัดการกับระบบครั้งต่อไป ลองหาที่วางปรีแอมป์ในชั้นอื่นๆ ของชั้นวางดูบ้าง หรือหาที่วางอื่นๆ เท่าที่อยากจะลอง และแม้ว่าเรายังคงอยากจะให้ความยาวของบรรดาสายต่างๆ มันสั้นเข้าไว้ก็ตามเพื่อให้เสียงดีที่สุด แต่อย่าให้สายต่อระหว่างเครื่องยาวเพียง 6 นิ้วก็แล้วกัน เพราะมันสั้นจนเว่อร์ไปหน่อย และอย่างไรก็ดีเมื่อคุณหาขนาดความยาวของสายที่จะต่อทั้งหมดได้แล้ว ก็พยายามเผื่อไว้อีกสักครึ่งเมตรเพื่อขยับปรับเปลี่ยนอะไรต่อไป สายต่อระหว่างเครื่องนั้นมักจะขายเป็นแพ็คสำเร็จรูป อย่างแพ็คละ 1,1.5, และ 2 เมตร นี้ที่ทำขายก็ยาวพอสำหรับต่อเข้าปรีแอมป์แล้ว แต่อาจจะสั้นไปสำหรับการต่อปรีแอมป์ไปที่ตัวเพาเวอร์แอมป์ สำหรับ ปรี-เพาเวอร์บางคู่ ซึ่งจะต้องทำขึ้นพิเศษเพื่อที่จะได้ความยาวที่เหมาะสม สายลำโพงก็เหมือนกัน ปกติก็จะมีขายสำเร็จเป็นขนาด 8 หรือ 10 เมตรต่อคู่ แต่ยังไงความยาวที่ไม่เท่ากันก็สามารถสั่งตัดได้ แต่จะดีที่สุดถ้าจะให้ผู้ผลิตสายเข้าหัวต่อหรือแจ๊คด้วยเลยจะดีกว่าทำเอง พยายามเอาใจใส่กับงบประมาณเรื่องของสายต่าง ๆ นี้เป็นพิเศษหน่อย ความสำคัญหลัก ๆ จะต้องเล็งไปยังแหล่งโปรแกรมที่คุณใช้งานมันหรือฟังมันบ่อยที่สุด อย่างคุณอาจจะไม่เน้นเอาสายดี ๆ ไปต่อกับ CASSETTE DECK หรือ จูนเนอร์ มากกว่า CD PLAYER แล้วควรจะใช้สายลำโพง สายสัญญาณเป็นยี่ห้อเดียวกันทั้งหมดหรือเปล่า ? หรือว่าใช้สารพัดยี่ห้อถึงจะดี ? อันนี้เราสามารถหาคำตอบได้ง่าย ๆ สองคำตอบ ทางแรก คือให้ทั้งระบบใช้สายลำโพงและสายสัญญาณยี่ห้อเดียวกันไปเลยโดยเลือกเอายี่ห้อที่ดีที่สุด ถ้าลองกับเครื่องหนึ่งเวิร์ก ที่เหลือมันก็ควรจะดี งั้นใช้มันเสียทั้งหมดเลย ทางที่สอง ก็คือใช้ของต่างยี่ห้อกัน เพราะสายลำโพงหรือสายสัญญาณแต่ละยี่ห้อมีผลกระทบกับเสียงต่าง ๆ กันไป การเลือกใช้สายชนิดและยี่ห้อเดียวกันตลอดทั้งหมดจะให้ลักษณะของเสียงที่สายนั้นทำได้ ถ้าเลือกให้ต่างกันแต่ละลักษณะของสายที่ให้เสียงต่างกันจะช่วยให้เสียงดนตรีออกมาได้สมบูรณ์และครบครันกว่า นั่นคือสองทางเลือกที่มีความเห็นแตกต่างกันแต่ทว่าที่มานั้นมันมาจากกรรมวิธีแบบอนาล็อกจากการบันทึกเสียงเพียงวิธีเดียวกันเท่านั้น ก็คือ จากแหล่งสัญญาณที่เป็นอนาล็อกจะบันทึกผ่าน RECORDING CONSOLE เพียงยี่ห้อเดียว แล้วจากนั้นก็จะก็จะ MIX เสียงด้วย CONSOLE ต่างยี่ห้อกัน เพราะวิศวกรเหล่านั้นไม่อยากได้ยินเสียง CONSOLE ร้องเพลงบนแผ่นที่วางขายตามท้องตลาด ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ใช้เครื่องบันทึกชนิดเดียวกันจากวิธีการบันทึกซ้ำ ๆ กันแน่ จากประสบการณ์ทำให้ผมได้ข้อคิดว่า มีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์สำหรับสายลำโพง สายสัญญาณที่ดีที่สุดสำหรับชุดเครื่องเสียง นั่นก็คือการทดลอง และการฟัง ในบางกรณี ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอาจจะอยู่ที่ทั้งสายลำโพงและสายสัญญาณเป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน และในบางครั้งก็พบเช่นกันว่าเวลาเราหยิบสายต่างยี่ห้อมาใช้กลับได้ผลดีต่อชุดเครื่องเสียงเช่นกัน นี้จึงอยากจะบอกว่า มันเป็นเรื่องที่กำหนดกันตายตัวไม่ได้หรอกว่าสายอะไรจะเยี่ยมที่สุดสำหรับเครื่องเสียงคุณ คนขายทั่ว ๆ เขาจะให้คุณลองเอาสายกลับไปลองสักสองสามยี่ห้อที่บ้านให้เห็นผล ถ้าเขาว่ามาตามนี้ก็ทำตามเสียบ้างเถิด เพราะนั่นถือเป็นการทดลองที่ดีและเห็นผล ในบางบริษัทก็อาจจะถึงขนาดที่ส่งเป็นเมล์ให้ไปลองที่บ้านกันเลยทีเดียว แล้วถ้าคุณชอบใจสายอันไหนก็เก็บไว้ จ่ายสตางค์แล้วส่งที่เหลือคืน ง่ายนิดเดียว อย่างนี้เป็นต้น หากคุณเริ่มต้นได้ไม่ค่อยจะสวยนักกับชุดเครื่องเสียงที่ฟังแล้วกระท่อนกระแท่น การเลือกสายจะยิ่งยากและลำบากมากเข้าไปอีก มากเสียกว่าการเปลี่ยนเครื่องชิ้นใดเสียอีก เพราะสายที่มีองค์ประกอบต่างกันก็จะสร้างผลลัพธ์ที่ต่างกันไป ยิ่งกว่านั้นคุณก็ยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงที่จะมาเป็นบรรทัดฐานว่าอันไหนสายดี อันไหนสายไม่ดีกันแน่ ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางที่ดีที่สุดก็คงจะต้องไปขอคำปรึกษาจากร้านขายเครื่องเสียงประจำของคุณ ลองนำสายลำโพงและสายสัญญาณที่เขาแนะนำมาลองดูสักหลาย ๆ ยี่ห้อ จะได้มีตัวเลือกที่มากขึ้น ซึ่งคุณก็จะฟังออกถึงความแตกต่าง แล้วควรจะใช้สายลำโพง สายสัญญาณขนาดไหนกัน ? ราคาของสายลำโพงและสายสัญญาณนั้น ความแพงหรือถูกของมันนั้น พวกการออกแบบและชื่อเสียงของผู้ผลิตนั้นมีผลต่อราคาอยู่บ้าง ไม่เหมือนกับสินค้าเครื่องเสียงอื่น ที่ราคาขายปลีกนั้น การกำหนดราคาส่วนสำคัญจะตกอยู่ที่ชิ้นส่วนภายใน ซึ่งราคาขายปลีกหน้าร้านนั้นปกติอาจจะเพิ่มขึ้นจากราคาชิ้นส่วนที่ประกอบขึ้นประมาณสี่ถึงหกเท่า ดังนั้นสายลำโพงและสายสัญญาณ ก็อาจจะมีราคาที่ทำออกมาแล้วตลาดต้องรับได้ด้วย แนวโน้มที่ว่ามานี้ปรากฎขึ้น เมื่อบริษัทหนึ่งตั้งราคาสินค้าที่สูงกว่าเจ้าอื่น แล้วจากนั้น ผู้ผลิตรายอื่นก็เพิ่มราคาตามมาบ้าง เพราะไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นสินค้าคุณภาพไม่ดีเพราะราคาถูก แม้กระนั้นก็ตามสายลำโพงและสายสัญญาณบางตัวที่ราคาโหดเมื่อพิจารณาดูแล้วก็ยังเห็นว่าคุ้มเงินที่จ่ายไป แต่สำหรับบางยี่ห้อสร้างราคาเสียจนสูงแต่ให้คุณภาพที่น่าเกลียดก็มี ด้วยงบประมาณที่กำหนดขึ้นด้วยวงเงินที่จำกัดเท่าที่นักเล่นเครื่องเสียงจะพึงหาได้ ก็พอสมควรแล้วที่จะได้สายลำโพงและสายสัญญาณมาใช้ในระดับดีๆ เราพบบ่อยๆ ว่าผู้ผลิตสายที่ผลิตออกมาวางตลาดด้วยราคาขายปลีกที่ต่ำคุณภาพเสียงที่ได้ก็ดีพอๆ กับไอ้เจ้าสายที่มีราคาแพงกว่าของราคาห้างที่ตั้งราคาสินค้าประเภท TOP OF THE LINE ก็มักจะมีราคาที่ดูแล้วน่าประทับใจ เพราะต้องการให้เห็นแล้วเป็นการสร้างภาพว่านี่คือสินค้าไฮเอ็นด์ทั้ง ๆ ที่ตัวสินค้ารุ่นที่ถูกกว่าก็ไม่ได้ให้ความแตกต่างกันเลย ดังนั้นเวลาไปเดินเลือกซื้อสายลำโพงและสายสัญญาณก็ให้ลองฟังได้เจ้ารุ่นที่ราคาถูก ๆ ก่อนแล้วค่อยเขยิบไปฟังรุ่นที่แพงขึ้น เว้นเสียแต่ว่าคุณมีงบประมาณที่มากและเหลือเฟือสำหรับสายต่าง ๆ ถ้าทดลองดูดังนี้คุณอาจจะรู้สึกประหลาดใจขึ้นมาบ้างก็ได้ เนื่องจากเครื่องเสียงทุกชุดนั้นมีความแตกต่างกัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมาคิดคำนวณกันจริง ๆ จัง ๆ ว่า จากที่คุณลงทุนไปกับเครื่องเสียงเนี่ย คุณควรจะใช้สตางค์เป็นกี่เปอร์เซ็นต์สำหรับที่จะใช้ลงทุนต่อกับสายลำโพงและสายสัญญาณทั้งหมด หากบอกว่าสักห้าเปอร์เซ็นต์ นี่ก็ยังน้อยไป ถ้าสักสิบห้าเปอร์เซ็นต์ ก็อาจจะมากไปหน่อย อย่างนี้ก็กำหนดอะไรยาก ถูกไหมครับ แต่ถ้าหันมามองใหม่ตรงที่ว่า ถ้าคุณเลือกสายสัญญาณและสายลำโพงเป็น แล้วเข้ากับชุดเครื่องเสียงของคุณได้อย่างที่ต้องการอย่างนี้ มันจะเป็นข้อกำหนดที่ไม่เยี่ยมยอดกว่า หรือทว่าสายห่วยๆ เมื่อมาใช้กับระบบเครื่องเสียงดีๆ ก็ทำให้เสียงออกมาไม่ได้เรื่องเหมือนกัน และนี่ถือว่าเป็นหลักการลงทุนทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดอย่างชัดเจน ก็ขอย้ำอีกครั้งว่าความแพงมหาโหดของสาย ไม่ได้มารับประกันว่าสายดีหรือไม่ดีกับชุดเครื่องเสียงคุณ อย่าทึกทักเอาเองว่าสายแพง ๆ จะต้องดีเสมอไป ให้ใจเย็นแล้วลองสายดูให้หลากชนิด หลากยี่ห้อ และหลากราคาเท่าที่จะทำได้ และในที่สุดคุณก็จะพบว่าการที่คุณเลือกแบบนี้จะได้สายที่เหมาะกับชุดเครื่องเสียงคุณด้วยราคาที่สมเหตุผล จะเอามาฟังอะไร ? สายลำโพงนั้นนำมาใช้สำหรับการประเมินคุณภาพเครื่องเสียง ซึ่งไม่เพียงแค่สายนำมาซึ่งการเป็นปัจจัยหนึ่งของเสียงที่ทำให้ชุดเครื่องเสียงมีความแตกต่างกัน แต่ลักษณะเสียงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเสียงนั้น กลับยังผลให้ความเป็นดนตรีในเครื่องเสียงชุดหนึ่ง โดดเด่นกว่าเครื่องเสียงอีกหลายๆ ชุด ยิ่งไปกว่านั้นการวัดระดับความพึงพอใจในเสียงที่เปลี่ยนแปลงด้วยตัวคุณเอง ก็นับเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยในการจำแนกความมีคุณภาพของสายสัญญาณและสายลำโพงสำหรับเครื่องเสียงนั้น ๆ ด้วย ไม่ควรปักใจกับข้อมูลทางเทคนิคที่มีแต่ตัวเลขบนกระดาษลอยๆ กล่าวถึงความโดดเด่นใดๆ ที่สายยี่ห้อหนึ่งมีเหนือคู่แข่ง เนื่องจากนี่เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาดเท่านั้น การที่จะเชื่อได้ว่าสายใดเข้ากันได้ดีกับชุดเครื่องเสียงคุณ หรือมีส่วนเกื้อกูลส่วนใดของระบบนั้น คุณควรเชื่อหูคุณเอง การวัดความสามารถของสายสัญญาณและสายลำโพงนั้น มีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับหนึ่ง อันเกี่ยวแก่เรื่องของสายที่สามารถเข้ากันได้ อย่าไปกังวลกับเรื่องการกลับขั้วใด ๆ ในอันดับแรก สิ่งที่ควรทราบก่อนอื่นเลยควรจะเป็นว่าสายสัญญาณและสายลำโพงนั้น ต้องการระยะเวลาในการวอร์มระยะหนึ่งก่อนที่จะให้ผลที่ดีที่สุดในเวลาต่อมา ดังนั้นก่อนที่จะพ้นช่วงการวอร์มสาย เสียงส่วนมากที่มักจะได้ยินก็คือความสดใส หรือคม แข็ง ฟังแล้วไม่สบายหู หรือประการอื่นใด รวมกระทั่งการขาดความชัดลึกในด้านเวทีเสียง ลักษณะเช่นนี้นั้นจะปรากฏอยู่ในช่วงเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง อาจจะเป็นวัน เป็นสัปดาห์ แล้วแต่กรณี เอาแน่ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าสายสัญญาณหรือสายลำโพงที่นำมาเปลี่ยนยังคงให้ลักษณะเสียงที่คม และแข็งกระด้างต่อไปหลังจากระยะเวลาที่คุณคิดว่าพอสมควรแล้วสำหรับสายบางรุ่น นี้อาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจากเดิมก็ได้ เพราะว่าในบางครั้งเวลาที่คุณใช้เล่นตามปกตินั้นอาจจะยังน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับการพ้นระยะเวลาการวอร์มสายด้วยระยะเวลาเพียงสองสามวัน เพราะคุณเปิดเครื่องเสียงให้สายมันถูกวอร์มไว้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เมื่อผ่านระยะเวลาแห่งความอดทนของคุณดังกล่าวมาแล้ว ทีนี้คุณก็พร้อมที่จะประเมินคุณภาพของสายสัญญาณ และสายลำโพงจริงๆ กันเสียที การรับฟังสัญญาณแรกเพียงสิบห้านาที ถึงครึ่งชั่วโมงก็นับว่าเพียงพอแล้ว จากนั้นให้ลองเปลี่ยนสายที่จะนำมาเปรียบเทียบเส้นถัดไป วิธีหนึ่งสำหรับการเลือกสายก็คือการที่คุณได้ถามตัวเองว่า เมื่อฟังแล้วคุณชอบใจเสียงที่ได้จากอันไหนมากกว่ากัน คุณไม่จำต้องวิเคราะห์ให้ถึงแก่นว่าจะได้ยินอะไรบ้าง แค่เลือกเอาเส้นที่ทำให้คุณรู้สึกดีกว่าก็พอแล้ว อีกวิธีหนึ่งก็คือการพิจารณาเสียงที่คุณได้ยินจากสายสัญญาณพวกนั้น แล้วทำการเปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อนของมันให้ชัดเจน แล้วทำการเปรียบเทียบกันยากนิดหนึ่ง อย่างสายเอ ฟังแล้วให้เสียงแหลมที่นุ่มนวลและให้รายละเอียดที่ดีกว่าสายบี อย่างนี้ก็มี อันนี้ก็จะมาพิเคราะห์กันได้ว่า ความนุ่มนวลของสายนั้นอาจจะทำให้รายละเอียดบางประการในดนตรีนั้นหายไป แต่สายที่ให้รายละเอียดดี อาจจะฟังดูชัด และอาจจะเลยไปเป็นคมก็ได้ ก็ย้ำอีกครั้งว่าต้องระมัดระวังการเปรียบเทียบด้วยตัวคุณเองให้จงมาก แต่อย่างไรก็ดีนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยคุณในการเลือกสายต่าง ๆ ให้ถูกต้องได้ สายลำโพงและสายสัญญาณนั้นอันที่จริงคุณทราบไหมว่าสามารถได้ยินเสียงรบกวนหรือความเพี้ยนที่น่ารำคาญได้ ผมมีรายการเกี่ยวกับลักษณะเสียงที่ได้จากการใช้สายสัญญาณและสายลำโพงมาฝาก ลองดูนะครับไม่แน่ว่าคุณอาจจะได้อะไรจากตรงนี้ไปบ้างก็ได้ - เสียงแหลมแตกหยาบกระด้าง สายหลาย ๆ ชนิดให้เสียงแหลม หยาบ ๆ ฟังแล้วไม่สบายหู หรือฟังไม่ทน - เสียงแหลมที่สดและคมเหมือนโลหะ เสียงฉาบ CYMBAL จะฟังดูแล้วพุ่ง ล้ำหน้ากว่าเครื่องลมทองเหลืองที่ให้เสียงได้เจิดจ้ากว่าอยู่แล้ว และมักจะฟังออกว่าเสียงจะข่มซาวนด์สเตจ แทนที่จะให้เสียงแบบที่กระชับเป็นรูปทรง เสียงนักร้องที่ออกเสียงตัว S หรือ SH นั้น เน้นเกินไป เป็นเหตุให้ฟังแล้วเสียงแหลมดูล้ำหน้า ฟังดูแล้วเสียงแหลมไม่เปิด ซึ่งอันที่จริงฟังแล้วสายใด ๆ ก็ดีควรจะให้ลักษณะเสียงที่เปิดโล่งไม่บีบ และให้ปลายเสียงแหลมได้สุด โดยปราศจากการแต่งแต้มที่ให้เสียงแหลมสดเกินจริง - เสียงตีกันและไม่มีความชัดเจน เสียงเปียโนที่ฟังแล้วสดใสนั้นจะกลืนกับเสียงร้องของนักร้องที่ฟังรวมกันแล้วให้ความรู้สึกคลุมเครือแทนที่จะได้ความรู้สึกว่ามีความชัดเจนอยู่ในเพลงและฟังออกถึงลักษณะ TEXTURE ของเสียง - ฟังแล้วเหนื่อย สายสัญญาณ สายลำโพงที่ไม่ดีนั้นจะฟังออกอย่างรวดเร็วและได้ลักษณะอย่างที่กล่าวมาคือฟังแล้วเหนื่อย ไอ้ที่ว่าฟังแล้วเหนื่อยนี่ คือ ความรู้สึกปวดหัวและจะรู้สึกพักผ่อนคลายเมื่อดนตรีจบลง หรือเบาลง นี้คือความรู้สึกว่าไม่ฟังเสียยังจะดีกว่า พอดนตรีจบหรือหยุดลงจะรู้สึกเบาหูขึ้นมาทันที นี่เป็นความแย่ที่สุดที่อุปกรณ์เครื่องเสียงจะแย่ได้ ส่วนสายที่ดีนั้น (เฉพาะกับชุดเครื่องเสียงที่ดี) จะทำให้คุณฟังแล้วสามารถเปิดระดับความดังได้มากกว่าปกติและฟังได้นานกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าสายสัญญาณหรือสายลำโพงที่ซื้อมาฟังแล้วเหนื่อย ก็คงไม่ต้องไปหาสาเหตุอื่นที่เป็นต้นตอสำหรับปัญหาแล้วกระมัง - ขาดเวทีเสียงและความชัดลึก ลองฟังแผ่นที่ให้ความเป็นธรรมชาติของเสียงดี ๆ ที่ให้ความชัดลึกและ AMBIENCE ดีๆ แล้วนำมาฟังกับสายที่ให้ความลึกของซาวนด์สเตจ และสามารถบ่งบอกตำแหน่งของเครื่องดนตรีเป็นสามมิติได้ หากเป็นสายที่ไม่ดีคุณจะไม่ได้ลักษณะอย่างที่กล่าวมา - แทบไม่มีรายละเอียดเหลืออยู่เลย สายสัญญาณและสายลำโพงบางตัวฟังแล้วนุ่มนวล แต่ลักษณะดังกล่าวกลับบดบังรายละเอียดของเสียงที่ควรจะได้ไป ทดลองโดยการฟังที่ระดับความดังที่เบากว่าปกติ หากสามารถฟังออกถึงรายละเอียดของเสียงเครื่องดนตรีได้ก็ถือว่าเป็นสายที่อยู่ในระดับที่มีคุณภาพ - ได้เสียงเบสส์หนา เอื่อยและไม่สามารถฟังออกว่าเสียงอะไร สายที่มีคุณภาพไม่ดีนักมักจะสร้างปัญหาเรื่องเบสส์ ที่ฟังแล้วได้ลักษณะเสียงที่ช้าๆ หนาๆ และไม่สามารถจับโน้ตเบสส์ได้ เสียงเบสส์ที่ต่ำ ๆ นั้นจะฟังดูอ้วนกว่าที่จะฟังออกเป็นเนื้อเป็นหนัง เสียงเบสส์มักจะครางหึ่งๆ แทนที่จะเดินไปตามโน้ตดนตรีปกติ - ไดนามิกหดหาย การทดลองฟังสายสัญญาณสายลำโพงที่สามารถทำให้เรารู้สึกรับรู้ถึงโครงสร้างดนตรีที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรีที่มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นเสียง การตีคอร์ตกีตาร์นั้นควรจะได้เสียงที่เร็ว โดยมีขอบเขตที่แน่นอน ส่วนเสียงจากวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่น วงออร์เคสตร้า ในช่วงโหมโรง ควรจะรู้สึกได้ถึงกำลังและการตกกระทบที่ชัดเจน ผมว่าการนำสายที่ให้สีสันของเสียงกับระบบเสียงคุณเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสียงในชุดเครื่องเสียงที่ใช้อยู่ อย่างเช่นการนำสายลำโพงที่ให้เสียงทุ้มได้ดีจับคู่กับลำโพงที่ให้เสียงแหลมเจิดจ้า ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง แทนที่คุณจะใช้เงินที่มีอยู่สำหรับการเลือกซื้อสายใหม่เพื่อส่งเสริมลำโพงให้เสียงดีกว่าเดิมอีก สายลำโพงและสายสัญญาณไม่ใช่เครื่องแก้ปัญหานะครับ แต่สายลำโพง สายสัญญาณ เป็นส่วนช่วยเสริมส่วนที่ชุดเครื่องเสียงคุณไปไม่ถึงให้ทะยานไปได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ต่างหาก การเชื่อมต่อปลายสายด้วยขั้วต่อ การเชื่อมปลายสายด้วยขั้วต่อ หรือ TERMINATOR นั้น เราพบว่าขั้วต่อนั้นมีคุณภาพให้เลือกอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ชนิดที่เป็นแบบรูสปริงกดเล็ก ๆ แล้วปอกสายเสียบเข้าไปในลำโพง ราคาถูก ไปจนถึงระดับที่ทำเองด้วยมือ หรือแบบผลิตด้วยเครื่อง เป็นขั้วต่อทองเหลือง หรือทำจากโลหะนำสัญญาณชั้นดีต่าง ๆ ขั้วต่อสายชั้นเลวนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยลดระดับคุณภาพเสียงที่ควรจะได้ลงไปเท่านั้น แต่ยังแตกหักเสียหายง่ายเสียด้วย ดังนั้น เวลาเดินเลือกซื้อแอมปลิไฟเออร์หรือลำโพงก็ดูขั้วต่อด้านหลังให้ละเอียดสักนิดเพื่อที่จะได้คุณภาพที่ดีกว่าเดิม ขั้วต่อที่เห็นมากที่สุดและเป็นชนิดที่นิยมกันมากที่สุดนั้นก็คงจะเป็นขั้วต่อแบบห้าทาง ซึ่งสามารถรองรับขั้วเสียบชนิดต่าง ๆ เช่น BANANA PLUG, SPADE LUG หรือBARE WIRE ได้ บางชนิดก็ทำออกมาด้วยโลหะนิกเกิล หรือดีกว่านั้นเลยก็จะเป็นชุบทองแบบที่ทิ้งไว้นาน ๆ แล้วไม่ลอกไม่ดำนั่นแหละ ขั้วต่อห้าทางแบบนี้ควรจะขันให้แน่นด้วยประแจขนาดครึ่งนิ้ว ไม่ให้ตัว SOCKET หรือเกิดการขยับขึ้นในระหว่างการขับเสียงในระดับความดังกว่าปกติ การเชื่อมต่อใด ๆ กับชุดเครื่องเสียงในระดับความดังกว่าปกติ การเชื่อมต่อใด ๆ กับชุดเครื่องเสียงนั้นควรจะมีความแน่นหนา แต่ไม่ใช่ขันแน่นเสียจนเกลียวหวานเลย ทำให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นกับลำโพงและแอมปลิไฟเออร์ ขั้วต่อแบบ CUSTOM POST นั้นส่วนมาพบว่าจะทำด้วยโลหะที่มีความแข็งแรงกว่าขั้วต่อแบบห้าทาง โดยสามารถรองรับสายขนาดต่าง ๆ ได้อย่างสบายและสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่หลุด เลื่อนออกจากตัวเครื่อง CUSTOM POST นั้น สามารถพบได้กับเครื่องเสียงราคาแพง ๆ ขั้วต่อบางชนิดนั้นมีรูสำหรับ SPADE LUG ที่กว้างเกินไป ทำให้ไม่แน่นหนาเมื่อใช้งานจริง ที่ทำรูเอาไว้ให้มีขนาดกว้างกว่าปกติก็เพื่อจะรองรับสายขนาดใหญ่หรือ BANANA JACK แต่อย่างไรก็ดีก็สามารถพบขั้วต่อพวกนี้ได้กับเครื่องเสียงระดับไฮเอ็นด์เช่นเดียวกัน หากเครื่องเสียงคุณมีขั้วต่อแบบนี้ก็ให้หาขั้วต่อสายลำโพงที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ตัว SPADE LUG ขนาดปกตินั้นจะมีขนาดประมาณ 1/4 นิ้ว ถึง 3/16 นิ้ว ส่วนขนาดใหญ่พิเศษนั้นจะมีขนาดถึง 5/16 นิ้ว ซึ่งมากพอที่จะทำให้การเชื่อมต่อสายเป็นไปได้ด้วยความมั่นคงและแข็งแรง หากคุณเลือกใช้วิธีการเข้าสายกับขั้วต่อด้วยการปอกสายเปลือย BANANA PLUG หรือ SPADE LUG กับขั้วต่อลำโพง ก็ขอให้เลือก SPADE LUG ไว้ก่อน เพราะลักษณะของ SPADE LUG นั้นทำขึ้นมาให้ตอบรับกับขั้วลำโพงได้ดีที่สุด และนับเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่มีใช้กันทั่วไป และก็ควรจะระมัดระวังในเรื่องคุณภาพของขั้วต่อต่าง ๆ ด้วย เพราะมีส่วนทำให้เสียงจากเครื่องเสียงแย่ลงแน่นอนไม่มากก็น้อย นักเล่นเครื่องเสียงบางท่านถึงกับลงทุนเปลี่ยนบรรดา ปลั๊ก แจ๊คต่าง ๆ ทั้งหมด โดยเชื่อว่าจะทำให้เสียงดีขึ้นได้ แต่นี่เป็นเรื่องที่โอเวอร์เกินไปหน่อย และการปรับเปลี่ยนขั้วต่อที่ติดอยู่กับเครื่องเสียงหรือลำโพงนั้นเป็นไปได้ยากหรือไม่สามารหถกระทำได้เอาเสียเลย การเชื่อมต่อสายแบบถาวรนั้นก็เป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งแต่ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ สายลำโพงแบบ BI-WIRED การเชื่อมต่อสายลำโพงในลักษณะ BI-WIRED นั้นเป็นการใช้สายลำโพงอีกคู่หนึ่งต่อระหว่างแอมปลิไฟเออร์กับลำโพง เทคนิคการต่อแบบนี้นั้นทำให้คุณภาพเสียงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนกว่าการใช้สายลำโพงเดี่ยว ๆ ลำโพงชั้นดีระดับไฮเอ็นด์นั้นมักจะมีขั้วต่อด้านหลังมาให้สองชุด สำหรับต่อกับตัวขับเสียงแหลมหนึ่งชุด และอีกหนึ่งชุดที่เหลือก็สำหรับตัวขับเสียงต่ำ นอกจากนั้นก็จะมี JUMPER มาให้เชื่อมกัน ระหว่างขั้วต่อเพื่อเป็นการง่ายเมื่อต้องการต่อแบบ BI-WIRED ในภายหลัง ในระบบที่มีการต่อสายแบบ BI-WIRED นั้น เพาเวอร์แอมป์จะดูเหมือนกับให้ค่าความต้านทานที่สูงกว่ากับสายลำโพงที่ต่อเข้ากับลำโพงเสียงแหลม ณ ระดับความถี่สัญญาณเสียงระดับต่าง ๆ และให้ค่าความต้านทางที่ต่ำลงมา ณ ระดับความถี่สัญญาณเสียงสูง ทั้งนี้เพราะสัญญาณดนตรีถูกเบ่งออกจากกัน ความถี่ที่สูง ๆ จะเดินทางโดยสายที่วิ่งสู่ลำโพงเสียงแหลม ส่วนความถี่ต่ำ ๆ จะเดินทางผ่านสายสัญญาณวิ่งเข้าสู่ลำโพงเสียงทุ้ม การที่สัญญาณถูกแยกออกลักษณะนี้ทำให้ช่วยลดสนามแม่เหล็กที่จะเกิดขึ้นภายในสายลำโพง ผลก็คือทำให้เสียงดีขึ้น ดังนี้ สนามแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูงจะเกิดขึ้นรายรอบตัวนำสัญญาณด้วยความถี่ในระดับต่ำ ๆ ก็จะไม่ไปกวนการส่งผ่านสัญญาณที่จะวิ่งไปสู่ลำโพงเสียงแหลม ไม่มีใครรู้สาเหตุที่ทำให้การเชื่อมต่อแบบ BI-WIRED นั้นได้ผล แต่ถึงเวลานี้บรรดาผู้ผลิตลำโพงก็ทำขั้วต่อลำโพงแบบ BI-WIRED มารองรับกันเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้นหากต่อแบบ BI-WIRED นั้นทำให้เสียงดีขึ้นจริง เว้นเสียแต่ว่าคุณมีงบประมาณสำหรับสายที่จำกัด แต่ไม่ว่าคุณจะมีงบประมาณอยู่ที่เท่าไหร่ก็ตาม คุณก็ควรจะต่อสายแบบ BI-WIRED เสีย ในเมื่อขั้วต่อต่าง ๆ มันเป็น BI-WIRED รอคุณอยู่แล้ว คุณสามารถต่อ BI-WIRED กับลำโพงด้วยสายเดี่ยว ๆ สองเส้นได้ หรือไม่งั้นก็ไปหาซื้อที่เขาขายเป็นชุดแบบ BI-WIRED มาเรียบร้อยแล้ว ลำโพงคุณนั้นสามารถนำมาต่อแบบ SINGLE BI-WIRED ได้ ซึ่งในชุดนั้นจะมีสายมาให้เส้นหนึ่งแต่ข้างในมีสาย ตัวนำสัญญาณมาให้เรียบร้อยสองชุด แล้วเข้าปลายสายให้เรียบร้อยด้วยขั้วต่อทั้งสองด้าน ถ้าเป็นเซตแบบนี้วางขาย ส่วนมากก็จะมีราคาที่ต่ำกว่าชนิดที่แยกสายออกมาเป็นสองตัวนำ ชุดสาย BI-WIRED สำเร็จรูปนั้นจะใช้สายที่วิ่งเข้าสู่ลำโพงเสียงแหลมและเสียงทุ้มเป็นอย่างเดียวกัน การใช้สายแบบอื่นมาผสมก็อาจจะให้ประโยชน์ได้มากขึ้น การซื้อสายที่ให้เสียงเบสส์ดี ๆ มาใช้กับตัวขับที่เป็นเสียงต่ำ แล้วเพิ่มเงินสำหรับสายลำโพงที่ให้เสียงแหลมดี ๆ ก็อาจทำให้คุณได้คุณภาพเสียงที่น่าประทับใจได้ พร้อม ๆ กับราคาค่างวดของสายที่ต่ำลงกว่าที่ซื้อ BI-WIRED เป็นเซต และคุณอาจจะทดลองเอาสายที่มีราคาถูกกว่ามาใช้กับลำโพงเสียงเบสส์ ส่วนสายราคาที่สูงกว่าก็เอาไปใช้กับลำโพงเสียงแหลม อย่างนี้ก็ได้ แต่อย่างไรก็ดีหากคุณใช้สายที่มาต่อเป็น BI-WIRED ต่างกัน ก็ควรระวังให้มันมาจากผู้ผลิตรายเดียวกัน เพราะอย่างน้อย ๆ เราก็ทราบแล้วละว่าสายจากผู้ผลิตเดียวกันจะใช้โครงสร้างสายแบบเดียวกัน ซึ่งไม่น่าจะเกิดผลข้างเคียงใด ๆ จากการต่อสายแบบนี้ BALANCED UNBALANCED LINES สายสัญญาณนั้นมีให้ลือกสองแบบคือ BALANCED กับ UNBALANCED สายสัญญาณที่เป็นแบบ BALANCED นั้นเป็นที่รู้จักกันด้วยชื่อของ ขั้วต่อ แบบ XLR 3 PIN ส่วนสายสัญญาณแบบ UNBALANCED นั้นตามปกติ่แล้วจะเข้าหัวด้วยตัวปลั๊ก แบบ RCA สายสัญญาณทั้งแบบ BALANCED กับ UNBALANCED จะมีลักษณะดังรูป ทำไมเราต้องมาใช้ระบบที่มีการเชื่อมต่อคนละแบบเช่นนี้ ? ครั้งหนึ่งเครื่องเสียงที่วางขายกันอยู่ทั่วไปนั้นใช้ขั้วต่อสัญญาณทั้ง INPUT และ OUTPUT เป็นแบบ UNBALANCED ส่วนเครื่องเสียงสำหรับมืออาชีพนั้นจะเป็นแบบ BALANCED เรื่องจริงก็มีอยู่ว่า เจ้า BALANCED INPUT นี้จะเรียกกันว่า "PROGESSIONAL INPUTS" เพื่อเป็นการแบ่งแยกตัวเองออกจากความเป็นผู้บริโภคที่เป็น UNBALANCED JACK นั่นเอง การต่อสายแบบ BALANCED นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ทั้งไม่จำเป็น และมีราคาแพงเกินไปสำหรับการนำไปใช้กับระบบเครื่องเสียงในบ้าน แต่ต่อมาเมื่อมีคำว่า HIGN-END AUDIO เกิดขึ้น ความคิดเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป แทนที่จะมาเน้นกันถึงเรื่องการเชื่อมต่อสายที่ใช้สตางค์น้อยที่สุดก็กลับตาลปัตร เพราะเครื่องเสียง HIGN-END ที่มีราคาแพง ๆ นั้นออกแบบมาให้ใช้กับสายและขั้วต่อทีเป็นแบบ BALANCED ที่มีคุณภาพสูงกว่าบรรดาสินค้าที่วางขายกันในตลาดผู้บริโภคทั่วๆ ไป ยิ่งเครื่องเสียงราคาแพง ๆ ก็ยิ่งต้องใช้สายและขั้วต่อที่เป็น BALANCED มากขึ้น นี้จึงเป็นเหตุและผล ที่ทำไมเราจึงมีมาตรฐานการเชื่อมต่อถึงสองแบบด้วยกัน คือแบบ BALANCED และUNBALANCED ข้อมูลทางเทคนิคและคุณลักษณะของเสียงที่ได้จากการเชื่อมต่อแบบ BALANCED ครั้งหนึ่งเคยเป็นของเฉพาะกับเครื่องและอุปกรณ์สำหรับบรรดามืออาชีพทั้งหลาย แต่ตอนนี้ได้แผ่ความนิยมออกมาถึงเครื่องเสียงที่ใช้ตามบ้านไปเสียแล้ว แล้วสายแบบ BALANCED นี้คืออะไร และทำไมจึงมีความแตกต่างจากมาตรฐานของสาย และขั้วต่อทีเป็นแบบ RCA ? ก็เพราะว่าสายสัญญาณแบบ BALANCED นั้น สัญญาณเสียงจะสื่อข้ามขั้ว (PIN) ของ RCA JACK และ SHIELD หรือสายกราวนด์ สายสัญญาณแบบ UNBALANCED บางตัวจะมีสายสัญญาณสองเส้นพร้อมฉนวนหุ้ม ซึ่งฉนวนนี้ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นตัวนำสัญญาณแต่อย่างใด ถ้าการเชื่อมต่อแบบ UNBALANCED นี้ถูกติดตั้งอยู่ในอาณาบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กอย่างเช่นสายไฟ AC เป็นต้นนั้น สนามแม่เหล็กดังกล่าวจะเป็นตัวนำสัญญาณรบกวนให้เข้าในสายสัญญาณได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้ยินเสียงฮัม และเสียงรบกวนเกิดขึ้นขณะเราเล่นเครื่องเสียงออกสู่ลำโพง กับงานระดับมืออาชีพนั้นเสียงฮัม เสียงกวนต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องซึ่งรับไม่ได้ นี้จึงนำไปสู่การพัฒนากรรมวิธีในการเชื่อมต่อสัญญาณให้ได้เสียงรบกวนที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับสายสัญญาณที่เป็น BALANCED LINE ซึ่งดังที่กล่าวมาแล้วว่าสายสัญญาณแบบ BALANCED นั้นจะมีตัวนำสัญญาณอยู่สามเส้น สองในสามทำหน้าที่นำพาสัญญาณ ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งจะเป็นกราวนด์ ตัวนำสองตัวที่ทำหน้าที่นำพาสัญญาณดังกล่าวในสายสัญญาณแบบ BALANCED นั้นมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่มีเฟสต่างกันที่ 180 องศา เมื่อสัญญาณเดินทางมาในตัวนำสัญญาณเส้นหนึ่งด้วยค่าบวกสูงสุด สัญญาณในตัวนำอีกเส้นหนึ่งจะมีค่าเป็นลบต่ำสุดส่วนตัวนำเส้นที่สามจะเป็นกราวนด์ของสัญญาณ และในสายสัญญาณแบบ BALANCED ถูกส่งเข้าไปยังแอมปลไฟเออร์ของอุปกรณ์รับสัญญาณ เสียงรบกวนที่ติดมากับสายจะถูกกันออกไปเสียหมดทั้งสิ้น นี่เป็นเหตุผลที่แอมปลิไฟเออร์ของอุปกรณ์รับสัญญาณ จะแปลงสัญญาณออกมาเฉพาะส่วนที่ต่างกันของสัญญาณทั้งสองส่วน ดูภาพประกอบ อย่างไรก็ดีหากเสียงรบกวนผ่านเข้ามาในสายสัญญาณ ตัวนำทั้งสองในสายสัญญาณแบบ BALANCED จะรับเอาสัญญาณรบกวนอันนั้นไว้ แล้วแอมปลิไฟเออร์ของอุปกรณ์รับสัญญาณ จะทำหน้าที่ในการกำจัดสัญญาณรบกวนนั้นออกไปเอง ปรากฏการณ์อันเป็นลักษณะของสายนำสัญญาณแบบ BALANCED นี้เราเรียกว่า COMMON-MODE REJECTION ส่วนหน่วยสำหรับวัดความสามารถในการขจัดเสียงรบกวนจะเรียกว่า COMMON-MODE REJECTION RATIO หรือย่อว่า CMRR จงจำไว้อย่างว่าสายสัญญาณแบบ BALANCED นั้นไม่ได้เป็นตัวที่ทำให้เสียงหรือสัญญาณรบกวนสะอาดขึ้น มันเพียงแค่ป้องกันสัญญาณส่วนเกินที่จะเพิ่มเข้ามากับการเชื่อมต่อในระบบ ในสายสัญญาณแบบ BALANCED ที่ TERMINATED ด้วย XLR CONNECTOR, PIN ที่ 1 นั้นจะเป็นสัญญาณกราวนด์เสมอ แต่อย่างไรก็ดีก็ไม่มีกฎว่าในสองขั้วที่เหลือจะเป็น PIN ไหนที่จะใช้นำสัญญาณที่เป็นแบบ INVERTED SIGNAL และสัญญาณที่ไม่มีการ INVERTED SIGNAL ในตอนแรก และเป็นอย่างนั้นมาอยู่นับสิบปี จนกระทั่ง AUDIO ENGINEERING SOCIETY ได้ระบุลงไปอย่างชัดแจ้งว่าให้ PIN2 เป็นขั้วที่นำสัญญาณแบบ NON-INVERTED SIGNAL และ PIN 3 สำหรับ INVERTED SIGNAL ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับ BALANCED LINE นั้นการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด DIGITAL INTERCONNECTS การเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณแบบ DIGITAL จะเป็นการนำสัญญาณ AUDIO ที่มีการเข้ารหัสแบบ DIGITAL วิ่งผ่านสายสัญญาณแบบนี้ออกไป ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อที่จะพบระหว่างตัวภาคขับเคลื่อนของเครื่องเล่นซีดี กับ DIGITAL PROCESSOR ภายนอก โครงสร้างของสายนำสัญญาณและสายลำโพง สายลำโพงและสายสัญญาณนั้นประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ สามอย่างคือ 1. ตัวนำสัญญาณ 2. ฉนวนห่อหุ้ม 3. ส่วนเชื่อมต่อ โดยที่ตัวนำสัญญาณนั้นจะเป็นตัวนำพาสัญญาณออดิโอ ฉนวนทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันบริเวณรายรอบตัวนำสัญญาณ และการเชื่อมต่อจะเป็นส่วนที่ใช้เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ออดิโอ สามองค์ประกอบนี้จะประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของสายสัญญาณ ซึ่งโครงสร้างขององค์ประกอบดังกล่าวมีผลต่อบุคลิกลักษณะของเสียงดนตรี ตัวนำสัญญาณ ตัวนำสัญญาณนั้นโดยปกตินิยมใช้ทองแดงหรือเงิน เป็นตัวนำสัญญาณในสายลำโพง หรือสายสัญญาณระดับไฮเอ็นด์ ความบริสุทธิ์ของทองแดงนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทองแดงนั้นในบางกรณีจะระบุความบริสุทธิ์ของทองแดงออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ อย่างเช่น ความบริสุทธิ์ของทองแดงเป็น 99.997 % ซึ่งความไม่บริสุทธิ์ดังกล่าวจะเจือปนไปด้วย เหล็ก SULFUR, ANTIMONY, ALUMINUM และ ARSENIC ในสายลำโพงหรือสายสัญญาณที่มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นไป จะเป็น 99.99997% ซึ่งเรียกกันติดปากว่า "SIX NINES" COPPER มีความเชื่อหลายทางเหลือเกินที่กล่าวว่าทองแดงที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่าจะให้เสียงที่ดีกว่า ทองแดงบางตัวจะมีการอ้างอิงถึง OFC หรือ OXYGEN-FREE COPPER อันเป็นการแสดงว่าโมเลกุลของออกซิเจนที่เกาะอยู่กับทองแดงนั้นได้ถูกทำให้หลุดออกไป แต่การทำให้ทองแดงปราศจากออกซิเจนนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ในทางปฏิบัติ OFC จะมีออกซิเจนเหลืออยู่ในทองแดงที่ประมาณ 50 PPM หรือ PART PER MILLION ส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับระดับออกซิเจนที่ 250 PPM ในทองแดงธรรมดา การลดออกซิเจนในเส้นทองแดงลงมาให้ได้น้อยที่สุดจะเป็นตัวที่ช่วยให้ออกไซด์ที่จะมาเป็นตัวการในการขวางทางเดินสัญญาณ หรือทำให้คุณภาพของเสียงลดทอนลงไปนั้นน้อยลงด้วย ทองแดงที่อยู่ในสายเล็ก ๆ นั้นจะมีโครงสร้างเรียงตัวกันเป็นรูปคล้ายบั้งทหาร ดังที่เห็นในภาพประกอบ รูปนี้อธิบายได้ดีว่าทำไมเวลาเราเล่นเครื่องเสียง เรากลับสายแล้วพบว่าเสียงดีขึ้น ตัวนำสัญญาณนั้นทำขึ้นโดยแคสติ้งทองแดงหนา ๆ แล้วให้เคลื่อนผ่านเครื่องจักรเพื่อให้ทองแดงถูกแบ่งออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆ แต่มีกรรมวิธีอีกอันหนึ่งซึ่งทำให้ได้ผลิตผลที่ดีและมีราคาที่สูงขึ้น นั่นคือ AS-CAST ซึ่งเป็นการแคสทองแดงให้เหลือขนาดที่ต้องการในขั้นตอนเดียวโดยไม่ต้องมีการแบ่งออกมาก่อน ทองแดงที่ได้จากการแบ่งในกรรมวิธีการผลิตโดยได้คุณภาพสูงสุดคือ OCC หรือ OHNNO CONTINUOUS CASTING ส่วนตัวนำสัญญาณอีกชนิดหนึ่งนั่นคือ เงิน สายเงินนั้นมีราคาแพงกว่าสายที่ทำด้วยทองแดง แต่สายเงินจะมีคุณสมบัติบางประการที่ทองแดงให้ได้ไม่ดีนั่นคือการนำพาสัญญาณเสียงในความถี่สูง ๆ การเกิดออกไซด์ก็มีแต่น้อยกว่าทองแดง ฉนวน ฉนวนนั้นเป็นวัสดุห่อหุ้มตัวนำสัญญาณ และทำให้สายต่าง ๆ ดูมีขนาดที่เล็กใหญ่ไม่เหมือนกัน วัสดุที่ใช้ทำฉนวนนั้นมีผลอย่างมากต่อเสียงของสาย ฉนวนนั้นใช้ในการดูดกลืนพลังงานซึ่งมีหลักที่เรียกขานกันอยู่ประจำว่า DIELECTIC ABSORBTION เหมือนกับที่พบในคาปาซิเตอร์ แต่ในสายสัญญาณหรือสายลำโพง DIELECTIC ABSORBTION นั้นจะลดทอนสัญญาณดนตรีลง ตัวพลังงานที่ถูกดูดกลืนเข้าไปในฉนวนนั้นจะปล่อยกลับเข้าสู่สายอีก ฉนวนนั้นมีตัวเลือกให้เลือกเพื่อที่จะทำให้การดูดกลืนพลังงานนั้นเกิดขึ้นน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นพลาสติกหรือพีวีซี แต่ที่ดีกว่านั้นเราพบว่าการใช้ โพลีเอธิลีน รวมถึง เทฟล่อน จะให้ผลกับสายดีที่สุด การเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อสายนั้น เราพบว่ากาเชื่อมต่อโดยให้จุดที่เชื่อมมีคุณภาพดีในระดับต่าง ๆ กันนั้นมีผลกับเสียงแน่นอน เราต้องการหน้าสัมผัสระหว่างปลั๊กที่เราเสียบเข้าไปกับตัวแจ๊คที่อุปกรณ์เครื่องเสียงให้ได้มากที่สุดและกระชับที่สุดด้วย RCA คุณภาพสูง ๆ จะผลิตด้วยทองแดงผสมทองเหลืองเพื่อเพิ่มความแข็งให้มากขึ้น มีการผสมกับนิคเกิ้ลแล้วเคลือบทองเพื่อป้องกันการออกซิเดชั่น ในปลั๊กบางยี่ห้อจะมีการเคลือบทองลงบนเนื้อทองเหลืองตรง ๆ ส่วนบางยี่ห้อตัวเนื้อวัสดุที่ทำจะใช้เป็นเงินและโรเดียมแทน รูปทรง อันที่จริงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวกันมากนักเกี่ยวกับรูปร่างของโครงสร้างสาย ในการออกแบบจากบางสำนักยังคงความเชื่ออยู่ว่า รูปร่างโครงสร้างของสายนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ยกตัวอย่างเช่น การตีสายตัวนำสัญญาณเป็นเกลียว การตีเกลียวเช่นนี้เป็นวิธีการลดความต้านทานของสายที่ดีมาก นักออกแบบส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า SKIN EFFECT ของสายที่ตีกันเป็นเกลียวกับสายที่ปล่อยตรง เป็นจุดสำคัญของการลดทอนคุณภาพเสียงในสายลงไป SKIN EFFECT นั้นมีผลต่อความลึกของเสียง ย่านการตอบสนองความถี่ ของสัญญาณที่วิ่งไปบนสายอย่างแตกต่างกัน ผลของ SKIN EFFECT นั้นมีผลต่อรายละเอียดของเสียง ความชัดลึกของเวทีเสียง และ TOP OCTAVE AIR ด้วย การเลือกสายสัญญาณและสายลำโพงนั้นเป็นเรื่องที่สร้างความลำบากในการตัดสินใจค่อนข้างมาก เนื่องจากปัจจัยภายนอกอย่างเช่น สนามแม่เหล็กที่อยู่บริเวณใกล้เคียงก็สามารถทำให้สัญญาณที่เดินอยู่ภายในตัวนำสัญญาณ มีความผิดปกติเกิดขึ้น ผลก็คือคุณภาพเสียงลดลง เรามาดูโครงสร้างของ LITZ ที่ได้ทดลองโดยใช้หลักคือ การนำเส้นทองแดงมาตีเกลียวเข้าด้วยกันเป็นมัดเล็ก ๆ แล้วแต่ละมัดจะเคลือบด้วยสารฉาบเสมือนฉนวน ที่จะป้องกันการนำสัญญาณออกจากกระแสที่รายรอบมัดทองแดงที่ตีเกลียวกันไว้ ผลก็คือ หลักการของ LITZ นั้นจะเป็นการผลัก SKIN EFFECT ให้ออกไปนอกย่านความถี่เสียงที่เราจะได้ยิน และเพราะการตีเกลียวตัวนำสัญญาณ จึงเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรายรอบตัวนำสัญญาณ และเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพการนำสัญญาณลดทอนลงในที่สุด ดังนั้นในการออกแบบสายบางตัวจึงมีการออกแบบมาเพื่อลดสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาแล้ว ดังนี้คุณจึงเห็นสายสัญญาณแบบต่าง ๆ มากมายในท้องตลาด ชี้นำหลักการต่าง ๆ ที่ทำให้เสียงดี แต่ที่กล่าวมาขอให้พึงระลึกว่าเป็นเพียงหลักการทางฟิสิกส์ที่ใช้กับการผลิตสายสัญญาณและสายลำโพง เพื่อช่วยให้คุณภาพของเสียงไม่ลดทอดลงไปเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตและการออกแบบ การเข้าหัวสายลำโพงและสายสัญญาณ ในสายลำโพงหรือสายสัญญาณของบางยี่ห้อ ไม่เพียงจะมีแต่ตัวสายเท่านั้น แต่ยังจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างรวมอยู่ด้วย ซึ่งในกล่องนั้นจะมีทั้ง รีซิสเตอร์ อินดัคเตอร์ และคาปาซิเตอร์ ประกอบกันขึ้นมาเป็นวงจรเน็ตเวิร์ก ซึ่งอันนี้คิดค้นขึ้นโดย MUSIC INTERFACE TECHNOLOGIES (MIT) ตามที่ MIT คิด สัญญาณออดิโอบางตัวจะมีโวลเตจค้างอยู่ในค่าความต้านทานของสาย และในเส้นตัวของสายสัญญาณ ซึ่งจะมีผลต่อความเที่ยงตรงของ TONAL และ DYNAMIC ของความถี่สัญญาณเสียง และจะมีผลทำให้เกิดความเพี้ยงขึ้นได้ในที่สุด การ TERNINATE สายจึงได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ขจัดพลังงานตกค้าง และเพื่อช่วยให้การส่งสัญญาณไปยังลำโพงด้วย เฟสที่ถูกต้อง (หมายถึง TIMING) ทาง MIT ก็เคลมว่า TERMINATE สายนั้นมีความจำเป็น เพื่อให้ได้ความถูกต้องของน้ำหนักเบสส์ ความกลมกลืนของ TONAL BALANCE และได้ซาวนด์สเตจที่เต็มขนาด รวมถึงสามารถให้ โฟกัส อิมเมจที่เที่ยงตรงอีกด้วย คุณสมบัติของสายลำโพงและสายสัญญาณ เป็นหลักสำคัญที่เราจะต้องมีการพิจารณาถึงคุณสมบัติของสายสัญญาณและสายลำโพงด้วย เนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าวมีผลกับการส่งสัญญาณออดิโออย่างแท้จริง สามคุณสมบัติที่เราจะกล่าวถึงได้แก่ ค่าความต้านทาน คุณสมบัติการนำสัญญาณ และคุณสมบัติในความจุของสาย ความต้านทานของสายลำโพงหรือสายสัญญาณนั้นถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเรียกว่า DC SERIES RESISTANCE คือเป็นการวัดความสามารถในการโฟลว์สัญญาณผ่านสาย อันนี้มีหน่วยเป็นโอห์ม (ohm) ในค่าโอห์มที่ต่ำก็หมายถึงการต้านทานกระแสที่ต่ำ แต่ค่าความต้านทานนี้ไม่ใช่คุณสมบัติที่แสดงความสามารถในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ อย่างไรก็ดีเราพบว่าความต้านทานมีผลกับสายลำโพงบางชนิดโดยเฉพาะกับสายที่มีขนาดเล็ก ๆ และใช้สายที่ค่อนข้างยาวในระบบ เสียงที่ผ่านสายสัญญาณและสายลำโพง สู่ลำโพงของระบบเครื่องเสียงนั้น สามารถกล่าวได้ว่า คุณสมบัติการนำสัญญาณของสายเหล่านั้นมีผลกับเสียงจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสายลำโพง ขนาดความจุก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะระบุบุคลิกลักษณะของเสียง โดยเฉพาะการใช้งานในระยะเวลาหนึ่ง ๆ หรือมีการใช้แหล่งสัญญาณในระบบเสียงนั้นมีค่าความต้านทานสูงหน่วยในการวัดค่าความจุนั้นมีหน่วยเป็น พิโคฟารัด ต่อฟุตในสายที่มีค่าความจุสูง ๆ จะสามารถสร้าง TREBLE ROLL OFF และเกิดการจำกัด DYNAMIC ขึ้นได้ สายที่ต่อระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับลำโพง อินเตอร์เฟส ระหว่างตัวเพาเวอร์แอมป์กับลำโพงนั้นนับเป็นจุดที่สำคัญยิ่งในการรับฟังเสียงจากระบบ เพราะไม่ใช่กรณีอย่างสายต่อระหว่างเครื่องซึ่งจะทำหน้าที่เพียงการนำพาสัญญาณในระดับ LOW LEVEL SIGNAL แต่สายลำโพงจะทำหน้าที่ในการนำพาโวลเตจที่สูงกว่า รวมทั้งตัวกระแสเองด้วยสายลำโพงจะทำงานควบคู่กันกับเพาเวอร์แอมป์และลำโพงที่ตัวมันเองต่ออยู่ ค่า แดมปิ้ง แฟคเตอร์ เป็นความสามารถของตัวแอมปลิไฟเออร์ที่จะใช้ในการควบคุมการขยับตัวของวูฟเฟอร์และใช้ในการขับสัญญาณออกไป ค่าแดมปิ้ง แฟคเตอร์นั้นจะมีความสัมพันธ์กับความต้านทานขาออกของเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ ในค่าความต้านทานขาออกที่ต่ำจะได้ค่า แดมปิ้ง แฟคเตอร์ที่สูง เมื่อเราต่อสายเข้ากับลำโพงและเพาเวอร์แอมป์ ค่าความต้านทานของสายจะเป็นตัวลดค่าแดมปิ้ง แฟคเตอร์ของเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ ดังนี้ถ้าเป็นไปได้เราก็ควรจะใช้สายลำโพงให้มีขนาดสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้และค่าความต้านทานในสายลำโพงเองก็ควรจะมีค่าที่ต่ำด้วย เพื่อช่วยเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้ได้เสียงดีที่สุดจากสายสัญญาณและสายลำโพง เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือการแต่งสาย อันหมายถึงการเชื่อต่อเข้ากับระบบ นักเล่นส่วนใหญ่ชอบที่จะรวบเอาสายทุกอย่างไว้ด้วยกันด้วยตัวมัดสาย อ้างว่าเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่การรวมเอาสาย AC สายสัญญาณ และสาย DIGITAL เข้าไว้ด้วยกันจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพื่อยังความเข้าใจให้เกิดขึ้นก็ให้นึกถึงการทำงานของ หัวเข็มแบบ MOVING - MAGNET แม่เหล็กเล็ก ๆ นี้จะเชื่อมอยู่กับคอยล์ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานในทิศทางหน้าและหลัง จากการวางลงบนร่องเสียงของแผ่นเสียง ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่กับสนามแม่เหล็กและตัวคอยล์ จะสร้าง ELECTRICAL CURRENT FLOW ให้เกิดขึ้นผ่านคอยล์ และเมื่อ ELECTRICAL CURRENT นั้นได้ถูกขยายสัญญาณให้มีความดังเพิ่มขึ้น และได้มีการแปลงสัญญาณสู่เสียงโดยลำโพง เราจึงได้ยินสัญญาณเสียงออกมาเป็นดนตรี ลักษณะเดียวกัน สัญญาณออดิโอที่ไหลผ่านตัวนำจะสร้างสนามแม่เหล็กล้อมรอบตัวนำ สนามแม่เหล็กนี้จะขยายอาณาบริเวณออกไปที่ความถี่เดียวกันกับสัญญาณออดิโอ ดังนี้ หากสายไฟ AC ที่มีความถี่ 60 เฮิรตซ์จากปลั๊กไฟที่ผนังบ้านไปสู่เครื่องเสียง จะสร้างเสียงรบกวนที่ความถี่ 60 เฮิรตซ์ ออกมากวนบรรดาสายสัญญาณต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้กัน เช่นเดียวกันกับสายสัญญาณที่เป็น DIGITAL ที่ใช้ในการเชื่อมต่อภายในภาคขับเคลื่อนของซีดีกับ ดิจิตอลโปรเซสเซอร์ จะกระจายคลื่นรบกวนความถี่สูงผ่านเข้าไปยังการเชื่อมต่อแบบอนาล็อก และแม้แต่กระทั่งสายไฟ AC เอง และถึงแม้คุณจะไม่ได้ยินสัญญาณรบกวดังกล่าว แต่แน่นอนว่ามันย่อมเกิดผลข้างเคียงกับเสียงดนตรีที่คุณได้ยินอย่างแน่นอน นั่นเป็นเหตุผลข้อแรกในการเซตอัพระบบด้วยการระวังสายไฟ AC ให้อยู่ห่างจากบรรดาสายเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง และสายลำโพงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าจำเป็นก็ควรจะให้สาย AC นั้นในมุมตรงข้าม อย่าให้วิ่งขนานกันเด็ดขาด ซึ่งการลากสายให้ตรงกันข้ามจะช่วยให้สัญญาณรบกวนที่มีหรือที่จะเกิดขึ้นลดลงได้ เกี่ยวกับเรื่องการลดสัญญาณรบกวนนี้มีหลักต่อไปว่าอย่านำเครื่องเสียงวางไว้ในชั้นเดียวกัน และเครื่องต่าง ๆ จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดวางเครื่องเสียงในชั้นใด ๆ ของมันโดยเฉพาะ และจะต้องให้ความสนใจกับการจัดลำดับเครื่องเสียงที่วางในชั้นวางด้วย อย่าวาง PHONO PRE-AMPLIFIER ใกล้ ๆ กันกับแหล่งสัญญาณที่เป็น ดิจิตอล อย่างเครื่องเล่นซีดี ภาคขับเคลื่อนซีดี และดิจิตอลโพรเซสเซอร์ หรือแม้แต่นำไปวางไว้ใกล้ ๆ กับเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ คุณยังจะต้องให้ความระมัดระวังในการล่ามสายที่เป็น DIGITAL INTERCONNECT ถัดจากสายสัญญาณที่เป็น ANALOG ตามวิธีการวางเครื่องเสียงที่กล่าวมา และยังจะต้องให้ความสนใจกับสายสัญญาณที่ลากจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง มาสู่ภาค PHONO INPUT ของ PRE-AMPLIFIER ด้วย เพราะสายสัญญาณคู่นี้จะนำสัญญาณที่ง่ายต่อการดูดซับเสียงรบกวนเข้าไว้ภายในสาย นอกจากนี้ยังมีเทคนิคบางประการที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้สายลำโพง และสายสัญญาณกับระบบเครื่องเสียงของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. เนื่องจากการเชื่อมสายสัญญาณมีการลดทอนประสิทธิภาพของสัญญาณที่วิ่งผ่านตัวมันเองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ดังนี้หากคุณใช้ความยาวของสายที่น้อย ๆ ก็น่าจะได้ผลกับเสียงที่ดีกว่า ดังนั้นควรจะพิจารณาให้สายลำโพงและสายสัญญาณนั้นมีความยาวที่พอเหมาะ 2. ดูแลให้สายลำโพงทั้งข้างซ้ายและขวา สายสัญญาณทั้งข้างซ้ายและข้างขวา มีความยาวเท่าเทียมกัน 3. ถ้าคุณมีสายที่ยาวอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นสายลำโพงหรือสายสัญญาณก็ตาม อย่าม้วนมันรวมเข้าด้วยกันที่ด้านหลังลำโพงหรือชั้นวางเครื่องเสียง เนื่องจากสาเหตุที่ว่าการม้วนสายรวมเข้าด้วยกันจะเป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะหรือบุคลิกลักษณะของเสียง หากจำเป็นให้ทำการลากสายที่ยาวนั้นให้ตัดขวางกับอีกเส้นหนึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ได้ 4. หมั่นถอดบรรดาสายลำโพงแลสายสัญญาณออกจากขั้วเพื่อทำความสะดาดขั้วต่อทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการทำความสะอาดขั้วต่อต่าง ๆ จะทำให้ทางเดินของสัญญาณนั้นดีขึ้น และทำให้เสียงที่ได้ยินดีขึ้นด้วย 5. เวลาเราต่อหรือถอดปลั๊กประเภท RCA ควรจะจับที่ตัวปลั๊กให้มั่นแล้วดึงออกมา อย่าใช้แรงถึงที่ตัวสายอย่างเด็ดขาด 6. ควรตรวจตราให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อบรรดาปลั๊ก RCA ต่าง ๆ โดยเฉพาะ SPADE LUG ที่อยู่บนตัวเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์กับตัวลำโพง พยายามให้พื้นที่สัมผัสระหว่างตัว SPADE LUG และขั้วต่อแน่นหนาเสมอ 7. หลีกเลี่ยงการหักมุมหรืองอสายสัญญาณและสายลำโพงอย่างรุนแรง www.wijitboonchoo.c om wav!! หัวข้อ: Re: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: CaMeO ที่ มิถุนายน 19, 2009, 11:16:58 pm ความรู้แน่นๆ เลยคับ THANK!!
"ขอบคุณคับผม" smiley4 หัวข้อ: Re: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: atm ที่ กันยายน 07, 2009, 09:32:24 pm ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: utd ที่ กันยายน 12, 2009, 06:57:23 pm เป็นความรู้ที่หาอ่านยาก เหมือนเป็นการรวมหนังสือหลายๆเล่ม เอามาไว้เล่มเดียว นับถือ THANK!!
หัวข้อ: Re: จุดสำคัญในการเลือกสาย เริ่มหัวข้อโดย: commora ♥500 ที่ กันยายน 25, 2009, 07:49:41 pm เป็นวิทยาทานที่ดีมากเลยครับ :D :D :D
|