พิมพ์หน้านี้ - รู้เรื่องเพศของมะละกอ..ก่อนปลูก

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ปลูกมะละกอ => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤษภาคม 03, 2013, 09:46:19 am



หัวข้อ: รู้เรื่องเพศของมะละกอ..ก่อนปลูก
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤษภาคม 03, 2013, 09:46:19 am
1. ดอกเพศผู้

(http://www.108yim.com/wp-content/uploads/2013/05/P1070527.jpg)

มีลักษณะเป็นก้านช่อยาวๆ และส่วนเกสรจะอยู่ด้านปลายก้าน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อ  แล้วแยกส่วนปลายเป็น 5 กลีบ  มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมียจะลดรูปลงเหลือเป็นเกสรเล็ก ๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดเป็นผลได้  แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 10 อันและเพศเมียอยู่น้อยมากจนแทบจะหาไม่เจอ  เพศผู้นั้นมักจะไม่ติดผลยกเว้นเสียแต่ในสภาพอากาศที่เย็นจัดๆ ความชื้นสูงอกเพศผู้อาจจะแปลงสภาพเป็นเพศเมียแล้วติดผล แต่ผลก็ได้นั้นไม่ค่อยมีคุณภาพ เนื้อบาง กลวง รูปร่างผลกลมหรืออาจจะบิดเบี้ยวผิดรูปจึงไม่ค่อยเป็นที่ต้องการของตลาด โดยส่วนใหญ่แล้วชาวสวนมะละกอจะโค่นทิ้งเพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

2. ดอกเพศเมีย

(http://www.108yim.com/wp-content/uploads/2013/05/P1070536.jpg)

มีลักษณะตูมบาน เกิดบริเวณข้อของลำต้น  มีก้านสั้น  กลีบดอกแยกออกจากกันทั้ง 5 กลีบ  เกสรตัวเมียมีขนาดใหญ่ เห็นเด่นชัด ไม่มีเกสรตัวผู้เลย ผลที่เกิดจากดอกเช่นนี้  จะมีรูปร่างกลมช่วงว่างในผลใหญ่ เนื้อไม่หนามาก และจะไม่มีเกสรตัวผู้จึงต้องคอยเกสรตัวผู้จากต้นอื่นเพื่อติดผล โดยลักษณะผลที่ได้จากดอกตัวเมียนั้นมักจะมีลักษณะกลม เนื้อบาง ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและเกษตรกรชาวสวนก็มักจะโค่นทิ้งอีกเช่นกันเพราะไม่คุ้มค่า หากแต่ท่านผู้อ่านจะปลูกไว้ดูเล่น ทานเล่นก็ไม่ว่ากันแต่ถ้าจะปลูกเพื่อเชิงการค้าขอแนะนำว่าควรจะโค่นทิ้งเพราะขายผลผลิตไม่ค่อยออก แม่ค้าตามตลาดหรือผู้บริโภคไม่นิยม

3. ดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกะเทย(มีสองเพศในอันเดียวกัน)


(http://www.108yim.com/wp-content/uploads/2013/05/P1070529.jpg)
มะละกอต้นสมบูรณ์เพศ ช่อดอกแตกแขนงสั้น อาจจะประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกันก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์เพศก่อนบานจะมีลักษณะเรียวยาว กลีบดอกส่วนที่เป็นหลอดจะหุ้มส่วนของรังไข่ ส่วนกลีบดอกที่แยกกันจะเปิดออกเมื่อดอกบาน ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นอับเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงรอบใต้ส่วนของยอดเกสรตัวเมีย เมื่อละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย ขณะดอกบานก็จะผสมตัวเองได้หรือแมลงพาเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกที่บานดอกอื่น หรือดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ทำให้ติดเป็นผล

โดยดอกสมบูรณ์เพศนั้นก็จำแนกได้ 3 แบบคือ

3.1 ดอกสมบูรณ์เพศแบบแพนเดรีย (Pentandria) นั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีรังไข่เป็นพลูและมีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่ที่โคนรังไข่ ทำให้ผลผลิตที่ออกมาเป็นพลูเหมือนทุเรียน จึงไม่เป็นที่นิยมของตลาด

3.2 ดอกสมบูรณ์เพศแบบอินเทอร์มีเดียท (Intermediate) คือ ดอกสมบูรณ์เพศที่มีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรังไข่ด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของรังไข่เมื่อผสมติดแล้วทำให้ผลมีแผลหรือบิดเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

3.3 ดอกสมบูรณ์เพศแบบอีลองกาต้า (Elongata) คือดอกสมบูรณ์เพศที่มีรังไข่ทรงกระบอกและอับเกสรตัวผู้เกิดบริเวณโคนกลีบดอก ดอกสมบูรณ์เพศแบบอีลองกาต้านี้จะได้ผลมะละกอเป็นรูปทรงกระบอกยาว ค่อนข้างเสมอต้นเสมอปลายหรือมีป่องท้ายบ้างเล็กน้อย เป็นที่ต้องการของตลาดและขายได้ราคาดี

**(เยอะนะ มะละกอเนี่ยะ ไหนบอกปลอกง่าย เอ้ยยยย  ปลูกง่ายไง) แฮะๆ ปลูกนะมันง่ายครับเพราะมะละกอเป็นพืชที่ทนพอสมควรเลยทีเดียวแต่หากจะปลูกให้ได้ผลดีนั้นคงต้องศึกษาวิธีการและวิธีบำรุงเสียเล็กน้อยเพื่อผลผลิตอันคุ้มค่ากับการลงทุนครับ**

ท่านผู้อ่านจะเห็นได้มีโอกาสแค่ 1 ใน 3 ที่จะได้ต้นมะละกอที่ดีที่สุดสมบูรณ์ที่สุดมาปลูก โดยส่วนใหญ่แล้วชาวสวนมะละกอมักจะเพาะเมล็ดไว้ 3-5 ต้นต่อหนึ่งถุงเพราะว่าไม่สามารถจะกำหนดเพศของมะละกอจากเมล็ดพันธุ์ได้นั่นเอง จึงต้องเพาะไว้หลายๆ ต้นเพื่อคัดเอาแต่มะละกอสมบูรณ์เพศที่ดีที่สุดในถุงนั้นๆไว้ปลูกเป็นต้นหลักและจะตัดที่เหลือทิ้งและจะเหลือไว้เพียงหนึ่งต้นเท่านั้น และมะละกอนั้นจะเริ่มออกดอกมาให้เห็นช่วงเดือนที่ 3 – 4 หลังจากที่ปลูกลงดิน

http://www.108kaset.com/board/index.php?topic=1581.0