พิมพ์หน้านี้ - ชาวไซเบอร์ฟังไว้! ระวังใช้สื่อออนไลน์ ช่วงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

ห้องคอมพิวเตอร์ => สนทนา-คอมพิวเตอร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 02, 2013, 08:47:39 am



หัวข้อ: ชาวไซเบอร์ฟังไว้! ระวังใช้สื่อออนไลน์ ช่วงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 02, 2013, 08:47:39 am
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนนี้ การใช้สื่อออนไลน์ส่งต่อข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มาแรงกว่าทุก ๆ ครั้ง นั่นเพราะยุคนี้เป็นยุคไซเบอร์ที่คนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น เลยไม่แปลกที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หลายคน จะเลือกใช้สื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์และขอคะแนนจากชาวไซเบอร์ ขณะที่ชาวเน็ตหลาย ๆ คนก็ใช้อินเทอร์เน็ตนี่แหละในการแชร์ข่าวสาร และโพสต์ข้อความเชียร์ผู้สมัครที่ตนเองชื่นชอบเช่นกัน

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตจะช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูล และส่งแชร์ต่อกันได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีข้อห้ามหลายเรื่องที่ชาวไซเบอร์ต้องพึงระวังไว้ รวมทั้งคนที่ชอบใช้มือถือถ่ายรูปแล้วแชร์ให้เพื่อนดู หากเดินเข้าไปในคูหาแล้วเกิดนึกสนุกแชะภาพขึ้นมา จะผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจเอา

          ลองมาฟังคำแนะนำจาก พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) ที่จะช่วยให้นักท่องเน็ตทั้งหลายไม่ทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ทีนี้จะมาอ้างว่าไม่ทราบก็ไม่ได้แล้วนะ

ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในช่วงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

           สามารถใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ตามสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องไม่ละเมิดผู้สมัคร

           หยุดการเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นการหาเสียง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 2 มีนาคม ถึงเที่ยงคืนวันที่ 3 มีนาคม ทั้งเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นสาธารณะ ส่วนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว แต่พึงระวังการนำออกมาเผยแพร่ในเว็บสาธารณะด้วย

           หากพบการเผยแพร่เนื้อหาเชิงหาเสียงในช่วงเวลา 18.00 น. วันที่ 2 มีนาคม ถึงเที่ยงคืนวันที่ 3 มีนาคม ถือว่ามีความผิดทางอาญา ผู้พบเห็นสามารถแจ้งตำรวจให้ดำเนินคดีได้ทันที โดยมีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท

           ห้ามถ่ายภาพการลงคะแนนบนบัตรเลือกตั้ง เนื่องจากกฎหมายระบุให้การลงคะแนนกระทำโดยเป็นความลับ เพราะอาจถูกร้องเรียนว่านำหลักฐานภาพถ่ายไปขายเสียงได้

           หากต้องการถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพหน้าหน่วยเลือกตั้งได้ แต่เมื่อเข้าสู่ปริมณฑลของการลงคะแนนแล้ว ไม่สามารถถ่ายภาพใด ๆ ได้ทั้งสิ้น

           การถ่ายภาพการชูบัตรเลือกตั้งสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ให้บุคคลอื่นมองเห็นว่าลงคะแนนให้ผู้สมัครคนไหน