พิมพ์หน้านี้ - วันแรกที่ซาอุฯ.

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => เล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิต => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 28, 2013, 12:45:14 pm



หัวข้อ: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 28, 2013, 12:45:14 pm
2521(1978) เดือนมีนาคม หลังจากได้ร่ำลาเพื่อนที่ดอนเมืองเสร็จ เวลาประมาฌเที่ยงคืนเชคอิน
ทางผู้โดยสารขาออก เจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือเดินทาง ประทับตราออก แล้วเดินไปตามทาง
ขึ้นเครื่องเรียกว่าเกต Gate (ร้ัว)หรือประตูทางออก (หมายเลข)มีที่นั่งรอขึ้นเครื่องบิน
ยังไม่เคยขึ้นเครื่องบินไปไหนไกลๆเลย โชคดีที่มีเพึ่อนเคยเดินทางมาแล้วเป็นผู้นำ
กราว์ดโอสเตทเรียกขึ้นเครี่อง ได้ที่นั่งตรงกลางลำ แถวละ10ที่นั่ง ตรงกลาง6ที่ ข้างละ2ที่

เป็นเครื่องโบอิ่ง747-200บันทุกผู้โดยสารได้ประมาณ400คน มันทั้งใหญ่และยาว ไม่น่าขึ้นจากพื้นดินได้
เดี๋ยวจะได้รู้กัน มันกำลังเคลื่อนที่ไปตามแท็กซี่เวย์ อุ้ยอ้ายเหมือนนั่งหลังช้าง ระหว่างนั้นมีแอร์โอสเตท
แสดงวิธีหนีออกจากเครื่องและใส่แจ็กเก็จหากเครื่องต้องลงน้ำ เครื่องบินจอดที่หัวรันเวย์เตรียมขึ้น

มันเร่งเครื่องเสียงดังกระหึ่มแล้วออกวิ่งไปตามรันเวย์ ประมาณ2500เมตร มันกระดกหัวขึ้นก่อน
ในท่าเอนไปประมาณ300เมตรจึงพ้นพื้น ทุกคนเงียบ เราอยู่บนฟ้าเหนือกรุงเทพฯ เครื่องกำลัง
เอียงเพื่อให้ตรงทิศทางตะวันออกลางที่หมาย ได้ยินเสียงสัญญาณปลดเข็มขัด ใครจะไปห้องน้ำก็เชิญ

สักพักพนักงานเขนรถเสริพน้ำ ชา กาแฟ เสียงถามผู้โดยสารเป็นภาษาอังกฤษ Water,Tea,Coffee
(วอเด้อร์)(ตี้)(คอปปี๊)สำเนียงแขก จากนั้นเสริพอาหาร เป็นกล่องคลุมด้วยฟลอยส์ร้อนๆ
ทุกอย่างกระทัดรัด น้ำหนักเบา กินอาหารเสร็จ พนักงานเก็บถาดเข้าซอง พวกเรานั่งคุยกันยังไม่ง่วง
อาจเป็นเพราะตื่นเต้นออกเดินทางตี๒โดยสายการบินJordanian air line ใช้เวลาเดินทาง๗ชั่วโมง็

ระหว่างทาง มองออกไปทางหน้าต่างเห็นไฟฟ้าเป็นกลุ่มๆหย่อมๆ ส่วนมากจะมึด เหมือนลอยไปเรื่อยงฟ้าเริ่มสว่าง
ไร้ที่หมาย เสียงเครื่องยนต์เจทปลายปีกครางสม่ำเสมอ นานๆจะทีสบัดเล็กน้อย อากาศดีไม่มีฟ้าฝน
มองที่ปลายปีกเห็นไฟกระพริบแว็บๆไปตลอด ผู้โดยสารบางคนนั่งจิบเหล้าเบีย บางคนอ่านหนังสือ
ตอนแรกมีหนังฉายให้ดู หนังจบก็ไม่มีอะไรให้ดูอีกแล้ว มันชั่งเป็นเวลานานจริงๆที่ลอยอยู่อย่างนี้

ท้องฟ้าเริ่มสาง มองเห็นน้ำทะเลสีดำ และเห็นแสงไฟเป็นจุดๆ น่าจะเป็นไฟจากบ่อน้ำมัน
เครื่องบินๆผ่านท้องทะเลสีคราม แสดงว่าเริ่มสว่างมากแล้ว เครื่องลดเพดานบินลง ได้ยินเสียง
กุ๊กกักใต้ท้องเครื่อง แล้วสัญญาณบอกให้รัดเข็มข้ดดัง เครื่องกำลังลง มองเห็นรันเวย์ทอดยาว
ไปทางหน้า เห็นทะเล บ้านชัดขึ้น พื้นทราย เสียงล้อแตะพื้น และเครื่องเร่งดังเพื่อเบรค

เครื่องบิน ถึงประเทศ Bahrain
(https://saqeralkhalifadotcom.files.wordpress.com/2012/03/bahrain-airport.jpg)

(https://blog.cavotec.com/wp-content/uploads/2009/11/bahrain_airport.jpg)
 ประมาณ๙โมงเช้าประเทศไทย ถอยหลัง๔ชั่วโมง (๖โมงเช้า)
ประเทศบาร์หเรนอยู่ห่างจากซาอุฯเพียง๒๔กม.เป็นเกาะเล็กๆ
(https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQrkXhIvuEEoo32O-BcOeC6F0fbzTj9qU0DHaKPt6eG2tT1XVq2yYcyg-1r)
ทางตะวันออก(มองแทบไม่เห็นในแผนที่โลก) รอเปลี่ยนเครื่องอีก๗ชม.ระหว่างนั้นไม่มีอะไรดีไปกว่านอนเล่น
บนโซฟาเทอร์มิน่อลสนามบิน มองไปรอบด้านเห็นเมืองบาร์หเรนอยู่ท่ามกลางทะเลทราย ไม่มีต้นไม้ หดหู่ใจ
เริ่มว้าเหว่ตั้งแต่ยังไม่เหยียบซาอุฯ จะรอดไม่หนอเรา เพื่อนที่เดินทางไปด้วยกันมี๖คน คนหนึ่งมีประสบการณ์
แล้ว นอกนั้นไม่เคยจากบ้าน แต่ทุกคนล้วนเป็นระดับหัวหน้างาน เขาส่งไปชิมลาง เวลาบ่ายโมงขึ้นเครื่องจาก
สนามบินบาร์หเรน

ลาก่อนนะบาร์หเรน เป็นเครื่องบินลำเล็กๆประมาณ๒๐ที่นั่ง ก่อนเครื่องบินขึ้นพนักงานเสริพ
แจกน้ำส้มคนละแก้ว แล้วเครื่องก็ทยานขึ้นยังไม่ทันถึงระดับเพดานบิน พนักงานรีบเก็บแก้วน้ำส้ม เครื่องลดเพดาน
ลงอย่างรวดเร็ว มองเห็นพื้นดินซาอุฯเป็นทะเลทราย มีบ้านเรือนเป็นหย่อมๆไม่มีสีสัน เครื่องบินลงที่สนามบิน
(https://www.google.co.th/maps/vt/data=Ay5GWBeob_WIPLDYoIWcfVXxvZu9XwJ55OX7Ag,tp5ZmZ7VmZ1cQKv674TAum-QkRWqyGeCwTrbOO8mIaKXnFiPdiedJtM9Rhk_R27f2znmOyRMoY4inR_FqExFGC5iCTHZKFw5-_9oRuAJpceIAiORgTmi8-TEZrDZ4Ki8RRzBmcRpaEImQ0oRSxBD19sNSbZjianuOA72ES9CuqL32T0z)
ตรงตัวAนั่นและครับ
(https://3.bp.blogspot.com/_6kmf47wv2Ro/S1ku3a1Cf5I/AAAAAAAAA8k/7mQwgTaTdaE/s400/LRDammam+Airport.jpg)
(https://4.bp.blogspot.com/-kFfEkKgMov8/TnJGDX4GYCI/AAAAAAAAChQ/g253qCkWMAU/s1600/F-Dhahran+International+Airport.jpg)

ดาห์ราน (https://www.wheelerfolk.org/military/23leaving/23_15lv.jpg)
ถึงแล้วซาอุดิอาราเบีย โอพระเจ้าออกจากเครื่อง อากาศร้อนแทบอยากกลับเข้าไปอยู่ในเครื่องอย่างเดิม
เดินแบกกระเป๋าสะพายไปขาเข้า Immigration เข้าแถวรอตรวจหนังสือเดินทาง ท่าทางเจ้าหน้าที่ไม่เป็น
มิตรเอาเสียเลย เสียงกระแทกตราประทับโป้งๆในหนังสือเดินทาง น่ากลัวจัง เมื่อได้หนังสือคืนแล้วไปรอรับ
กระเป๋าเสื้อผ้าสัมภาระ Luggage ที่่สายพานลำเรียง ได้กระเป๋าแล้วเอาไปเปิดให้ศุลกากรดู Custom clear

อะไรที่ประเทศนี้ไม่ปารถนาจะถูกโยนลงถังขยะทันที ยกเว้นยาเสพติด แขวนคออย่างเดียว ข้าวของต้องเอาออก
มาวางให้หมด ของกินที่ห้าม หมู ปลาร้าห้ามติดตัว น้ำมันหมู อะไรที่เกี่ยวข้องกับหมูห้ามหมด พระเครื่องห้ามนำ
ติดตัว รูปเปลือย เหล้า อะไรที่มีแอลกอร์ฮอร์ห้ามหมด อะไรที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นห้าม ยกเว้นอิสลาม ผมนึกไม่ออก
ว่าโดนทิ้งอะไรไปบ้าง เอาตัวรอดออกไปได้ก็ดีแล้ว
         
 ลากกระเป๋าไปรอคนรับที่รอรับอยู่ด้านผู้โดยสารขาออก ตรงนี้และที่พี่น้องไทยถูกลอยแพเพราะไม่มีใครมารับ
ผมโชคดีที่มีคนคอยรับ แต่โชคร้ายในภายหลัง เมื่อเจอกันแล้วทักทายกันเรียบร้อยแบบงงๆ จากนั้นคนไทยที่มารับ
พาไปพบแขกซาอุฯ เราถูกขายต่อไปโดยไม่รู้ตัว ขึ้นรถเชพโรเลตคันงามไปกลางทะเลทราย ระหว่างทางเรามึนๆงงๆ
เพราะง่วงนอน แต่ก็รู้ว่าเดินทางผ่านทะเลทราย เสียงเพลงอาหรับในรถที่แขกเปิดยังดังก้องหูจนถึงวันนี้
มันเป็นเพลงเกลี้ยกล่อมด้วยไวโอลีน และกลองแทมะลีน พิน สองข้างทางไม่มีต้นไม้และบ้านคน
จะมีก็แต่รถบันทุกค้นใหญ่ๆ ๑๐ล้อรถพ่วง๑๘ล้อ ทำไมมันทั้งสูงใหญ่ไม่เคยเห็นในบ้านเรา

โดยเฉพาะเบ้นซ์หัวแตงโม ตื่นเต้นกับบ้านเมืองที่กำลังพัฒนาเกินบ้านเราเพราะมีกำลังซื้อสูง
ซื้อทุกอย่างที่ทันสมัยรุ่นล่าสุด ถึงที่พักเป็นเมืองเล็กๆชื่อ แอ้บเคกค์Abqaiq
(https://www.outintheblue.com/images/1949_August_14_Air_view_of_Abqaiq_2J.jpg)
(https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRKLx9wDlkeKR-jT1rritZL32vFmyb2ivcUNFzDE4xRHNnikC9rZLE_05w)
ง่วงจังเลยขอเวลาหลับก่อนสักงีบนะครับ
 try!!แล้วค่อยพบกันใหม่ ติชมได้ครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 28, 2013, 02:05:10 pm
Abqaiq เป็นเมืองเล็กๆตั้งอยู่ใจกลางทะเลทรายห่างจากเมืองหลวงRiyadh ประมาณ๒ร้อยกว่ากม. แขกพาไปกินข้าว
ที่ร้านอาหารในเมือง เป็นอาหารอาหรับมื้อแรก มีแป้งสาลีผิง(โคปบุท)จิ้มด้วยไก่ย่างหมุน(ดีจ้า้ด) บรรยากาศในร้าน
เหมือนโรงเตี้ยม มีอ่างร้างมือเก่าๆเลอะเทอะ ที่แปลกใจคือน้ำไหลแรงกลางทะเลทราย ต้องหาคำตอบ กินเสร็จแล้ว
แขกพาไปที่พัก เป็นบ้านปูน๒ชั่นเก่าข้างในไม่มีอะไรเลย เหมือนทิ้งล้าง น่าจะเป็นบ้านเช่า ใจคอหดหู่เพราะไม่เหมือน
อย่างที่เขาบอกจากเมืองไทย แขกขนที่นอน หมอน ผ้าห่มมาให้ เตียงเหล็กเป็นแบบ๒ชั้น(https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTlOBCSAVcILOS7F1fBj0aClRd-zmnKTAtRL16Fpn8rmSJ4obg-kqrAwE9f9g) เคยเห็นแต่ในโรงเตี้ยมทหาร
ไม่คิดว่าจะได้นอนเอง จัดแจงช่วยกันประกอบเตียงเสร็จก็เกือบมีด เริ่มง่วงจนลืมตาไม่ขึ้น อาจเป็นเพราะเดินทางทั้งคืน

เลือกเตียงชั้นล่างข้างบนเป็นของเพื่อน วางเตียงเรียงตามมุมห้อง พื้นที่มีจำกัด เอากระเป๋าไว้ใต้เตียง ล้มตัวลงได้หลับทันที
 ตีสี่สดุ้งตื่นเมื่อมีเสียงดังลั่นที่ข้างห้อง ใครมาเปิดลำโพงฮอลข้างห้องเหมือนงานวัด ฟังไม่รู้เพราะเป็นเสียงแขก ถามพักพวกที่มาด้วย เขาบอกว่าเป็นเสียงเรียกสวด(ซาล่า) เราคงต้องนอนฟังไปตลอดแล้วจะอยู่ได้ไหมเนี่ย..?

 มองไปทางหน้าต่างเห็นฟ้าแดงสว่างเหมือนพระอาทิตย์ขึ้น นึกว่าสว่างมากแล้ว มันเป็นแสงไฟจากป่องควันโรงกลั่นน่ำมันนั่นเอง
เราคงนอนไม่หลับอีกแล้ว นั่งสนทนากันถึงอนาคตของพวกเราดีกว่า ยังหาที่จบไม่ได้ คงได้แต่คิดเดาไปต่างๆนาๆ
 เพื่อนคนหนึ่งออกไปซื้ออาหาร ได้ผักสลัด ไข่ แป้งผิง อาหารเช้า ทอดไข่ทำแซนวิช เตรียมตัวไปทำงานวันแรกเดี๋ยวแขกจะมารับ๗โมงเช้า ผมเรื่มคิดว่าไม่น่าอยู่ที่นี่ได้ ทำใจสู้เสือดูก่อนน่า

พรรคพวกปลอบใจให้เข้มแข็งไว้ แขกมารับแล้วไปกันเถอะ ๑๕นาทีถึงที่ทำงาน
อยู่ข้างๆโรงกลั่นน้ำมัน เป็นตู้คอนเทนเน่อร์เรียงกัน มีห้องทำงาน ห้องเก็บเครื่องมือ
พื้นเป็นฝุ่นทราย อากาศตอนเช้ายังคงหนาวอยู่ในเดือนมีนาคม แขกเจ้าของชื่อซาเดกซ์พาไปดูงาน
และสั่งให้แก้ไขเครื่องมือที่มีอยู่กองพะเนิน ดูไปก็ไม่ยากอะไร แต่มันเยอะแค่นั้นเอง ผมเริ่มรื้อเครื่องมือออกมากอง

ส่วนทีมงานได้แยกกันไปทำท่อเหล็ก พันยางทาน้ำยากันสนิม ถึงเวลาอาหารกลางวันผมจึงเอาแซนวิชไข่ที่เพื่อน
เตรียมมาจากที่พักออกมากิน อนิจจามันเหนียวจนเคี้ยวไม่ออก ผมค่อยๆแทะทีละน้อยน้ำตาจะไหลเอ่อ
ไม่คิดว่าจะเจอสภาพแบบนี้ คงเป็นเพราะอยู่บ้านเรายังไงก็ไม่ถึงขนาดนี้
ความที่ยังคุ้นเคยนี่เองบวกกับยังไม่รู้ที่ซื้อกับข้าวทำให้ท้อถอย บอกตัวเองว่าคงอยู่ได้ไม่กี่วัน
 วันนั้นทำงานได้ไม่ดีนักเหมือนไม่มีเรี่ยวแรง ตกเย็นเลิกงานกลับถึงที่พักผมเริ่มคิดหาทางเบี้ยวแขก

ปรึกษาพรรคพวกว่าไม่อยากอยู่ที่นี่เลย ซึ่งดูเหมือนพวกเขาจะเห็นด้วย วันรุ่งขึน
ผมจึงออกอุบายบอกเพื่อนให้คุยกับแขกว่าผมไม่สบายอยากไปหาหมอ แขกซักว่าผมเป็นอะไร ผมบอกไม่มีแรง
ทำงาน เขาว่าผมตรวจโรคมาจากเมืองไทยแล้วจะไม่สบายได้อย่างไร ผมบอกไม่รู้มันไม่มีแรง

แกล้งนั่งเฉยไม่ทำงาน(ใครอย่าเอาอย่างผมนะ)ผมหลอกแขกได้สำเร็จ เขาพาผมไปพบแพทย์
ก่อนเข้าห้องตรวจผมทำท่าหายใจแผ่วๆเบาๆเหมือนหมดแรง หมอถามผมเป็นอะไร
เจ็บตรงไหน ผมแกล้งฟังไม่รู้เรื่องส่ายหน้าแบบไม่เข้าใจ หมอลงความเห็นว่าเป็นโรคหัวใจอ่อน

ให้ยาบำรุงและบอกแขกว่าถ้า๒วันไม่ดีขึ้นให้รีบพาผมกลับไปส่งที่ต้นทาง ต้นทางคือเอเยนซี่ที่
รับผมที่สนามบิน (ล้วผมจะเล่าให้ฟังถึงวิธีการขายคนงานว่าเขาทำกันอย่างไร)แขกพาผมกลับที่ทำงานให้อยู่เฉยๆแถวนั้น ไม่ให้ทำงานหนัก ผมจึงนั่งๆนอนๆ พรรคพวกก็เป็นใจเหมือนผมไม่สบายจริงๆ
(เขาคงอยากรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผม) รุ่งขึ้นอีกวันผมก็ทำโน่นทำนี่แบบคนไม่มีแรง
(ถึงวันนี้ผมคิดว่าผมไม่น่าทำแบบนั้นเลย ไม่ใช่ความผิดของเขา)
วันที่สามคนไทยที่ไปรับผมที่สนามบินก็โผล่มา เขาถามผมว่าเป็นอะไรทำไมจึงไม่อยากทำงาน

ผมบอกไม่สบาย นายคนนี้มีประสบการณ์สูงเขาดูผมออก เขาพูดว่าถ้าไม่ชอบที่นี่ผมจะส่งคุณไปดูไบ ผมแอบดีใจอยู่ลึกๆยังไงก็คงดีกว่าที่นี่และแล้วเขาก็พาผมกลับไปที่เมืองDammam ใกล้ๆกับสนามบินDhahranนั่นและครับ ผมดีใจจนหายเจ็บป่วย ที่
จริงก็ไม่ได้ป่วยอะไรอยู่แล้ว ผมหลอกแขกได้สำเร็จ แต่จะเจออะไรหนักกว่านี้ยังไม่รู้
  
Abqaiq ยามราตรี
(https://gs-press.com.au/images/news_articles/cache/Saudi_Aramco_Shaybah1_development-600x0.jpg)
แนวเขตที่อยู่อาศัยและโรงกลั่นน้ำมัน
(https://bp3.blogger.com/_rQ_vaL8D7XQ/SA-X0QupoLI/AAAAAAAAASU/h5N_Mwy93v8/s400/abqaiq_residential.jpg)
มีสีเขียวบ้างเล็กน้อย
(https://cdn3.vtourist.com/6/3793309-Around_the_city_ABQAIQ.jpg)
ท่อน้ำมันดิบส่งไปโรงกลั่นและเชื่อมท่อส่งออกขาย
(https://www.stroytransgaz.com/media/11649/arabia_sheiba.jpg)
กำลังตรวจท่อน้ำมันด้วยเครื่องX-Ray
(https://gs-press.com.au/images/news_articles/cache/SHBAB-2_Pipeline_Project_Saydi_Arabia-0x600.jpg)
เครื่องสูบน้ำมันขึ้นจากบ่อแบบโบราณยังมีใช้อยู่
(https://cdn.timesofisrael.com/uploads/2012/08/shutterstock_2342872-635x357.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 29, 2013, 11:20:28 pm
เมืองDammam ดัมมั่ม (https://www.google.co.th/maps/vt/data=Ay5GWBeob_WIPLDYoIWcfVXxvZu9XwJ55OX7Ag,7q9w25O1_19s4OxfXK0IGDBIt4V6GW6GaZio3etUV4hSiINBorp6myJdh0a60yVCEyw8i1vllmII8o0b35RRV6g0h3iRG5n-D7rYTwB_FS27r1J7YUWC1udqu4dGPTzCvqW53SkNrG2fHVYt9wsDCX3uvCcRJHYe-49rL_eCyJ6_X6P10ElSBWqxtQDPnA)
(https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEzINqVQGm9HgCjjn11X9fzhgJOXQLumKNcblxTqIRaXjUYyFdCHvTm_E)
ผมเริ่มเรื่องว่าวันแรกในซาอุฯ เรื่องที่ผมจะเล่าต่อๆไปจะเป็นวันที่ยาวนานไปเป็นปี รวมทั้งเล่ห์เหลี่ยมกล
โกงและสารพัดทั้งไทยและแขกฝรั่งมีทั้งดีเลวตกทุกข์ ถูกลอยแพ ทำงานไม่ได้เงิน เงินเดือนออกเล่นการ
พนันหมด ไม่มีเงินส่งบ้าน เป็นที่มาของคำว่า"ไปเสียนา มาเสียเมีย" ก็แล้วแต่ว่าท่านอยากอ่านกันหรือเปล่า
ผมไม่อยากถูกว่า"คนแก่แล้วชอบคุยแต่ความหลัง"ผมอยากฝากไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้อะไรเป็นอะไรใน
ต่างแดน โดยเฉพาะประเทศซาอุฯ มีอะไรที่คิดไม่ถึงมากมายนัก กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยครับ thank2 ping!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มกราคม 30, 2013, 06:07:35 am
มานั่งชมตอนต่อไปครับ...

 ping!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2013, 02:18:53 pm
ขอบคุณครับท่าน(ปรีชา) eskimo_bkk-LSV team  thank2

         เมื่อเก็บของลาพรรคพวกที่Abqaiqเสร็จ ขึ้นรถคนไทยที่ไปรับกลับถึงเมืองDammamดัมมั่ม ผมได้เจอกับ
พี่น้องคนไทยที่มีปัญหาคล้ายๆกันมาอยู่รวมกันเป็นกระจุก ห้องนี้มีขนาด๔X๔ ตรม.มีคนนอน๑๐คน เตียงซ้อน๕ตัว
แน่นและไม่มีที่ไว้ของ เหมือนติดคุก แต่ทุกคนพูดคุยกันว่าดีกว่าหน้างานที่ไปมา เห็นด้วยอย่างเดียวคืออบอุ่น
ที่นี่มีคนไทยเป็นพ่อครัว ทำอาหารด้านข้างห้องนอน ตอนค่ำก็นอนที่เดียวกัน ผมได้เตียงชั้นล่างมุมหนึ่งของห้อง

คืนแรกนอนไม่หลับ มีเสียงคนกรนดังมาก ผมนอนเอามือสองข้างอุดหูแน่น พริกไปมานอนอย่างไรก็ไม่หลับ โอ้..
มายก๊อดฟาเซ่อ มีคนทนไม่ได้เหมือนผม อือ..ค่อยยังชั่ว พี่อินแกนอนใต้เตียงพี่ส่งที่กรนเสียงดัง แกใช้เท้าถีบใต้
เตียง พี่ส่งเงียบไปพักใหญ่ แล้วก็เหมือนเดิม ผมเปิดไฟหรี่ที่หัวเตียงที่ผมเตรียมไว้แล้ว อ่านหนังสือฆ่าเวลารอให้
สว่าง หลายคนคงนอนไม่หลับเพราะแสงไฟที่ผมเปิด แต่ผมไม่สนใจใครมากนัก ตอนนั้นผมทนงตัวว่าผมเก่งมีความรู้
เหนือพวกเขา พวกเขาต้องสยบให้ผม ผมคิดไปเอง คนอื่นเขาไม่คิดอะไรมากเพราะวันรุ่งขึ้นพวกเขาดีกับผมมาก

โดยเฉพาะพี่อิน พี่ส่งที่นอนกรน พี่อี้ดพ่อครัว ทุกคนออกปากให้ผมยืมตังค์และพาออกไปช้อปที่ตลาด(ซู้ค) ผมเข้า
กับพวกเขาได้ปรับทุกข์กัน อาการคิดถึงบ้านลดลง พวกเรามีประสบการณ์แตกต่างกัน อย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนพวก
เขาได้ทำงานกันมาบ้างหลายเดือนแล้ว รู้หนาวรู้ร้อนและพวกเขาต่อสู้มากกว่าผม ทางบ้านเขาลำบากมากบางคน
มีหนี้สินขายทุกอย่างหาเงินไปเสียค่านายหน้า จึงต้องอดทนไม่มีความจำเป็นต้องดิ้นรนกลับบ้าน ผิดกลับผมๆมา
จากเมืองไทยเพราะบริษัทจัดส่งต่องการตัว ผมจึงไม่เสียอะไรทั้งสิ้น นี่ก็เป็นเหตุที่ทำให้ผมเบี้ยวเอาง่ายๆ เมื่อมี
เพื่อนมีคนให้กำลังใจ มีข้อมูลรายละเอียดการทำงานที่ซาอุฯมากขึ้นผมก็คลายกังวล

ผมนอนฟังเสียงพี่ส่งกรนอยู่เกลือบ๑อาทิตย์ คนดูแลชื่อประพฤกพาผมไปพบฝรั่งอังกฤษที่เป็นหุ้นส่วนบริษัทแขกชื่อJim Walleys แกล้วงกระเป๋าออกมาโยนใส่ผมแล้วว่า"You make me broken"คุณทำให้ฉันหมดตัว ผมยืนงงๆไม่เถียง
แกมองหน้าผม แล้วพูดว่า "What shall I do for you"ผมจะทำอย่างไรกับคุณดี ผมบอก It's up to you.
 แล้วแต่คุณในใจผมคิดว่ากลับบ้านหรือไปประเทศอื่น ผมไม่ชอบประเทศนี้ ผมก็ได้แต่คิดเพราะผมวางฟอร์มไม่สบายแล้วนี่

เอาไงก็ได้ แกให้คนไปส่งผมที่บ้านหลังใหม่ เป็นบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ อย่างนี้ก็มีด้วย มีคนอยู่แค่๒คนผมกับอีกคน
หนึ่ง ท่าทางเป็นคนมีความรู้ทำงานด้านบริหารในสำนักงาน ผมรู้ในภายหลังแกเป็นสายเฝ้าดูอาการผมเพื่อรายงาน
ฝรั่งว่าผมเป็นอะไร ไม่สบายจริงหรือ แกบอกผมว่าแกกำลังรอวีซ่าไปประเทศดูไบ จะเอาผมไปด้วยหากผมหายป่วย

อย่างนี้ผมก็โอเคตกหลุมซี่ครับ ตอนกลางคืนพี่แกเอามือล้วงตรงหัวเตียงแล้วบอกเรานอนอยู่กับ Johnny walker
ดึงขวดขึ้นมา ผมสดุ้งเล็กน้อยประเทศนี้ห้ามเด็ดขาด มันเข้ามาได้อย่างไร มีตั้งหลายกล่อง ถ้าถูกค้นเจอเราติดคุก
ขั้นต่ำ๖เดือนและถูกโบยด้วยหวายทุกวันศุกร์ในที่สาธารณะ เป็นการตีโชว์เพื่อไม่ให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง พี่แกเปิด
ขวดเทใส่แก้วส่งให้ผม"เอาหน่อย" ผมไม่กล้ากินกลัวเผลอออกไปเดินแขกจับได้ แค่นอนอยู่ในบ้านเดียวกันก็หนัก
แล้ว นอนอยู่ที่บ้านหลังนี้อย่างสบาย๑อาทิตย์ คนที่สำนักงานมาบอกว่าเขาเตรียมเรื่องส่งผมไปประเทศดูไบ

ระหว่างรอวีซ่าขอให้ช่วยไปตั้งเครื่องปรับอากาศให้หมู่บ้านOgem BV ประมาณ๓๐๐ตัว ผมคิดว่าอย่างมากไม่เกิน๑เดือน
ให้เงินเดือน๒๕๐๐รียาล ผมตอบตกลง (แสดงว่าผมไม่ป่วย ผมถูกหลอกมั่งแล้ว) พี่สายลับแกลาผมไปดูไบในวัน
ต่อมา ผมนึกชื่อแกไม่ออกและไม่เคยเจอกันอีกเลย
หมู่บ้านที่ไปติดตั้งแอร์
ขอบคุณเพื่อนชาวฮอลแลนด์ที่ให้รูปTorenkraan
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6652085.jpg) 
Ogem compound
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/small/6652059.jpg)
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6850560.jpg) 

บ้านที่ยังไม่เสร็จ1978 ขอบคุณTorenkraan
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6233057.jpg)   

 ผมเริ่มทำงานวันแรกที่บ้านพักพนักงานเป็นพวกฝรั่งHolland ชื่อหมู่บ้านOgem bv มีช่างHolland ชื่อ
Petter ชื่อโหลมากสำหรับคนประเทศฮอลแลนด์ ขับรถมารับไปทำบัตรลงทะเบียนแล้วพาไปเอาเครื่องมือเข้า
หน้างานมีรถโฟลกลีฟสำหรับยกเครื่องแอร์ไปวางบนแท่น(https://www.yorkthai.com/upload/product/thumbnail/131-4785.jpg)  [/img] มีคนขับให้เสร็จ
 มีลูกน้องคนไทยอีกสองคน คุณPetterบอกขอแค่วันละสองตัวพอ หวานหมูซี่ครับ
 เมื่อต่อเครื่องเสร็จแล้วแต่ละตัวต้องHeat ก้นแท้งค์๘ชม.ก่อนจะทดลอง
เดินครื่อง ต้องอุ่นน้ำมันในคอมเพรสเซ่อร์ให้ร้อน ดังนั้นพอเข้าสายและต่อท่อลมเสร็จอุ่นเครื่อง รุ่งขึ้นอีกวันจึงย้อนกลับ
มาเดินเครื่อง ตอนกลางวันคุณปีเตอร์พาไปโรงอาหาร(Mess Hall)มีอาหารฝรั่งให้เลือกมากมายเหมือนในโรงแรม

มีกาแฟหอมกรุ่น กินอิ่มแล้วยังมีขนมปังแบบฝรั่งเศษทาเนยไว้เบรกตอนบ่ายอีก ลูกน้องคนไทยบอกชอบมากเลย
"ลูกพีต้องอยู่ที่นี่นานๆจนเสร็จนะครับ"ผมยังไม่รับปากอยากไปดูไบมากกว่า ทำได้สองสามวัน มีรถเทเล่อร์ขนแอร์
มาลงไม่หยุด เรียงรายไปตามถนนในหมู่บ้าน โอ้โฮ..อย่างนี้แล้วเมื่อไรจะเสร็จวะเนี่ย ผมรำพีงอยู่ในใจ ทุกวันทำงาน
ติดตั้งแอร์ไปอย่างไม่รีบเร่ง อากาศเดือนพฤษภาเป็นวันที่ผมจำไม่ลืม มันร้อนจนหาที่หายใจแทบไม่เจอ ประเทศอะไร
วะมันร้อนขนาดนี้ เครื่องมือที่เป็นเหล็กวางไว้ในร่มยังต้องใส่ถุงมือจับ

 มิน่าเล่าแต่ละหลังถึงใช้เครื่องแอร์ขนาด๕ตันแบบคอมเพรสเซ่อร์คู่ (๒State) ก็เพิ่งเคยเห็นที่นี่
และ ตอนกลางวันหลัง๑๐โมงเช้าถึงบ่าย๓โมง ผมมักจะหลบอยู่ในบ้านหลังที่เสร็จแล้วด้านนอก
บ้านบางวันมีพายุทรายพัดเหมือนที่เป่าผมมีทรายปนไงงั้นและครับ
ทำงานอยู่ประมาฌ๒เดือน อยู่มาวันหนึ่งแขกเอาเงินมาให้หลายพันรียาล ผมรับไว้แบบงงๆ
ถามคุณปีเตอร์แกบอกผมทำงานเกิน เทอร์โมสตาร์ทเป็นงานของผู้รับเหมาอื่นผมทำเสร็จทุกบ้านโดยเขาไม่ต้องจ้าง เขาจึงเอาเงินให้ อย่างนี้ก็มี
(https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR842Ifve_DSScSyJfks4xhlJwlM-OjJBcpjEvlzL0U6QgrMWi3ypmeK6A)
พายุ
(https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTM588ORtvV-5o3BCjWfEb60tmrJa61rvroJaEPgnwIATMYAv3zpBW4NR1c)(https://www.barascientific.com/bscnews/variety/mail-forward/images/article-08/15.jpg)



 
 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2013, 05:16:39 pm
พายุกำลังพัดเข้าหาบ้านพัก
(https://s.img.kapook.com/photo/232/kapook_world-230739.jpg)

เป็นอีกมุมของพายุทราย
(https://s.img.kapook.com/photo/232/kapook_world-230738.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2013, 06:35:56 pm
โอโห อยู่บ้านเรา นี่สุขดีแท้ เจอเมืองนอก แบบนี้

ไม่อาว ด้วย

 :o


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2013, 10:06:01 am
 :) บ้านเราเริ่มร้อนเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ตะวันออกกลางเริ่มร้อนพฤษภาคม-ตุลาคม
เป็นฤดูร้อนที่ยาวนานมาก บางวันร้อนถึง ๕๖องศาเซลเซียส เล่นเอาเครื่องแอร์ไ้ร้ความ
หมายไปเลย เครื่องปอส่วนใหญ่จะเบสออน Base on ที่ ๓๖องศาเซลเซียส อากาศ
ร้อนมากขึ้นเท่าไร ประสทธิภาพของเครื่องก็จะลดไปเรื่อยๆ ก๊าสไม่สามารถกลั่นตัวเป็น
ของเหลวได้ คอมเพรสเซ่อรก็จะร้อนตามไปด้วยเพราะไม่มีความเย็นกลับมาระบายความ
ร้อนให้ลวดมอเตอร์ ดังนั้นหากติดตั้งเครื่องแอร์ขนาดเท่าที่บ้าเราคำนวนกัน พอเข้าหน้า
ร้อนได้ไม่กี่วันคอมเพรสเซอร์ไปบ้านเก่า บ้านที่ซาอุฯจะใช้หม้อมิเตอร์ขนาด73A.ไฟฟ้า
ในบ้าน120/220V.60Hz. จะมีสายไฟเข้าบ้าน4เส้น เหมือนเราขอใช้ไฟ3สาย หาก
ใช้สายN-Hot line จะเป็นไฟ120V.และใช้Hot line-hot line จะเป็นไฟ220V.
มอเตอร์3สายจะเป็นไฟ 3-220V. เป็นระบบอเมริกา ข้อดีคือความถี่60Hz. ประสิทธิ
ภาพสูงกว่าบ้านเรา20% มอเตอร์ที่บ้านเรา4Poleหมุน1500รอบ/นาที หากใช้ไฟฟ้า
ที่ซาอุฯจะหมุน1800/นาที เพิ่มขี้น20% เครื่องปรับอากาศขนาด12000บีทียู/ชม.
จะเพิ่มขึ้นอีก2400บีทียูเป็น 14400บีทียู/ชม.
         ข้อเสียก็มีคือความถี่60Hz.เวลาชอร์ตหรือดูดคน จะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
ง่าย พวกแพทย์จะกลัวมาก
         อยู่กับเมืองร้อนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากและออกแบบคน
ละมาตรฐานกับบ้านเรา ทำงานไปสองเดือนกว่า ผมได้ย้ายบ้านไปอยู่รวมกับคนงาน
ทั่วไปเป็นอาคารหลังใหญ่มีหลายห้องมาก มีห้องครัว ห้องน้ำรวม มีดาดฟ้าที่มีก่อ
ผนังปูนท่วมหัวมองจากที่อื่นๆไม่เห็น ทาสีชมภูภายนอก ตอนหลังเรียกว่าตึกนรก
 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2013, 07:44:48 am
ไปอ่านเจอความคิดเห็นนี้มาขอลงไว้ก่อน แล้วผมจะเขียนเพิ่มเติมครับ
คำถามของผู้หญิงคนหนึ่ง smiley4

แฟนเป็นคนซาอุดี้คะ...หาห้องคุยไม่เจอเลยแอบเข้ามาบ้านนี้
เรื่องเปลี่ยนศาสนาค่ะ....แฟนบอกว่าแล้วแต่คุณนะว่าจะเปลี่ยนหรือไม้หลังแต่งงาน
แต่เท่าที่หาข้อมูลมา ค่อนข้างยากในการใช้ชีวิตร่วมกันถ้าเราไม่เปลี่ยน....
ยังไงขอความรู้จากผู้มีประสบการณ์มาแชร์ให้ความรู้ในการตัดสินใจครั้งใหญ่หลวงของลูกผู้หญิงในการแต่งงานด้วยนะคะ
( รับหมั้นไปแล้ว แฟนเพิ่งกลับไปได้สองอาทิตย์ และจะกลับมาหลังจากสิ้นสุดการถือศีลอดค่ะ) มาคุยเรื่อบแต่งงาน...ว่างั้น... เง่อออ ....

คำตอบ
จริงๆ แล้วรัฐบาลซาอุไม่อนุญาตให้คนของเค้ามาเมืองไทยนะคะ คือถ้าทางการรู้ เค้าจะไม่สามารถออกนอกประเทศได้อีกเลย 2 ปี แต่ถ้าแอบเข้ามาจากมาเลว่าได้อยู่  ส่วนเรื่องการที่จะมาแต่งงานกับคนไทยเป็นเรื่องค่อนข้างยากมาก เพราะเค้าต้องได้รับอนุญาตจากรัฐก่อน เพราะ ผญ บ้านเค้ายังมีอยู่เยอะมาก อยากให้ดูดีๆก่อนนะคะ ส่วนเรื่องจะแต่งงาน เคยทราบมาว่าถ้าเป็นคนซาอุดี้ ต้องมีใบอนุญาติหรือรับรองจากทางประเทศเค้าก่อน ถึงจะทำการแต่งงานได้ถูกต้อง คุณต้องเปลี่ยนศาสนาด้วยนะคะ ถ้าไม่อย่างนั้นคุณจะไม่สามารถไปอยู่ในประเทศเค้าได้ แต่ถ้าเค้าบอกคุณว่าอะไรยังงัยก้ได้ คุณโดนหลอกแน่ค่ะ ยังงัยถ้าจะแต่งงานลองโทรไป สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เรื่องเอกสารต่างๆนะคะ คุณต้องมาแต่งที่นี่ที่เดียวค่ะ ส่วนถ้าคุณแต่งแล้วจะมาอยู่ที่นี่ ขอบอกว่าเหงามาก คนที่นี่ไม่พูดอังกฤษกันมากเท่าไหร่ ความอิสระคุณจะมีน้อยลง วัฒนธรรมหลายอย่างแตกต่างกันมาก ไม่มีโรงหนัง ผับ บาร์ มีแต่ห้าง คุณไม่สามารถจะเดินออกจากบ้านไปคนเดียวได้เหมือนอยู่เมืองไทย แต่งตัวต้องมิดชิด ถ้าครอบครัวเค้าเคร่งครัด คุณจะต้องปิดทั้งหน้าเลย คุณจะทนได้มั้ย อันนี้แค่เบาะๆ ยังมีอีกมากมายที่คุณต้องรู้ค่ะ

ดิชั้นไม่ใช่สะใภ้ซาอุ แต่เป็นสะใภ้อียิปต์ที่ต้องมาอยู่ซาอุ สามีก้เคร่งครัดระดับนึง บางอย่างเราทำไปเราไม่คิดอะไร แต่สามีบอกว่า ไม่ได้ ก้มีเยอะ รักชอบกันไม่ผิดหรอกค่ะ แต่ศึกษากันดีๆ เพราะถ้าแต่งงานไปจะต้องอยู่กันอีกยาว และต้องมีความอดทนมาก เพราะต่างคนต่างมาจากคนละที่ ถูกเลี้ยงดูต่างกันค่ะ ยังงัยก้ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ขอให้โชคดี
https://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=41643 (https://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=41643)
 smiley4


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ ตึกสีชมพู.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2013, 08:23:22 pm
ตึกสีชมพู ตั้งอยู่ไม่ห่างจากสนามกิฬาDammam stadium ประจำเมือง Al Dammam Al มีความหมายว่าเมือง
 (https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/45763888.jpg)
กำลังแข่งบอล
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/4358524.jpg)
ปูด้วยหญ้าเทียม1978
(https://sketchup.google.com/3dwarehouse/download?mid=7b1fefc3fbcc6265df689935858d8bb1&rtyp=lt&ctyp=other&ts=1282144713000)
เวลามีกิฬาที่ดาดฟ้าตึกจะสว่างไปด้วย ตึกนี้มีคนงานทุกอาชีพอยู่กันแน่นทุกห้อง แต่ละห้อง
มีเตียง๒ชั้นเรียงกันมีที่นั่งแค่ห้อยขาเท่านั้น บางวันผมไปนั่งที่ห้องกินข้าวดีกว่า ตอนกลางคืน
จะมีวงไฮ-โลบนดาดฟ้าทุกคืน บ้านนี้มีพ่อบ้านชื่อพี่สงบ ผมเรียกแกว่าผู้ใหญ่หงบ แกเองก็ชอบ
เป็นเจ้ามือในบางคืน ตอนกลางวันผู้ใหญ่แกมีหน้าที่ดูคนงานที่เบี้ยวแอบนอนตามห้อง แกจะเอา
ไปส่งที่หน้างาน แกไม่ยอมให้ใครเบี้ยวง่ายๆ ผมก็เึคยขี้เกียจไปทำงาน โดยบอกแกว่าปวดหัว

แกจะไม่ยอม แกจะพาไปหาหมอ ให้ยากิน แกต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน ผมสนิทกับแกมาก
คนอื่นจะเกรงใจ ตึกนี้มันเต็มไปด้วยเสือสิงห์ เขี้ยวลากดิน บางคนมันไม่ได้คิดจะมาทำงาน
มันมาเพื่อเล่นการพนัน พวกนี้นิ้วมันฝังแม่เหล็ก เวลาจับถ้วยไฮ-โลเทลูกดิ้นเปลี่ยนหน้าทันที
ไอ้จิตเป็นลูกน้องผม เจ้ามือตัวยง มันเคยเปิดถ้วยให้ผมดู ผมยังแทงไม่ถูกเลยครับ ผมจะเล่น
นานๆสักครั้ง เสียนิดหน่อยผมก็ไปนอนแล้ว ผมรู้ว่าไอ้พวกนี้มันมีทั้งหน้าม้ารวมหัวกันกินหมู
ใหม่ๆอย่างเอร็ดอร่อย น่าสงสารบางคนที่เป็นเหยื่อ ในวงการพนันไม่ปราณี ไม่มีการสงสาร

ก็ขนาดลูหน้องผมมันยังแกล้งเปิดถ้วยให้ผมแทง แล้วมันก็ยักไปกินซะเอง ไม่มีพี่ไม่มีน้อง
ไม่มีลูกน้อง-นาย กินเรียบ ลูกน้องผมบางคนมันทำงานทั้งปีไม่ส่งเงินกลับบ้านเลย ตึกนี้
มันเป็นตึกนรกสีชมพูในสายตาของคนเป็นเหยื่อ แต่มันเป็นแหล่งหารายได้ของนักพนันอาชีพ
ผมยังคงทำงานอยู่ที่เดิม บางวันเจอพายุฝุ่นทั้งวัน ตกเย็นกลับถึงตึกไม่มีน้ำอาบ แล้ว
จะนอนได้อย่างไร ตัวเหนียวเหมือนกระดาษทราย ผมหาทางเอาน้ำด้วยการถอดท่อน้ำในบ่อ
พักออกแล้วหาถังรองเอาพอเชดตัว น้ำในซาอุฯกลั่นจากน้ำเค็ม น้ำที่ใช้อาบจะผ่านขั้นตอน
หยาบๆเป็นน้ำกร่อย อาบเสร็จตัวก็ยังเหนีบวอยู่ น้ำที่ใช้อาบต้องดึกๆจึงจะหายร้อน โดยปกติ
ผมจะอาบน้ำประมาณสี่ทุ่มไปแล้ว แต่วันไหนต้องถอดท่อน้ำออกก็ต้องเที่ยงคืนจึงจะได้น้ำ
อาบ
 และจะมีอีกหลายคนเข้าคิวรอ น้ำที่ซาอุฯและแชมพู เฮดแอนด์โชลเด่อร์ ทำให้ผมเป็นสีขาวเร็ว
ผมใช้ได้ไม่นานหัวขาวไปเยอะเลย อาหารเช้าและเย็นต้องกินที่ตีกนี้ เนื้อสัตว์ที่เจอทุกวันคือ
ไก่ เนื้อวัว นานๆจะมีปลา ผักประจำคือสัปรดกะป๋อง ไข่น้ำมีประจำ ผัดมะเขือ ปลากะป๋อง

ต้มยำ คนอีสานไม่ค่อยบ่น กินง่าย นอนง่าย ผมโชคดีที่มีอาหารกลางวันที่แค้มป์ฮอลแลนด์
เมื่ออยู่ไปนานเข้า ก็จะรู้ที่ซื้อผลไม้แอปเปิ้ล กล้วยหอม วันศุกร์เป็นวันหยุดหนึ่งวัน ใครมีเงิน
ก็ไปเดินหาซื้อเครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เมือง Al Khobar อยู่ห่างไปประมาณ๒๐กม.
นั่งแท็กซี่ไปกันหลายๆคน (แชร์) แบ่งกันออกคนละ๕-๑๐รียาลส์ นั่งได้สี่ห้าคน รถแท็กซี่
ที่นั่น จะเป็นเชฟโรเลตคันโต นั่งสบายแอร์เย็น (https://olavsplates.com/submissions/sa_adb154.jpg)

แท็กซี่สนามบิน
(https://images.alarabiya.net/02/20/640x392_15519_235333.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2013, 09:26:22 am
รุ้นที่เคยนั่งเดี๋ยวนี้หายากแล้ว
(https://www3.artflakes.com/artwork/products/228642/poster/228642.jpg)
ร้านแมกโด
(https://arabiczeal.com/wp-content/uploads/2011/05/McD-in-SA.jpg)
การถ่ายรูปที่สาธารณะไม่ใช่เรื่องถูกกฏหมาย ได้เฉพาะบางท้องที่เท่านั้น ห้ามถ่ายรูปผู้หญิง ผู้หญิงออก
นอกบ้านไม่มีผ้าคลุมศรีษะจะไม่ได้รับสิทธิตามหลักศาสนา ไม่อนุญาติให้ผู้หญิงขับรถยนต์หรือมอไซด์
ประเทศนี้ใช้หลักศาสนาเป็นกฏหมาย อย่าคิดตามหลักสากลเป็นอันขาด ห้ามวิจารณหรือพูดคุยว่ากล่าว
ดูถูกข้อบังคับทางศาสนา เป็นการเสี่ยงมากที่กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ ห้ามพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่ใช่ญาติหรือ
ภรรยาในที่สารณะ คนซาอุฯที่อยู่รอบกายเราอาจเป็นตำรวจขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ไม่สามารถวางใจได้ คนซาอุฯ
มีน้ำใจเรื่องเวลา พวกเขาไม่รีบร้อน คุยได้นานๆ หากหลงทางเขาจะไปส่งถึงที่ ถ้าเรารับพวกเขาขึ้รถเราก็
ต้องส่งถึงที่เหมือนกัน ธรรมเนีบมของเขาเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เป็นอย่างมาก คนไทยอดทนสูงโดยเฉพาะ
คนอีสาน ทำงานดี ข้อเสียของคนงานไทยคือไม่เข้าใจเรื่องภาษาและการสื่อสาร ต้องมีผู้นำ หากได้ผู้นำ
ที่ไม่สนใจประเภณีของเขา ก็จะมีแต่เรื่องลำบากทุกเรือง หากมีการส่งคนงานไปทำงานที่ซาอุฯอีกผม
ขอแนะนำให้เปิดอบรม ขนบธรรมเนียมประเภณีที่เขาห้ามเป็นข้อแรก และหลักศาสนาพอสังเขปเป็นข้อ
ต่อไป และข้อต่อไปคือสิ่งผิดกฏหมายที่ประเทศนี้เข้มงวดมาก เช่นห้ามดื่มของมึนเมา (โทษขัง เฆี่ยน
เนรเทศ ห้ามดูมีหนังเอกซ์ไว้ในครอบครอง (โทษ ถอดเล็บ เฆี่ยน) ห้ามลักขโมยของ (โทษ ตัดนิ้ว
ข้อมือ) ห้ามข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่ไม่ใช่ภรรยา(โดยเฉพาะหญิงซาอุฯ)โทษประหาร
ห้ามปล้นเป็นโจร (โทษแขวนคอ) โทษหนักๆทั้งนั้น และไม่มีสถานทูตไหนช่วยได้ หากเราเข้าใจ
ประเภณีและข้อห้ามก็อยู่ได้โดยไม่ถูกรังแกและโกง เจ้าเมืองที่นี่มีอำนาจมาก สามารถชี้เป็นตายได้
เจ้าเมืองส่วนมากมาจากเจ้าชาย พระเจ้าซาอุฯองค์แรกมีพระชายาที่ถูกต้องตามกฏถึง๔๐๐พระองค์ จึง
มีพริ้นซ์มากมาย ถ่ายทอดพระราชอำนาจไปทุกหัวเมือง กฏหมายมีไว้ใส่ลิ้นชัก ศาสนาออกหน้ามากกว่า
ผู้นำศาสนาเคร่งครัดมาก พริ้นซ์ทั้งหลายอยู่เหนือกฏหมาย เรียกว่ากฏหมายไม่มีความหมายสำหรับราชวงค์
(ตามที่ผู้เขียนได้ประสบมา) คนทั่วไปมีชั้นวรรณะไม่ต่างจากอิยเดีย จนส่วนจน รวยส่วนรวย มีระดับชั้น
คนจนไม่มีโอกาสแต่งงาน ไม่มีเงินขอลูกสาว เคยเห็นแขกมีเด็กเกิดใหม่ที่โรงพยาบาล คนเป็นแม่นอน
เอาผ้าคลุมหัว ไม่ให้ใครเห็น เสียใจ อายเพราะได้ลูกชาย(มีลูกสาวแล้วรวย) คนซาอุฯมีหลายเผ่า
มาก บ้างไม่สนใจเมือง เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนไปตามชายเขา แพะ แกะ ใช้เต้นท์เป็นกระโจม
(https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcStCS4bEOa_XAbx_wFZjYuQnF5Vpj0l6YS6aNMT6efYNOsBLFfl2Q)
พวกเขาไม่ลำบาก มีรถบันทุกน้ำ มีรถจี้บโฟว์วิล มีกำลังซื้อมากกว่าคนจนในเมือง
(https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSnIXGa8ya7rTEaOOYmSnuf87HDq7fvgfvbqo-K_ba99jUCR2We)
แหล่งน้ำที่หายาก
(https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQniwyTbEpzQE8QKcX8BUwyDw360nUNeNXPHj65qZgFLNxgE216)
แขกจะไม่อนุญาติผู้หญืิงพบคนที่ไม่ใช่ญาติ ดังนั้นเราำไม่สามารถพบได้ นอกจากนัดพบเท่านั้น
แขกผู้ชายจะนัดเวลาและจะให้เราพบหรือเขาจะมาพบเราสดวกกว่า บางทีก็ไม่สามารถพบได้
นึกอยากมาก็มา ไม่คุ้นเคยกับการนัดหมาย หาตัวยากมาก ไม่มีที่อยู่แน่นอน บ้านไม่มีเลขที่
ทุกคนต้องเปิดไปรษณีย์บ็อกซ์ (ตู้ป.ณ)และต้องไปไขเอง นี่เป็นอีกสาเห็ตุที่คนงานไม่ค่อย
ได้รับจดหมายจากทางบ้าน นานๆแขกจะไปไขเอามาให้ สมัยนั้นใช้โทรเลข(เทลเล็กซ์)
ดีที่สุด แต่ค่าใช้จ่ายแพงมาก ประมาณ๕๐๐บาทต่อครั้ง โทรศัพท์ไม่ต้องพูดถึงเวลาต่าง
กัน๔ชั่วโมง คิวต่อสายยาวมากและต้องไปที่ชุมสายเท่านั้น เครื่องหยอดเหรียนมีแต่ไม่
มีใครให้แลกเหรียน ต้องใช้เหรียนเยอะมาก 



 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ ตอนการมีรถและขับรถยนต์.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2013, 08:55:09 am
กฏจราจร
         จราจรซาอุฯจะไม่ยอมรับใบขับขี่สากล (จราจรอ่านไม่ออก) ดังนั้นจำเป็นต้องเอาใบขับขี่
ของเราไปรับรองเอกสารที่สถานทูตไทย แล้วเอาไปเปลี่ยนเป็นของซาอุฯ ขอยืมมาจากgeniusbot.com
 (https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRAeEe84RoxnC-4PRsel0zqJ0mQ1K_LPtTUGP5CrgBFLQ2wYECBAA&t=1)
ออกเสียง (รกซ่า)
หากไม่มีใบอนุณาติ ต้องติดคุกก่อน๓-๗วัน ต้องรอให้Sponsor มารับตัวออก บางคน
ติดหลายวันเพราะsponsorหาตัวไม่เจอ ไฟเหลือง ห้ามฝ่าเด็ดขาด หากมีจราจรเห็น
จะถูกตามตัวทันที(ขัง๓วัน) ประเทศนี้ไม่เอาค่าปรับ มีเงินเยอะ ตำรวจส่วนใหญ่จะตัว
เล็กๆ แต่อำนาจล้นฟ้า ตำรวจเล็กจับจะไม่ยอมให้นายปล่อยง่ายๆ ขึ้นอยู่กับความพอใจ
ซะเป็นส่วนใหญ่ เคยเห็นตำรวจเล็กไม่ยอมลุกให้นายตำรวจนั่งเก้าอี้ นายตำรวจที่มาที
หลังต้องนั่งพื้นหรือยืน โรงพักจะไม่สนใจพูดคุยกับคนต่างชาติ ต้องเป็นคนของเขาเท่านั้น
หากขับรถชนคนตาย ต้องติดคุกจนเจ้าทุกข์พอใจ บริษัทต่างชาติใช้วิธีส่งคนงานออกนอก
ประเทศทันทีก่อนถูกจับ รถยนต์ที่มีอุบัติเหตุ ต้องได้รับอนุญาติให้ซ่อม จึงจะเคาะพ่นสีได้
 หากฝ่าฝืนปิดอู่ ถ้าโดนตำรวจยึดรถไปจอดโรงพัก ส่วนมากไม่ได้รถคืน (ตำรวจทำหาย)
หรือเอาไปจอดที่เก็บของเก่า การขโมยรถยนต์มีน้อยมากหรือไม่มี การโอนทะเบียนทำได้
ในพริบตา
(https://3.bp.blogspot.com/-bhunZVKc6y4/UPFWqhIngbI/AAAAAAAAAJ4/Q5ERbPxPGqk/s1600/istimara-saudi.png) Typical Istimara/Vehicle Registration Card for private cars ทะเบียน (ติมารา)เต้นท์ขาย จะมีเจ้าหน้าที่รับโอนทันที
ทั้งนี้ต้องมีใบขับขี่แสดงเท่านั้น การขับรถประเทศนี้เหมือนอเมริกา ขับด้านขวา พวงมาลัยอยู่ด้านซ้าย เวลากลับ
บ้านเราจะงง

หายากมากใบขับขี่ผู้หญิง ประเทศนี้ยังไม่อนุญาติให้ผู้หญิงขับรถยนต์ ในปี1980
นี่เป็นเจ้าหน้าที่อเมริกัน อเมริกันมีดเพาเว่อรมาก บีบบังคับ
(https://www.twitpic.com/show/full/5ihozy)
ปี2011 ก็ยังไม่อนุญาติให้ผู้หญิงขับรถยนต์

  Four women are reported to have been arrested for driving in Jeddah, Saudi Arabia on Tuesday. It is not a crime for women to drive, but religious police enforce a tradition of women not being allowed to get behind the wheel. Women must wait to be escorted in cars by male relatives. Normally arrests are for a brief period of time, although campaigner Manal al-Sharif was detained for several days at the end of May. Dozens of women took to the road in Saudi Arabia in mid-June in protest at the tradition, and are now moving their focus to campaign for driving licenses.
นี่เป็นอีกภาพที่หาดูได้ยากมาก
(https://1.bp.blogspot.com/_0XWksgW7VS4/S9BpXtP4eAI/AAAAAAAACSs/BwNTZZcbPNE/s1600/woman_driver[1].jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯตอน เวลาละหมาด.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2013, 08:00:15 am
เสียงเรียกสวดจะได้ยินทั่วไปไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน วันละ๕เวลา ใช้เวลาครั้งละประมาณ๑๕-๓๐นาที ก่อนเข้าสุเหร่า(Mosque)คนไทยออก
เสียงเป็น มัสยิด อาหรับออกเสียง "มอสจ์" กำลังซื้อของร้านจะปิด บางทีต้องออกจากร้านไปก่อน บางทีจ่ายเงินไปแล้วยังไม่ได้ของ
เขาจะพูดว่า "After Sara" ซาร่าคือไปทำละหมาด การเข้าสุเหร่าวันละห้าเวลาตั้งแต่เวลารุ่งอรุณ เที่ยง บ่าย พระอาทิตย์ตกดิน และกลางคืน
ชาวมุสลิมอาจจะทำการละหมาดได้เกือบทุกสถานที่ เช่น ในกลางทุ่ง สำนักงาน โรงงาน หรือในมหาวิทยาลัย ทำให้
ชาวมุสลิมเคร่งศาสนาไปโดยปริยาย ก่อนเข้าสุเหร่าทุกคนต้องชำระล้างมือ เท้า หน้า รูหู และส่วนล่างให้สอาด หากไม่มีน้ำให้ใช้อะไร
ที่เชดได้ทำความสอาด ร้านค้าในเมืองที่ผมเห็นทั่วไปจะไม่มีห้องน้ำ ทุกคนต้องไปใช้ที่สุเหร่า เป็นวิธีที่ทำให้คนต้องไปสุเหร่าเป็นประ
จำ(ไปพบพระเจ้า)Allarh(อัลล์เลาะฮ์) ดังนั้นทุกคนจึงกลายเป็นคนเคร่งศาสนา ผู้นำศาสนา(อิหม่าม)Mustawa มุสตาฟา จะเดินตรวจ
และตะโกนเสียงดังให้คนไป"ซาร่า" เสียงลำโพงฮอลล์จะดังลั่นว่า"อัลลล่าร์วาโหคะบัต"ๆๆๆๆ จนกว่าทุกคนจะเข้าสุเหร่าหมด สุเหร่า
มีติดๆกันมากยิ่งกว่าวัดไทยในเมือง ผมก็แค่ได้ไปยืนอยู่แถวหน้าสุเหร่า ทำละหมาดไม่เป็น

สุเหร่าฮารามที่นครเมกกะห์
(https://www.islam-guide.com/th/ch3-16-5-img1.jpg)
ผู้แสวงบุญกำลังละหมาดอยู่ในสุเหร่า ฮาราม ในนครเมกกะห์ ภายในสุเหร่าแห่งนี้จะมีกาบา (สิ่งก่อสร้างสีดำในรูปภาพ) ซึ่งชาวมุสลิมจะหันหน้าเข้าหาขณะทำการละหมาด กาบาเป็นสถานที่สักการะซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้พระศาสดาอับบราฮัมและพระราชโอรสอิสมาเอล สร้างขึ้น

มัสยิด
(https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTDbYgGW7sUdQr67vZa2Ba_C9ifr2u6xrRJ2v6tGWhJ0q7W2szv)
ทำได้ทุกที่หันหน้าไปทางเมกกะห์
(https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT789vk1_yt4PBT59yrdUByYZrx28iOjs006Fv6Ok4LSBKPZacx_RQ84XmL)
ทุกคนจะพร้อมเพียงกัน
(https://www.muslimthaipost.com/gallery/images/2552/ramadan/palestine/01-03.jpg)

ผู้เขียนมิได้เป็นมุสลิม เขียนตามความเข้าใจ ไม่มีเจตตนาดูหมิ่น หรือเหยียดหยาม ยินดีที่จะแก้ไขหรือลบออก ผิดถูกอย่างไรขออภัยไว้ณ.ที่นี้

อ้างจาก
https://www.islam-guide.com/th/ch3-16.htm
การละหมาด

ชาวมุสลิมจะทำพิธีละหมาดวันละห้าครั้ง ในการละหมาดแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่เกินครั้งละสองสามนาที การละหมาดในศาสนาอิสลามจะเป็นการติดต่อกันโดยตรงระหว่างผู้ละหมาดกับพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีสื่อกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับผู้ละหมาดแต่อย่างใด.

ในการทำละหมาด บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกเกษมศาน สันติและสบายใจอยู่ภายใน และนั่นก็หมายความว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงยินดีกับเขาหรือเธอผู้นั้น พระศาสดามูหะหมัด  ทรงตรัสว่า {บิลาอัล เรียก (ผู้คน) มาทำละหมาด ให้พวกเรารู้สึกสบายจากการละหมาดนั้น.}2  บิลาอัล (Bilal) คือหนึ่งในพระสหายของพระมูหะหมัดซึ่งมีหน้าที่เรียกผู้คนมาทำละหมาด.

การทำละหมาดจะกระทำในเวลารุ่งอรุณ เที่ยง บ่าย พระอาทิตย์ตกดิน และกลางคืน ชาวมุสลิมอาจจะทำการละหมาดได้เกือบทุกสถานที่ เช่น ในกลางทุ่ง สำนักงาน โรงงาน หรือในมหาวิทยาลัย


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ 7เดือนผ่านไป.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2013, 08:17:08 pm
ยังคงทำงานที่Dammamต่อไป
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a9/Sign_to_Dammam.jpg/800px-Sign_to_Dammam.jpg)
อีกมุมเมือง
(https://www.elgeducationalseาrvices.com/images/dammam1.jpg)
ค่ำคืน
(https://4.bp.blogspot.com/--s_wgMtOeRk/Tf4-E5V36qI/AAตึกHirabAAAAAAAIg/x7zE9raU6Ug/s1600/dammam+2.jpg)

เดือนที๘ได้ย้ายมาทำงานที่ตึนี้ Hirab Project
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/5557955.jpg)

มองจากHirabไปดัมมั่ม
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6673259.jpg)

ออฟฟิสฝ่ายก่อสร้างเรียงรายอยู่ด้านหน้า
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6674190.jpg)สำเร็จ

กลับจากหมู่บ้านOgem BV ก็มาทำงานต่อที่ตึกนี้และครับ
อาคารนี้มี8ชุด ชุดละ4ตึก รวมเป็น32ตึก สูง17ชั้น ใช้เวลาก่อสร้างประมาฌ3ปี งานก่อสร้างเป็นแบบพรีแฟบ ขุดหลุมเทคานคอดินเสร็จ ยกแผ่นสำเร็จที่ขนใส่เรือประมาณ
มาจากเยอร์ม้น เป็นการขนส่งตึกจากประเทศเยอร์มันมาไว้ที่ซาอุฯ ตอนนั้นน้ำมันแพงซาอุฯกำลังรวยมาก

มองจากตัวตึกลงล่าง
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6674181.jpg)

มีคนงานรวมกันประมาณ400คน เกาหลีประมาฌ300คน นอกนั้นฮอลแลนด์ คนไทยมีแค่2คนคือผมกับเพื่อนชื่อประสิทธิ(รท.ประสิทธิ์)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ ตอนHirab Building.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2013, 09:03:15 pm
มองจากดาดฟ้าเห็นประเทศบาร์หเรนอยู่เป็นทิวในทะเล
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6673275.jpg)

งานที่นี่ไม่ยากครับ เข้าสายไฟที่โผล่สายจากท่อสำเร็จกับสวิทและเต้าเสียบ งานเหมือนกันทุกห้อง บางวันก็
ตรวจไฟตามบันไดให้คนทำงานกลางคืน ประสิทธิ์ ชอบขอทำOT วันละ2ชม. ทำให้ผมต้องเลิกงาน 2ทุ่มม
ตอนแรกๆผมไม่ชอบเลย มันดึกเกินไป กว่าจะได้อาบน้ำเสร็จปาเข้าไป4-5ทุ่มทุกวัน แต่พอได้รับเงินเดือน
ก็หายโกรธ ฝรั่งฮอลแลนด์ชื่อ Gorge ใจดีให้รถใช้กลับบ้านตอนกลางคืน
รถจีเอ็ม ซูเบอร์แบนค้นงาม
(https://www.autospectator.com/cars/files/images/2013-Chevrolet-Silverado-1500-008.jpg)
ยกขึ้นทีละแผ่นครับ
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6232903.jpg)
 เครดิตภาพpetervandegroep
หน้าตาเหมือนGorge
 (https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6232882.jpg)
บ้านพักคนงานอยู่ด้านหน้า
(https://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/6233001.jpg)
ผมได้ย้ายที่นอนไปอยู่อาคารใหม่ เรียกว่าวิกสังกาสี อาคารหลังนี้เป็นรั้วส้งกระสี อยู่ห่างจากตึกนรกสีชมพู
ไม่ไกลนัก แต่ลดความแออัดลง คนที่นอนอยู่ชั้นบนเตึยงผมเป็นนักข่าวจาก นสพ.ฉบับหนึ่ง ก่อนนอนพี่เขา
จะชวนกินขนมปังใส่ชีสแข็งทุกวัน แกทำเสร็จก็ส่งลงมาใต้เตียง ผมคงเริ่มอ้วนตั้งแต่ตอนนั้นและครับ คนงาน
ที่วิกสังกระสีจะเดินไปกินข้าวและเล่นไฮ-โลว์ที่ตึกสีชมพู อยู่นานเข้าเริมมีเงินซื้อเครื่องเสียงไว้ฟัง บางคนซื้อ
เครื่องเสียงขนาดใหญ่เตรียมกลับบ้าน แล้วผมก็ได้พบกับทีมงานที่มาพร้อมกัน

 เมื่อพวกเขาทนไม่ไหว ทุกคนบอกผมเป็นนกรู้ นายจ้างไม่จ่ายเงินทิ้งให้อยู่แบบอดอยาก
 พวกเขาจึงแจ้งให้บริษัทไปรับกลับ บริษัทฯนี้อันที่จริงไม่มีProjectอะไรเป็นของตัวเอง
ทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาคนงานให้บริษัทแขกทั้วไป เป็นตัวแทนที่ซาอุฯ

เมื่อคนงานหรือนายจ้างแขกมีปัญหา ทางบริษัทฯจะไปเจรจาและรับคนกลับ แล้วนำคนงานไปเที่ยว
รับจ้างต่อ ฝรั่งเรียกว่าModern Slave การค้าทาสสมัยใหม่ งานแบบนีคนอังกฤษถนัดนัก Jim Walley
เป็นอีกคนที่ถนัด บริษัทฯพวกนี้มีสัญญากับทางผู้จัดหางานไทย ให้คัดคนไทยไว้รอ ใครมีเงินค่าหัวก็ได้
ไปก่อน มีฝีมือหรือไม่ตัวแทนไทยไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ นี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่คนงานไทยถูกลดเงินเดือน

จนต้องหนีไปพึ่งทูตแรงงานจนเต็มสถานทูต ไม่มีที่จะนอน คนงานส่วนใหญ่ที่หนีจะไม่มีหนังสือเดิน
ทางติดตัว นายจ้างซาอุฯต้องเก็บหนังสือเดินทางของลูกจ้างไว้ตามกฏหมาย และทางแรงงานจะออก
หนังสือให้เรียกว่า "อิกาม่า"ใบอนุญาติทำงาน ทุกคนต้องมีใบนี้ติดตัว หากไม่มีห้ามรับจ้างทำงาน
ใครที่จ้างจะถูกจับปรับ เหมือนบ้านเราที่รับคนงานต่างชาติโดยไม่ได้ขออนุญาติ ไม่มีใบเวอร์ค
เพอร์มิท(Work Permit)

 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 16, 2013, 09:48:19 am
 HAPPY2!!เครื่องคอมพ์ผมขลุกขลัก ขออภัยที่หายไป ยังไม่จบง่ายๆ ติดตามต่อไปจะเข้าใจเรื่องความเป็นอยู่
ของคนตะวันออกกลาง แล้วผมจะเล่าต่อนะครับ ping!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หลอดไฟ ที่ มีนาคม 16, 2013, 10:09:22 am
อ่านสนุก แถมได้ความรู้ มาปูเสื่อนอนรอครับ   THANK!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 16, 2013, 01:50:58 pm
รอรับความรู้อีกคนครับ

 wav!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 17, 2013, 10:36:08 am
วันนี้ขอต่อเรื่องWork Permit หรือ อิกาม่า (ใบอนุญาติทำงาน) ประเทศนี้ไม่มีสำมะโนประชากร
จึงไม่มีจำนวนประชากรที่แน่นอน ใครเกิดใหม่ก็ไปแจ้งชื่อพ่อแม่ ได้รับใบแจ้ง เมื่อตั้งชื่อแล้ว
ก็นำไปแจ้งเพื่อรับเอกสารใบเกิด อายุถึงเกณก็เข้าโรงเรียน ไม่อยากเรียนก็ไม่ต้องเรียน จะออก
ไปนอกประเทศก็ทำหนังสือเดินทาง จำนวนผู้คนที่เข้าออกประเทศต้องได้รับอนุญาติเสียก่อน อยู่ๆ
จะเข้าหรือออกไม่ได้ ต้องทำเรื่องที่กองตรวจคนเข้าเมือง ขอออกหรือขอเข้า หากเป็นคนของ

เขาต้องแจ้งว่าไปประเทศไหน ไปทำอะไร อาจไม่อนุญาติ หากเป็นคนต่างชาติจะเข้า ต้องให้
คนของเขาเป็นผู้ขอและเมื่อเข้าได้แล้ว เวลาจะออกคนของเขาก็ต้องเป็นคนทำเรื่องขอออก จึงเป็น
ที่มาของใบอนุญาติทำงาน(Work Permit)คือขอคนเข้า ประเทศนี้ไม่ออกวีซ่าเพื่อมาเที่ยว ดังนั้น
วีซ่าออกเพื่อทำงาน ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ จำแนกอาชีพ ระบุในคำขอ ในขณะนั้นผู้เขียน
ไปประเทศนี้ มีคนต่างชาติเข้าไปทำงานประมาณ32ชาติ คนไทยประมาณ7แสนคน คนเอเซียที่
มากที่สุดคือฟิลลิปินส์ เกินล้าน ฟิลลิปินส์สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 17, 2013, 11:44:46 am
-ชาติอื่นๆที่พอจะเห็นตัวเลขมากๆมี อียิปส์ เยเมน ปากีสถาน บังกลาเทศ ปาเลซสไตน์
อเมริกัน เยอรมัน เนเธอร์แลนด์  อังกฤษ เกาหลี ไต้หวัน ไทย ฯลฯ
นายจ้างจะต้องจดทะเบียนบริษัทฯหรือหสน.หรือ เอสเทบบิช Estebish และต้องมีงานประจำ
หรือมีโปรเจค(Project) หรืองานที่ประมูลได้แล้ว และต้องเป็นอาชีพที่คนของเขาทำไม่ได้
อาชีพที่เขาไม่อนุญาติและไม่ออกวีซ่าให้คือ ขับรถโดยสาร แท็กซี่ และไม่อนุญาติให้ผู้หญิงือบ
ทำงานนอกบ้าน ทำได้พยาบาล แอร์โฮสเตท แม่บ้าน

ปริมาณที่ขอต้องไม่มากกว่างาน เหมือนบ้านเราในตอนนี้ ใครมีอาชีพอะไรที่คนไทยไม่อยาก
ทำงาน ก็สามารถขออนุญาติจ้างต่างชาติได้ ในช่วงเวลานั้นประเทศนี้กำลังต้องการแรงงาน
มาก มีงานใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน สร้างเมืองใหม่ สร้างสนามบินใหม่ สร้างที่อยู่อาศัย สร้างค่าย
ทหาร สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงกลั่นน้ำ น้ำมัน กิจการน้ำมันใหญ่สุด ใช้แรงงานเป็นล้าน
มีเกือบทุกชาติ อเมริกัน+ซาอุฯชื่อ Aramco (Arab Amrican oil)
จะได้เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทฯยักษ์ใหญ่นี้ต่อไป

มีผู้ยื่นขอนำเข้าแรงงานต่างชาติมากมายมหาศาล กว่าจะได้ใบอนุญาติต้องรอกัน
เป็นหลายๆเดือน บ้างเป็นปี บริษัทใหญ่ๆมีเส้นสายใช้อำนาจ บางทีก็เป็นเจ้าหน้าที่เสียเอง ทำอย่าง
ไรก็ได้ ประเทศนี้ใช้กฎหมายเข้มงวดกับคนต่างชาติและคนตัวเล็กๆ คนมีอำนาจอยู่เหนือกฏหมายทำอะไรดูง่ายไปหมด บริษัทที่ทำเรื่องขอคนงาน พอยื่นเรื่องเสร็จก็มักจะแจ้งมายังบริษัทจัดหางานในไทยว่า ต้องการคนงานอะไรบ้าง บรืษัทจัดหางานในไทยก็จัดแจงติดต่อสายหางาน ให้หาคนงานเตรียมไว้ ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าจะได้รับอนุญาตจากต้นทางหรือไม่ มีการเรียกเก็บเงินค่าทำ

หนังสือเดินทาง ค่าตรวจโรค ค่าอะไรแล้วแต่จะนึกออกให้สมเหตุผล คนอยากไปทำงานก็ดิ้นรนกู้ยืม พวกนายหน้าอยากได้เงินก็มักจะให้คนงานวางเงินไว้ก่อน คนงานก็ตกเป็นเหยื่อมากมาย ถ้าเผอิญได้รับอนุญาตก็จะมีวีซ่าแจ้งมายังสถานฑูต บริษัทจัดหางานจะนำหนังสือเดินทางเตรียมไว้ เจ้าของวีซ่าคือบริษัทที่ต้องการคนงานก็จะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือมาเอง แล้วนำหนังสือเดินทางไปให้สถานฑูตประทับตรา(เรียกว่าประทับตราวีซ่า)การประทับตราวีซ่าคือการอนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางเข้าเมืองได้ ภายในกำหนดเวลา(3เดือน)หากไม่มีการเดินทางภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ถือหนังสือเดินทางจะหมดเวลาโดยอัตโนมัติ

ถ้าหากบริษัทในซาอุไม่สามารถได้รับใบอนุญาต คนงานก็จะถูกเบี้ยวโดนโกงจากบริษัทจัดหางานในบ้านเรา  ส่วนกิจการเล็กบางทีรอไม่ไหว ต้องหาบริษัทรับจ้างอย่างที่ผู้เขียนเคยอยู่ รับจ้างทำงานอิสระ
(กฎหมายแรงงานไม่อนุญาติ ทำได้เพราะเป็นเอเจ็นซี่จัดหาคนงาน และคนงานมีปัญหา จึงเก็บไว้เอง)
และนำคนงานเหล่านั้นไปรับจ้างอีกที โดยเรียกค่าจ้างแพงๆ แต่จ่ายให้คนงานตามสัญญา เรื่องสวัสดิการ
ก็มีให้พออยู่ได้

เมื่อได้เดินทางถึงปลายทาง(ซาอุดร)ก็จะมีคนมาคอยรับไปแค้มป์หรือที่พัก หากไม่มี
คนรับ ก็ต้องรอที่สนามบินไม่รู้จะไปไหน ความจริงจะไปไหนก็ได้แต่ที่ไม่ไปเพราะมึดแปดด้าน ถ้าไม่มีใครรับที่สนามบิน ให้คิดว่าเจ้าของวีซ่าไม่รู้ว่าส่งคนงานไปหรือเขารอไม่ไหวจนถูกยึดงานหรือถูกเลิกสัญญาไปแล้ว
เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นเสมอๆ ทางผู้จัดหางานบ้านเรามีใบมอบอำนาจเอาหนังหสือเดินทางไปประทับตราแล้วส่ง
คนงานไปโดยไม่แจ้งปลายทาง ให้ไปตามยะฐากรรม ถ้าเป็นอย่างนี้กรรมก็จะตกกับคนงานและเจ้าหน้าที่แรงงานไทยในต่างแดน

อย่างที่เคยเล่าว่าประเทศนี้ควบคุมการเข้าออกประเทศด้วยหนังสือเดินทาง เมื่อเดิน
ทางถึงแล้วนายจ้างจะนำหนังสือเดินทางของคนงานไปยื่นเพื่อลงทะเบียน(Entry)เข้าประเทศตามใบอนุญาต
เมื่อลงทะเบียนแล้วนายจ้างจะนำใบจากกองควบคุมไปแจ้งที่แรงงานเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน(อิกาม่า)Work Permit การอนุญาตนี้จะมีกำหนด1-3ปีแล้วแต่เนื้องาน นายจ้างจะให้ใบอิกาม่ากับคนงานและจะเก็บหนังสือเดินทางไว้ ดังนั้นคนงานไม่สามารถหนีออกนอกประเทศได้หากนายจ้างไม่ยินยอม เมื่อทำงานครบสัญญาหรือ
เลิกจ้างนายจ้างต้องเอาหนังสือเดินทางไปประทับตราออก(Exit) ถ้าต้องการให้เรากลับไปอีกก็จะประทับว่า
Exit-Re Entry ถ้าไม่ให้เรากลับจะเขียนว่าExit Only หากคนงานหนีมีวิธีเดียวที่จะออกจากประเทศนี้ได้

ต้องพึ่งสถานทูตไทย เพราะไม่มีหนังสือเดินทาง สถานทูตจะให้เจ้าหน้าที่พาไปที่กองเนรเทศ ให้เราไป
ติดคุกเสียก่อน ทางกองเนรเทศจะทำเรื่องให้เราออก เป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ ในเวลาเดียวก็จะตรวจงเรา
ว่าเราทำความผิดอะไรไว้บ้าง ใช้เวลาประมาณเจ็ดวัน จากนั้นจะหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกให้เรา ที่กองเนรเทศ
นี้จะมีคนงานหลายเชื้อชาติมาก เหมือนตกนรก ไม่มีจานข้าว ไม่มีที่นอน เวลาจะแจกข้าว คนตักข้าว
จะมายืนหน้าประตูเหล็ก ใช้กระบวยตักข้าวเทใส่มือ คนงานจะแบมือรับแล้วไปหาที่นั่งกิน

อาหารส่วนใหญ่จะเป็นลูกมะกอกดอง แป้งผิง ไม่มีน้ำให้ กินน้ำก๊อก นอนตามพื้นปูนเหมือนสุนัขจนตรอก เมื่อได้
ตั๋วเคร่ืองบินทางสถานทูตจะออกหนังสือแทนหนังสือเดินทางให้เราถือกลับบ้านและจะส่งเราขึ้นเครื่อง
กันหนีหาย คนงานก็จะเดินทางกลับบ้านแบบ"มาเสียเมีย" 




หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: หลอดไฟ ที่ มีนาคม 17, 2013, 07:49:39 pm
ลำบากกว่าอยุู่เมืองไทย แต่ได้ประสบการณ์คุ้มครับ smiley4


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 20, 2013, 08:35:53 am
ผู้เขียนอยู่ทางตะวันออก เป็นแหล่งน้ำมันของประเทศ บริเวณนี้เป็นอ่าว เรียกว่า
Arabian Gulft อ่าวอาราเบียน ในฝั่งอาหรับ มีประเทศซาอุฯอยู่บนสุดติดกับอีรัก
เมื่อลากเส้นมาทางตะวันออกจะมี คูเวต บาร์หเรนเป็นเกาะเล็กๆมีสพานเชื่อมกับซาอุฯ
ลากต่อไป โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรต ประด้วยดูไบ ควาต้า ฯลฯ
        
 บริเวณนี้มีน้ำมันดิบCrude Oil ทุกประเทศ ตอนผู้เขียนไปอยู่ประเทศ
ซาอุฯมีน้ำมันสำรอง37ปี สูบออกวันละ9ล้านบาเรล(1บาเรล =158ลิตร) ปัจจุบัน
ก็ยังมีน้ำมันสำรองเท่าเดิม ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบวันละ 1.1ล้านบาเรลต่อวัน หาได้เอง
ประมาณ40% ตัวเลขลวงโลก ช่างเหอะ หาได้เท่าไรคนจนก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ราคาน้ำ
มันขณะนั้น 1บาเรล/25$ คิดเป็นเงินบาทวันละเกือบ600ล้านบาท รายได้มหาศาลขนาด
นี้เมื่อปี2522 ปัจจุบัน เกือบสองเท่า แถมยังมีทองที่นิวทรัลโซลอีก ยังไม่ได้ขุด

แล้วยังมีพื้นที่ๆยังไม่สำรวจทางตะวันออกอีก1/4 เรียกว่า"เอมตี่ควอเต่อร์"ประมาณใหญ่กว่าประเทศไทย
เพราะพื้นที่โดยรวมใหญ่กว่าประเทศไทย5เท่า น้ำมันไม่หมดง่ายๆไปจากโลก

อากาศบริเวณนี้ร้อนมากระหว่างปลายมีนาคม-ตุลาคม อุณหภูมิบางวัน
สูงถึง55เซลเซียส ร้อนฉิบ.เลย หาอากาศหายใจแทบไม่เจอ บางวันมีพายุทรายผสมโรง
ด้วย เรียกว่าหมดมู้ดเลยทีเดียว เลยจากเมืองดัมมัมไปทางเหนือประมาณ70กม.เมือง
จูเบล มีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่มากชื่อ ราสตนูร่า อาจสกดผิด มองไปสุดตาเหมือน
เมืองหลวงประเทศหนึ่ง ใกล้กับดัมมัมที่ผู้เขียนอยู่คือ ดาหรานห์ สนามบิน ค่ายทหาร

เป็นที่ตั้งของบริษัทน้ำมัน อะรามโก้(Aramco) อะรามโก้เป็นเหมือนรัฐบาลที่สองของซาอุฯ
มีแค้มป์มหึมาเป็นตู้คอนเทนเน่อร์นอน โรงอาหาร โรงหนัง หากไปเดินหาคนไม่มีทางเจอ
ผู้เขียนมีเพื่อนอยู่แต่หาไม่พบ สมัยนั้นไม่มีมือถือ ซาอุฯยังไม่มีรายการทีวีมีเดี่ย มีสถานีเดียว
สวดมนต์ทั้งวัน ดังนั้นคนงานต้องมีวิดิโอเทปไว้แก้เหงา อะรามโก้มีสถานีวิทยุของตัวเองหลาย
สถานี เปิดเพลงตะวันตกแนวลูกทุ่ง ไลท์มิวสิก 24ชั่วโมง ผู้เขียนก็ได้สถานีของอะรามโก้ป็น
แก้เหงาตอนเลิกงาน อะรามโก้มีคนงานเป็นล้านกระจายกันอยู่เป็นบริเวณกว้าง มีเรือขนอาหาร
มาจากอเมริกา สามารถมีหมูกินได้ ตู้อาหารยกเว้นการตรวจ มีเจ้าหน้าที่ซาอุฯอำนวยความสดวก

จัดหาวีซ่าเอง สามารถเอาคนเข้า-ออกนอกประเทศได้ ด้วยเจ้าหน้าที่บริษัทฯเอง คนงานทำ
ความผิด เช่นขับรถชนคนตายจะถูกส่งออกสนามบินโดยเที่ยวบินที่กำลังจะออกทันที หากคน
งานถูกตำรวจท้องที่จับ โดยเฉพาะทำให้คนตาย กฏหมายเวลานั้นอาจติดคุกตลอดชีวิตหรือ
ตายตกตามกัน หรือติดคุกจนกว่าเขาจะพอใจ  อะรามโก้จึงโยนคนออกจากประเทศทันที แต่มีบริษัทเดียวที่ทำได้

นอกนั้นใหญ่อย่างไรก็ติดคุก นอกจากหนีสุดชึวิตหรือเป็นบริษัทเจ้าชายพอมีโอกาส -
ี  


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 20, 2013, 10:47:15 am


อยากเก็บเข้าคลังห้องสมุดเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 21, 2013, 08:14:41 am
ด้วยความยินดีครับท่านEskimo Bkk kiss6

ขอเรียนว่าการเขียนต้องใช้ความระมัดระวังเรื่องศาสนา หากกล่าวอะไรที่เป็นการดูหมิ่น
อาจถูกตั้งค่าหัวหรือถูกตามล่า มีนักเขียนชื่อ ซาลมาน รุชดี เป็นคนอินเดีย นับถืออิสลาม
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=web&cd=2&cad=rja&ved=0CDUQFjAB&url=https%3A%2F%2Fwww.mcot.net%2Fsite%2Fcontent%3Fid%3D5055b3940b01da655300001b&ei=UUNSUeOZFMPPrQeCtYE4&usg=AFQjCNHZ9ACb6qaG_wokUyfAJbw_jPfJMg&sig2=oHBJO3ybXKIjm7cWqWk0Lg&bvm=bv.44342787,d.bmk
 สัญชาติอังกฤษ เขียนวิจารณ์แตะต้องศาสนา ถูกตั้งค่าหัวเป็น100ล้าน$จากประเทศหัวรุนแรง
รัฐบาลอังกฤษออกมาปกป้อง ปัจจุบันยังต้องไปไหนมีตำรวจลับคอยติดตาม
         ผู้เขียนๆจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสด้านกว้างที่พอจะเป็นอุทาหรณ์ให้
แรงงานรุ่นต่อไปได้ใช้เป็นแนวทาง ไม่พยายามเขียนเกี่ยวกับความเชื่อความเคารพทาง
ประเภณีและศาสนา เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าลบหลู่ดูหมิ่นพระศาสนา ยินดีให้ลบ
ออกหากท่านเห็นว่าไม่สมควรเผยแผ่  thank2


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 21, 2013, 10:15:46 am
เสียดายที่คนงานไทยได้ทำงานที่บริษัทอรามโก้น้อยมาก คนงานส่วนมากเป็นฟิลิปปินส์
เพราะการสื่อสารกับต่างชาติเราเป็นรองเรื่องภาษา ฟิลิปปินส์ก็ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษมาก
เขาได้เปรียบที่ประเทศใช้ภาษาตากาล็อก(สเปน+ลาติน)ตัวหนังสือเป็นอังกฤษ จึงสื่อสาร
ได้ดีกว่าเรา หากคนไทยที่เรียนระดับม.ปลายไวยากรณ์อังกฤษดีกว่ามาก ข้อเสียของ
เราคือไม่พยายามพูด ผู้เขียนเคยทำงานกับคนอเมริกันที่เซนต์ชื่อได้ตัวเดียว แถมใช้
วิธีวาดเอาทีละต้ว อยู่ด้วยกัน3ปี คงได้เล่าให้ฟังครับ
 
อะรามโก้มีอเมริกันถือหุ้นรองแต่เป็นผู้บริหาร ควบคุมกิจการน้ำมัน
ทั้งขุดเจาะและกลั่นส่งออกทั้งน้ำมันดิบและสุก น้ำมันที่นี่บางหลุมลึกเพียง600เมตรเท่านั้น
ในอ่าวไทยอย่างน้อยต้อง3000เมตรขึ้นไป การเจาะน้ำมันใช้สว่านมีหัวหมุนสามหัวเป็น
พวง เจาะผ่านด้านในท่อที่เป็นปลอก สว่านจมลง ปลอกท่อก็ไหลตามลงไป ชั้นดินหิน
ก็ล้นออกที่ปลอกท่อ โดยมีขี้โคลนเป็นตัวเคลือบและหล่อลื่น มีทั้งลมและขี้โคลนถูกอัดลง
ไปในรูสว่าน เมื่อถึงชั้นน้ำมันจะมีการทดสอบแรงดัน วัดแรงสั่นสะเทือนด้วยเรด้า

ปัจจุบันใช้สแกนด้วยคลื่นไฟฟ้า การสูบน้ำมันมีทั้งใช้เคมีเดือดอัดลงไปหรือสูบน้ำทะเลลงไปแทน
หรือใช้สูบแบบกดย้อน เหมือนสูบน้ำมันก๊าดแบบโบราณ น้ำมันดิบประเทศนี้เรียกว่า "ไลท์
อาราเบียน ออย" เป็นน้ำมันที่กลั่นแล้วได้น้ำมันเบามากกว่ายางมะตอย ถึงจะมีน้ำมันเบา
แต่หลังกลั่นประเทศนี้มียางมะตอยเหลือมากต้องเอาไปพ่นใส่ภูเขาทรายกันพายุฝุ่นกันเป็นลูกๆ
ภูเขาเลยทีเดียว

บ้านเราใช้วิธีเอายางมะตอยเข้ากลั่นซ้ำ โดยใช้แคทรีลีสติกผสมแรงลม หมุนเวียนให้เกิดความร้อนสูง
แล้วส่งน้ำมันหนักเข้าในระบบ ความร้อนสูงทำให้น้ำมันเบา ระเหยออกลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง และถูกสูบออกไปทำเบนซินได้อีก ขายได้กำไรมากกว่ายางมะตอยหรือน้ำมันเตา

ขอแทรกนิดครับ เพื่อจะได้เข้าใจการกลั่นน้ำมัน น้ำมันดิบที่เราซื้อหรือที่
ขุดเจาะได้ (Crude Oil) ครูดออย ฟอสซิล คือซากสัตว์หรือซากทับถมของต้นไม้เป็นล้านๆปี
จนกลายเป็นของเหลวหมักหมมอยู่ใต้พื้นดิน มีสภาพเหนียวข้นหนึด ถูกปิดผนึกด้วยชั้นหน้าดิน
และหิน อัดแน่นจนก๊าซไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้
เมื่อเราเอาน้ำมันดิบขึ้นมา จึงมีก็าซลอยอยู่ด้านบนสุด การขนส่งต้องเป็นระบบปิด

ส่งลงเรือไปทั่วโลก เมื่อถึงปลายทาง เรือน้ำมันจะส่งน้ำมันดิบผ่านท่อไปยังถังเก็บน้ำมันดิบ
ที่โรงกลั่น โดยใช้ไนโตรเจนเข้าแทนที่ในถังเก็บ โรงกลั่นจะนำน้ำมันดิบออกจากถังเก็บ
ไปอุ่นให้รู้สึกตัว โดยการแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำมันที่กลั่นออกจากเตาใหม่ๆ(Exchanger)
แล้วนำน้ำมันที่อุ่นแล้วส่งผ่านท่อในเตาเผา เมื่อน้ำมันดิบร้อน จะถูกปัีมส่งไปที่สูง แล้วปล่อย
ตกลงในคอลลั่ม ส่วนที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยขึ้นบนสุดของคอลลั่ม คือ LPG ที่เราใช้หุงต้ม

เติมรถยนต์ ในคอลลั่มจะมีชั้นรับน้ำมันที่ระเหยขึ้นบนแตกต่างจุดเดือดกันไป LPG แนปธ่า
เบนซิล น้ำมันก็าซ (น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันก๊าซผสมสารกันแข็งตัว)JP ดีเซล
น้ำมันเตา ยางมะตอย
แนปธ่า เอาไปทำโอเรฟิน ปั่นเป็นเส้นด้าย น้ำมันเตาเอาไปเข้าเตาต้มน้ำผลิตไอน้ำ
ไปปั่นเครื่องกำเหนิดไฟฟ้า น้ำมันก๊าซเอาไปผสมสารกันแข็งตัว ใช้กับเครื่องบินโดยสาร
เปลี่ยนชื่อเป็น JP1หรือ JP4

การกลั่นมีเทคโนโลยี่ที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด เช่นมีการพยากรณ์
การใช้น้ำมันตามฤดูกาล และสั่งน้ำมันที่มีปริมาณความหนักเบาต่างกัน ราคาน้ำมันดิบ
จึงมีราคาไม่เท่ากัน มีผลทางการค้าเป็นอย่างมาก นักวิชาการอิสระก็ไม่สามารถแยกแยะ
ผลกำไรจากการกลั่นน้ำมันได้ ไม่มีใครพูดถึงสิ่งเหล่านื้

การทำสัญญาซื้อขายน้ำมันทำล่วงหน้าเป็นปี ไม่ใช่ตามราคาตลาดโลกอย่างที่บริษัทน้ำมันอ้าง
เหมือนราคาข้าวที่เราขายให้ประเทศที่ซื้อเป็นประจำ เป็นราคาพิเศษ น้ำมันก็ทำเช่นเดียวกัน
ดังนั้นที่เราได้ยินกันทุกวันจึงเป็นการสร้างกำไรให้กิจการน้ำมัน

น้ำมันสำเร็จรูปที่ซาอุฯในตอนนั้น เบนซิล95ราคา1.25บาท/ลิตร ไม่มีรถเครื่อง เติมเต็มถัง
แค่ร้อยกว่าบาท ปั้มขายน้ำมันไม่ต้องมีบริการ เป็นพื้นทรายฝุ่นสกปรก หัวจ่ายน้ำมันเก่าๆ
รถยนต์นั่งส่วนมากจะเป็นอเมริกัน6-8สูบ กินน้ำมันเหมือนน้ำ แต่ไม่มีใครบ่น รัฐบาลคิดแค่
ค่าขุดเจาะกลั่นเท่าน้ัน น้ำเย็นแพงมากขวดลิตรครึ่งราคา14บาท ในเวลานั้นบ้านเรายังไม่มี
น้ำขวดขาย ผู้เขียนเคยคิดว่าอีกหน่อยบ้านเราคงจะมีปั้มน้ำดื่มเหมือนปั้มน้ำมันขาย

ทุกคนเอาถังใส่ท้ายรถไปปั้ม แล้วเติมน้ำใส่ถังหิ้วกลับบ้าน อย่างที่ผู้เขียนเคยซื้อที่ซาอุฯ
ที่ซาอุฯใช้ถังน้ำมัน20ลิตรใส่น้ำ ไม่ใช่แบบบ้านเรา ของเขาทนและถูกกว่าบ้านเรา
น้ำดื่มจะต้องขุดเจาะใต้ดินลึกมากแล้วนำขึ้นมากลองเอาเกลืออก หลายขั้นตอนจนจึด
สนิทแล้วเติมสารให้อร่อย(ไนเตรท)มีอายุประมาณ6-12เดือน-




หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 27, 2013, 10:18:54 pm
ระหว่างที่ผมทำงานที่ตึก HIRAB มีบริษัท ชื่อ Ballast Nedam จากเนเทอร์แลนด์
ได้ยืมตัวผมไปช่วยงานสร้างหมู่บ้าน เป็นบ้านพักคนงานเพื่อสร้างสนามบินทหารและท่าเรือ
ที่นิ่ผมได้รู้จักหัวหน้าแค้มป์ชื่อ J. Motham และหัวหน้าไฟฟ้าชื่อJerry เป็นคนผิวดำที่งว่าเรา
นิสัยดี มีลูกน้องไทย4คน ทำงานให้เสร็จ2วัน1หลัง งานเป็นระบบดีมาก ใครช้าจะถูกเพื่อน
แทบจะ
ที่ตามหลังมารอ มันจะฟ้องว่าเราทำไม่ทัน ทำกันกลางแดด ทั้งงานไฟฟ้าและแอร์ดักซ์ ต้องทำก่อน
ที่หลังคาจะตามมา ทุกคนนุ่งกางเกงขาสั้นไม่ใส่เสื้อ มันร้อนมากจนตัวดำเป็นเหนี่ยง ดำพอๆกับนิโกร
ทั้งช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างปูน ล้วนเจอแดดพอกัน

เราต้องตื่นตีห้า ไปกินข้าวที่โรงครัว 6โมงเช้ามีรถรับไปส่งหน้างาน ตอนกลางวันกินข้าวที่หน้างาน
มีเวลาพัก1ชม.ครึ่ง เลิก5โมงครึ่ง ระหว่างทางกลับบ้านบางวันแอร์รถบัสเสีย ไม่เย็น บางทีแอร์ง่ายๆ
สู้แดดไม่ไหว คนที่ทำงานมาเหนื่อยๆแล้วเจออากาศร้อนอีกแทบจะบ้าตาย บางวันคนขับรถจอด
รถลงไปซาล่า (ลงไปทำระหมาด)พวกเรานั่งรออยู่บนรถที่ร้อนเหมือนหมาบ้า แต่ทุกคนต้องอดทน
ขืนไปด่าคนขับ อาจติดคุกหัวโต หรือไม่ก็ถูกเตะโด่งออกนอกประเทศเอาง่ายๆ เขามีกฏหมายคุ้มครอง

ที่ว่าต้องอนุญาติให้ระหมาดวันละห้าครั้ง คนงานบางคนไม่เข้าใจ เอะอะโวยวาย และอาชีพขับรถ
ก็ถูกสงวนไว้สำหรับคนซาอุฯ ผู้เขียนในตอนแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่ก็ได้มีโอกาสคุยกับ
แขกซาอุฯบ่อยๆจึงได้เรียนรู้ประเพณีของเขามากขึ้น การเรียนรู้ประเพณีทำให้เราไมถูกรังแก และ
หากเดือดร้อน สามารถขอความช่วยเหลือจากแขกบางคนได้

มีอยู่วันหนึ่ง ช่างไม้ชาวฮอร์แลนด์กำลังปีนอยู่บนโครงหลังคา ทำฆ้อนหล่นใส่คนไทย ก็แค่ถากๆไป
ไม่เจ็บมาก ฝรั่งรีบลงไปขอโทษ แต่ความไม่เหมือนกันทำให้เป็นเรื่อง ฝรั่งเอามือลูบหัวแล้วบอก
เสียใจ (I am sorry sir.)ผมขอโทษครับ แต่คนไทยหาว่าทำฆ้อนตกใส่ แล้วยังมาตบหัวอีก
เกิดการชกต่อยกันบานปลายเป็นเรื่อง เกือบโดนจับเข้าคุกกันหมด ดีที่ไม่มีแขกคนไหนได้รับบาด
เจ็บ หากมีแขกโดนหางเลขไปด้วย ตำรวจจะต้องเอาพวกเราไปขังแล้วสอบทีละคน จนกว่าเรื่อง
ทั้งหมดจะกระจ่าง

วันรุ่งขึ้นคนไทยต้นเหตุถูกย้ายไปไว้ที่อื่น แล้วทุกอย่างก็เหมือนเดิม ผู้เขียนเองก็ถูกแขกโมร็อกโค
ฟ้องฝรั่งเจอรี่เกือบทุกวัน มันพยายามที่จะคุมผู้เขียนให้อยู่มือ แต่ผู้เขียนไม่กลัวมัน
ถึงแม้มันจะพูดอาหรับได้ ฝีมือไงครับ คนละชั้น ผู้เขียนหิ้วกระติกน้ำแข็งIglooใส่ขาสั้น
เหมือนพวกฮอร์แลนด์ (แล้วจะหารูปมาดู)

ผู้เขียนได้ย้ายที่พักไปอยู่ริมทะเลดัมมัม มันช่างวิเศษอะไรอย่างน้ัน ทะเลที่นั่นราบเรียบ
เป็นพื้นทราย ไม่มีก้อนหิน ผู้เขียนเดินออกนอกฝั่งไปได้เป็นกิโล น้ำแค่ตาตุ่ม ออกไปวัน
แรก เอาถังสีไปจับปู ปลา ไปได้ไม่นานจับปูม้าได้เต็มถัง มันเยอะจริงๆ เดินกันยั้วเยี้ย
ไปหมด นี่มันอะไรกัน ตอนต่อมาเลือกเอาแต่ตัวใหญ่ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะแขกไม่กินปู
และกุ้ง เขาว่าสัตว์ที่เอาเลือดออกก่อนตายไม่ได้ มีข้อห้ามไม่ให้กิน คนมุสลิมจะกินสัตว์ผลอผ
ที่ตายเองไม่ได้ และต้องเอาเลือดออกก่อนสิ้นใจ

ไฮโลกันบ้าง อยากจะเล่าให้ฟังว่าการพนัน อย่างไรก็เป็นหายนะ ขนาดผู้เขียนมองเห็นลูก
เต๋ายังแทงไม่ถูก จึงไม่ค่อยสนใจและไม่เล่นจริงจัง แค่เหงาๆเท่านั้น

อยู่ที่นี่วันหนึ่งเผลอไปกินน้ำจ๊อยเข้า ตอนกลางคืนปวดท้องแทบสิ้นชีวิต ถ่ายไม่หยุด นึกว่า
ช็อกไปแล้ว โรงพยาบาลอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ และไม่มีใครพาไปหาหมอ รอดตายเพราะพ่อครัว
ทำข้าวต้มให้ คนดูแลก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหน

น้ำจ๊อยคือผลไม้สับๆใส่ถัง ต้มน้ำให้เดือดใส่น้ำตาล ทิ้งให้เย็นแล้วใส่เชื้อยีสขนมปัง
เทลงถังหมักไว้7วัน เป็นน้ำสีขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว ยิสยังทำงานบุ๋มๆในถัง เทมากิน
กัน เมาเหมือนเหล้า คนไทยตายไปไม่รู้เท่าไรเพราะน้ำชนิดนี้ กินแล้วตัวบวม เมาไปนอก
แคมป์ถูกตำรวจจับ ติดคุก ถูกเฆี่ยนโชว์ทุกวันศุกร์  ท้ายสุดเนรเทศ บางคนก็นอนหลับไป
เฉยๆ ที่เรียกไหลตาย-
   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 28, 2013, 08:41:08 pm
ผู้เขียนได้ทำงานอยู่ตะวันออก เมืองดัมมั่ม-อัลโคบาห์-ดาห์ราน เป็นเวลา 13เดือน
ทั้งที่ตั้งใจจะไปอยู่ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรต(ดูไบ)หรือถูกส่งกลับ มองย้อนกลับไป
วันแรก อยากเล่าให้เพื่อนๆฟังหากเตรียมตัวไปทำงานประเทศซาอุฯหรือประเทศกลุ่ม
อาหรับ สิ่งที่ต้องระวังมีหลายอย่างที่ต้องเข้มงวด

หมายเหตุ ดัมมั่มเป็นหัวเมืองเก่าแก่
           อัลโคบาห์เป็นชอปปิ้งเซนเตอร์
           ดาห์รานเป็นสนามบินและเป็นที่ตั้งทางทหาร


-หนังสือเดินทางต้องไม่เคยไปที่ไหนมาก่อน
-การเดินทางต้องไม่แวะประเทศอิสราเอล แม้แต่เครื่องบินลงเติมน้ำมันก็ไม่ได้
-หนังสือเดินทางต้องเป็น All Country
-Employee หรือ Business Occupationเท่านั้น ห้ามท่องเที่ยว
-ห้ามนับถือศาสนาเดียวกับ ยิว
-ห้ามนำเอกสารเกี่ยวกับอิสราเอลติดตัว
-ห้ามหนังสือมีภาพเปลือยติดตัว
-ห้ามนำพระพุทธรูปติดตัว
-ห้ามสารเสพติดทุกชนิด
-ห้ามวิดิโอหรือซีดีที่มีอัลบั้มเป็นภาพผู้หญิงนุ่งน้อย
-ห้ามนำเครื่องดื่มมีแอลกอฮอร์ติดตัว
-ถ้าเป็นช่วงถือบวช ห้ามสูบบุหรี่ในเวลากลางวัน
ยังมีข้อห้ามอื่นๆอีก ขอได้ที่กงสุลซาอุฯ การฝ่าฝืนข้อห้ามอาจถูกจับหรือเบาหน่อย
ห้ามเข้าประเทศ

เมื่อเข้าประเทศได้แล้ว ข้อห้ามตามประเภณียังมีอีก เช่นห้ามพูดกับหญิงที่ไม่ใช่
ญาติ ห้ามจ้องมองผู้หญิง ห้ามดื่มเหล้า หรือของมึนเมา ห้ามมีสัตว์เลี้ยง แมว
หมา

ครั้งหนึงเคยมีคนส่งแมงดาใส่ซองจดหมายส่งไป ทางไปรษณีมีใบแจ้งว่า สัตว์เลี้ยง
ที่ส่งมาได้ตายเสียแล้ว อันนี้ถือว่าโชคดี หากส่งของผิดกฏหมายไป ชื่อผู้รับปลาย
ทางอาจติดคุกได้

เคยมีคนงานทำงานชายแดนเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับที่ตั้งทางทหาร โดนข้อหา
เป็นสายลับ ทั้งๆที่เขียนเล่ามาทางเมืองไทย
อยู่ประเทศนี้เต็มไปด้วยอันตรายหากสอดรู้สอดเห็น เที่ยวถ่ายรูปสถานที่สารธาณก็ไม่ได้
โดยเฉพาะทางทหาร ผู้หญิง

คนงานที่ซาอุฯมองเห็นอูฐ ลา ม้า สวยหมด ถ้าเห็นผู้หญิงจะเป็นอย่างไร จะได้เล่าใน
ตอนต่อไป




หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 06, 2013, 08:55:28 am
ประเภณีที่นี่ การกินน้ำชา ข้าว มีความแตกต่างกับเรามาก การต้อน
รับใช้ชาเป็นหลัก (ชายย์)เป็นคำเรียกที่เขาถามและเทให้ ถ้วยเล็กๆเท่า
ถ้วยชาจีน หวานเจี๊ยบ เข้มข้น ใช้ชาลิปตั้นทีโดยทั่วไป มีกลิ่นหอมหวาน
ต้องดื่มให้หมด ห้ามเหลือคาถ้วย หากไม่ต้องการดื่มให้เอามือปิดถ้วยไว้

การกินข้าว ข้าวนึ่งParboil riceที่หุงด้วยดอกไม้หอมจะเทลงถาดใหญ่ มีเนื้อสัตว์
แพะ แกะ ไก่ อูฐ ผัดคลุกเคล้า เข้าด้วยกัน ล้อมวงนั่งพื้นเสมอกันเป็นวง
ใช้มือหยิบกิน มือเดียว ห้ามใช้มือช่วยฉีกเนื้อสัตว์ ให้ใช้มือเดียวพยายามฉีกหรือยกไปกัดแทะ
แล้ววางที่เหลือลงในถาด คนอื่นๆก็ทำแบบเดียวกัน ทุกคนกินในถาดเดียวกันหมด
 
ยังไม่ได้หาคำตอบว่าเพราะอะไร เคยคิดแบ่งแต่เขาไม่ยอม หากไปกินตามร้าน
มีช้อนให้ แต่คนท้องถิ่นจะยึดประเภณีเดิม คือใช้มือ

ห้องรับแขกจะใช้หมอนพิงข้างฝา นั่งพื้นพรหมเสมอกัน บางบ้านมีโต๊ะต่ำๆ
วางตรงกลาง แต่ส่วนมากจะวางพื้น ใช้ถาดวางน้ำชา กาน้ำชาเป็นแบบ
โค้งเหมือนกาน้ำของอาลาดิน วงผู้หญิงกับผู้ชายจะไม่รวมกัน พวกเขาให้
เกียร์ติผู้หญิง แต่ไม่ให้สิทธิ์ แขกผู้ชายมีภรรยาได้สี่คน แต่ต้องได้รับความ
ยินยอมจากคนแรก และต้องเลี้ยงคนต่อๆมาด้วยความเสมอภาพ ส่วนมากพวก
เขาจะทิ้งระยะห่างกันมาก คนสุดท้ายยังเด็กๆเมื่อเทียบคนแรก

การแต่งงานต้องใช้เงินมาก พ่อผู้หญิงจะเรียกเงินค่าสินสอดเต็มที่ คนจนไม่
มีทางแต่งงานกับคนสูงกว่า ไม่มีปัญญาไปสู่ขอได้ บางคนต้องอยู่แก่ ยังมี
การแบ่งชั้นวรรณะ

ผู้ชายจะนุ่งชุดขาว เหมือนชุดหมีแขนยาว (โตฟ) ผู็หญิงนุ่งชุดดำ มีผ้าคลุม
ศรีษะ(อาบาย่า) หากไม่คลุมผ้าอาจไม่ได้รับการคุ้มครองจากศาสนา ถูกเหยียดหยาม
ถูกมองแบบไม่ให้เกียร์ติ

ต่อ
 
 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ.
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 08, 2013, 08:14:53 am
เดือนถือศีลอด
การกำหนดวันที่ 1 ของเดือนการเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และการกำหนดเดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้น ๆ

ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว เมื่อผ่านพ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือนขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮ์(ซบ.)ได้ทรงกำหนดไว้

จะสังเกตได้ว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่นั้น จะประกาศผลการดูเดือน (ดวงจันทร์) ได้ทันทีเมื่อพ้นมักริบเพียงเล็กน้อยหรือสอบสวนแน่ใจว่ามีการเห็นเดือนจริงหรือไม่แล้ว โดยอาศัยข้อเท็จจริงบนท้องฟ้ามาเป็นข้อมูลประกอบ หรือจะตามประเทศที่ดูและเห็นเดือนมาก่อนแล้ว

ที่มาวิกิพีเดียhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%8E%E0%B8%AD%E0%B8%99

เดือนนี้คนงานทั่วไปที่ไม่ใช่มุสลิม ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร แต่ต้องไม่แสดงเด่นชัด
คือกินข้าวหรือน้ำใกล้คนถือศีลแบบเกรงใจ ไม่ทำแบบเยาะเย้ย ส่งเสียงอร่อย
และที่ห้ามในที่สาธารณะคือสูบบุหรี่ ใครไม่เชื่ออาจถูกตบทั้งกำลังสูบ คนท้องถิ่น
จะไม่ทำงาน จนกว่าจะกินข้าวเย็นแล้ว ร้านค้า ส่วนราชการ จะเปิดตอนกลาง
คืนจนถึงใกล้สว่าง เหมือนกลางคืนเป็นกลางวัน

คนรวยจะออกนอกประเทศ ไปพักผ่อนทำตัวสบายๆ ไปประเทศที่ไม่เคร่งครัด
ก็รวยซะอย่างทำอย่างไรก็ไม่น่าเกลียด
ผู้เขียนสังเกตุเห็นว่าคนไทยมุสลิมถือเคร่งครัดมากกว่าแขกที่เจอมา (บางประเทศ)

ไม่ได้ดูหมิ่นนะครับเขียนตามเห็นและรู้สึก ตะวันออกกลางใช้ภาษาอาหรับรวมกัน
ถึง20ประเทศ เรียกว่าพูดกันรู้เรื่องถึงแม้สำเนียงต่าง แบบกลาง ใต้ เหนือ อีสาน

หลังวันถือศีลอด จะมีการฉลองเหมือนขึ้นปีใหม่สากล มีการแจกของขวัญ ให้ บริจาค
พูดแต่สิ่งดี (อะฮัมดูรีแร)พระเจ้าเป็นสุข (อะฮเรน)ยินดี อะไรทำนองนี้กันทั้งวัน

คำแรกที่แขกคนไม่รู้จักเราจะถามเราว่า "คุณเป็นมุสลิมหรือเปล่า" เราตอบว่าไม่ใช่
เขาก็จะถามว่า"ทำไมไม่เป็น" ผู้เขียนถูกถามจนเป็นความเคยชิน เราตอบแบบไม่มี
เหตุผล ว่าทำไมไม่เป็น เพราะถือตามครอบครัว คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ก็
ไม่ค่อยเน้นที่จะถามกัน สำหรับแขกจะเห็นความสำคัญเป็นอันดับแรก ฉนั้นจึงจะ
ถูกถามก่อน แต่พวกเขาก็ไม่ได้รังเกลียดอะไร เพียงแต่บางท้องที่เขาไม่อนุญาต
ให้คนนอกศาสนาเข้า(บางเมืองมีถนนบายพาส) ให้Non Muslim ไปอ้อมเมือง

ต่อ..   



หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 09, 2013, 08:56:07 am
เมืองสำคัญที่ห้าม Non muslim เข้าอย่างเข้มงวดคือ อัล เมกกะและอัลเมดิน่า
ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกอย่างน้อยสามเดือน ทั้งสองเมืองมีถนนบายพาสให้Non muslimอ้อม
เมืองอัลเมกกะห่างจากเมืองหลวงเจดด้าเพียง70กม.ใช้เวลาบินจากเจดด้าเพียง10นาที
มีรถเมล์รับส่งจากสนามบินเจดด้าไปแสวงบุญ (เหมือนเมล์ขาวนายเลิศ) หน้าแสวงบุญ
จะมีเครื่องบินลงที่สนามบินเจดด้าต่อกันทั้งวัน มีที่พักผู้โดยสารสำหรับผู้แสวงบุญโดย
เฉพาะ รับได้6หมึ่นคนต่อวัน มุงหลังคาด้วยวัสดุเดียวกับสนามบินสุวรรณภูมิ น้ำซึม
ได้หากฝนตกหนัก หลังคาชนิดนี้เหมาะกับที่เจดด้า เพราะแทบจะไม่มีฝน
ผู้แสวงบุญจะต้องเดินทางไปทั้งสองเมืองทั้งอัลเมกกะและอัลเมดีน่า

ต่อ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 15, 2013, 10:59:52 am
เดือนเมษายน ผู้เขียนจะได้กลับบ้านแล้ว ๑๓เดือน อยู่เลยสัญญา๑เดือน
เป็นไปได้ไง เตรียมตัวกลับบ้าน เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาไม่แพง
ที่นี่ไม่มีภาษี เมืองอัลโคบ้า เหมือนฮ่องกง(ฟรีพอร์ท) ราคาใกล้เคียงกันทุก
ร้าน คนขายมักพูดว่า ไม่ได้บอกผ่าน(Fixed prices) ฟูรูส คะเซียย์ รา
คาไม่แพง และมักจะต่อไม่ได้ อาจถูกไล่ออกจากร้าน หากตื้อไม่เลิก ถ้า

หากถามแล้วไม่ซื้อ เขาจะพูดว่า เล๊ส์ มาสฟ์จี้บ (ทำไมไม่เอา) คนไทยชอบ
ซื้อเครื่องเสียงโซนี่ แต่ก็มีเครื่องเสียงจากอเมริกา ยุโรป ยี่ปุ่น ดีๆมากมาย
ให้เลือก รีวอกซ์จากเซอร์วิสเซอร์แลนด์ แบงค์โอลูฟเซ่นจากเดนหมาก ยามา
ห้าจากยี่ปุ่น มารั๊นท์จากยี่ปุ่น นากามิชิจากยี่ปุ่น เจบีแอลจากอเมริกา ฯลฯ

ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทุกคนหอบหิ้วกันรุงรัง ผู้เขียนได้โซนี่กระเป๋าหิ้ว
ทีวี ITT(ไม่รู้ซื้อทำไม) หนักจะตาย ได้ตั๋วเครื่องบิน Pakistanian Air line
(ปากีสถาน) เป็นตั๋วราคาถูก ชั้นประหยัด Economy class  บริษัทถามว่าต่อ
สัญญาหรือไม่ (No I don't want) ผู้เขียนไม่อยากต่อสัญญา ร้อนซะขนาดนี้
ไม่เอาแล้ว ได้เห็นหนังสือเดินทางครั้งแรกตั้งวันแรกแต่ลงเครื่อง หน้าในประทับ
ตรา Exit Only ไปไม่กลับเรียบร้อย มีหลายคนกลับพร้อมกัน ถึงสนามบินแผนก
ผู้โดยสารขาออก ชั่งน้ำหนักกระเป๋า เชกอิน ให้๒๐กก. (สัมภาระ)เกินไปกก.ละ
๕๖๐บาท (๗๐รียาลส์) ส่วนใหญ่เกินกันทุกคน ๑๐-๒๐กก.ทุกคนไม่มีปัญหามีเงิน
เสีย น้ำหนัเกินเรียกว่า Exceed เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว พนักงานจะดูหนังสือเดินทาง
พร้อมตั๋วระบุเที่ยวบิน วันเวลา เที่ยวบินที่ Fligh N0.เราบินกลับ ด้วยเครื่องสาย
การบิน PIA ได้บอร์ดิ้งพาสส์แล้ว พากันไปที่ช่องทางออก Gate ไปรอขึ้นรถขน
ถ่ายผู้โดยสาร Nioplan เป็นแบบยกทั้งตู้ขึ้นช่องประตู ขึ้นเครื่องกลับบ้านแล้ว มี
ความรู้สึกว่าโล่งอก พ้นประเทศนี้แล้ว

เครื่องPIA DC10 พาพวกเราเหินฟ้าไปยังนครการาจี เมื่อครื่องขึ้นแล้วทุกคนก็ถ่าย
รูปกันเป็นที่ระลึก บางคนก็สั่งเครื่องดืมราคาแพงมาดื่มให้หายอยาก อดอยากมาเป็น
ปี ใบหน้าของแต่ละคนบ่งบอกถึงความดีใจที่จะได้พบหน้าลูกเมีย สนุกสนานเฮฮากัน
ตลอดทาง ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงถึงสนามบินนครการาจี (ปากีสถาน) ลงจากเครื่อง
บินไปเปลี่ยนเครื่อง Transit รออีก2ชั่วโมง ระหว่างนี้จะมีทีเดินเล่นอยู่ภายในห้องพัก
ผู้โดยสาร จะออกข้างนอกกได้หากเราแจ้งกับสายการบินว่าอยากเที่ยวในเมือง แต่คง
ไม่มีใครอยากเที่ยวเมืองนี้ เพราะเหม็นขีัแพะทั้งเมือง ผู้เขียนรู้สึกอย่างนี้จริงๆเพราะ
ตอนขึันเครื่องมาก็ได้กลิ่นเหม็นสาปทั้งเครื่อง กลิ่นอับๆเหมือนคนไม่อาบน้ำแต่ใช้น้ำหอม
ชะโลมไว้ โชยไปทั้งเคร่ือง ฝรั่งเรียกคนปากีสถานว่า (แพกกี้) คนไทยเรียก"ไอ้เหม็น"
เหม็นระดับโลก นี่ต้องเรียกว่าเป็นการผจญภัยขากลับอีกแบบ สายการบินราคาถูกที่บริ
ษัทจัดหางานชอบจัดให้ เป็นบรรณาธิการกับคนงาน กระเหลี่ยงไทย (ฝรั่งเรียกคนไทย
อย่างนี้)Third Country Nation (TCN) ไอ้พวกตาน้ำข้าวมันมองพวกเราอย่างนี้จริงๆ
แถมพวกจัดหางานยังทำพวกเราเจ็บเข้าไปอีก เก็บตังค์ราคาตั๋วเครื่องบินแพง แต่หาตั๋ว
ถูกสุดให้ (กลับถึงบ้านก็ดีแล้ววะ) ขึ้นเครื่องปากี DC10(ดอกจำปี) จากการาจี ใช้เวลา
เดินทาง4ชั่วโมงถึงดอนเมือง เครื่องบินผ่านรังสิต ทอดตัวลงต่ำเหนืออาคารโรงาน กางล้อ
ออกตึกตัก กำลังลงแล้ว นี่หริอดอนเมืองประเทศไทย Bangkok Airport เสียงล้อกระทบ
พื้นดังโคลม แล้วตามด้วยเสียงเร่งเครื่องเบรคดังสนั่นหวั่นไหว ปลอดภัยพวกเราลงถึงพื้น
แล้ว เครื่องกำลังออกจากรันเวย์ วิ่งเข้าแท็กซี่เวย์ ไปลานจอด เครื่องจอดสนิท

ลาก่อนPIA สาวการาจีโฮสเตทโบกมืออำลาที่ทางออก พวกเราสพายกระเป๋าลงจากเครื่อง
ไปขึ้นรถถ่ายผู้โดยสาร เดินทางต่อไปยังที่พักขาเขัา เข้าคิวประทับหนังสือเดินทาง Entry

ดูเหมือนทุกคนจะกล่าวคำสวัสดีกันบ่อยมาก คงเป็นเพราะดีใจ ทุกคนต้องเขียนการ์ดเข้า
ประเทศ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ที่จริงเขาจะหนีบติดไว้ตั้งแต่ขาออกจากประเทศไทยแล้ว
ถ้าไม่มีต้องเขียนใหม่ เมื่อเข้าได้แล้ว ไปรอรับสัมภาระ บางคนกระเป๋าหาย มันเปลี่ยน
เครื่องแต่ไม่กลับขึ้นมาบนเครื่องใหม่ ต้องไปแจ้งเจ้าหน้าที่ไว้ก่อน แล้วเขานัดมารับ
หากหายไปเลย เขาใช้ให้ประมาณ๓๐๐$ ไม่คุ้มแน่นอน

เมื่อได้กระเป๋าแล้วจะมีเด็กขนกระเป๋า(Porter) มาถามว่าเสียตังค์ไม่ต้องเปิดกระเป๋า ให้
สอดตังค์ไว้ในหนังสือเดินทาง เมื่อศุลกากรเห็นเงินจะประทับตราว่า ได้รับการยกเว้น
ภาษีเพราะอยู่นาน (Personal Effect) พจญภัยอีกเล็กน้อยที่บ้านเรา ช่องใครช่อง
มันPorterพาไป
ออกจากตรวจกระเป๋า เดินไปตามทางมองหาคนมารับกันเอาเอง มากันพร้อมทั้งบ้าน
เลยนะ

ยังมีต่อ (เชิญหน้า2ครับ)    

    


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 16, 2013, 08:12:20 am
 hungry2 HAPPY2!!
กลับมาพักได้๒เดือนมีคนมาชวนไปทำงาน สัญญา๓เดือน สัญญาสั้นๆ
น่าสนใจ เป็นงานของบริษัท ลอจีสติก(การขนส่งอุปกรณ์และติดตั้ง
เสาสัญญาณไมโครเวฟ (ทวนสัญญาณโทรศัพท์)Telephone Repeater

โปรดรอ :D :-X


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 17, 2013, 01:29:03 pm
นัดหมายกับบริษัทจัดหางานไปคุยกับตัวแทนนายจ้าง ต้องเตรียมเอกสาร
ใบผ่านงาน(Bio Data)(Resume) To Whome It May Concern
มีเยอะๆยิ่งดี หากไม่มีต้องพิมพ์เอาเอง แต่งเอาเองให้มันตรงกับที่เขาต้องการ
เช่นครั้งนี้ผู้เขียนต้องไปเป็น Motor Pool Mechanic จึงต้องหาเอกสารให้สมจริง
และหลักฐานการศึกษา ไปคุยตกลงเรียบร้อย เตรียมตัว 

การจะเดินทางไปประเทศนี้อีกเป็นครั้งที่๒ หากไม่ได้ไปที่เดิม วีซ่าเดิม
เปลี่ยนสถานที่ใหม่ บริษัทใหม่ ก็ต้องทำหนังสือเดินทางใหม่ บ้านเรา
ทำง่ายมาก ไปที่กองหนังสือเดินทางไทย ไปยื่นเรื่องขอทำหนังสือเดิน
ทาง ใช้บัตรประชาชนอย่างเดียว ไปกรอกรายละเอียดให้ครบ หากเคย
มีหนังสือเดินทางแล้ว ให้เอาเล่มเก่าไปแสดงระบุว่า (เคยมี) เจ้าหน้าที่จะ
เจาะรูยกเลิกและคืนเล่มให้เรา

จำเป็นต้องใช้หนังสือเดินทางเล่มใหม่เพราะหากใช้เล่มเดิมอาจเข้าประเทศ
ปลายทางไม่ได้ จะมีการตรวจสอบย้อนหลังว่าเคยมาทำอะไร เสียเวลาและ
อาจต้องนอนรอจนกว่าจะตรวจสอบเสร็จ เพื่อเป็นการป้องกันเกิดปัญหาจึง
จำเป็นต้องทำใหม่

สำหรับคนงานที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง จะถูกบริษัทจัดหางานพาไปทำเสียโน่นนี่มาก
มายตามแต่จะหลอกได้ จากเล่มละ๑พันบาทกลายเป็นหลายพันบาท หลัง
จากนี้ก็ไปตรวจโรค ไปฉีดยาตามแต่ละประเทศระบุ ไม่เหมือนกันทุกประเทศ
ต้องมีสมุดสีเหลืองของกรมอนามัย ระยะหลังๆดูเหมือนไม่มีแล้ว ใช้ของโรงพยา
บาลอย่างเดียว ค่าตรวจโรคประมาณไม่เกิน๑พันบาท ตัวแทนก็หากินตรงนี้อีก
โดยหลอกว่าต้องตรวจมากหลายอย่าง ให้เสียเงินเยอะๆ

ได้หนังสือเดินทางเล่มใหม่ประมาณ๑อาทิตย์หลังวันที่ทำ (ส่งไปให้ที่บ้าน)
นำหนังสือเดินทางไปให้ตัวแทนจัดหางานนำไปประทับตราวีซ่าที่สถานทูต
ปลายทางทำงาน เมื่อได้ประทับตราวีซ่า จากนั้นหาตั๋วเครื่องบินที่จะเดินทาง

ต่อ
   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 17, 2013, 03:35:31 pm
ได้หนังสือเดินทางแล้ว ไปคุยกับตัวแทนนายจ้าง เป็นคนอเมริกัน
เตรียมเอกสารไปพร้อม วันนี้ต้องปลอมตัวเป็นแมกคานิก(ช่างกล)
ฉนั้นเอกสารต่างๆจึงโยงใยถึงกันหมด รวมทั้งประสบการณ์ เรื่อง
นี้ใช้ให้เพื่อนที่เป็นงานบุคคลทำถนัดนัก (ฝรั่งสนใจแค่มีให้ดูเท่านั้น)
ทำงานที่ไหนต้องขอไว้นะครับ จำเป็นต้องหาเอกสารมาเพิ่ม
เพื่อให้สมจริง(เอกสารทางราชการห้ามปลอมนะครับ) ส่วนเรื่องการทำงานไม่ต้องพูดถึง
ต้องหาให้พอ ปีแรกก็เรียนทุกอย่างอยู่แล้ว ผ่านเวอร์คช็อบโรงงานทุก
วัน เข้าใจทุกอย่าง เมื่อเอกสารดีการคุยก็เป็นสิ่งประกอบเท่านั้น
(จำไปเป็นแบบอย่างกันนะครับ) สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวไปทำ
งานต่างประเทศ สมัครบ่อยๆ สัมภาษณ์บ่อยๆ จะได้งานดี ความ
กลัวจะลดลง สะสมคำถามที่ได้มาไปคิด หาทางออกดีๆ

สำหรับผู้เขียน ก่อนเดินทางไปตะวันออกกลาง ได้ผ่านงานกับต่าง
ชาติมามาก จึงไม่กลัวที่จะเข้าหา กล้าถาม กล้าเรียกร้องพวกต่าง
ชาติไม่ชอบคนหงอ เรียกเงินเดือนให้เกินตัวเข้าไว้ เขาจะอยากได้
และพยายามต่อรอง แต่อย่ามากเกินไป ผู้เขียนเคยเรียกมากจนเขา
ไม่เอา กลัวไปเลย อย่าปล่อยช่องว่างเงินเดือนไว้เป็นอันขาด เขาจะหา
ว่าเราตกงานให้เท่าไรก็เอา ทำใจกล้าๆใส่ตามที่ตัวเองต้องการ

วันนี้ผู้เขียนคุยกับฝรั่งอเมริกันจบแบบสบายๆ เซนต์สัญญาเรียบร้อย สาม
เดือน เงินเดือน ๒๕๐๐รียาล ต่อสัญญาได้หากมีการตกลงกันใหม่ ไม่บังคับ
แฟร์ดี อาทิตย์หน้าออกเดินทาง
   ก่อนออกเดินทางผู้เขียนได้พบเพื่อนร่วมงานสองคน เป็นคนศรีราชา คนหนึ่ง
เป็นเจ้าของอู่ซ่อม พี่เอก อีกคนเป็นช่างซ่อมเครื่องยนต์(ช่างตุ๋ย) ทั้งสองคนไม่เคยรู้จักกันรวมทั้ง
ผู้เขียน เราคุยกันไม่มากนักและได้นัดหมายเจอกันที่ดอนเมือง

เดือนกรกฎาคม๑๙๘๐ เป็นการเดินทางครั้งที่สอง   
ก่อนออกเดินทาง ตามธรรมเนียมจะมีเพื่อนไปส่ง นั่งคุยกันด้วยความเป็นห่วง คาดการณ์
กันไปต่างๆนาๆ ดีบ้างร้ายบ้างแล้วแต่จะนึกออก  บางคนบอกส่งเราไปชิมรางดูก่อน ถ้าดี
จะตามไป สำหรับผู้เขียนการไปเที่ยวนี้ ได้รู้ร้อนหนาวแล้ว ยังไม่รู้ก็เมืองที่จะไปนี่และ ไม่
เคยไป รู้แต่ว่าอากาศไม่ร้อนมาก อยู่ทางใต้ (ดีกว่าทางตะวันออก)

เมื่อชั่งกระเป๋าและได้บอร์ดิ้งพาสแล้ว (ที่นั่ง) ขาไปน้ำหนักกระเป๋าเบา มีแต่ชุดทำงาน กับกระเป๋า
สพาย โบกมือลาพรรคพวกที่ไปส่ง เดินเข้าประตูทางออก ไปตม.ตรวจประทับตราออกจากประเทศ
ไทย เดินไปที่เกต ทางขึ้นเครื่อง ขึ้นรถขนถ่ายผู้โดยสารไปเครื่องบินที่จอดอยู่กลางลาน วันนี้บิน
ด้วยเครื่องไทรสตาร์ Lockheet L1011 ของสายการบิน Gulft Air ลำตัวเครื่องเหมือน DC10
McDonnell Douglas ของสายการบินไทย เจ้าจำปี
 
()
L1011 คงจะพาเราบินไปด้วยความสวัสดิภาพ บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ360คน บนเครื่อง
มีทั้งไทยและแขกเป็นโฮสเตรทและสจ๊วจ ผู้หญิงเรียก โฮสเตรท ผู้ชายเรียก สจ๊วจ
ก่อนเครื่องออกเดินทาง สายการบินจะแสดงวิธีใช้เครื่องหายใจ ประตูทางออก แจ็กเก็ต
จะอยู่ใต้เบาะ วิธีใส่ เครื่องบินหากล่อนลงน้ำจะอยู่ได้๔๕นาทีก่อนจม ส่วนมากแตกไม่มี
ชิ้นดีเสียก่อน และถ้าจำเป็นต้องล่อนลงฉุกเฉิน จะต้องทิ้งน้ำมันเสียก่อน น้ำมันจะอยู่ที่
ปีกทั้งสองข้างประมาณ 75,000ลิตร คงไม่มีเวลาที่จะทิ้งน้ำมันหรอก คงต้องลงไปด้วยกัน
ทั้งคนทั้งน้ำมันนั่นและ แค่ล่อนลงได้ก็บุญแล้ว ส่วนมากลงแบบบังคับไม่ได้ ปักดิ่งควงสว่าน

ชั่งเหอะ ไหนๆก็ขึ้นมาแล้ว จากนั้นเครื่องจะค่อยถอยออกจากที่จอด แท็กซี่ไปตามทาง
ไปเข้ารันเวย์ แล้วแอ็บโพสท์ เร่งเครื่องเต็มที่ ปล่อยเบรควิ่งออกไปจนเกือบสุดรันเวย์
รันเวย์ที่ดอนเมืองยาวประมาณ2800เมตร ฉนั้นประมาณ2000เมตรก็ต้องยกหัวขึ้น แล้ว
วิ่งต่อจนล้อพ้นรันเวย์ เมื่อพ้นรันเวย์แล้วเครื่องจะเพิ่มระดับขึ้นอย่างเร็ว และกับตันจะเอียง
เครื่องซ้าย-ขวาเพื่อให้ผู้โดยสารเห็นด้านล่าง และมักจะคุยผ่านไมค์ว่า ผมคือกับตัน..
วันนี้อากาศแจ่มใส ท้องฟ้าโป่ง บินด้วยความสูง 35,000ฟิต ความเร็ว900กม/ชั่วโมง
โดยประมาณ คาดว่าจะใช้เวลาเดินทางถึงปลายทางประมาณ7ชั่วโมง หากท่านต้องการ
สิ่งใดเพิ่มเติมขอได้จากพนักงาน ขอให้ท่านเดินทางด้วยความสดวกสบาย
ต่อ   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 20, 2013, 04:25:37 pm
เรามองออกไปด้านข้างทางหน้าต่าง เห็นกทม.อยู่ข้างล่าง มีเมฆปกคลุมเป็น
หย่อมบางๆ อากาศเดือนนี้มีฝนร้อนชื้น เสียงโทนดังปลดเข็มขัด หลายคน
ลุกไปเข้าห้องน้ำ บางคนไปมองข้างหน้าต่าง คงเริ่มคิดถึงบ้าน มีคนไทยเกือบ
ครึ่งลำ มีแขกขาว ฝรั่ง และชาติอื่นๆอีก มองไม่ออก คนเอเซียหากไมพูด
บางทีก็ดูไม่ออก ส่วนคนไทยที่ไปทำงาน มองดูไกลๆก็รู้ ยิ่งคนอีสานยิ่งมีเอกลักษณ์
เฉพาะ คนไทยเดินขวางถนน เกาหลีเดินเข้าแถว ฟิลลิปีนส์ส่งเสียงเหมือนคนจีน
(บุตตังอีนังโน) เรียกพวกเดียวกันว่า"ปิน้อย" ออกนอกเรื่องไปอีกแล้ว

กลับมาบนเครื่องกัลฟแอร์ดีกว่า พนักงานเริ่มเสริพอาหาร ของกินเป็นอาหาร
ถาด มีให้เลือก ไก่ เนื้อ ปลา (ไม่มีหมู) แขกห้าม Chiken.? Beef.?
Fish.? No pork  Cofee กาแฟ Tea น้ำชา Juices น้ำผลไม้ Beer เบียร์
Wine ไวน์ No Whisky แขกไม่เสริพแอลกอฮอร์

อิ่มท้องแล้ว ดูหนังบนจอเล็กๆเหนือศรีษะ สลืมสลือ อีกหลายชั่วโมง เราบินตามตะวัน
ย้อนเวลา เวลาต่างกัน๔ชม.ออกจากดอนเมือง ๑๑โมงเช้า ถึง๖โมงเย็น แต่ดูนาฬิกา
เพิ่งจะบ่าย ๒โมง เครื่องลอยนิ่ง ได้ยินแต่เสียงเครื่องยนต์ นานๆจะสั่นเล็กน้อย อากาศ
ดีมาก ผ่านมาเลเซีย เข้าบังคลาเทศ ปากีสถาน เลาะทะเลไปทางอีหร่าน ผ่านอาราเบียน
กัลฟ์ เข้าซาอุฯ มองลงไปเห็นแต่ทะเลทราย แดงเป็นเนิน นานๆเห็นมีหย่อมสีเขียว
เล็กน้อย บินในประเทศซาอุฯอีก๑ชั่วโมง เครื่องกำลังจะลงแล้ว ให้ทุกคนนั่งที่ลัดเข็มขัด
มันน่ากลัวก็ตอนขึ้นกับลงนี่และ ตอนลงกลัวไม่ตรงรันเวย์ ตอนขึ้นกลัววิ่งเลยรันเวย์
เครื่องบินเบาเครื่องทอดตัวลงต่ำ ลดเพดานลงอย่างนิ่มนวล แล้วล้อก็แตะพื้นดังคลึน
เบาๆ เสียงเครื่องเร่งสุดเสียงเพื่อเบรค แล้วเบาเครื่องวิ่งออกจากรันเวย์ เรามองไปข้างหน้า
เห็นป้าย สนามบิน Riyardh Saudi arabia นครหลวงแห่งใหม่ที่กำลังก่อสร้างอย่างมากมาย
เครื่องเข้าเทียบงวง เดินออกจากเครื่องไปตามทาง มีลูกศรชี้ไป Passenger in ผู้โดยสาร
ขาเข้า ไปเข้าแถวตรวจหนังสือเดินทาง ลืมบอกไปตอนอยู่บนเครื่องมีการ์ดขาเข้าให้กรอก
ทุกคนต้องกรอกชื่อ นามสกุล หมายเลขพลาสปอร์ท แล้เซ็นต์ชื่อ มีรายละเอียดเยอะมาก
เช่นศาสนา สถานภาพสมรส อันไหนไม่รู้ข้ามไปเลย

ตม.ที่นี่แต่งตัวเป็นทหารสีเขียว ตัวเล็กๆตามแบบฉบับคนที่นี่ มองๆหนังสือเดินทางแล้ว
มองหน้านิดหน่อย ยิ้มเข้าไว้ ห้ามกวน(ต) ห้ามพูด ห้ามบอกเคยมา ห้ามอวดรู้ ห้ามส่ง
เสียง เงียบไว้ พวกตม.จะตาไวมาก สามารถจับผิดเก่ง เสียงกระแทกตรายาง ปึกๆ
ส่งหนังสือเดินทางคืน เรารับหนังสือคืนในใจนึก ไม่เจอปัญหา ไปก่อนนะ คนอื่นๆยัง
คงเข้าคิวอีกหลายคน ไปรับกระเป๋าเสื้อผ้าที่สายพาน ยังมีอีกด่านระทึกใจ ต้องเทกระ
เป๋าออก ดูทุกชิ้น อะไรที่สงสัยจะถูกโยนลงถังขยะทันที ผู้เขียนพอทราบมาแล้ว
จึงไม่มีอะไรให้โยน ผ่านฉลุย เห็นบางคนโดนทิ้งทำตาปริบๆ ส่วนมากเป็นของกิน

รูปภาพ เทป วีดีโอ หากอยากได้คืนมาเอาวันหลัง ไม่เอาดีกว่า เผลอๆโดนข้อ
หามีภาพต้องห้าม ติดคุกก่อน พระเครื่องก็ห้ามนะครับ บางครั้งสร้อยคอแขวน
พระยังต้องถอดออกทิ้ง หนังสือที่มีรูปผู้หญิงก็ไม่ได้ ต้องเอาสีดำปิดหน้าเสียก่อน
ยาประจำตัวต้องมีใบแพทย์ด้วยจึงจะผ่านได้ อุปกรณ์กล้องแบบมือโปร์ก็ห้ามครับ
บอกแล้วว่าคิดไม่ถึงหลายอย่าง บางคนพูดขอคืน บางคนได้คืน แต่ส่วนมากไม่
คืน ผมไม่กล้าตอแย กลัวโดนตรวจละเอียดยิบ

เป็นอันว่าออกมาได้ เจอคนมารอรับ พรรคพวกที่มาด้วยก็มากันแล้ว เดินทาง
ต่อไปแค้มป์ อากาศร้อนแทบแทรกแผ่นดินหนี คนมารับบอกอาทิตย์หน้าเราต้อง
บินไปอีกเมืองหนึ่ง ตอนนี้ไปสำนักงานก่อน

ต่อ 

   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: หลอดไฟ ที่ เมษายน 20, 2013, 06:58:55 pm
อ้างถึง
รูปภาพ เทป วีดีโอ หากอยากได้คืนมาเอาวันหลัง ไม่เอาดีกว่า เผลอๆโดนข้อ
หามีภาพต้องห้าม ติดคุกก่อน พระเครื่องก็ห้ามนะครับ บางครั้งสร้อยคอแขวน
พระยังต้องถอดออกทิ้ง หนังสือที่มีรูปผู้หญิงก็ไม่ได้ ต้องเอาสีดำปิดหน้าเสียก่อน
ยาประจำตัวต้องมีใบแพทย์ด้วยจึงจะผ่านได้ อุปกรณ์กล้องแบบมือโปร์ก็ห้ามครับ
บอกแล้วว่าคิดไม่ถึงหลายอย่าง บางคนพูดขอคืน บางคนได้คืน แต่ส่วนมากไม่
คืน ผมไม่กล้าตอแย กลัวโดนตรวจละเอียดยิบ
อย่างนี้อินเตอร์เนตจะใช้ได้หรือครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 20, 2013, 08:21:55 pm
 shocked2อย่างนี้อินเตอร์เนตจะใช้ได้หรือครับ

ตอบ งานอย่างเราไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพ์ ส่วนคนที่จำเป็นต้อง
ใช้ เช่นช่างเขียนแบบ เอนจิเนียร์ ต้องไปหาซื้อเครื่องเอาที่โน่น (ปลายทาง)
แล้วให้เพื่อนส่งMail ไปให้ เอาติดตัวไปเสี่ยงมาก อะไรที่เราจำเป็น
เขาบอกไม่จำเป็น เขาไม่สนใจเรา เขาไม่ง้อเรา มีคนที่อยากเข้าประเทศ
เขาเยอะมาก แต่พวกอเมริกันจะมีอภิสิทธิมากกว่าคนเอเซีย เป็นเพราะมี
แสนยานุภาพเหนือกว่า และสถานทูตเขาแข็งแรง พวกตม.ก็ได้แต่ทำตาปริบๆ
ในบางครั้ง แต่บางคนก็เอาเรื่องไม่ยอมง่ายๆ :D


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 24, 2013, 08:37:19 pm
จากสนามบินRiyadh เราเดินทางไปพักที่แค้มป์ LSG อยู่ชานเมือง ที่นี่มีทุกอย่าง
ที่นอนพร้อมห้องนอนอย่างดี โรงอาหาร ห้องพักผ่อน มีวิดีโอ มีวงแบรนด์จากเมืองไทย
แค้มป์นี้มีคนไทยอยู่เยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นช่างซ่อมรถยนต์ บริษัทฯมีรถรวมกัน
ประมาณ400คัน กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีทั้งอเมริกัน เลบานอล อังกฤษ
ฟิลลิปินส์กินอาหารเย็นแล้วพักผ่อน
วันรุ่งขึ้นไปที่มอเตอร์พูล(โรงซ่อมรถยนต์) ไปอุ่นเครื่องกันวันแรก ได้คุยกับฝ่ายบุคคล
ที่เคยเจอที่เมืองไทย เป็นอเมริกัน อยู่กับคนไทยจนคุ้นเคย รู้จักนิสัยคนไทยดี
ชอบเมืองไทย อย่างที่เคยบอกคนอเมริกันจะมีอะไรดีกว่าชาติอื่นๆที่อยู่ในประเทศนี้ คือ
มีสวัสดิการและความเป็นอยู่แบบสะดวกสบาย ถึงแม้จะอยู่กลางทะเลทรายก็จะมี
สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย
วันนี้มีรถยนต์เข้ามาซ่อมเกือบสิบคัน เป็นรถบรรทุกหัวลากจูงและรถนั่ง ไม่มีรถญี่ปุ่น
เลย รถลากเทเล่อร์ยี่ห้อMAC รถเก๋งนั่ง เชฟวี่ หัวหน้าโรงซ่อมให้ผมไปดูแอร์รถลาก
อาการเติมน้ำยาแล้วยังไม่เย็น ก่อนหน้านี้ช่างแขกซ่อมแล้ว ไม่สำเร็จ เปิดหัวยกขึ้น
ดูคอมพ์เพรสเซ่อร์ วัดแรงดัน เร่งเครื่องแล้วแรงดันตก แสดงว่าน้ำยาอยู่ทางด้านไฮ
ไซด์ วิเคราะห์ได้๒อย่าง ฟิลเตอร์ไดเออร์ตันหรือเอ็กซ์แปนชั่นวาลว์ตัน ใครสนใจซ่อม
แอร์รถยนต์มาตรงนี้ ดูไปตามท่อไฮไซด์ พบฟิลเตอร์ไดเออร์ ดูที่กระจกใส น้ำยาเต็ม
งานนี้เอ็กซ์แปนชั่นวาว์ลเสียหรือตันแน่นอน (หากเติมน้ำยาเพิ่มเข้าไป ไม่ท่อแตกก็
โบลออกที่ตูดคอมพ์)
ต่อ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 24, 2013, 08:39:19 pm
จัดการปล่อยน้ำยาออกทางไฮไซด์ ทางโลว์ออกช้ามากกว่าจะหมดคงนานมาก
ค่อยๆเปิดทีละน้อย ไม่งั้นน้ำมันจะออกมาเลอะเทอะ แต่มันก็ต้องออกมาอยู่แล้ว
อีกอย่างหากปล่อยเต็มที่ มันจะกระจายฟุ้งไปทั่งโรงซ่อม ไปหาผ้ามาโปะตรงปลาย
สายไว้ให้มันช่วยซับน้ำยาและน้ำมันดีกว่า คราวนี้ปล่อยได้แรงขึ้น แขกอัดน้ำยาไว้
เต็มที่ รถใหญ่ขนาดนี้ใช้น้ำยาประมาณไม่เกิน๒กก. แต่นี่น่าจะเกินไปมาก น้ำยา
จะออกเป็นช่วงๆเพราะตรงปลายท่อจะเป็นน้ำแข็ง ทำให้ไหลออกไม่สดวก ตอนใกล้
จะหมดจะมีหยุดแล้วออกอีก หาประแจไปถอดเอาคอยล์เย็นออก ถอดสายเข้า-ออก
แล้วถอดน็อตยึดฝาครอบคอยล์เย็นออก ที่แคบ ยากมาก กว่าจะหลุดออกมาได้ เกือบ
หมดวัน ถอดเอกซ์แปนชั่นวาวล์ออกมาดู มองทางรูทางเข้า เห็นตะแกงตันสนิท
จัดแจงแคะขี้ผงออกแล้วเอาลมเป่าย้อนกลับ ถ้ามีของใหม่เปลี่ยนเลยครับ แต่ที่นี่
ไม่มีสต็อกไว้ ต้องรอเป็นอาทิตย์ ทำความสะอาดเสร็จ ล้างคอยล์เย็นด้วยน้ำแรงๆ
ให้สะอาด เอาลมเป่าให้แห้ง ใส่กลับเหมือนเดิม ประกอบเข้าที่
ต่อพรุ่งนี้


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: plak+ ที่ เมษายน 26, 2013, 03:39:36 pm
บ่ายนี้ ผมไม่ได้ทำงานเลยตามยังกะไปเองเลยครับท่าน รอครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 27, 2013, 09:21:32 am
ประกอบเข้าที่เรียบร้อย จัดการแว็กซ์ลมออกแลว้เติมน้ำมันคอมพ์ (วิธีเติน้ำมันคอมพ์มี๒วิธี คือเติมก่อน
แว็กซ์ เปิดน็อตข้างตัวคอมพ์ออกแล้วเติมน้ำมัน หากตัวน็อตตะแคงด้านข้างตัวคอมพ์
ให้เติมเต็มพอดีด้านข้างแล้วปิดฝากลับ หากฝาอยู่ด้านบนให้ตวงน้ำมัน ประมาณ๗๕
ซีซี เติมมากเกินไปไม่ค่อยเย็น น้อยเกินไปเปลือกคอมพ์ร้อน

อีกวิธี แวกซ์ลมออกก่อนจนติดลบ-๒๙.๕ ปิดวาวล์ แล้วเอาสายสีเหลืองจุ่มที่น้ำมันที่ตวงไว้ เปิดวาวล์เบาให้ดูดน้ำมันกลับจนหมดถ้วย ปล่อยให้ลมกลับไปจนน้ำมันผ่ายสายหมด แล้ว
จึงย้ายสายเหลืองไปต่อแว็กซคั่มอีกครั้ง เปิดเครื่องแว็กซ์อีกครั้งจนติดลบ๒๙.๕PSIG ใช้เวลา
ประมาณ๑๐-๑๕นาที ปิดวาวล์ ทิ้งไว้สักครู่ ดูว่าเข็มกลับคืนหรือไม่ ถ้าเข็มกลับคืนแสดงว่ามีที่รั่ว หาให้เจอ แล้วแว็กซ์ใหม่ หากไม่เจอ อาจต้องใช้ไนโตรเจน หรือใช้R22ลองใส่ แล้วใช้ฟองสบู่หาดู ต้องหาให้เจอ หากหาไม่เจอแล้วเติมน้ำยาไป เดี๋ยวก็กลับมาอีก เมื่อไม่รั่วแล้ว แว็กให้
สะอาด ทำตามขั้นตอนแรก  ย้ายสายสีเหลืองไปใส่ถังน้ำยา เปิดวาวล์ที่ถังน้ำยาก่อน หมุน
สายสีเหลืองตรงวาวล์ออกเล็กน้อยให้น้ำยาไล่อากาศออกไป หมุนสายปิด เปิดวาวล์สีน้ำเงินให้
น้ำยาเข้าคอมพ์ (ต่อสายสีน้ำเงินเส้นเดียวที่ด้านขากลับ) วาวล์สีแดงปิดไว้ให้แน่นไม่ใช้

ปล่อยน้ำยาไหลเข้าไปจนเท่าแรงดันถังน้ำยา(ไม่เกิน๑๒๐PSIG) ปิดวาวล์ไว้ก่อน ตรวจเชค
รั่วอีกครั้งด้วยฟองสบู่หรืออาจใช้โพรเพนก็ได้ เมื่อไม่มีที่รั่วแล้ว ติดเครื่องยนต์ เปิดแอร์เติมน้ำยา
เพิ่ม (ไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์ เดินเครื่องปกติ )ปล่อยน้ำยาเข้าไปเรื่อยๆดูที่ตาแมว่าน้ำยาวิ่งหรือ
ไม่ หากไม่ตันจะเห็นวิ่งเป็นฟอง เอามือจับที่ท่อขากลับไว้ให้ใกล้ๆคอมพ์(ตรงตูดคอมพ์ก็ได้)หาก
จับได้ เมื่อน้ำยาเริ่มกลับจะรู้ที่มือ เติมต่อจนเย็นถึงมือ แล้วจึงปิดวาวล์ ลองเร่งเครื่องยนต์ดู เข็มน้ำยาจะวิ่งขึ้นลงตามแรงเครื่องยนต์ ระหว่าง๑๒-๓๕ PSIG ที่ตะวันออกกลาง จะใช้น้ำยามากกว่าบ้านเรา อากาศเป็นตัวแปล Ambient  temp บรรยากาศ มองที่ไซท์กลาส(ตาแมว)จะเห็นน้ำยาวิ่ง ไม่จำเป็นต้องเติมจนใส บางที่เกินไปมาก เอาแค่ถึงคอมพ์พอ

ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดที่ช่องลมออก ต้องต่ำกว่า๑๐ซี (อยู่ในร่ม) ความแตกต่างในห้องโดยสารประมาณ
๘-๑๒ซี วัดได้ดังนี้ก็พอใจแล้ว
เป็นอันว่าซ่อมเอ็กซ์แปนชั่นวาวล์สำเร็จ คนขับพอใจ ปล่อยรถออกไปได้ วันนี้สอบผ่าน ยังมีรถเข้าคิวรออีกหลายคัน


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 27, 2013, 09:32:17 am
 โปรดรอ จะพาไปเที่ยวเมืองRiyadh ครับ HAPPY2!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: TongTang-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 02, 2013, 06:54:34 pm
แอบย่องเข้ามาอ่าน  ju_ju!! :P



หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 02, 2013, 07:46:10 pm
สบายดีนะอาจารย์   lsv-smile


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 04, 2013, 09:40:34 am
แคมป์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของตัวเมือง ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง ทางเข้าเมืองยังเป็นฝุ่นสีแดง ถนนกำลังก่อสร้าง สองข้างทางเต็มไปด้วยบริษัทก่อสร้าง จากต่างชาติ ชื่อแปลกๆ ชื่อหน้าจะเป็นฝรั่งตามด้วยอาหรับ คือฝรั่งบวกแขก หรือแขกบวกฝรั่ง เช่นอย่างบริษัท
ที่ผู้เขียนอยู่ ลอจีสติก ซิสเตม กรุ๊ป อาหรับ,อัลโมจิล,อัลฟร๊านอัลอับดัลล่าร์,อัลฟิลลิปส์อัลอาหรับ,ซีเมนต์อาหรับ, บริษัทฯใหญ่ๆที่ผลิตสินค้าขายไปทั่วโลกยังมารับเหมาที่นี่กันอย่าง
ทั่วหน้า คิดไม่ถึงว่าจะได้เห็นบริษัทฯพวกนี้มาเป็นผู้รับเหมา อเมริกา เยอร์มัน เนเธอร์แลนด์
ล้วนเป็นบริษัทฯยักษ์ใหญ่ทั้งนั้น เครื่องมือหนักเบาล้วนทันสมัย รุ่นล่าสุด ไม่เคยเห็นในไทย

ทางเข้าเมืองด้านเดียวที่ผ่านยังมากมายขนาดนี้ ไปเที่ยวย่านศูนย์การค้ากันดีกว่า (ซูกค์) ตลาด
ตกเย็นแดดร่มลมตก พอคลายร้อน(แต่ก็ยังร้อนอยู่ ประมาณ ใกล้๔๐ซี) กลางวันใกล้๕๐ซี ร้อน
มาก ต้องทำงานในร่ม สงสารคนที่ต้องทำงานกลางแดด ตัวเกรียม ที่นี่แมลงวันชุมมาก ตอมไม่เลือกที่ เวลากินอะไรมันก็แย่งกิน ต้องคอยแกว่งมือหนี มันไม่เกรงใจ พวกฝรั่งมักจะด่าดัง (เชียส) ฟักส์ มายก็อด ฟักกิ้งฟลาย(ไม่ต้องแปลนะ) ผู้เขียนได้แต่ขำในใจ อือเราก็อยากสาบถ
เหมือนกัน มันรบกวนจริงๆ จะมีรถพ่นหมอกควันไล่แมลงวันไปตามถนน เหมือนเมืองในหมอก
พอหมอกจางแมลงวันมันก็กลับมาอีก เนชั่นแนล เบริด ออฟ ซาอุฯ นกประจำชาติซาอุฯ
ฝรั่งว่าอย่างนั้น
ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า เต็มไปด้วยคนเอเชีย อย่างพวกเรา หาซื้อเครื่องเสียง มีร้านขายติดๆกัน
เป็นย่านเหมือนบ้านหม้อ คนเต็มร้านเหมือนแจกฟรี มีร้านอาหารแทรกอยู่ข้างทาง ขายเนื้อแพะ
หมุน ผ่าขนมปังแล้วเฉือนเนื้อแพะใส่ตรงกลาง มีผักสลัดรองและหอมใหญ่นิดหน่อย คนไทยไม่ชอบ บอกเหม็นสาบแพะ     

ยังไม่เคยลองชิมเพราะเป็นแพะ ผู้เขียนลองชิมแซนด์วิชไข่ ใช้ขนมปังผ่าตามยาว เจียวไข่ใส่เกลือป่นเล็กน้อย ในขนมปังมีหอมใหญ่ซอยและผักกาดสลัด อันละ๑รียาล (๘บาท) นอกจาก
นี้ยังใส่ไก่หมุนก็ได้ ยังไม่รู้เรียกว่าอะไร
คนที่นี่เวลาเจอกันครั้งแรกจะพูดว่า สลามมาเลกุม ตอบว่า อาเลกุมมัสลาม แล้วถามต่อ เกฟฮาแล็ค ตอบ อะฮัมฮ์ดูลีแล (สวัสดี ตอบ พระเจ้าเป็นสุข ถาม คนอื่นๆสบายดีหรือ ตอบ ทุกคนสบายดี) มีคำว่า (ควยซ์ แปลว่าดี ออกเสียงตัว ซ แรงๆหนักๆ)ไม่ใช่คำหยาบ แต่คนไทยมักฟัง
เป็นคำหยาบและหัวเราะขบขัน แขกจะเรียกคนที่ไม่รู้จักว่า อากุล อากุลลัค พี่ชาย น้องชาย เรียกคนงานว่า ราฝัค (เด็กๆลูกพระเจ้า)
เราเดินผ่านร้านที่ไม่ค่อยมีคนซื้อของ แขกจะเรียก ใช้คำว่า ซาดิก(เพื่อน) อะฮะเล็น ยินดีต้อนรับ “ชูป-ชูป ดูๆนี่  บางคนขายดีไม่มองไม่เรียก ไม่ง้อ ก็เป็นเรื่องธรรมดา ร้านไหนขายเก่งมีของเยอะ คนเข้าเต็มร้าน กำลังเดินเพลินๆได้ยินเสียงเรียก”ซาล่า”ๆ คือไปละหมาด เสียงร้านปิดประตูกัน ดังครึดๆ(ประตูม้วน) เจ้าของร้านจะพูดว่า ซาล่าๆ ทุกคนที่ยังไม่ซื้อต้องออกจากร้านไปก่อน บางคนจ่ายตังค์ยังไม่ได้ของก็ต้องรอหน้าร้าน ใช้เวลาประมาณ๑๕นาที
.....next.....


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 04, 2013, 09:54:08 am
 TongTang-LSV team♥
 eskimo_bkk-LSV team♥
 :D :)ขอบคุณที่เป็นห่วงครับ สบายดีครับ ขัดข้องที่เครื่องคอมพ์
ช้าหน่อยแต่ยังไม่จบง่าย หากท่านยังติดตามอ่านและไม่เบื่อเสียก่อน
ไปดูตามชั้นหนังสือ ไม่มีใครเที่ยวประเทศนี้เป็นเล่มหนังสือ เข้าใจว่า
ไม่มีวีซ่าท่องเที่ยวและเขาไม่ต้อนรับการท่องเที่ยว คงมีแค่เกล็ดเล็กน้อย
ประเทศข้างเคียง หลายอย่างยังถูกเก็บงำ น่ารวบรวมไว้ จะพยายาม
บันทึกมาอ่านกันครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ
ผู้เขียน:เฉียบ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 04, 2013, 11:55:04 am
อยากให้มีห้องสมุดในเว็บนี้

เก็บเรื่องราว สาระ ที่เป็นประโยชน์กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้

บางกระทู้ บางหมวด เสียดายที่ มันหายไป

กระทู้ที่ไร้สาระ มันหายไปก็ไม่เป็นไร แต่กระทู้ ของท่าน

กับ อีกคนหนึ่งเนี๊ยะผมเสียดาย ครับถ้ามันหายไป

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=78794.0

โดย thawach.

 tongue3


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 04, 2013, 02:03:03 pm


มาถึงที่นี่ใหม่ๆยังไม่ค่อยมีตังค์ เดินดูไปเรื่อยๆดีกว่า ช่วงละหมาด คนงานจะอยู่ข้างฟุตบาท
กันมาก จับกลุ่มคุยกัน แอบมองผู้หญิง คนท้องถิ่นจะคลุมศรีษะมิดชิด ใช้ผ้าสีดำคลุมทั้งใบหน้ามิด มองเห็นแต่รูปร่างใบหน้าเท่านั้น  หากเป็นตอนกลางวันก็จะเห็นผิวเนื้อที่ซ่อนใต้ผ้า
 
คลุมอยู่บ้าง ยิ่งห้ามก็ยิ่งอยากเห็น ก็ได้แค่แอบดู ถ่ายรูปก็ผิด พูดด้วยก็ไม่ได้ อันที่จริงก็พูดกันไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว มีผู้หญิงบางคนก็อยากรู้จักคนแปลกหน้าต่างชาติ เดินผ่านใกล้ก็พูดทักทาย แต่ดูเหมือนไม่อยากให้ใครได้ยินและไม่กล้ามองมาตรงๆ มันเสี่ยงมากที่จะไปตอบคำทักทาย
อาจมีคนเคร่งศาสนาจับตามองอยู่ และพร้อมที่จะเป็นตำรวจทันที ผู้ชายจะแต่งตัวด้วยชุดหมีสีขาวแขนยาว ด้านล่างเป็นสะโล่งตรงๆ ไม่มีขากางเกง กางเกงในเป็นขาก๊วยขาว กลมกลืนกับ
ชุด มีผ้าคลุมหัวสีขาวหรือสีแดงตาหมากรุกขาวคลุมบนหมวก  หมวกกระปิเยาห์
 ครอบบนผ้าด้วยเชือกถักสีดำ
     
ชุดที่เหมือนกันจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร จึงมีตำรวจ ผู้นำศาสนา ข้าราชการ พ่อค้า ใครก็ได้
บางทีคนที่ยืนอยู่ข้างๆเราก็อาจแสดงตัวแล้วจับเราเสียเมื่อไรก็ได้ เอาตัวรอดปลอดภัยไว้ก่อนด้วยการไม่สนใจอย่างออกหน้าออกตา  ร้านขายทอง   
ผู้หญิงที่นี่นิยมใส่ทองที่ข้อมือ ข้อเท้า แหวน คนรวยจะใส่มากจนล้นข้อมือข้อเท้า ไม่นิยมสรัอย
คอ ร้านขายทองจะมีลูกค้าเป็นผู้หญิงมากกว่าชาย  ร้านขายทองไม่ต้องมีตำรวจเฝ้าหน้าร้าน
โทษแขวนคอ หากใครอยากลอง มีร้านติดๆกันหลายร้านให้เลือก
ร้านขายธัญญาหารและช็อกแล็ท
 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 14, 2013, 07:28:54 am
 ต่อ-  ร้านขายธัญญาหารและช็อกแล็ท จะอยู่ตามซอยรวมกันหลายๆร้าน ถัดไปเป็นร้านผล
ไม้ มีผลไม้จากตะวันออกลางเช่นองุ่น ผาลัม ที่มีรสชาติอร่อยมากและที่ประเทศนี้มีผลไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่สุดยอดคือ ทับทิม ใครได้ชิมถือว่ามีบุญปาก เพราะหาซื้อยากในต่างประเทศ มี
ขายเฉพาะทางใต้ของประเทศ ผลไม้อื่นๆทีมีมาก แอปเปิ้ล กล้วยหอม  มาจากอเมริกากลาง
ซื้อเป็นกล่อง เป็นลัง ไม่แพง ซื้อเป็นกิโลก็ได้ การชั่งกิโลก็ไม่ต้องสนใจให้ตรงเป้ะ ส่วนมากจะชั่งให้เกินไว้ก่อน เพราะเขาไม่คิดเล็กคิดน้อยอย่างคนจีนบ้านเรา อันนี้ผู้เขียนประทับใจมาก ไม่ว่าไปซื้ออะไรตามร้านจะชั่งแบบเดียวกัน ถ้าซื้อแอปเปิ้ลเป็นลัง เขาจะดูที่ข้างลังว่า น้ำหนักสุทธิเท่าไร แล้วปัดเศษทิ้ง คิดแค่จำนวนไม่มีเศษ

ที่หน้าธนาคารจะมีคนงานไปโอนเงินหรือซื้อดร๊าฟมากมาย ค่าโอนเงินจะแพงหน่อย คนงานจะ
นิยมซื้อดร๊าฟหรือตั๋วแรกเงิน ตั๋วแรกเงินคิดค่าธรรมเนียมประมาณ๑๐- ๒๐รียาลส์ เป็นลักษณะ
เหมือนเชค ส่งถึงเมืองไทยแล้วต้องรอเคลียร์ริ่งประมาณ๑๕-๔๕วัน แล้วแต่ว่าทางธนาคารต้น
ทางได้โอนเงินมาปลายทางหรือยัง เรื่องนี้สร้างปัญหาให้คนงานเป็นอย่างมาก ทางบ้านได้รับ
เชคตั้งนานแต่ยังไม่มีเงินเข้าบัญชี บางคนทำจดหมายหาย ส่งไปไหนไม่รู้ ต้องแจ้งต้นทางและรอออกเชคใหม่ ใช้เวลาบางทีตั้งหลายเดือนกว่าที่จะรู้ว่ายังไม่มีการจ่าย คนงานบางคนเขียน
ภาษาอังกฤษไม่ได้ จ่าหน้าซอง KORAT (โคราช)แขกส่งไปที่เกาหลี นึกว่าKOREA กว่า
จดหมายจะตีกลับอีก๒เดือน คนส่งก็ไม่รู้นึกว่าหายที่เมืองไทย ไปแจ้งธนาคารว่าเชคหาย อีก
เดือนต่อมาได้รับจดหมายคืน ทีนี้ต้องเอาเชคไปเปลี่ยนใหม่ เพราะต้นทางได้อายัดการจ่าย
เชคหมายเลขนี่ไว้แล้ว ธนาคารชื่อ อัลลาจิ เป็นทีนิยมของคนงานเพราะค่าธรรมเนียมถูกสุด
และเปิดตอนกลางคืน ผู้เขียนก็เคยใช้ในตอนแรกๆ เพราะยังไม่ค่อยเข้าใจ ซื้อตามคนทีเคย
อยู่ก่อน ต่อมาผู้เขียนทราบว่าธนาคารอัลลาจิ เป็นบริษัทจดทะเบียนแรกเปลี่ยนเงินตรา ไม่มี
สถานะเท่าธนาคารพานิชย์ ใช้วิธีเอาเงินไปฝากที่ธนาคารกรุงเทพฯ แล้วสั่งจ่ายเชคให้ผู้ซื้อนำ
ไปแลก เมื่อเงินหมดบัญชี ทางธนาคารกรุงเทพฯก็จะต้องรอเงินมาเข้าบัญชีใหม่ และแจ้งว่า
รอเคลียรริ่ง ต่อมาผู้เขียนยอมเสียเวลาเสียค่าธรรมเนียมแพงหน่อย โดยซื้อดร๊าฟกับธนาคาร
พานิชย์ เมื่อส่งถึงเมืองไทยจะขึ้นเงินได้ทันที แต่การซื้อที่ธนาคารพานิชย์นี้จะต้องซื้อในเวลา
งาน ดังนั้นจะต้องหาเรื่องเข้าเมืองในเวลาทำงาน

ต่อ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มิถุนายน 24, 2013, 09:35:40 pm
กรุณารอหน่อยนะครับ หายยุ่งเมื่อไร ต่อแน่ครับ :D


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มิถุนายน 25, 2013, 10:46:12 am
ชอบครับ รอได้ อ่านแล้วได้ความรู้ดี

 ping!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 18, 2013, 10:37:27 pm
พอมีเวลาอยูบ้าง แต่เครืองคอมพ์ต้องได้รับการแก้เสียก่อน :D undecided2


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 25, 2013, 08:58:27 am
               (http://ds-lands.com/data_images/top_cityes/riyadh/riyadh-10.jpg)

               ทำงานทีมอเตอร์พูลรียาห์ดได้เพียง๕วัน ยังเที่ยวเมืองหลวงใหม่ไม่ทั่ว วันนี้ทางเจ้าหน้าที่ออฟฟิส
               แจ้งว่าให้เตรียมตัวเดินทางไปเมืองเจดด้าห์ในตอนเช้า เลิกงานตอนเย็นเราเก็บของเข้ากระเป๋าเรียบ
               ร้อย ๓แม็คคานิคพร้อมออกเดินทาง มีพิ่กิตติ นายตุ๋ยและผู้เขียน ตอนเช้ามีคนขับรถไปส่งที่สนามบิน
               พวกเราไปขึ้นเครื่องบินที่ห้องพักผู้โดยสารภายในประเทศขาออก(Local Terminal) บินภายในประเทศ
               ไมจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางและไม่ต้องตรวจประทับตรา แต่อาจต้องมีหนังสืออนุญาตจากนายจ้าง
               ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ ผู้โดยสารภายในประเทศเยอะมาก ที่นี่เขาใช้เครืองบินเหมือนรถเมล์ ซื้อตั๋วแล้ว
              ก็รอขึ้นเครื่องได้เลย ในประเทศมีสนามบินภายใน๒๒แห่ง และอินเตอร์๓แห่ง(ระหว่างประเทศ) พวกเรา
              ต้องไปถึงสนามบินก่อนเครื่องออกอย่างน้อย๒ชั่วโมง เพื่อชั่งน้ำหนักกระเป๋าและเชคที่นั่งว่าจองไว้ถูกต้อง
              และมีที่นั่ง เขาจะให้ที่นั่งคนที่จองไว้ก่อนที่เหลือค่อยให้คนทีคอย คนทีคอยต้องไปเข้าชื่อคิวไว้ก่อน เมื่อ
              ที่นั่งเหลือเขาจะให้ตามคิวที่ลงไว้ แต่พวกอาหรับมักแย่งไปก่อน บางทีก็ทะเลาะกันบ้าง เสียงเอะอะอาจ
              มีบ้างแต่ไม่รุนแรง สายการบินจะให้เกียร์ติผู้หญิงก่อน ใครที่มีแม่บ้านไปด้วยก็จะได้ที่นั่งก่อน สำหรับคน
             งานขุดทองอย่างพวกเราไม่มีโอกาศที่จะได้พาแม่บ้านติดตามไปด้วย จะมีบ้างก็จะต้องเป็นผู้บริหารระดับ
             สูง ดังนั้นพวกเราต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้าเท่านั้น การสำรองที่นั่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก ไปที่จำหน่ายตั๋วแล้วจอง
             ที่นั่งเมื่อได้แล้วก็ออกตั๋ว ถ้ายังไม่เดินทางก็จองที่ไว้ก่อน ใกล้วันเดินทางแล้วค่อยออกตั๋ว
เราขึ้นรถขนถ่ายผู้โดยสารจากห้โดยสารไปยังเครื่องที่จอดบนลาน ใช้รถนีโอพลาน
              ของเยอร์มันที่มีลิฟท์ในตัว สามารถยกห้องโดยสารขึ้นไปเทียบประตูเครื่องบินได้ด้วยตัวเอง    มีเครื่อง
             ปรับอากาศเย็นสบายเหมือนไม่ใช่หน้าร้อน แต่อากาศด้านนอกนั้นร้อนมากเหมือนเตาอบ
(http://static.mubasher.info/File.Story_Image/2706327.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ สิงหาคม 25, 2013, 04:46:47 pm
 ping!

 thank2


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 26, 2013, 12:04:02 am
             

                (http://www.constructionweekonline.com/pictures/Riyadh-airport-expansion.jpg) -สายการบินภายในประเทศSaudia(Saudi Arabian Airline)เครืองบินดีมาก เป็นเครืองบินใหม่
               เช่นAirbus เครื่องRolls-Royce ราคาแพง เครื่องบินกำลังแท็กซี่ไปรันเวย์ แอร์โฮสเตรทกำลังบอกวิธี
               สรวมชูชีพเวลาร่อนลงน้ำ ประตูทุกบานจะเปิดออกเมื่อร่อนลงฉุกเฉิน ให้ทุกคนเอามือประสานศรีษะ
               ไว้ก้มหัวลงหาหัวเข่า ผมไม่รู้ว่าป้องกันอะไรได้ แต่รู้ไว้ก็ดี เห็นส่วนมากตายทั้งลำ รอดยาก กระเด็นไป
               หาชิ้นส่วนแทบไม่เจอ ผมมักจะทำใจไว้เสมอว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ เครื่องบินมาถึงหัวรันเวย์ จอดเพื่อ
               เตรียมเร่งเครื่องยนต์ และแล้วเสียงเครื่องยนต์ก็ดังสนั่นหึ่งๆออกวิ่งไปตามรันเวย์ เสียงล้อกระทบพื้น
               ตึบๆเป็นจังหวะเส้นปูนถี่ขึ้น จนรู้สึกว่าพ้นพื้นดิน เหมือนอยู่ในห้องลิฟท์โรงแรม
             
              มองไปข้างหน้าต่าง(http://www.airport-technology.com/projects/king-khaled/images/2-king-khaled-airport.jpg)
              เห็นตัวเมืองริยาดห์สลับพื้นทรายสีแดง เสียงกับตันพูดว่า Good morning the passenger,ladies
              And gentlemen สวัสดีท่านผู้โดยสาร ท่านสุภาพสตรีและท่านสุภาพบุรุษ แปลเลยดีกว่า ขณะนี้ผม
              กับตันโมฮะเหม็ด อับดัลลาร์ กำลังพาท่านบินลัดฟ้าจากมหานครริยาดห์สู่มหานครเจดด้าห์ อากาศ
              แจ่มใส อุณหภุมิภายนอก๔๐องศาโดยประมาณ เราบินด้วยความสูง๓๓๐๐๐ฟิต คาดว่าจะใช้เวลา
              บินประมาณ๑ชั่โมง๔๕นาที ขอให้ท่านเดินทางด้วยความสดวกสบายตลอดเส้นทาง หากมีอะไรที่ท่าน
             ต้องการ กรุณาเรียกลูกเรือได้ตลอดเวลา หากท่านไม่มีความจำเป็น กรุณานั่งรัดเข็มขัดอยู่กับที่นั่ง 
             โชคดีและสวัสดีครับ ทุกสายการบินจะพูดคล้ายกันครับ                   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 31, 2013, 09:17:44 pm
เรากำลังบินอยู่ในปรเทศซาอุฯ ความสูง๓๓๐๐๐ฟิต ประมาณ๑๐กม. ความเร็ว ๙๐๐กม/ชม.
มองลงด้านล่างเห็นแต่พื้นทรายสีแดงสูงๆต่ำๆ นานๆจะมีสีเขียวให้เห็นนิดหน่อยเป็นหย่อม
ภายในเครื่องเต็มไปด้วยเจ้าของประเทศ มีทั้งหญิงชาย ผู้หญิงใส่ชุดดำคลุมทั้งตัว ส่วนผู้ชาย
จะใส่ชุดหมีสีขาวแขนยาว กลิ่นน้ำหอมรุนแรงมากชวนให้เวียนหัว
มองลงด้านล่างเจดด้าห์
(http://i211.photobucket.com/albums/bb198/Flyer719/OVERSEAS/Jeddah/20040119OldJeddahAirport03-1.jpg)

พวกเขาไม่นิยมอาบน้ำด้วยความเคยชิน ใช้น้ำหอมโปะดับกลิ่นตัว บรรยากาศอบอวนแยกไม่ออก
ว่าน้ำหอมยี่ห้ออะไร รู้แต่ว่ากลิ่นแรงมาก ไม่มีใครปริปากบ่น กลัวมีภัยอย่างคาดไม่ถึง เราบินจาก
ตะวันออกไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปยังโซนไม่ค่อยร้อน ไม่มีน้ำมันในย่านนี้ เป็นเมืองหลวงเก่า
ใช้เวลาบิน๑ชม.๔๕นาที ระยะทาง๑๕๐๐กม.โดยประมาณ อากาศร้อนแต่เครื่องบินเรียบ ไม่มี
กระตุก นานๆจะสั่นเล็กน้อย ในเครืองเย็นสบาย อีกสิบนาทีเครื่องจะลง เริ่มมองเห็นบ้านเป็นหย่อมๆ
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQIJYatV7Z3vGRqaGzi5ObWwFp1j5ptQcKADYqNwqkbG3KX5UarRI093iI)
เครื่องบินลดเพดานลงเบาๆ หลายคนพยายามมองออกไปนอกหน้าต่างด้วยความตื่นเต้น รวมทั้งผมด้วย
นักบินเบาเครืองยนต์ และพูดว่า สวัสดีผู้โดยสาร เรากำลังจะนำเครื่องลงสู่จุดหมายที่สนามบิน เจดด้าห์
กรุณานั่งลัดเข็มขัดอยู่กับที่ หวังว่าจะได้รับใช้ท่านอีกในคราวต่อไป ขอให้ท่านเดินทางต่อไปด้วยความ
สวัสดิภาพ หากท่านมีความประสงค์จะต่อเครื่องบินไปปลายทางกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินทราบ
ที่เคาท์เต่อร"ทรานสิท"Transit deck กรุณาอย่าลุกจากที่นั่งจนกว่าสัญญาญไฟจะดับ ขอบคุณและ
สวัสดีครับ
เรามองเห็นเมืองอยู่ด้านล่าง เป็นเมืองเก่า ไม่ค่อยมีตึกสูง เสียงล้อแตะพื้นรันเวย์ตึกๆอยางนุ่มนวล
แล้วเสียงเครื่องยนต์เร่งเต็มที่เพื่อเบรคอย่างแรง เมื่อเครื่องวิ่งต่อไปอีกเล็กน้อยก็ออกจากรันเวย์ เข้า
แท็กซี่เวย์ไปยังลานจอด ผมมองเห็นเครื่องบินทหารจอดเต็มไปหมด คงจะคล้ายสนามบินดอนเมือง
เครื่องบินเข้าเทียบที่งวงทางเดิน เดี๋ยวคงจะได้สัมผัสเจดด้าห์แล้วล่ะ
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQb6CdbF2zBFTISgObw188k4qYUAh10d-bEC3z00jDLffTxY0Dj15gfgyg)(http://)
ต่อ   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ ตอนเจดด้าห์
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 02, 2013, 01:20:06 pm
(http://www.abt.eu/sitemanager/images/project_1_84.jpg)

(http://static.panoramio.com/photos/large/49725574.jpg)
รถขนถ่ายผู้โดยสาร
(http://i211.photobucket.com/albums/bb198/Flyer719/OVERSEAS/Jeddah/20040119Jeddah08-1.jpg)

รอตรวจหนังสือเดินทาง
(http://www.hoteliermiddleeast.com/pictures/jeddah-airport_1.jpg)

ผู้แสวงบุญรอเครื่อง
(http://images.travelpod.com/tw_slides/ta00/9b3/a4a/jeddah-airport-lounge-jeddah.jpg)

ลงจากเครื่องแล้วมีคนมารอรับไปบริษ้ทฯ ตั้งอยู่นอกเมือง เป็นอาคาร๒ชั้นปูน มีหลายห้อง แต่ก็สอาดน่าอยู่
ไม่เป็นนรก มีคนคอยซักผ้าทำความสอาด มีโรงครัว มีห้องเย็นเป็นตู้คอนเทนเน่อร์ ในห้องนอนมีเตียงสอาด
เลียงเป็นแถว ไม่มี๒ชั้นแบบทหาร ค่อยยังชั่วหน่อย นอนห้องใหญ่ประมาณ๖เตียง ได้รับการต้อนรับจากคน
ไทยที่มาอยู่ก่อนเป็นอย่างดี ที่นี่มีห้องส่วนกลางไว้ฉายวิดิโออยู่อีกตึกหนึ่ง รวมกับห้องอาหาร อเมริกันจะจัด
สวัสดิการดีกว่าแขกมาก วันนี้ขอพักก่อน พรุ่งนี้จะได้เริ่มงานแต่เช้า
               ยังดูไม่ทั่ว ทราบว่าหัวหน้าโรงซ่อมอยู่ชั้นบน เป็นคนอเมริกัน ชื่อสก็อต เรา๓คน นอนเลียงแถว
เตียงขนานกัน ผู้เขียนอยู่ตรงกลาง ด้านซ้ายนายตุ๋ย ด้านขวาพี่กิตติ ยังมีคนอื่นๆอีก ส่วนใหญจะเป็นคนขับรถบรรทุก
ยังไม่รู้จักชื่อ ตอนเข้ามาพักไม่มีใครอยู่ ออกไปทำงานกันหมด เจอแต่หัวหน้าตึกและพ่อครัวคนไทย พ่อครัว
คนไทยให้การต้อนรับดี "อยากกินอะไรสั่งได้"อะ.. ที่นี่เป็นร้านอาหารดีๆนี่เอง อยู่กันอย่างสบายๆ เหมือนไม่ใช่
เมืองกันดาน เสียอย่างเดียวหาผู้หญิงทำยายาก เอาเถอะหาเงินกันดีกว่าที่บ้านเรามีเยอะแยะ

เข้าเมือง
(http://images.travelpod.com/tw_slides/ta00/9b3/a4a/highway-signs-in-jeddah-jeddah.jpg)

ต่อ hungry2


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 05, 2013, 08:21:00 pm
หลับสบายมาทั้งคืน เช้านี้หลังเบรคฟาสท์ (อาหารไทยปรนฝรั่ง มีทั้งไข้ดาว ขนมปังแยม
กาแฟ แพนเคก ผัดผัก) เดินทางด้วยรถอเมริักัน (เชฟวี่) ไปมอเต่อร์พูล (โรงช่อม)

อยู่ทางทิศเหนือของเมือง ใช้เวลาเดินทางประมาณ๑๕นาที ในโรงซ่อมมีรถรอซ่อม
อยู่หลายคัน เป็นรถอเมริกันทั้งนั้นเลย มุมหนึ่งเป็นออฟฟิส มีกองเครืองยนต์และของที่ถอด
เปลี่ยนไว้กองพะเนิน สถาพก็ดูดีๆทั้งนั้น นี่คงเป็นฝีมือช่างแขกที่ไม่มีความชำนาญ ถอดเปลี่ยน
ใหม่ไว้ก่อน เราสามคนถูกหัวหน้าพาไปแนะนำให้รู้จักช่างแขก มีชาวเรบานอล อียิบส์ เยเมน
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSKBpAor1ZmUKqIOY8cYJJHnnBqfxi5y54tuRlrc0WVP1IS3iOuiC_82voe)
หัวหน้าเป็นชาวอเมริกัน เป็นคนหนุ่ม ท่าทางร่าเริงขี้เล่น คงจะทำงานกันด้วยความสนุก
แนะนำตัวกันเสร็จ ก็เริ่มทำงานกันเลย นายตุ๋ยไปดูรถเครื่องเดินไม่เรียบ พี่กิตติไปดูเครื่องล่าง
ผู้เขียนไปดูรถแอร์ไม่เย็น ความจริงผู้เขียนสมัครเป็นแม็คคานิค ชางกลทั่วไปแต่ใครไปแอบ
บอกว่าทำแอร์ได้ก็ไม่รู้ ทุกคนเลยเหมาให้ทำแอร์ หัวหน้าบอกช่างแขกพยายามซ่อมแอร์

แต่มักไม่ค่อยสำเร็จ เปลี่ยนคอมเพรสเซ่อร์ทิ้งไว้เป็นกอง

รถอเมริกันใช้คอมเพรสเซ่อร์ของฟริจิแดร์ ตัวใหญ่ยาว เครื่องยนต์๔สูบไม่มีปัญญาฉุดไหวหรอก
ไม่ค่อยพบเจอในเมืองไทย รถเก๋งอเมริกันเครื่องยนต์วี๘ ๓๕๐๐-๔๐๐๐ซีซี เต็มหน้าหม้อ
เอามือล้วงไม่ลง แน่นไปหมด แถมร้อนจนแตะไม่ได้ แล้วจะซ่อมยังไงวะเนี่ย เอาไปฉีดน้ำให้
เย็นก่อนดีกว่า ที่นี่ก็ต้องประหยัดน้ำ ซาอุฯทำน้ำจากน้ำทะเลต้นทุนสูงมากต้องช่วยกันประหยัด
และที่นี่ไม่นิยมล้างรถ ไม่มีความจำเป็นต้องสวย ขอให้ใช้งานได้ก็พอแล้ว เอาน้ำรถจนห้องเครืองเย็นดีแล้ว
จึงนำกลับเข้าไปเชคต่อในโรงซ่อม
TKShttp://motorpool.usu.edu/
(http://motorpool.usu.edu/images/uploads/motorpool.gif)

 HAPPY2!! :D


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 14, 2013, 07:50:10 pm
งานซ่อมแอร์รถยนต์นั้นยากตรงที่บางทีหาลอยรั่วไม่เจอ เติมน้ำยาไปก็ไม่นานจะกลับมาอีก
             -เชคที่มูเล่คอมพ์ก่อนว่ามีน้ำมันเกาะหรือเปล่า หากมีแสดงว่าซิลด์รั่ว ดูด้านข้างตัวถังมีคราบ
             น้ำมันจับ ถ้าน้ำมันคอมพ์รั่วมู่เล่จะสบัดน้ำมันไปจับที่ตัวถัง ซิลด์รั่วบางยี้ห้อซ่อมไม่อยู่ เปลี่ยน
             ซิลด์ไปได้ไม่นานก็จะรั่วอีก ต้องเปลี่ยนคอมพ์เท่านั้น อย่างเช่นคอมพ์กีกิ เสียเวลาเปล่า สำหรับ
             ฟริจิแดFrigidairที่กำลังจะซ่อมอยู่นี้ อะหลั่ยแพง ที่ซาอุฯเปลี่ยนทิ้งถูกกว่า ลูกหนึ่งไม่ถึงหมึ่น ถ้าซื้อใน
             บ้านเราน่าจะแพงมาก ดูโดยรอบไม่มีที่รั่ว ใส่เกจวัดน้ำยาดีกว่า อันดับแรกสตาร์ทเครื่องยนต์
             เปิดสวิทให้แอร์ทำงาน หากคอมพ์ไม่หมุนแสดงว่า
            -ไม่มีน้ำยา(โลว์เพรสเช่อสวิทตัด)(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQnVvIpoMYH1I4eubCASM7_PJ7ksodV4HUTYkp0FmSYkCfHp5KJXxH3jmk)
            -ไม่มีไฟจากเทอร์โมสตาท (https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRGhPdCcrx4EKh6Zch5uxeofnA22skj5T8beLnWK8kMY15lcTsN0iRFF5LV)
            - แรงดันต่ำกว่า๔๐พีเอสไอจี คอมพ์จะไม่เดิน(วงจรป้องกันคอมพ์เสียทำงาน)
            -ถ้าคอมพ์เดินเป็นปกติให้ลองเร่งเครื่องดูการไหลกลับน้ำยาจะกลับประมาณ๒๐-๓๕พีเอสไอจี
            ถ้าน้อยไปก็เติมเวลาเติมให้เอามือจับทีท่อน้ำยาขากลับก่อนถึงคอมพ์ สังเกตุว่าความเย็นผ่านมือ
            แสดงว่าเริ่มเต็มแล้ว ปล่อยไปอีกนิดเดียวก็พอแล้ว การเติมน้ำยามากเกินไปจะทำให้คอมพ์พัง ถ้า
            เติมน้อยเกินไปห้องโดยสารเย็นไม่พอและคอยล์เย็นเป็นน้ำแข็ง(เนื่องจากไหลกลับช้า) อย่างไรก็ตาม
            เติมไม่พอปลอดภัยกว่าเติมเกิน เติมน้ำยาเกินจะทำให้น้ำยาที่ไหลกลับเป็นของเหลวเย็นเป็น
           ไอเข้ากระแทกลิ้นคอมพ์ ทำให้ก้านสูบหัก ลิ้นแตก ลูกสูบติด สายพานไหม้
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSj_wG4yGHVNNQl7JjUqWmRgBc3UTbo9YUdBisPF0vTpnobPtsPQnNa7A)
           อีกอย่างการเติมน้ำยาห้ามคว่ำถังน้ำยาเอาของเหลวเติม จะทำให้ลิ้นแตก คอมพ์ไม่มีแรงอัด
           ช่างบางคนทำให้เจ้าของรถเสียเงินย่อยยับเพราะลองผิดลองถูก บางคนเห็นคอมพ์ไม่หมุน เอา
          ไฟบวกจากหม้อแบตเตอรีไปเขี่ยทีสายครัชคอมพ์ กรณีนี้อาจทำให้แผงควบคุมเสียไปด้วย ให้ถอดสาย
          ออกก่อนตรวจเชค โดยเฉพาะโตโยต้าเสียง่ายมาก
         แอร์รถเชฟวี่มีทั้งร้อนและเย็น ใช้ระบบนิมเมติกเปลี่ยนทิศทางลม นิมเมติกคือลมแห้งที่เมาจาก
         คาบูเรเต่อร์ เมื่อเครืองติดท่อลมที่คาบูเรเตอร์จะถูกลูกสูบดูดออกไปทางไอดี ที่ถังพักจะกลายเป็น
         สูญญากาศ เขาใช้ความเป็นสูญญากาศนี้ควบคุมเบรคและเปลี่ยนทิศทางลมที่ท่อส่งลมแอร์
         เรียกว่าระบบนิมเมติก (pnymetic) นอกจากนี้ยังใช้ปิดเปิดวาล์วอีกด้วย ทำงานร่วมกับสปริง
         และไฟฟ้า
         next


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 26, 2013, 06:03:21 pm
ความซับซ้อนของระบบรถอเมริกัน เกือบจะเหมือนกันทุกยี่ห้อ หลายอย่างใส่เพื่ออำนวยความสดวก
เช่น ครุชเช่อร์ ใช้เพื่อล็อกเครื่องยนต์ให้วิ่งคงที เทอร์โมสตาทที่มีทั้งเย็นและร้อนในแกนเดียวกัน
เทปติดรถยนต์แบบ(เทปเด็คซ์)มี๔แทร็ก ของบลาวซ์ฟุ้ง ฟังมันมาก เกียร์ออโตเมติกคอพวงมาลัย
คนขับนั่งด้านซ้ายตามสไตล์อเมริกัน ข้างเดียวกับซาอุฯ ขับใหม่ๆงงมากเลี้ยวทางแยกไปคนละทาง
ความนุ่มนวลไม่ต้องพูดถึง เยี่ยมมาก๑๔๐ไมล์(๒๒๔กม./ชม.) กินน้ำมันเหมือนกินน้ำ๓-๔กม./ลิตร
เวลาเร่งเครืองยนต์แรงๆท่อไอเสียพ่นควันออกมาเป็นละอองน้ำมันสีชมพูอ่อนๆ อยู่เมืองร้อนแอร์ต้อง
ดีมาก เวลาหน้าร้อนนั่งในรถเอามือพิงกระจกไม่ได้ ร้อนมาก แต่ผู้โดยสารต้องเย็น ไม่งั้นชางแอร์
เดือดร้อน คนอเมริกันตัวใหญ่ใช้พลังงานเยอะ (บีทียูมากตามไปด้วย)

อากาศในมอเตอร์พูลค่อนข้างร้อน พวกช่างกินน้ำเย็นกันทั้งวัน มีบริการกาแฟต้ม ใช้หม้อแบบไอน้ำ
หยดลงแผ่นกรอง กลางวันพักเที่ยง กินข้าวที่โรงอาหาร บ่ายโมงทำงาน เลิก๔โมงเย็น พวกเราสามคน
ที่มาใหม่ไม่มีปัญหาเรื่องงาน มือโปรทั้งนั้น ทำไปได้ทั้งๆที่อยู่เมืองไทยไม่เคยซ่อมรถอเมริกันเลย
นายตุ๋ยซ่อมคาบูเรเตอร์เก่ง พีติซ่อมเครื่องล่างเนียบไปเลย ส่วนช่างแขกตอนนี้กลายเป็นตัวประกอบ
พวกนี้ก็ชอบอยู่แล้ว ยิ่งไม่มีงานให้ทำยิ่งชอบนั่งกินน้ำชาอยางมีความสุข เป็นอันว่าวันนี้ผ่านไปด้วยดี
หัวหน้ายกหัวแม่โป้งให้ แต่ไม่รู้พรุ่งนี้จะยกนิ้วกลางหรือเปล่า .. (http://us.cdn3.123rf.com/168nwm/sararoom/sararoom1306/sararoom130600005/19979349-vector-illustration-of-cartoon-mechanic-holding-a-huge-wrench.jpg) เกียร์ออโตเมติก(http://us.cdn4.123rf.com/168nwm/sspopov/sspopov1109/sspopov110900021/10689486-automotive-transmission-gearbox-with-lots-of-details.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 20, 2013, 06:24:50 pm
ก่อนเข้าเมืองเจดด้าห์ ใช้ความเร็ว ๗๐กม./ชม.
ถนนนี้ชือ คิงอับดุลลาร์ เลี้ยวขวาไปเมืองเมดิน่า


(http://www.sauditrades.com/wp-content/uploads/2012/12/Wikimedia-Ammar-shaker_21.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 29, 2013, 07:42:53 pm
สูบมารากู่หรือ"ชีช่า" มีให้เห็นทั่วไป ราคาไมแพง ทำจากใบยาและเปลือกผลไม้
แต่ก็ติดงอมแงมได้เหมือนกัน

(http://www.roadlesstravelled.com.au/blogimg/saudi-arabia-jeddah-alawi-souq.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 29, 2013, 08:12:16 pm
แม่บ้านกำลังหาซื้อของในตลาด(ซูค)

(http://blog.bt-store.com/wp-content/uploads/2012/02/Saudi-women-shop-at-a-grocery-in-the-Souq-al-Alawi-market-in-the-old-town-of-Jeddah.jpg)

เป็นอีกภาพในตลาด
(http://www.saudigazette.com.sa/myfiles/Images/2010/09/05/na02.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 06, 2014, 10:25:13 am
เสร็จภาระกิจสำคัญ จะมาต่อแน่นอนครับ kiss6


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 26, 2014, 10:40:28 pm
ยังอยู่ครบ๓๒ หลังจากตลุย กทม.ตั้งแต่ตุลาฯ๕๖เลื่อยมา ภาระกิจ
ดูเหมือนยังไม่เข้าเป้า กลับบ้านมาตั้งใจจะต่อเรื่องที่ค้างไว้ เจอเพื่อนป่วย
จนแทบหาเวลาไม่เจอ อย่างไรก็ตาม จะค่อยๆต่อเติมอีกแน่นอนครับ
ขอบคุณที่ท่านช่วยกันติชมนะครับ
 :) :D


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ เมษายน 27, 2014, 08:14:48 am
 smiley4 :D :)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 02, 2014, 06:18:36 am
 ;)
ตกเย็นหลังเลิกงาน ที่แค้มป์มีโรงอาหาร อาหารอย่างดี มีให้เลือกมากมาย เหมือน
อยู่เมืองไทย พ่อครัวเป็นคนไทยน่ารัก เอาใจพวกเราเป็นอย่างดี มีพ่อบ้านคอยเก็บ
ผ้าไปซัก ทำความสะอาดห้องให้เหมือนโรงแรม ในซาอุฯ หากเป็นอย่างนี้ทุกที่ คนงาน
ไทย ไม่ร้องกลับบ้าน ไม่คิดถึงบ้าน ไม่เบี้ยวแน่นอน ไม่โชคดีบ่อยนัก หากเป็นบริษัทฯ
แขกอย่าหวังที่จะได้เจอ กินข้าวเย็นเสร็จ กลับห้องพัก ที่นี่มีห้องฉายหนังวิดีโอ เป็นรุ่น
โซนี่ยกดั้มป์ เบตาแม็ก ใช้จอมอนิเตอร์ ประมาณ๓๐นิ้ว ก็ว่าใหญ่นะ ดูหนังอเมริกัน
เพลงลูกทุ่ง คาวบอย มีให้เลือก ห้องฉายเป็นอาคารติดที่พักด้านหนึ่ง ดูหนังเสร็จ เดิน
กลับห้องนอน พวกเรานอนห้องใหญ่ มีแอร์รวม เย็นสบาย นอนเตียงเดี่ยว วางเรียง
เว้นช่องเดินได้ ถือว่า สะดวกสบาย ใครมีกระเป๋าเสื้อผ้าก็สอดไว้ใต้เตียง หรือเอาออก
แขวน แล้วฝากกระเป๋าเก็บได้ แต่เห็นส่วนมากจะไว้ใต้เตียง เพื่อความสะดวกในการค้น
หาของติดตัว บางคนก็เอารูปลูก ภรรยาออกนั่งดู “ตอนอยู่บ้านไม่เคยทำ” บางคนเขียน
จม. ใช้สมุดวางบนหมอนเขียน คนเก่าอยู่นานก็อ่านจดหมายจากบ้าน เราเพิ่งมายังไม่มี
จม. นอนคุยกับเพื่อนๆ พี่ติ นายตุ๋ย คนอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็พูดเรื่องงานที่เจอ ไม่มีใครหนักใจ
 ก็พวกเรามือเซียน มาเจอแขก ฝรั่งมือใหม่ พวกนั้นทึ่งที่เจอเรา ถอยไปเป็นลูกมือดีกว่า
วันแรกที่ LSG ผ่านไปอย่างดี(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTdqhbzG73Lz4j8Odwc8hz6Sbzui0rR31L53NSk2jde0i4jtqNF9g)
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRjZcgd3DVhJNhrvgWl_lMmBxZBqp06YaU3CkifiG3pNeJr8hDaZw)
*******************


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 03, 2014, 05:01:39 am
วันนี้ตั้งใจว่าจะไปเที่ยวชาดหาดแห่งหนึ่งริมทะเลแดง ทะเลแดงตั้งอยู่ทางตอนใต้ เริ่มต้น
แถวอียิป จอร์แดน คลองซูเอช ฝั่งตรงข้ามเป็นประเทศซูดาน ตอนเหนือเป็นอียิป ทะเลแดง
มีปลาชุกชุมมาก ริมหาดมีปลานกแก้ว ปลาไหลทะเล ฟันเหมือนสุนัข กัดทีแผลเหวอะ น่า
กลัวมาก โดยเฉพาะกลางคืน ใครจะเชื่อว่าที่นี่มีหาดสวยงาม ไม่แพ้บางประเทศ วันศุกร์
เป็นวันหยุด จะมีคนเดินทางไปพักผ่อนริมหาดมากมาย ข้อเสียคือร้อนไปหน่อย ต้นไม้น้อย
ทางเรียบหาดเป็นทราย ไม่มีบ้านเลือนร้านค้า ต้องเตรียมของไปกินกันเอง โดยเฉพาะน้ำ
ต้องมีถังเก็บน้ำแข็งอย่างดี(อิคลู)เป็นถังยอดนิยม เก็บน้ำแข็งได้สองสามวัน สู้กับแดดได้
เป็นอย่างดี
คนที่นี่เวลาเราขาดอะไรเขาก็ไม่หวง ขอความช่วยเหลือจะได้รับน้ำใจด้วยความเต็มใจ
บางครั้งรถติดทรายเขาก็มาช่วยลากจูง เป็นเรื่องสนุก ถนนเรียบชายหาดเป็นร่องลึกด้วย
ทราย ต้องรถขับเคลื่อน๔ล้อเท่านั้น จึงจะรอด บางครั้งก็เสร็จเหมือนกัน หันไปข้างไหน
ก็ทรายอ่อนๆ ติดใต้ท้อง ต้องตั้งหลักแล้วส่งเต็มที่ลุย เราใช้รถอเมิกัน ๘สูบจีเอ็มซี ไม่ต้อง
ห่วงเรื่องเครื่องยนต์ ความสะดวกสบายภายในเหมือนบ้าน แอร์เย็นฉ่ำทุกช่วงตอน เหมือน
รถตู้ชั้นดี
แรงม้าเหลือเฟือ(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQALB0bZhTkjFsYG2JK6lmXxUnMO-MxyZPiznhf6ChvyheVplwfZw)(http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fimage.fourwheeler.com%2Ff%2F38114786%252Bw600%252Bh400%252Bre0%252Bcr1%252Bar0%2F131-1209-02%25252Bcheapburban%25252Bjumping-gmc-suburban&imgrefurl=http%3A%2F%2Fwww.fourwheeler.com%2Fgmc%2Fproject-vehicles%2F03%2F&h=400&w=600&tbnid=ct-AoYXoFqFgNM%3A&zoom=1&docid=jq69fwnb3jTlPM&ei=BhpkU728HcGnrgf314D4Aw&tbm=isch&ved=0CC4QMygmMCY4ZA&iact=rc&uact=3&dur=1053&page=9&start=130&ndsp=15)
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQNRJhL6EXpuVzxpItKcI0vbSVaXvrg_1ifrr6ssDuaJv6LE51rbQ)
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTDvPbQIKdrEOjBZEEDBHdEHn6iiZkvpWHAMdpajhkDqZ9QvlyOcQ)
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTRFXs24f1w2uvbxq1BKAH2-lMPJ_YY65A7kddR9M8eX-yiFK3i)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 07, 2014, 06:25:40 am
ชายหาดที่เจดด้าห์มีทรายด้านบนมากกว่าในน้ำ อาจเป็นเพราะคลื่นลมมีลักษณะลงทะ
เลมากกว่าขึ้นบก ในน้ำจะมีก้อนกรวดหินมากมาย ต้องระวัง พื้นทะเลเหมือนหน้าผา พอ
เดินไปลึกหน่อยน้ำจะสีเข้ม ก้มมองลงใต้น้ำจะเหมือนเรายืนอยู่บนยอดภูเขามองลงพื้นดิน
ฝูงปลาชุกชุมมาก โดยเฉพาะปลานกแก้ว น่าจะเป็นปลาท้องถิ่น ปลานกแก้วมีเงี่ยงตรงปลาย
หางสองด้านย้อนน้ำ เวลาเล่นน้ำว่ายน้ำต้องระวังไปถีบมันเข้า มันจะว่ายน้ำอยู่ใกล้ๆเรา หากเราถีบโดนข้างลำตัวมัน จะโดนเงี่ยงปักทันที ปวดมากมีพิษ พอๆกับปลาดุกทะเล
                    ก่อนหน้านี้คนท้องถิ่นไม่ค่อยเที่ยวทะเล ชายหาดเงียบเหงา มีรถวิ่งผ่านห่างชาย
หาดไกลๆ เมื่อมีคนเล่นน้ำมากขึ้น ชาวต่างชาติมากขึ้น มีสาวตะวันตกกล้านุ่งน้อยลงเล่น
แขกหนุ่มก็สนใจ จึงเริ่มมีคนมากขึ้น อาหารตาน่าสนใจสำหรับแขก วันหยุด(ศุกร์)จึงเต็มไปด้วย 
ต่างชาติและแขกหนุ่มมากมายมารวมกันที่ชายหาด แขกบางคนลงทุนนุ่งกางเกงอาบน้ำลงชาย
หาดเพื่อจะดูสาวใกล้ๆ แขกหนุ่มกลัดมันลงทุนอาบแดดตัวดำเพื่อที่จะหาทางจีบชาวต่างชาติที่
นอนอาบแดด สาวอเมริกันและยุโรปนุ่งน้อย ไม่แคสายตาหนุ่มที่จ้องมอง กลับมีความรู้สึกดีที่
มีคนสนใจ การนอนอาบแดดสำหรับคนยุโรป อเมริกัน เป็นเรื่องกระหายแดด เห็นแดดเป็นอาหารหลัก พวกเขาขาดแสงแดด ผิวหนังตกกระสู้คนเอเชียไม่ได้ การอาบแดดจึงเป็นสิ่งจำ
เป็นอย่างมาก แต่สำหรับแขกตัวดำดูเป็นเรื่องตั้งใจหวังอย่างอื่นมากกว่าแสงแดด
                      สำหรับคนหัวดำอย่างเราก็ชอบมองแต่อยู่ห่างๆเพราะ นิสัยคนเอเชียมักเกรง
ใจและมีมารยาท เก็บความรู้สึกได้ดี ได้แต่คุยกันในหมู่คณะอย่างเมามัน


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 08, 2014, 07:15:34 am
                   อากาศที่ซาอุฯ(เจดด้าห์)ตอนใต้ร้อนไม่มากเท่าทางตะวันออก แต่ก็รู้ว่าร้อนกว่าบ้านเรา
การได้เที่ยวในวันหยุดเป็นการผ่อนคลายยามไกลบ้านได้เป็นอย่างดี คณะของเรามีหนุ่ม
นายช่างและเพื่อนๆที่แค้มป์ติดไปด้วย พวกเขาไม่ค่อยมีโอกาสอย่างพวกเรา พวกเรามีรถ
ประจำตำแหน่งและยังมีรถซ่อมเสร็จให้ทดสอบทุกอาทิตย์ ไปไหนสะดวก ขอให้มีใบขับขี่
อย่างเดียว  ไปได้ทุกที่
                  ตามแนวชายหาดไม่มีของขาย ไม่มีร้านค้า ร้านอาหาร เป็นหาดโล่ง มีต้น
พลำ อินทผลัม   ขึ้นเป็นระยะ มันขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นยาวิเศษสำหรับชาวตะวันออก
กลางเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยพลังงานที่ไม่มีน้ำตาล ทานได้ทั้งสุกและดิบ ดิบมีรสฝาด มีทั้งสีส้ม
และสีแดง ตากแห้งเก็บไว้ได้เป็นปี ปัจจุบันมีบริษัทฯต่างชาติเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกหลาย
แห่ง เป็นผลผลิตที่ทำกำไรให้ต่างชาติเป็นกอบเป็นกำ จะเที่ยวให้สนุกต้องเตรียมเสบียงพร้อม
อาหารแห้ง น้ำแข็ง พวกเรามีถังน้ำแข็งอย่างดี มีน้ำดื่ม มีที่ทำอาหารเป็นครัวเคลื่อนที่

ไปไหนไม่อด น่าอิจฉา เต็มไปด้วยอาหารการกินแบบภัตตาคาร เพราะเราเป็นบริษัทฯส่งบำรุงทุกอย่าง
ให้กับภาคสนามทั่วประเทศ งานติดตั้งเสาไมโครเวฟ
                    เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จ ผลไม้กระป๋อง สับปะรด เงาะ ลิ้นจี่ เค้ก   อาหารแช่แข็งมีทุกอย่าง ยกเว้นทำ                  จากหมู เจอเพื่อนคนงานไทยเราก็แจก

 เที่ยวแบบไม่อด ถึงแม้ไม่มีขายค่าใช้จ่ายแทบไม่มี น้ำมันเบนซิน ลิตรละบาทกว่าใช้ทั้งวันไม่หมด๑ร้อยบาท
 ขึ้นจากทะเลเรามีน้ำจืดลาดหัว ในขณะที่น้ำแพงกว่าน้ำมัน 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 27, 2014, 09:14:44 pm
น้ำที่ซาอุฯแช่เย็น๑.๕ลิตร๑๖บาท ในขณะที่น้ำมันเบนซิน๙๕ ลิตรละ๑.๗๓บาท ส่วนน้ำ
ธรรมดา ขวดละ๘บาท ใครอยากใช้น้ำราคาถูก หาแกลลอน๒๐ลิตร ไปซื้อที่ปั้มขายน้ำ เหมือน
ปั้มน้ำมันแต่ขายน้ำ ลิตรละ๒.๔๐บาท แกลลอนละ๔๘บาท รายได้เดือนละ๒๐,๐๐๐บาท
ถือว่าไม่แพง
                      ของใช้ประจำเช่นสบู่ ยาสีฟัน ผงซักผ้า ไม่แพง อาหารที่กินประจำหาง่าย
ไก่หมุน ตัวละ๘๐บาท กินกับแป้งผิง(โคบบุช)ทำจากแป้งสาลี แปะข้างเตา อุ่นๆมีรสเค็ม
เล็กน้อย หาซื้อง่ายเป็นอาหารหลัก ไก่๑ตัวสามารถทานได้๒-๓คนสบายๆ เวลาเดินเล่น
มักจะซื้อไก่หรือแซนวิชไข่ ทำจากขนมปังยาวๆ ผ่าตรงกลางแล้วใส่ไข่เจียว ราคาอันละ๘บาท
บางคนชอบใส่แพะย่าง(คะบับ) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSuhJ7SAza7S974d_8868QZyr0EXScrNlD8R5ONh92X0wl552Od)(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSTziRUJ0TUO1KjZbJ8T0m6ixCJmXbDpZyU9keYUELOMjkozT7A)บ้านเราแพงมากเพราะเนื้อแพะหาทานยาก ต้องทางใต้
ที่นี่ถูก นิยมเลี้ยงตามบ้านเหมือนเราเลี้ยงไก่ไว้กินไข่ เนื้อแกะจะแพงกว่า ก็ไม่ทราบว่าทำไม
มุสลิมเขาชอบแพะแกะ เขาว่าสะอาดกว่าหมู ทั้งแพะและแกะมีกลิ่นประจำตัวแรงมาก
พวกเราว่าเหม็น แต่พวกเขาว่าหอม คิดว่าน่าจะเป็นความเคยชินมากกว่า ความจริงกลิ่น
มันก็เป็นเช่นนั้นมาแต่เกิด ไม่ว่าหมูหรือวัว คนไม่กินก็ว่าเหม็นสาบ คนมุสลิม เขาไม่กินอาหาร
ที่คนต่างศาสนาทำ เพราะการทำอาหารตามหลักศาสนาอิสลาม ต้องทำตามหลักศาสนาอย่าง
เคร่งครัด สัตว์ที่ตายเองกินไม่ได้ ต้องทำให้ตายและเอาเลือดออกก่อนสิ้นใจ ผู้เขียนไม่รู้มากนัก
มีโอกาสจะได้ถามเพื่อนที่เป็นมุสลิมแล้วนำมาลงอีกครั้ง


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 30, 2014, 09:43:46 pm
-ค่ำว่าอิสลามคือศาสนา ส่วนผู้นับถือคือมุสลิม (คน)เวลาพูดถึงมุสลิมจึงหมายถึงคน  คนผู้ชาย
วัยหนุ่ม(บัง) วัยสาว(แมะ) บางทีจะได้ยินเรียก ราเฟ็ก (ลูกพระเจ้า)ใช้เรียกคนที่ไม่รู้จักแต่เด็ก
กว่า ซาดิ๊ก หมายถึงเพื่อน ไม่เจาะจง ใช้เรียกคนทั่วไป มุสลิมทั้งโลกเป็นพี่น้องกันหมด แต่ที่มี
เรื่องทะเราะกัน ต่างนิกาย ต่างเคร่งครัดไปคนละอย่าง (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSMacAcq1kEcFZTiok1ueluuNiFrCkwcNbdkBEkKEOelIpuN1qQ)
          ผู้เขียนไม่สามารถเขียนเกี่ยวกับการนับถือศาสนาได้ละเอียดนัก เกรงว่าผิดพลาดจะเป็นภัย จะเขียนเท่าที่ทราบและไม่เจาะลึกมากนัก
          เจดด้าห์อยู่ห่างจากเมื่องเมกกะเพียง๗๐กม.เท่านั้น เดินทางโดยรถยนต์ประมาณ๑ชม.(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTFt2xid3JTPsEjp_o6CUIm5tazVf62H1Bs34wyo68yUALtXSpaGw)
ไปทางใต้ ขึ้นเครื่องบิน๑๐นาที แต่ต้องรอขึ้นเครื่อง๒ชม.เป็นอย่างน้อย พี่น้องมุสลิมจะมาประกอบพิธีฮัจย์ที่เมกกะอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต คนที่ไม่มาตอนเดือนฮัจย์ ก็จะมาได้ตามสะดวกทั้งปี ดั้งนั้นที่เมกกะจึงมีชาวมุสลิมมาแสวงบุญตลอดทั้งปี เมืองเมกกะมีภูเขาล้อมรอบ
เรียกว่าแห้งแร้งกันดาร สองข้างทางมีก้อนกรวดหินปรนทราย ภูเขาที่ไม่มีต้นไม้ อากาศร้อนแห้ง(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQBHtKvX0uirpBDuwin8Tjcp6RRD1OBt9_AKeXj83Ri8yALSEL0)
เพราะอยู่ห่างทะเล เป็นเมืองขนาดอำเภอใหญ่ๆ แต่ที่นี่เรียกนครเมกกะ เมืองต่างๆจะเรียกว่า”อัล”นำหน้า เช่น อัลรียาดห์(เมืองหลวงปัจจุบัน)อัลเจดด้าห์ น่าจะตรงกับไทยว่า”บุรี” นักแสวง
บุญจะมาประกอบพิธีฮัจย์ที่เมกกะประมาณ๓ล้านกว่าคนในเวลาเดียวกัน ตามที่ว่างต่างๆรอบ
เมืองจึงเต็มไปด้วยเต้นท์นอน จนไม่มีที่ว่าง ผู้เขียนไม่สามารถจินตนาการความเป็นอยู่ ความลำบาก ความสะดวกสบาย การใช้ห้องน้ำ การปรุงอาหาร การชำระสิ่งต่างๆ นึกไม่ออกว่าทางการซาอุฯบริหารได้อย่างไร ผู้เขียนเห็นถังน้ำเรียงรายไปตามถนนและมีรถบรรทุกน้ำเติม
ใส่ถังไปตลอดทั้งวันไม่รู้จบ เห็นในทีวีนะครับ ไม่สามารถเข้าไปในเมืองได้ ประเทศนี้ห้ามคน-(ต่อ)

ไม่ใช่มุสลิมไปทางขวา(http://www.horizonsunlimited.com/newsletter/images2006/2006-02_Forwood-saudph17.jpg)
(http://palinstravels.co.uk/photos/tas_photobook/main/tas_p_054_01_l.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 30, 2014, 10:00:03 pm
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSj0-87GgPSAq-1LIsSXdxq8f3jIjEREnAJUdCzreqip6MYonTYAg)-ต่างศาสนาเข้าอยู่๒เมืองคือ เมืองเมกกะและเมดิน่า จะมีถนนอ้อมเมืองสำหรับผู้นับถือศาสนาอื่นๆ(Non Muslim) อ้อมไปไกลไม่ให้เห็นเมืองเลยทีเดียว คนที่จะไปทำงานที่๒เมืองนี้ได้
ต้องนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกเป็นเวลา๓เดือน อันนี้ผู้เขียนเห็นเขียนไว้ที่ป้ายห้ามผ่าน(บายพาส)
          ก่อนถึงเดือนแสวงบุญผุ้คนก็จะเริ่มเดินทางมาก่อนล่วงหน้า เครื่องบินจะลงจอดที่สนามบินเจดด้าห์ทั้งวันทั้งคืน เรียกว่าต่อกันมาติดๆกัน สายการบินแห่งชาติ(ซาอุเดีย)จะต้อง
จ้างสายการบินอื่นเข้าร่วมขนส่งผู้โดยสาร(เหมือนรถร่วมบ้านเราตอนสงกรานต์)การบริการสนามบินชุลมุนวุ่นวายเปลี่ยนกะไม่มีวันหยุด ๒๔ชม.รถขนส่งนักแสวงบุญจอดเรียงยาวไปตามถนนสุดตา ที่รถขนผู้แสวงบุญเขียนว่า”พิลกริม” Pilgrimจาริก เป็นภาษาอังกฤษ คนที่เดินทางมาแสวงบุญส่วนใหญ่จะแต่งชุดขาว ส่วนผู้หญิงมีทั้งชุดดำและชุดขาว(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRXgXqBy1DSl3Ub8QCzQB9fBDl-fpoNzepxLpTO_RPiP-tek4s1GA)
จะมีผ้าคลุมศรีษะ ผู้ชายจะมีหมวกผ้าถัก คนที่มาที่นี่จะมีความตั้งใจสูงมาก ไม่มีคำว่าลำบาก(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQEl_V9c_uLMmkcbU_Drf95HsiebvnI7OjxgPPpYdahrmTyDGT2)
สำหรับนักแสวงบุญ ผู้เขียนเคยคุยกับเขา เขาว่าเกิดอะไรขึ้นเขาก็จะพูดว่า พระเจ้าเป็นผู้กำหนดในสิ่งที่เกิด เหมือนลิขิตไว้แล้ว ผู้เขียนคิดว่าศรัทธาอย่างมุ่งมั่น ทำให้ฟันฝ่าอุปสักได้นับประการ ผู้คนหอบของใช้จำเป็นกันรุงรังออกจากห้องโดยสารขาออก ไปขึ้นรถที่จอดรอ เดินทางต่อไปเมืองเมกกะ ผู้เขียนคิดว่าพี่น้องไทยมุสลิมก็น่าจะเดินทางแบบเดียวกันนี้  แต่จะมีคนที่มาทางเรือโดยสาร ซึ่งค่าใช้จ่ายน่าจะถูกกว่าการมาทางเครื่องบิน ต้องขึ้นที่ท่าเรือและต่อรถโดยสารที่ทางการจัดให้เช่นเดียวกัน
          ที่ท่าเรือนี้จะวุ่นวายพอกับสนามบิน มีทั้งคนมาและคนกลับรอขึ้นเรือ คนกลับคือคนที่ถูกเนรเทศ ถูกกักบริเวณรอส่งกลับ(กองเนรเทศ)ผู้ที่ถูกเนรเทศต้องออกนอกประเทศตามกฏหมายกำหนด มีทั้งทางเรือและทางเครื่องบิน โดยทางตม.เป็นผู้จัดหาตั๋วให้ จำนวนคนทำผิดกฏหมายมากมาย เช่นดึ่มสุรา ลักขโมย นัดหยุดงาน ทะเลาะกัน ตีกัน โทษไม่มากนัก หลังจากติดคุกครบกำหนดจะถูกเนรเทศ ทุกคนจะถูกส่งมาอยู่ที่เจดด้าห์ที่ตึกนรกแห่งนี้ จนกว่าจะได้เดินทาง-


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มิถุนายน 04, 2014, 11:05:02 pm
กลับ ที่แห่งนี้คือคุกสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ เรื่องการกินอยู่ก็เหมือนติดคุกนรก ไม่มีจานช้อน ใช้มือรับอาหาร แล้วหาวิธีกินเอง บางครั้งให้คนเดียวลงไปรับอาหารตรงประตูแล้วนำมาแบ่ง
คนที่ไปรับต้องเตรียมถาดหรือกะละมังไปรับ อาหารจะถูกตักเทรวมที่เดียวกัน อาหารหลักมะกอกดอง แป้งจี่ ต้มมะเขือเทศเละๆ เทียบกับนักโทษไทยก็น่าจะพอกัน ไม่เป็นดีที่สุด การทำผิดกฎหมายประเทศนี้ จะได้รับโทษเต็ม ไม่มีการลดหย่อน ไม่มีรอลงอาญา โทษบางอย่างเช่น ทำให้คนตายโดยประมาท เช่นขับรถชน ต้องติดคุกจนกว่าญาติผู้เสียหายจะลดโทษให้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ผู้เขียนทราบจากคำบอกเล่า ไม่เคยคุยกับนักโทษเอง เคยคุยกับนักโทษที่ทรยศภรรยา มีหญิงอื่นโดยภรรยาไม่ยินยอม ต้องติดคุกจนกว่าภรรยาจะยอม แต่เห็นภรรยาก็เดินทางเข้าเยี่ยมในคุกทุกวันศุกร์ นั่งคุยกัน แต่ภรรยาก็ไม่ให้อภัย นี่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเข้าใจ ทำไมจึงมีบทลงโทษแบบนี้ ธรรมเนียมการลงโทษที่ให้เจ้าทุกข์กำหนดโทษนานตามแต่ว่าจะ
ยกโทษให้เมื่อไร เป็นเหตุให้ผู้ได้รับโทษไม่ทราบว่าจะพ้นโทษเมื่อไร ต้องติดคุกจนกว่าเจ้าทุกข์
จะพอใจ อะไรก็เกิดขึ้นได้และเป็นไปได้สำหรับประเทศนี้ สมบรูณ์ยาสิทธิ์ ตายหรือเป็นอยู่ที่
ผู้มีอำนาจจะสั่ง คนไมได้ทำผิดก็อาจต้องตายเพราะพยานหลักฐานผูกมัดจนดิ้นไม่หลุด ฟัง
ดูน่าสะพรึงกลัว ระบอบนี้ก็เคยใช้ในเมืองไทยมาแล้ว
                  ขอแนะนำว่าอย่าทำผิดกฎหมายบ้านนี้เมืองนี้ อะไรที่ไม่แน่ใจว่าผิดก็อย่าเพิ่ง
ทำลงไป การฝ่าฝืนกฎหมายมีโทษแรงมากและส่วนใหญ่ถูกจับได้ และประเทศไทยไม่มีพาวเว่อร์ที่จะขอนักโทษกลับหรือช่วยให้โทษเบาบางลงได้


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มิถุนายน 24, 2014, 11:12:34 am
ตาอีฟ(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRf24ZuAszODsEEtrd4DcWvwW-MB36aYUDjvIN3Fyw8-gX8tJCEtcycfM4s)
เป็นเมืองที่มีอากาศเย็น สูงจากระดับน้ำทะเลมาก ที่ตั้งเมืองอยู่บนภูเขา ใช้เวลาขับรถจากเจดด้าห์ลงใต้ประมาณ2ชั่งโมงครึ่ง
ระหว่างทางจะผ่านเขาสูงระยะทางประมาณ24กม. ทางข้ึ้นเขาสวยมาก มองจากเชิงเขาด้านล่างเห็นรถยนต์วิ่งอยู่กลางเขาคันเล็กๆ ทางขึ้นเขาสร้างเหมือนงูใหญ่กำลังเลื้อย มองเหมือนขั้นบันได
ระหว่างเขาต่อเขามีสะพานเชื่อม เห็นตอหม้อสะพานสูงมาก ใช้งบประมาณมหาศาลในการสร้าง (https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTqpdAY6qGVMWatUYsCzjfCrnR58tdR836ffHHGCohcB8DQ2D43)
การเดินทางสดวกสบาย มีกำแพงกันรถตกเขาตลอดแนวถนน ใช้เวลาขึ้นเขาประมาณ1ชั่วโมง
                 (https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQqt7JA-ZNFKHd3hCHH1YUbMypVKchmN68BmW7XECOtN4f-Gpjj) หากเป็นหน้าแสวงบุญต้องรอเป็นชั่วโมง กว่าจะได้ขึ้นเขา เจ้าหน้าที่จะปล่อยรถทีละด้าน ลงหรือึ้ขึ้นทีละด้าน
                   วันนี้ผู้เขียนจะไปลากรถเสียกลับมาซ่อมที่มอเตอร์พูล เป็นรถเก๋งเชฟวี่ เสียอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งแถวๆเมืองตาอีฟ ผู้เขียนไปกับรถยก มีแขกเลบานอลเป็นคนขับ ออกเดินทางตอนบ่าย คาดว่าต้องนอนค้างคืนตรงไหนสักที่ เนื่องจากต้องตามหารถที่
ไม่รู้ว่าจอดเสียอยู่ตรงไหน มีข้อมูลแค่ใกล้หมู่บ้านเล็กๆ ฝรั่งจอดทิ้งไว้แล้ววิทยุบอก ตัวฝรั่งนั่งรถชาวบ้านไปพักในเมือง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ช่างไปตามเก็บรถเอง (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRIRkZSGPH0tvk_myCxOPtMK-vjTNAfF2elZvMCkB3ePv5CULejUA)
                     มึดแล้วยังหารถไม่เจอ ผู้เขียนเข้าใจว่า
แขกคนขับแกล้งหาไม่เจอ ไม่อยากลากตอนกลางคืน อีกอย่างการค้างคืนได้โอเว่อร์ไทม์มาก จึงบอกหายังไม่เจอ เป็นอันว่าต้องนอนโรงเตี๋ยมข้างทาง
-


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 02, 2014, 07:52:37 pm
-วันนี้นอนโรงเตี๊ยมข้างทาง  เป็นอาคารเก่าๆ สร้างด้วยอิฐบ็อกซ์ฉาบปูนหยาบๆ  ไม่มีหลังคา ดาดฟ้าเป็นที่โล่ง
มีโต๊ะอาหารตั้งไว้สำหรับคนชอบที่สูง  มีอาหารที่ทำจากไก่ แพะ อูฐ ผู้เขียนกินได้แต่ไก่หมุน ข้าวที่หุงด้วยน้ำมัน
พืชและดอกไม้นั้นอร่อยมาก ใช้ข้าวนึ่ง(ข้าวที่นึ่งก่อนสี) Parboil rice บ้านเราไม่นิยมทานเพราะไม่มียางข้าว
ด้านหนึ่งของโรงเตี๊ยมใช้เป็นที่นั่งกับพื้นปูพรมสูบชีช่า หรือบารากู่ จะเห็นแขกนั่งกันมากมาย สูบกันอย่างอารมณ์
ดี ราคาไม่แพง (https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRpfq0vHCuaLC-aWLr4UE-A6wWEYSA-aas3_kO-ivGjuFbTY_8p8w)
                       มืดมากแล้วแต่ก็ยังดูสว่างเป็นเพราะแสงสว่างจากไฟฟ้าที่เป็ดไม่อั้น ค่าไฟฟ้าถูกมาก ที่ร้านจึง
ติดไฟฟ้าเหมือนกลางวัน ผู้เขียนได้เตียงนอนข้างทาง เป็นเตียงตั้งเก่าๆ มีหมอน ที่นอนแผ่นที่ไม่เคยซัก ตั้งแต่เริ่ม
ใช้งาน ดำเป็นมัน สกปรกมาก คงล้มตัวไม่ลง ไม่เคยเห็นโรงแรมอะไรสกปรกได้ขนาดนี้  ดูเหมือนเป็นที่ให้คนผ่าน
มานอนพัก ตัดสินใจไม่เอาหมอนและที่นอน นอนบนเตียงเปล่าๆยังพอไหว เป็นประสบการณ์ที่ไม่มีวันลืม นอนไป
คิดอะไรเรื่อยเปื่อย เผลอหลับไปตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้ สะดุ้งตื่นมาอีกทีตอนโดนตีนแขกถีบหัว เนื่องจากเขาเรียงเตียงไว้
ติดๆกัน ตอนผู้เขียนนอนไม่มีใครนอนเลยไม่สังเกตเห็น  อื้อฮือ นี่มันอะไรกันนักหนา ไอ้แขกบ้ามาจากไหนไม่รู้
มันนอนหันตีนมาทางหัวผู้เขียน มันไม่เกรงใจเลย เอาตีนยันหัวแล้วหลับเฉย นี่เป็นเมืองไทยคงต้องปลุกขึ้นมา
ฟาดปากซะหน่อย อือใจเย็น ยังไงก็บ้านเขา ทำอะไรไปก็เสียเปรียบ จะหันกลับก็จะไปเจอตีนอีกด้านหนึ่ง ตัดสินใจ
ไปนอนในรถยกดีกว่า เป็นว่าไปหลับที่รถจนเช้า เสียตังค์ค่าโรงแรมข้างทางไปเปล่าๆ
                       ตอนสายๆคงจะได้ออกตามหารถกันอีก 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 12, 2014, 05:17:40 pm
ตื่นเช้ามา ไม่มีน้ำล้างตัว ใช้น้ำขวดล้างหน้า นิ้วมือถูฟัน บ้วนปาก สั่งน้ำชาท้องถิ่น
ที่หวานจับจิตต์มานั่งดื่มกับแซนวิชไข่ พอสบายท้อง แขกที่มาด้วยก็ตื่นแล้ว
ออกเดินทางไปตามหารถกันดีกว่า ขับรถผ่านไปตามหมู่บ้านเล็กๆ ส่วนมากก็อยู่
ข้างทางที่เป็นกรวดหิน บ้านมิดชิด มีรั้วปูน มองไม่เห็นข้างใน หากจะสอบถามก็
ต้องเรียกหรือถามจากคนเลี้ยงแพะที่อยู่กับฝูงแพะ หน้าที่่แขกขับรถเป็นคนถามทาง
ผมนั่งเฉยๆไปตลอด (https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTj22BG4bxzngrx7KHhsRjK1fMMCK4-S7h9zx3M6Y0pkcyVh7jCpg)
                 เราใช้เวลาตามหาอยู่ครึ่งวันก็เจอรถที่จอดทิ้งไว้ รู้สึกเหมือนงมเข็ม ถ้า
มาคนเดียวคงหาไม่เจอ จัดแจงสอดคานไฮดรอลิคเข้าตรงใต้กันชน แล้วยกลอยขึ้น
ล็อกซ์กันตก ปลดเกียร์เป็นตัว N เพื่อให้ล้อฟรี ค่อยๆลากไปช้าๆ ทางเป็นหินเป็นกรวด
ทราย รถลากไม่กลัวแต่เก๋งกลัว วิ่งเร็วๆอาจหลุดเป็นชิ้นๆก่อนถึงโรงซ่อม ผ่านหลายหมู่
บ้าน ออกสู่ถนนยาง วิ่งเร็วขึ้นหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับเร็วมากเกรงว่าเกียร์จะพังเสียก่อน
รถเกียร์ออโต้ บางรุ่นต้องถอดเพลาออก บางรุ่นต้องลากด้านหลัง เพื่อไม่ให้เพลาหมุนตาม
ทำงานกับแขก ไม่สนใจเรื่องพัง เปลี่ยนหมดทั้งเครื่องทั้งเกียร์
                 (http://www.postfree108.com/pics/classified/postfree-20130823073140-1.jpg)
รถลากจูง
 ถึงถนนลงเขา เราต้องจอดรอที่พักจนกว่าเจ้าหน้าที่จะให้ลงเขา เนื่องจากมีรถ
ขึ้นเขามามาก เขาไม่อยากให้มีอันตราย เราไปนั่งกินน้ำชากับพวกคนอื่นๆที่รออยู่ก่อนแล้ว
ชาที่นี่มีชาพื้นบ้านชงหวานเจี๊ยบกับชาลิบตั้นใส่นมสด ลิบตั้บแบบซองแช่น้ำร้อน จุ่มไว้สัก
สองสามนาที เอาช้อนกดไล่ให้ชาออก แล้วใส่น้ำตาล นมสด ก็อร่อยดี กินกับไก่หมุน แป้ง
โคบุช (แป้งสาลีผิง) ราคาถูกเป็นอาหารหลัก แผ่นละไม่ถึง๒บาท อิ่มจนแน่นท้อง ไก่๗๐บาท
ทั้งตัว
(http://3.bp.blogspot.com/-g2DqBKyOql4/Ta0xOWHLssI/AAAAAAAAAFo/F_iT4EdTMJc/s1600/IMG_6015.JPG)                   
รอประมาณ๒ชั่วโมง เดินทางลงเขาอย่างช้าๆ ขับชิดด้านขวาตลอดให้รถเร็วไปก่อน
ใช้เวลาลงเขา๒ชั่วโมง ๒๔กม. วิ่งทางปกติอีก๓ชั่งโมง ถึงมอเตอร์พูลเกือบมึด

ซากรถข้างทาง
(http://www.constructionweekonline.com/pictures/CG%20Pix/flood_1.gif)

Continue.   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 16, 2014, 12:51:46 pm
งานซ่อมที่มอเตอร์พูลก็อย่างที่เห็นนี่และครับ
(http://toolwench.com/Images/LadyThunder/0206EngineSwap/13OldAndNewPicker400.jpg)
พังกันเป็นตัวๆไปเลย
กองขยะรถรถ
(http://i.ytimg.com/vi/1T70gZJtlkE/0.jpg)
ที่ริยาดห์
(http://static.panoramio.com/photos/large/86024784.jpg)
จักรยาน
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQo8o8ripBDbyMbld1u5rCDwB1GmKf4tO036gFQFAxFAs8YUtgt)


เบาหมองนอกเรื่องไปหน่อย ที่แผนกซ่อมก็ใช้วิธีถอดเครื่องทิ้งทั้งตัวถ้าน้ำแห้ง เครื่องละลาย
ซ่อมเบา จูน ล้าง เปลี่ยนหัวเทียน ซ่อมไฟ ซ่อมแอร์ ระบบภายใน นิมแมติก



หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 28, 2014, 09:27:29 am
http://e.3875.com/christmas/em2.html?stra=b.chaiyasith


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 28, 2014, 09:42:52 am
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนไตรและสิ่งศักดิ์ทั้งหลายและบุญบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จงดลบัญดารให้ท่านทั้งหลายพบแต่ความสุข ตลอดปี2558

พบกันเร็วๆนี้ตอนต่อไปครับ
b.chaiyasith


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: tibate patkit ที่ มกราคม 02, 2015, 10:51:14 am
 :) :) ping! ping!เยี่ยมมากๆๆๆๆๆๆๆ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: tibate patkit ที่ มกราคม 04, 2015, 11:04:41 am
รอนานไกล้ลงแดงแล้วครับถ้าวันนี้ไม่มาคงต้องไปบำบัดที่ถ้ำกระบอกก่อน


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: tibate patkit ที่ มกราคม 04, 2015, 02:21:12 pm
 :) lv! THANK!!สวัสดีปีใหม่ครับท่านขอให้มีความสุขร่ำรวยเงินทองสุขภาพแข็งแรง


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 06, 2015, 08:33:08 am
รอนานไกล้ลงแดงแล้วครับถ้าวันนี้ไม่มาคงต้องไปบำบัดที่ถ้ำกระบอกก่อน
thank2 :) มัวแต่เที่ยวอยู่ครับ  :D


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 06, 2015, 12:03:16 pm

งานที่มอเตอร์พูล แอลเอสจี ใกล้จะหมดสัญญาที่เราเซ็นต์ไว้คือ ๓เดือน ได้รับหนังสือ
แจ้งว่าหากเราต้องการอยู่ต่อบริษัทฯไม่ขัดข้องแต่ไม่มีสัญญาใหม่ อยู่ไปจนกว่าจะบอกเลิก
ที่นี่เป็นอเมริกันจริงๆ ว่ากันตรงๆ เรา๓คนปรึกษากันว่าเอาไงกันดี เงินเดือนเท่าเก่า ๒,๕๐๐
รียาล (๑๗,๕๐๐บาท)ปี ๑๙๘๐ (๒๕๓๒)
                        พวกเราตัดสินใจไม่ต่อสัญญา ขอกลับ มีเหตุผลว่าปริษัทฯจะให้เราอยู่ต่อ
ควรขึ้นเงินเดือนให้บ้าง ผลงานมันฟ้องว่าพวกเราทำงานดีมีรถจากเมืองอื่นๆมาซ่อมที่นี่มาก
ขึ้น จะด้วยเหตุผลอะไรพวกเราไม่รู้ บริษัทฯแจ้งว่าอีก๑๕วันให้กลับ พวกเราดีใจมากกว่าอยู่
ถึงแม้อะไรๆที่นี่มีแต่สิ่งดี แต่สิ่งที่ไม่อาจจะชดเชยได้คือคนที่จากบ้านไปไกลๆย่อมคิดถึงบ้าน
Home sick เป็นกันทุกคนไม่ว่าชาติไหนๆ ประสบการณ์จากที่นี่มีให้เรามากมาย หลาย
ชาติหลายภาษาล้วนมาไกล ในมอเตอร์พูลมี เลบาเนีอล อียิปส์เชี่ยน อเมริกัน ไทย ฟิลลิปินโน
คนฟิลลิปินโน ดูเหมือนจะมากกว่าพวกเรา พวกเขาสื่อสารได้ดีกว่าเรื่องภาษาอังกฤษ ซาอุฯ
เวลานี้(๑๙๘๐)การสื่อสารคงยังต้องใช้วิทยุภาคสนามในการติดต่อกัน แอลเอสจีเป็นผู้ขนส่ง
อุปกรณ์สื่อสารไมโครเวฟไปติดตั้งในที่ทุรกันดาร การติดต่อระหว่างต้นทางปลายทางใช้วิทยุ
คลื่นสั้นกำลังส่งสูงติดรถ (ไม่มีโทรศัพท์มือถือ) ภาษาอังกฤษจึงเป็นหลักในการสื่อสาร คนไทย
ไม่ถนัด บางทีเห็นพยักหน้า คิดว่าเข้าใจแต่งานออกมาอีกอย่าง ฝรั่งหน้าแตกไปเยอะเจอกับ
คนไทย ไปรายงานต่อว่าเสร็จแล้วสั่งเรียบร้อย ปรากฏว่าคนไทยไม่เข้าใจ คิดไปคนละอย่าง


รับงานไปเรียบร้อยแต่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างที่ตัวเองคิดหรือเปล่า  การสื่อข้อความเป็นเรื่องที่
สำคัญมาก คนไทยเสียเปรียบระดับโลก เพราะพยักหน้ารับ Yes แต่ยังไม่ลึกซึ้งพอหรือยัง
ไม่เข้าใจเท่าไร และไม่กล้าถาม เราถูกฝึกมาเป็นผู้ตาม ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าโต้แย้ง
พวกฝรั่งจะเจราจาความกับใคร เชคประวัติคนๆนั้นตั้งแต่จำความได้ พ่อแม่ญาติพี่น้อง
ตรงไหนเป็นจุดอ่อนจุดแข็ง เอามาหมด ใช้ข้อมูลมาบีบให้เราพูดไม่ออก ทำการบ้านจน
แน่ใจแล้วค่อยนัดเจราจา ไม่ซี้ซั้วเสี่ยงให้เสียเวลา
ต่อ
หมายเหตุจะเรียกชื่อคนต่างชาติเช่น ฟิลลิปินส์ ต้องเปลี่ยนเป็น ฟิลลิปปินโน ประเทศกับคน
ไม่เหมือนกัน อเมริกา อเมริกัน คนไทย (คน) ไทยแลนด์ ประเทศ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: tibate patkit ที่ มกราคม 06, 2015, 03:00:03 pm
 wav!! wav!! wav!! wav!! ติดตามด้วยความระทึก


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: tibate patkit ที่ มกราคม 06, 2015, 03:02:20 pm
 :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 07, 2015, 08:51:58 pm
 
-ขากลับพวกเราต้องขึ้นเครื่องจากเจดด้าไปลงที่รียาห์ด สำนักงานใหญ่อยู่ที่นั่น เราเตรียม
สัมภาระ กระเป๋าเสื้อผ้า ของใช้ มีกันไม่มากเพราะอยู่แค่๓เดือน มีเพื่อนที่ยังไม่กลับไปส่ง
ที่สนามบิน พวกเราชำนาญกันแล้วใครไม่ต้องทำอะไรให้ แค่ซื้อตั๋วแล้วรอขึ้นเครื่องได้เลย
สายการบินภายในประเทศ(Local Flight)ไม่เรื่องมาก จะมีบางเมืองที่ต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้าง
อนุญาตให้เดินทาง สำหรับเมืองหลวงจะไม่เข้มงวด แค่แสดงใบเวอร์คเปอร์มิท(อิกาม่า)เท่านั้นก็ซื้อตั๋วได้แล้ว
อีกอย่างที่ซาอุฯใช้เครื่องบินภายในประเทศเหมือนรถเมล์วิ่งต่าง
จังหวัด มีวันละหลายเที่ยวหลายเมือง แต่เราต้องเชคสัมภาระก่อนเครื่องออก๒ชั่วโมง ถ้าช้า
ก็อาจต้องรอเครื่องต่อไป เมื่อชั่งน้ำหนักกระเป๋าเสร็จ น้ำหนักให้คนละ๒๐กก. เกินนิดหน่อย
ก็ไม่เป็นอะไร ไม่เหมือนเมืองไทย อะไรก็เป็นเงินไปหมด พวกแขกจะหยวนๆแค่พวกเราทักทาย
ตามธรรมเนียม ถามทุกข์สุกนิดหน่อยเท่านั้นพวกเขาก็จะดีกับเรา จากนั้นก็รับที่นั่งBoard
ing pass  แล้วไปนั่งรอเรียกขึ้นเครื่อง ที่นี่จะมีงวงสำหรับขึ้นเครื่องภายในประเทศ แต่ถ้า
เป็นระหว่างประเทศจะใช้รถสำหรับขนผู้โดยสาร ตัวรถสามารถยกขึ้นไปเทียบหน้าต่างเครื่อง
บินได้ บ้านเราไม่มีใช้
                      พอได้เวลาประกาศขึ้นเครื่อง พวกเราสะพายกระเป๋ากันคนละใบเดินไปตาม
สายพานขึ้นเครื่อง  สายการบินซาอุดี้แอร์ไลน์ จะใช้เครื่องราคาแพง ขนาดเดียวกับบินระหว่างประเทศ
เพราะผู้โดยสารเยอะมากทุกเที่ยว กลิ่นน้ำหอมปรนเหงื่อของแขกตลบอบอวนไปทั้งเครื่อง ใครแพ้ง่ายก็ต้องหาผ้าปิดจมูก
แขกไม่ค่อยสนใจอาบน้ำ จะใช้น้ำหอมดีๆกลิ่นแรงๆโปะใส่ทั้งตัว แยกไม่ออกว่าเหม็นหรือหอมกันแน่
พวกเราไม่มีสิทธิ์โวยวาย ใครไม่ชอบก็ต้องทนเจอบ่อยๆก็ชินไปเอง ใช้เวลาบิน๑.๔๕นาที จากเจดด้า-รียาห์ด ๒เมืองนี้เป็นเมืองหลวงทั้งคู่
เจดด้าเป็นเมืองหลวงเก่า ถ้านั่งรถยนต์ใช้เวลาประมาณ๒วัน แต่หารถประจำทางยากมาก
ต้องจ้างเป็นพิเศษ อากาศที่เจดด้ากับรียาห์ดต่างกันมาก เจดด้าใกล้เคียงกับบ้านเราประมาณ
ร้อนไม่เกิน๓๕ซี ส่วนที่รียาห์ด หน้าร้อนขึ้นถึง๔๖ซี ได้ยินอย่างนี้ ไม่มีใครอยากอยู่ ถ้าให้เลือก
ขอไปอยู่ทางตอนเหนือหรือตอนใต้ (ปีแรกผมเคยอยู่ดาห์ราน ใกล้รียาห์ดเพียง๔๐๐กม.)ทาง
ตะวันออก ร้อนมาก ไม่ขอไปอีกเป็นอันขาด (เมืองที่เต็มไปด้วยน้ำมัน)
                          (http://goista.com/wp-content/uploads/2014/06/Riyadh-The-Dead-Center-of-the-Saudi-Arabia-Kingdom1.jpg) เราเดินทางถึงรียาห์ดด้วยความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่มารับที่สนามบินไปส่ง
ที่แคมป์เช่นเดียวกับตอนมา พวกเราต้องพักที่แค้มป์นอกเมืองเพื่อรอเอกสาร หนังสือเดินทาง
ประทับตราออก และตั๋วเครื่องบินกลับบ้าน ซาอุฯใช้วิธีควบคุมจำนวนคนด้วยการประทับตรา
วีซ่าทั้งเข้าและออก Exit-Entry ถ้ากลับไปได้อีก ก็จะประทับคำว่า Reentry ถ้ากลับ
อย่างเดียวจะใช้คำว่า Exit Only    เวลาเข้าประเทศ ตม.จะประทับคำว่าEntry Date
Month Year. หลังจากนั้นนายจ้างจะเอาหนังสือเดินทางไปลงทะเบียนเพื่อให้วีซ่าสม
บูรณ์ และแรงงานจะออกหนังสืออนุญาตทำงานที่เรียกว่า อิกาม่า ไว้ให้เราติดตัว ในอิกาม่า
จะระบุชื่อนายจ้าง ชื่อเรา บริษัทฯ ที่อยู่ เป็นภาษาอาหรับ และต้องพกติดตัวไว้ตลอดแทนบัตร
ประชาชน เวลาจะออกจากประเทศหากไมได้กลับไปทำงานที่บริษัทฯเดิม นายจ้างเดิมจะต้อง
ส่งคืน แล้วเอาหนังสือเดินทางของเราไปประทับตราที่กรมแรงาน ก่อนออกเดินทางไปสนามบิน

หากเราไม่ได้ทำให้เสร็จหรือนายจ้างไม่ทำให้ ไม่สามารถออกจากประเทศได้ ไม่เหมือนของไทยเรา
เราสามารถเขียนใบออกที่สนามบินได้ ข้อดีของซาอุฯ เขาสามารถตรวจสอบได้ว่าทำผิดที่ไหนหรือเปล่า
และเขาสามารถหยุดเราไว้ ไม่ให้ออกนอกประเทศ บางที่อาจต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์เพื่อการตรวจสอบ หลังจากนั้นต้องสำรองที่นั่ง
เครื่องบินอีก เพราะนายจ้างส่วนมากจะจองสายการบินราคาถูกให้เรา และต้องรอหลายวันหากไม่มีทีนั่ง

 :)ต่อ   


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 25, 2015, 12:53:21 pm
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ-F6uuLoTgyc9sFvqs8M2Z9nmIWVUxrqFWZ3800YwHAnK3OJZFNw)

(http://www.expat-blog.com/upload/general_pictures/mini/mini_riyadh-makkah-highway100925034850.jpg)
ระหว่างรอExit Visa เรามีโอกาสได้เที่ยวเมืองหลวงใหม่ริยาห์ด ที่กำลังก่อสร้างไม่หยุด
ทั้งย่านการค้า ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ มีการก่อสร้างมากมาย ถนนใหม่ๆรอบเมือง สะพาน
ข้ามทางแยก บริษัทฝรั่ง เกาหลี ญี่ปุ่น แห่กันมาที่นี่ มาขุดทอง แต่ไม่เห็นบริษัทคนไทยมาที่นี่
อาจจะเป็นเพราะบริษัทคนไทยชอบทำงานในบ้านก็เป็นได้ ต่างชาติมาทำงานที่นี่เพราะประมูล
แพงเท่าไรแขกก็มีตังค์จ่าย เจ้าของงานเป็นชาวซาอุฯ ทำแบบเดียวกับบ้านเรา(นักการเมือง)
เอางานโยนให้บริษัทรับเหมา แล้วเอาค่างานไปก่อน๒๐-๓๐เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่งานมากน้อย
กินหัวคิว บริษัทที่ได้งานไปก็เอาไปให้อีกต่อ แยกเป็นรายละเอียดเช่น งานโครงสร้าง งานเหล็ก
งานไม้ งานไฟฟ้า น้ำ ปรับอากาศ งานระบบ จะเห็นซับคอนแทรกอยู่รวมกับเมนคอนแทรก
เกือบทุกที่ บางบริษัทเป็นผู้จัดหาที่พักอาศัยให้ซับคอนแทรก รวมทั้งอาหารการกิน ผู้รับเหมา
ช่วง เพียงแต่หาแรงงานไปร่วมอย่างเดียว แรงงานมีความสำคัญมาก ใครมีอยู่ในมือ รวยอย่างเดียว เหมือนผู้เขียนเจอตอนปีแรก บริษัทฯเอาไปขายกินค่าหัวสบายๆ การค้าทาสสมัยใหม่
(Modern Slavery) โลกอาจพูดว่าเลิกแล้ว ผู้ขายแรงงานหากเจอการดูแลแบบเอารัด
เอาเปรียบ ก็ไม่ผิดอะไรกับทาสของบริษัทฯ เปลี่ยนรูปแบบให้ดูดีหน่อย ในความเป็นจริงบริษัทฯ

ต่างชาติตะวันตก จะมองคนเอเชียแบบด้อยพัฒนา เป็นผู้ใช้แรงงาน หาได้มีมันสมองไม่ ใช้แรงงานอย่างเดียว เอาอะไรให้กินก็อยู่ได้กินได้ ให้นอนแบบไหนๆก็ไม่บ่น ผู้เขียนก็เคยเห็นแบบนั้นจริงๆ โดยเฉพาะคนจากอีสาน ถูกกดขี่ทุกรูปแบบ ความเป็นอยู่แย่มาก สกปรก ห้องอับๆซุกหัวนอน ห้องครัวอยู่ในห้องนอนเล็กๆ นอนกันหลายคน ของใช้ เสื้อผ้าแขวนรอบด้าน ไม่คิดว่าจะเจอและไม่คิดว่าเขาจะใช้แรงงานเหมือนทาสจริงๆ ค่าแรงงานก็แสนจะถูก เมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำของเขาผู้เขียนเองก็ยังได้น้อยกว่าขั้นต่ำ คนงานที่เห็นเงินเดือนแค่๕พันกว่าบาท
รวมรายได้ต่อเดือนไม่ถึงหมึ่น มาม่า ยำยำ ต้มใส่ไข่ น้ำปลา ปลาร้าอาหารหลัก บางคนเงินเดือนออก ไม่ได้ส่งทางบ้าน เสี่ยงโชคจนหมดตัว เสือสิงห์ เขี้ยวลากดิน มีทีนี่ ทุกที่ๆมี
แคมป์คนไทย คนไทยที่จ้องหลอกต้มตุ๋นคนไทยด้วยกันอบยพมาอยู่กันกับผู้ใช้แรงงาน มอง
ดูภาพเหมือน สัตว์กินเนื้อเดินตามสัตว์กินพืชในแอฟริกา แมงดาเกาะผู้หญิงหาตังค์  มนุษย์
เงินเดือน ไม่อาจจะหลีกพ้นการหากำไรจากนายทุน ตราบใดที่ผู้บริหารประเทศแข่งกันทีจีดีพี
มือใครยาวสาวได้สาวเอา
                       
 ระบอบทุนนิยมสอนให้คนกลัวไม่มีงานทำ ไม่ได้สอนให้คนเป็นตัวตนเอง เรียน
จบแล้วไปเป็นลูกจ้าง หลักสูตรที่สอนให้แข่งขัน แย่งชิงแย่งงาน ไม่ได้แข่งกันคิด ไม่ได้แข่งกัน
ช่วยสังคม ไม่ได้แข่งกันทำความดี สร้างความกลัวตั้งแต่จำความได้
                         นอกเรื่องไปไกล ตั้งใจว่าจะพาไปเที่ยวเมืองหลวงริยาห์ด ให้ทั่วก่อนบินกลับ
คงต้องต่อไปตอนหน้าแล้วครับ
(http://static2.demotix.com/sites/default/files/imagecache/a_scale_large/2000-1/photos/1367438859-renovation-work-underway-at-the-ancient-city-of-diraiyah-near-riyadh_2011551.jpg)
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQqutDNIHaxUDUmbwNT2eTk-lATYzEmSvDhnr6ZJwnvMzjfFG5Pdg)

ขอบคุณทุกเจ้าของภาพประกอบครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 25, 2015, 01:49:52 pm
เดิมๆ พอหาดูได้ครับ
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSdtkWnbFDsVc2dPr1RDH6HS4FDwPB2tXJwCfLKalfs07R1_ZUJ)
ไปเที่ยวรอบๆเมืองและในเมือง ริยาห์ดโตเร็วมากแค่ไม่กี่เดือน เปลี่ยนไปมากมาย
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ2YU1dLiavnY2hZhpRA-pM--_Y_-VwIi3V4AVZ0stOjo4T4aUZ)


สวนอินทผลัม นอกเมือง
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9rsCiXC6pQ0hAQXlPOnETfc5au9gfXMnKtbmg-K7qFpc74Xpb)

ย่านการค้า
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQFh2R6dKBoKHyYos8L0D00gCTpz1qCnOIAsXgqo4lq9O6rsax6WQ)

ตรวจกระเป๋าเดินทาง
(http://www.thejakartapost.com/files/images2/p04-tki.img_assist_custom-560x377.jpg)

ไม่รู้ไปไหนแต่คงไม่โรงฆ่าสัตว์?
(http://www.westheimphoto.com/lightbox/gallery/StockPhotosAsiaPhilipGame/UAEPG025.jpg)
โทษตัดคอทำกันกลางแจ้ง ปกติห้ามถ่ายรูป ยืมมาให้ดูครับ
(http://images.indianexpress.com/2013/03/m_id_364834_saudi_execution.jpg?w=300)

การจราจรคล่องตัว
(http://media.treehugger.com/assets/images/2011/10/riyadh-saudi-arabia-cars-freeway.jpg)


งานแสดงหนังสือ
(http://delhi4cats.files.wordpress.com/2013/03/riyadh-book-fair-march-2013.jpg)

ประท้วง ไม่ทำงาน ผิดกฏหมายแรงงาน ไม่อนุญาต อาจจะติดคุกทั้งหมดแล้วส่งกลับ
(http://www.riyadhconnect.com/wp-content/uploads/2013/01/workers-in-riyadh-protest.jpg)

Thank for all credit pictures


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มกราคม 28, 2015, 02:08:40 pm
Vertop. tower
(http://www.worldpropertyjournal.com/gallery/Vertropolis-3.jpg)

ภัตราคารแห่งหนึ่ง
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Applebee%60s_Restaurant_Riyadh.JPG/800px-Applebee%60s_Restaurant_Riyadh.JPG)

บ้านดินเก่าๆ
(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/photo-s/01/45/f4/01/old-riyadh-see-the-air.jpg)

ที่อยู่เรียบง่าย เห็นแอร์วินโด่วไทพ์ไหมครับ เย็นสบาย ติดตั้งง่าย นิยมใช้ที่นี่ ด้านหน้าเป็นสุเหร่า ใครอ่านเบอร์โทร.ออกบ้างครับ ๐๕๔-
(http://muslimmedianetwork.com/mmn/windows-live-pictures/Saudi-Royal-Decree-May-Ease-67-Bln-Housi_FA8C/2013-04-24T141459Z_160896290_GF2E94O0TKD01_RTRMADP_3_SAUDI-HOUSING.jpg)

สถานีรถไฟ
(http://cdn.sabq.org/files/news-image/368556.jpg?649395)
เดินทางโดยรถไฟ ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว
(http://1.bp.blogspot.com/-I0bDFCcM9Q4/TquRmxORbnI/AAAAAAAAGBI/17Iix_C5gBI/s1600/2+%25281%2529.JPG)

อยู่ตรงนี้และครับ
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRpFU8TRwxMb3J7wdnYOr0lK9z3_R2a7pSkv11KxmNG_dzIF0i9)

ภาพแฟ้มบางส่วนจากวิกิพีเดีย
บางส่วนจากูเกิ้ล ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: tibate patkit ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2015, 12:23:31 pm
รอนานมากไม่ค่อยว่างเลยเหรอครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 08:11:38 am
(http://images-resrc.staticlp.com/S=W1000M,H700M/O=85/http://media.lonelyplanet.com/a/g/hi/t/7aff4b3b2c3f412ae056cac6e15a1915-masmak-fortress.jpg)
ภาพจากโลนลี่ แพลนเนท
ริยาด
เมืองหลวงของประเทศซาอุดีอาระเบีย
ริยาด เป็นเมืองหลวงของประเทศซาอุดีอาระเบีย อยู่ในจังหวัดอาร์ริยาด ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอาระเบีย มีประชากร 4,260,000 คน เมืองริยาดตั้งอยู่พิกัด 24°42'42" เหนือ 46°43'27" ตะวันออก ตัวเมืองแบ่งการปกครองเป็น 17 เขต โดยขึ้นกับเทศบาลเมืองริยาด วิกิพีเดีย
พื้นที่: 1,554 ตร.กม.
สภาพอากาศ: 13°C ลม ตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ความเร็ว 23 กม./ชม. ความชื้น 37%
เวลาท้องถิ่น: วันเสาร์ 04:07
ประชากร: 4.087 ล้าน (พ.ศ. 2547) สหประชาชาติ
วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยคิงซาอุด, มหาวิทยาลัยปรินเซสโนรา บินท อับดุลารามัน
(http://www.thaiembassy.org/img/thumbnail/thaiembassy-thumb3.jpg)

สถานทูตไทยในกรุงริยาด
(http://)
Diplomatic Quarter,
P.O. Box 94359,
Riyadh 11693

Tel.   (966-11) 488-1174, 488-0797,
        (966-11) 488-0300, 488-1507
Fax.  (966-11) 488-1179

E-mail. thairuh@mfa.go.th

http://www.thaiembassy.org/riyadh/th/
http://www.tripadvisor.com/Tourism-g293995-Riyadh_Riyadh_Province-Vacations.html

เบดแอนด์เบรคฟาสท์
(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/ProviderThumbnails/dirs/07/fd/07fd59deecb9be488f926ccde6d769a31large.jpg)
http://www.tripadvisor.com/Hotel_Review-g293995-d2507940-Reviews-Armada_Palace_2-Riyadh_Riyadh_Province.html
(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/ProviderThumbnails/dirs/67/c1/67c127dfc3ff84ed9b5d233cd313a7a72large.jpg)

(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/ProviderThumbnails/dirs/cf/aa/cfaa7b779c0dfed8c568ef7b0db380991large.jpg)
(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/ProviderThumbnails/dirs/2c/92/2c92f6e474b5a118e7e836d64a0f42631large.jpg)

โรงแรมอัลไฟซาลเลีย
(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/photo-s/06/39/d9/42/al-faisaliah-hotel-a.jpg)

บ้านเก่าๆที่นักท่องเที่ยวนิยมไปดูhttp://www.tripadvisor.com/Tourism-g2628867-Riyadh_Province-Vacations.html
(http://media-cdn.tripadvisor.com/media/photo-s/01/45/f4/01/old-riyadh-see-the-air.jpg)
http://www.tripadvisor.com/Tourism-g2628867-Riyadh_Province-Vacations.html#photos

อาทิตย์พวกเราจะเดินทางกลับกันแล้ว
ทั้งExit Visa Ticket booking เรียบร้อย


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 18, 2015, 07:46:28 pm
 :) HAPPY2!! :Dพบกันอีกในงานต่อไปครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 30, 2016, 11:08:29 am
สวัสดีครับ ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง สำหรับทุกท่านที่ตามอ่านเรื่อง "วันแรกที่ซาอุฯ"ผมเว้นหน้านี้ไว้ครบ๑ปี แต่ไม่ลืมสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะมาเขียนต่อ
เอาเป็นว่าอดใจรออีกนิดนะครับ ไม่ได้หายไปไหน ภาระกิจมีตลอด จึงทำให้ห่างเหินไป
หวังว่าท่านคงให้อภัยและจะไม่ทิ้งกัน พบกันในเร็วๆนี้ครับ :D thank2 :) ;)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 17, 2016, 08:30:24 am
 :)ก่อนเดินทางเที่ยวนี้บริษัทจัดส่งคนงานให้ผมเป็นคนสอบช่างไฟฟ้าที่จะไปซาอุฯด้วยกัน
คนงานที่จะสอบต้องเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย หนังสือเดินทาง สมุดฉีดยา ใบตรวจสุขภาพ
ใบผ่านงาน และที่สำคัญต้องมีเงินไว้จ่ายค่าหัว ถ้าไม่มีเงินสอบได้ก็ไม่ได้ไป คนงานมีฝีมือ
มักจะไม่ได้ไปเพราะไม่มีเงินหรือไม่ยอมเสียเงิน ทางบริษัทฯนัดคนที่จะสอบไว้แล้ว เมื่อถึง
เวลาผมก็ไปสอบทีละคน แต่ละคนที่สอบแทบจะไม่มีช่างไฟฟ้าเลย ช่างเครื่องยนต์ ช่างไม้ ช่างปูน
ช่างชาวบ้าน มีคนเดียวที่จบเทคนิคไฟฟ้า นัดเพิ่มอีกครั้ง ก็เหมือนเดิม ไม่ผ่านการคัด จะให้คน
ไม่รู้เรื่องไฟฟ้าไปทำไฟได้อย่างไร ที่สุดบริษัทฯจัดส่งบอกจะหาคนให้เอง ให้เตรียมตัวไปแล้วกัน
บริษัืทฯปลายทางรอนานแล้ว อีก๒อาทิตย์บินกันเลย hungry2 ;)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ ธันวาคม 17, 2016, 09:31:45 am
(http://image.free.in.th/v/2013/iq/161107115005.gif) (http://picture.in.th/id/d9cc9e48fc4d8461a5a8d460e66343c4)
 ping!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 22, 2016, 09:22:30 pm
วันนัดหมายมาถึงเจอกันที่ดอนเมือง บริษัทจัดส่งหาตั๋วสายการบินที่ถูกที่สุดให้
PIA ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ ช่างไฟฟ้า๒๒คนมารวมกัน ใส่เสื้อ
แจ็กเก็ตเหมือนทีมนักกิฬา คนที่ผมสอบไม่ผ่านก็มา อืม ไหนๆก็มาแล้ว เสีย
เงินแล้วก็ต้องเดินหน้า คอยไม่นานก็ถึงเวลาไปเข้าคิวเชคน้ำหนักกระเป๋า ขาไป
ทุกคนมีแค่เสื้อผ้าชุดทำงาน น้ำหนักไม่มีใครเกิน แต่ก็ต้องเปิดกระเป๋าเพื่อดูของ
ต้องห้าม ประเทศซาอุฯ ห้ามเหล้า ของมึนเมา ยาเสพติดทุกชนิด รูปโป๊เปลือย
หนังโป๊ พระเครื่อง พระพุทธรูป อะไรที่ไม่ใช่อิสลามต้องระวัง อาวุธทุกชนิด อาหาร
ต้องห้าม หมู บางอย่างโทษถึงตาย ต้องระวังเพราะคนที่ไปด้วยก็มีสิทธิ์เจอข้อหาร่วมกัน
คนที่เคยไปแล้วจะรู้ดี ไม่กล้าลองของแน่นอน แต่คนใหม่ที่ไม่รู้ พวกเราต้องช่วยกันดูแล
           วันนี้มีคนเคยไปมาแล้ว๔คน ผู้เขียนกับน้องอีก๓คน ครอบครัวมาส่ง
กันมากมาย มีทั้งเหนือและอีสาน ผู้เขียนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ไม่นานนักสนามบินประกาศเรียก
ให้ไปขึ้นเครื่อง ทุกคนเข้าแถวไปผ่าน ตม.เพื่อแสตมป์ออก และเดินต่อไปที่พักผู้โดยสาร
รอโหลดไปขึ้นเครื่อง Gate F ขึ้นรถไปลานจอด smiley4 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 31, 2017, 09:37:23 am
ปีเก่ากำลังจะผ่านไป ขอให้สิ่งไมีดีงามที้งหลายอันไม่เป็นมงคลจงไปพร้อมปีเก่า
ปีใหม่สิ่งใหม่เข้ามาในชีวิต โชคดีมีชัย
มีสภาพคร่อง ถูกล็อกเตอรี่รางวัลใหญ่กันนะ
ไม่เจ็บ ไม่จน รำรวยๆ
ซาอุฯปรับตัวขนาดใหญ่ ราคาน้ำมันตกต่ำ รายได้ลดลง เตรียมเลิกจ้าง 1.2ล้านคน คนขับรถ คนสวน
เดือนมิถุนายน2561 จะอนุญาติให้ผู้หญิงขับรถได้ ค่าจ้าง33,000ล้านรียาลส์ไม่ต้องเสียและเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม5% ตามเงินจากเจ้าชายทั้งหลายแหล่ที่โกงไปกลับคืน
เรื่องราวดีๆจะเอามาให้อ่านกันครับ
โชคดี รักษาสุขภาพกันปี2561
พบกันครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ธันวาคม 31, 2017, 10:49:55 am
..สวัสดีปีใหม่ 2018 ครับผม ..  THANK!!

เพื่อนๆท่านใดต้องการโพสทุกเรื่องราว ใน  w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน เว็บนี้ครับ www.pohchae.com ทดสอบมาหลายเดือนแล้วว่านิ่งมากๆครับ

-อ่านในมือถือได้เต็มจอพอดี ไม่ต้องซูมเข้า-ซูมออก
-ส่งภาพได้ในเว็บเลย ไม่ต้องไปพึ่งserverอื่น
-สำรองข้อมูลเว็บทุก7วัน ..ข้อมูลไม่หาย
-สามารถแชร์ทุกบทความลงเฟซบุ๊ค ทุกเพจ ทุกกลุ่มได้เพียงคลิ๊กเดียว ไม่ยุ่งยาก
-คอมเม้นท์ -ใช้เฟซบุ๊คคอมเม้นท์ ด้านล่าง

..ต้องการห้องเพิ่ม แจ้งได้ ..หากเหมาะสม ผมจัดให้ครับ
.
.
เพื่อนๆสูงกว่าระดับ vip แจ้งรายชื่อได้ที่ผม >> ไลน์ 0823427662   เมล์  lsv2005@hotmail.com ..จะปรับระดับให้โพสได้ที่ www.pohchae.com  รับจำกัดเพียง5ท่าน นะครับ

   ..รักเพื่อนๆทุกท่านครับผม :-*

(https://www.pohchae.com/wp-content/themes/govariety/images/logo.png)
(https://www.pohchae.com/wp-content/uploads/2017/12/sun.jpg)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2018, 08:30:57 am
ซาอุฯวันนี้เปลี่ยนไปมาก มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมระหว่างเมกกะกับเมดิน่า ผู้แสวงบุญจะสดวกยิ่งขึ้น ส่วนเมืองหลวงรียาดห์ก็มีรถไฟฟ้าความเร็วไปยังเมืองฮายด์ เมื่อก่อนใช้เครื่องบินเป็นหลัก การปรับตัวเป็นไปตามเตรียมตัวยืนบนขาตัวเองเพราะราคาน้ำมันขาลง นอกจากนี้จะมีการเปิดให้มีวีซ่าท่องเที่ยวเป็นครั้งแรกในเร็วๆนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตน้ำมันอรามโก้ ก็เริ่มสั่งรถไฟฟ้ามาใช้งานกันแล้ว แสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตน้ำมันให้ความสนใจพลังงานด้านอื่นมากกว่าน้ำมัน น้ำมันมีความสำคัญลดลงอย่างต่อเนื่อง ประชาชนคนไทยก็ต้องตื่นตัวและรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกกันแล้ว พบกันครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2018, 01:44:46 pm
ถ้าเป็น10ปีที่แล้ว ..ใครมาเล่าให้ฟัง จะตลกมากครับ.. ต่อไปคนไทยอาจต้องไปขุดทองที่พม่า undecided2



  พอดีคนที่รู้จักกัน ข้างร้านที่เชียงใหม่ .. บอกผมว่างานในประเทศไทยน้อย ต้องไปกับคนงาน3คน รับงานเชื่อมสเตนเลส  แบบเหมาทำที่พม่าเกือบ2เดือน .. ประเทศไทยมาถึงจุดนี้แล้วหรือ?   8)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 24, 2018, 08:57:04 am
ซาอุฯเปลี่ยนแปลงเร็วมากตั้งแต่เจ้าชายองค์ใหม่มารับผิดชอบประเทศ
ใครอยากติดตามก็ตามลิ้งค์นี้เลยครับ
http://www.arabnews.com


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 02, 2019, 10:46:15 am
หัวข้อนี้ไม่ได้อัปเดทมานาน
เป็นเพราะผู้เขียนไม่มีเวลา
อีกอย่างดูเหมือนเวปไซท์จะถูกรบกวนตลอดจากต่างชาติ เพื่อนๆก็ไปคนละทิศละทาง
ต้องฝากไว้กับพี่เล็กซะแล้ว จะฟื้นฟูอย่างไรดีครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ เมษายน 03, 2019, 08:59:51 am
เอาเนื้อหาไปลงในเฟซบุ๊คก็ดีเหมือนกันครับ เพราะปัจจุบัน ..ใครๆก็ใช้เฟส   laugh2  wav!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ เมษายน 03, 2019, 11:45:19 am
คหสต. นะครับ ผมขอมองต่างมุมกับพี่ๆหน่อย

กระทู้ของพี่เฉียบเป็นกระทู้ที่มีค่า เป็นประสบการณ์จากชีวิตจริง

พูดถึงคนเขียนหนังสือเอาไปทำเป็นเล่มขายได้เลย(ทั้งไทยและอังกฤษ)

การนำบทความสาระไปลงใน facebook จะทำให้

มุมมองของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป

อ้ายข้อเสนอที่เป็นบวก ก็ดีไป

แต่ อ้ายความคิดเห็นที่เป็นนักเลงคีย์บอร์ด

สมองหมา ปัญญาควาย มันเยอะ เดี่ยวก็ กัดกัน

ถ้าเป็นเรื่องไร้สาระ ปัญญาควาย นะ เห็นด้วย

ใน Facebook น้ำเน่า มากกว่าน้ำดี  90% คุยและ

การแสดงความคิดเห็นแพล๊บเดียว กัดกันแล้ว

ในเพ็จ Facebook /Line มีแต่ อนุอาชญากร

หลอกขายของ หลอกขายยา หลอกไปข่มขืน หลอกขายสินค้าปลอมฯลฯ

แต่การนำเสนอในเว็บบอร์ด ข้อดี คือ รู้ตัวตน

คุยกันมองคนละมุม อวดรู้ อวดเก่ง ป่วนกระทู้

ก็เดินไปที่บ้าน มัน แล้ว ลาก ออกมา กระทืบ ได้เลย

ดูในเว็บ ผู้จัดการเป็นตัวอย่างสิ

ต้องปิดเว็บบอร์ด ไม่ให้  Comment.

ไม่นาน นี้ ผมก็ คง ปิด Face / Line

ไม่ได้ประเทืองปัญญาผมเท่าไหร่

เปิดเพ็จ ทั้งสอง เมื่อสักครู่มีแต่

สวิงกิ้ง  ยาทน ยาสำหรับสาวๆวัยรุ่น ฯลฯ

เหรียญ ย่อมมีสองด้านเสมอ ระวังจะเป็นเหยื่อ


ความเห็นส่วนตัว นะครับ ตามบายพี่ๆ ครับ ถ้ามองคนละมุม

 thank2


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ เมษายน 04, 2019, 02:09:58 pm
  ตายล่ะผมหลงไปอยู่ในเฟซบุ๊คเหมือนกัน.. ส่งภาพ+วีดีโอ ง่ายจริงๆ..ฟรีต่างหาก ..หนุ่มๆสาวๆร้านขายยาฯเข้ามาตรึม..หนุกหนานยิ่งนัก ..555

 

 ปีนี้อัพไปหลายพันรูปหลายร้อยเรื่อง ..แต่ค้นหาเนื้อเรื่องแต่ละทีแทบพลิกแผ่นดิน .. กะว่าอายุเยอะกว่านี้ซักหน่อยจะหันไปเล่นอินสตราแกรมต่อ..จ๊าก..ก.. :'( wav!!
ปล.แต่ไม่ทอดทิ้งเว็บบอร์ดเรานะครับ .. โพสกันได้ ผมสำรองข้อมูลให้ทุกๆเดือนครับ  :)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ เมษายน 04, 2019, 07:14:06 pm
ประสบการณ์ เวลาที่เรา ฝ่าด่าน มา

มันสอน ให้เรา คิด วิเคราะห์ ว่า

อะไรคือ บวก อะไร คือ ลบ

อะไร สะอาด อะไร สกปรก

และ อะไร? คือ ประโยชน์  หรือ มันคือ โทษ

คนที่แยกแยะ ออกคือ  ผู้ที่ได้เปรียบ

 THANK!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 26, 2019, 11:54:44 pm
 :)ผมเห็นด้วยกับน้องปรีชาครับ
ถ้าวันนี้เวปเราไม่ป่วน ภาพดีๆจะเกิดขึ้นอีกมากมาย ขอบคุณพี่เล็กและเพื่อนที่ให้กำลังใจมาตลอด หลายคนต้องมีเรื่องของชีวิตดีๆมาแบ่งให้เพื่อนอีกมาก คนไทยรุ่นใหม่เกือบจะไม่อ่านหนังสือเป็นเล่มกันแล้ว หันมาอ่านEbook ค้นคว้าผ่านกูเกิ้ล หารู้ไม่ว่าเราถูกเก็บข้อมูลที่แสดงความคิดเห็นเข้าระบบเซิสเอนยิ่นไปทุกข้อความ Search engine ของกูเกิ้ล เก็บเอาข้อมูลที่เราใช้ไปประมวลผลทุกประโยคโดยที่ไม่ต้องคิดเอง
เราเป็นเครื่องให้เขาร่ำรวย เราเสียตังค์ค่าเชื่อมสัญญาณรายเดือน เราเสนอความคิดผ่านเครือข่าย เขาเก็บข้อมูล
แล้วเอามาเป็นกูรูให้เราค้นหา
รู้จากเรา เก่งจากเรา รวยจากเรา
แล้วเราล่ะ...?


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ เมษายน 27, 2019, 09:19:26 am
เรียนน้องเฉียบ .. ตอนนี้เว็บเราที่อยู่ได้มาหลายปีก็เพราะมี google ช่วยเว็บเราอยู่ด้วยนะครับ ..ทั้งค่าพื้นที่-ค่าโดเมน ฯลฯ ///..ต่างกับที่เฟซฯ  ต้องโดนบล๊อคหลายครั้งแล้ว ไม่รุสาเหตุเหมือนกันครับ 55..
อาจเป็นเพราะนโยบายของ google และ fb ช่างต่างกันเหลือเกินครับ ..  wav!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 17, 2019, 10:13:05 am
วันนี้ซาอุฯเปลี่ยนวิสัยทัศน์ทันโลกทันสมัย มีกรีนการ์ดสำหรับคนทำงาน คนที่อยากมีชีวิตที่ซาอุฯ อยากมีทรัพย์สิน อยากลงทุนทำมาหากิน มีถิ่นฐานถาวร
เปิดกว้างให้คนทั่วไปไม่ต้องมีหุ้นส่วน ไม่ต้องมีคนขอวีซ่าให้อีกแล้ว เข้าด้เลยเมื่อกรอกแบบสอบถามได้
http://www.arabnews.com/node/1497666/saudi-arabia


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 19, 2019, 09:31:38 pm
 ping!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 22, 2019, 10:27:12 pm
วันนี้ซาอุฯพัฒนาไปไกลมาก มีรถไฟความเร็วสูงวิ่งระหว่างเมือง มีสนามบินเจดด้าห์ใหม่ กำลังก่อสร้างตึกที่สูงทร่สุดในโลกและมีโครงการณ์ขนาดยักษ์พื้นที่กว่า1หมึ่นตารางกม.
โครงการณ์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ได้ทั้งเมือง เลี้ยงปลาที่ทะเลแดง เราอาจต้องนำเข้าปลาทะเลจากซาอุฯในอีกไม่ช้านี้ครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ตุลาคม 25, 2019, 08:31:59 am
ในไทย ชะงักหมดเลย .. ไม่รุว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจโลก ใช่ไหม? #ชักจะมึน  :(


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ ตุลาคม 25, 2019, 09:50:04 am
ในไทย ชะงักหมดเลย .. ไม่รุว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจโลก ใช่ไหม? #ชักจะมึน 

เพราะผู้บริหาร คำนึงของประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ชาติ ไง
อีกประเด็นหนึ่ง "ความสามารถ" ในการ สร้างประเทศ มือไม่ถึง



หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤศจิกายน 20, 2019, 10:24:56 am
โปรเจค1000ล้านในซาอุฯ
https://youtu.be/E6VyDe5YXRo
และอีก1อาคารที่จะสูงที่สุดในโลก Kingdom high 1.6กม.จากพื้นดิน รวมโครงการณ์
75,000ล้านรียาลส์ เป็นเงินบาทคูณด้วย8ครับ https://youtu.be/g_JrSSCADJ0



หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤศจิกายน 20, 2019, 10:59:41 am
เรียบเรียงดีๆ ..พิมพ์เป็นตำราขายได้เลยครับ  :-X :)


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤศจิกายน 20, 2019, 04:48:12 pm
เห็นด้วย ครับ


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2020, 10:26:07 pm
วันนี้จะพูดถึงกำยาน
Kamyan เป็นไม้หอมศักดิ์สิทธิ์ ที่มุสลิมใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ใช้ฆ่าเชื้อโรค ใช้โรยศพ ใช้เป็นเครื่องหอม สมุนไพรที่คนเอเชียรู้จักมานับร้อยปีสำหรับ “กำยาน” มีสรรพคุณทางยา อาทิ แก้ไอ ห้ามเลือด ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ ลดความเครียด ยาฝาดสมาน ขับลม ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นด้วย


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 01, 2020, 08:39:01 am
วิธีทำกำยานแบบไทยโบราณ
https://youtu.be/QHvY5DGSmyo

 


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 01, 2020, 09:12:25 am
 :-X wav!!


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 05, 2021, 09:24:57 am
ซาอุฯวันนี้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้
ปรับตัวเองให้ทันชาวโลก แต่บางเมืองก็ไม่อนุญาตให้เข้าถ้าไม่ใช่มุสลิม
น้ำมันยังคงเป็นรายได้หลัก แต่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ผลิดกระแสไฟฟ้ามาใช้หลายแห่ง คิดว่าสักวันน้ำมันต้องหมด จึงต้องเรียนรู้ธรรมขาติให้มากขึ้น การปกครองยังเป็นเชื้อพระวงศ์ทั้งสิ้น ซาอุฯยังคงเป็นนักบริโภคสินค้า อาวุธ การก่อสร้างขนาดใหญ่ แหล่งหาเงินขุมทองของชาติตะวันตก
รายได้มหาศาลมาจากคนทั่วโลกต้องใช้น้ำมัน



หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 16, 2022, 08:49:31 am
เขาเขียนไว้ได้ชัดเจน ไม่ต้องเพิ่มเติมครับ
แสนพิทักษ์ ผมมีความคิดบางเรื่องที่อยากทำ
คือขอเป็นตัวแทนคนไทย
หรือรวบรวมคนไทยส่งกำลังใจและปรบมือให้
พณฯนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์
 เรื่องการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่คนไทยเรา โดยเฉพาะคนไทยที่
เคยไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อ30กว่าปี ที่แล้วกว่า4-5 แสนคน
หรือตัวเลขอาจมากกว่านั้น แต่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ถือว่าเป็นศูนย์กลางของตะวันออกกลาง คนไทยได้อานิสงส์มากมาย
จากการส่งแรงงาน คนไทยในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง
เมื่อมีงานซาอุ หลายแสนครอบครัวมีอยู่มีกิน ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว
คนไทยลืมตาอาปากได้ เพราะเงินแรงงานจากซาอุฯ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ขโมยเพชรซาอุ โดยคนไทยคุณเกรียงไกร เตชะโม่ง

ความสัมพันธ์ก็ปิดฉากลง เราได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า
ไม่ใช่แค่ครอบครัวคนที่ไปทำงานที่ซาอุ แต่อีกหลายครอบครัว
อีกหลายๆแสนคน หรืออาจเป็นล้านที่ได้รับผลกระทบ
จากการปิดความสัมพันธ์ทางการทูต คนไทยตกงานเป็นแสนๆคน
ผมก็คือคนหนึ่งที่ล้มละลายเพราะไม่สามารถ
ขอวีซ่ากลับเข้าไปทำงานได้ คงไม่ต้องอธิบายว่า
เสมือนอยู่บนฟ้าแล้วตกสู่ดิน หรือความหายะนะมากมาย
ที่เกิดผลกระทบต่อคนที่ไปทำงานและคนไทยอีกเป็นล้าน 
ที่ได้ใช้เงินจากการทำงานซาอุฯ

    ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ช่วงเกิดการปิดความสัมพันธ์
ผมเป็นคนไทยที่ทั้งไปทำงานโดยการรจัดส่งของบริษัทจัดหางาน
และเป็นพ่อค้า หรือจะเรียกว่าทำธุรกิจให้ดูน่าภูมิใจ แต่มันก็เป็นเรื่องจริง
เพราะผมเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆที่เอาข้าวไทย ไปขาย
จากที่ไม่มีใครรู้จักข้าวไทย ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว 5%,100%และ
ข้าวเหนียว สันป่าตอง คนซาอุ ไม่รู้จัก รวมทั้งคนอีกกว่า50ประเทศ
ที่ส่งคนไปทำงานในซาอุ เขารู้จักหมด
ข้าวไทยหอมกินอร่อย ปั้นด้วยมือยังได้ เม็ดงามยาวเรียว
ผมยังจำได้กว่า 30 ปีแล้ว ผมสนุกในการวิ่งหาผลิตภัณฑ์
อาหารไทยทุกชนิดกว่า270รายการ ไปขายให้คนไทยเรา
และคนโอเรียลตอล หรือพวกตะวันออกไกลเข่นฟิลิปปินส์,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,
กัมพูชา,พม่า,บังคลาเทศ,อินเดีย,ศรีลังกา,ปากีสถาน, เยอะแยะจำไม่หมด 

ข้าวไทยดังกระฉ่อนด้วยฝีมือคนกลุ่มนึงที่เรียกตัวเองว่าตลาดไทย หรือร้านไทย
ผมเองนอกจากบริหาร และจัดหานำเข้าอาหารไทยแล้ว
เราส่งจากซาอุไปยังประเทศอื่นๆอีก อานิสงส์นี้แทบคำนวณไม่ได้
ไหนจะกลุ่มนักท่องเที่ยวมาซอยนานา พัทยา ภูเก็ต สาระพัด 
ผมยังจำได้ผมเป็นคนแรกที่เข้าไปเครือสหพัฒฯที่ศรีราชา
เพื่อสั่งซื้อ มาม่า ไวไว ไปขายซาอุ กะปิ ปลาร้า (พาสเจอไรซ์) ยาหม่อง ทัมใจ
ไม่ใช่ขายเฉพาะคนไทย คนต่างชาติกว่า30ประเทศ
ที่เป็นแรงงานก็ซื้อเพราะคนไทยเรามีน้ำใจ

     อยากจะบอกว่าเมื่อตอนเรามีซาอุ เรามีตังค์ คนทั่วอีสาน
และภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้
ไปกันหมดเศรษฐกิจร่าเริง ความสุขเปี่ยมล้นทั้งประเทศ

    เมื่อเกิดการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต คนไทยกลับบ้าน
คนซาอุที่มาเที่ยวเต็มพัทยาหายหมด ยิ่งกว่าเมืองร้าง
กว่าจะปรับตัวก็อีกหลายสิบปี

รู้มั้ยว่าผลเสียทางตรงคือแรงงานและการท่องเที่ยว

แต่ผลกระทบทางอ้อมคือการค้าขายเราพังไปด้วย
ซาอุหยุดสั่งข้าว เมื่อหลายปีก่อนข้าวไทยขายในตะวันออกกลางเป็นอันดับหนึ่ง
และเป็นอีนดับหนึ่งของโลกด้วย มลาย เสียหายย่อยยับ
คงไม่ต้องกลับไปสาบแช่งคนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์
หรือผู้ที่มีส่วนให้ประเทศชาติเสียหาย
เพราะพวกเขาคงได้ใช้หนี้บาปไปแล้ว แต่จะบอกว่ากว่าจะมีวันนี้
ผมเคยอธิษฐานเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่อมาอีก10 ปี

แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนแก้ปัญหาได้

ตอนนั้นอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าขอให้ฟ้าดินจงบัลดาลให้ข้าฯ ได้กลับไปซาอุ
ให้ข้าได้กลับไปทำงาน ใช้หนี้ทดแทนแผ่นดินซาอุ
ที่ให้ที่ทำงาน ให้อากาศหายใจ ให้ข้าวให้ น้ำ และน้ำใจจากคนซาอุโดยตรง
อย่างน้อยก็ขอให้กลับไปไหว้แผ่นดินที่มีบุญคุณต่อข้า 
นั่นคือคำอธิษฐาน แต่จนแล้วจนรอด สิบปีแล้วปีรอด กี่รัฐบาล
ก็ไม่มีใครแก้ปัญหานี้ได้ จนกระทั่งรัฐบาลปัจจุบัน
โดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์  ที่สร้างมหัศจรรย์
ด้วยการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบีย กับประเทศไทย จนสำเร็จ

ข้าพเจ้านายสุรสิทธิ์ สุรฤทธิพงศ์ อดีตแรงงานไทยซาอุ
อดีตนักธุรกิจนำเข้าอาหารไทยไปซาอุ


ขอชื่นชม และปรบมือให้ท่านพลเอกประยุทธ์ท่านนายกรัฐมนตรีอย่างจริงใจและนับถือ
คงไม่ต้องสาธยายว่าแล้วรัฐบาลอื่น นายกอื่น ทำไมไม่ปรบมือและชื่นชม
ผมเชื่อว่ามีคนไทยกว่าครึ่งหรืออาจจะกว่า90% รู้ว่าสิ่งใด ควรชื่นชม
คนไทยไม่ทับถมกัน รักกัน ใครทำดีก็ควรแสดงน้ำใจนักกีฬา
ปรบมือและขอคาระวะแทนคนไทยที่เคยทำงานในซาอุ 
เพราะพวกเขาได้แต่คิดแต่ไม่กล้าพูด  ผมเองไม่ตำหนิใคร
เพียงชื่นชมคนไทยคนเก่ง ที่ท่านแก้ปัญหาได้ 
เสียดายเพื่อนๆอดีตแรงงานไทย ที่หลายคนจากโลกนี้ไป
จึงยังไม่เห็นว่าพวกเรายังสามารถกลับไปซาอุได้ 

   อนึ่งในฐานะเคยอยู่ซาอุ ต้องขอฝากขอบคุณรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย
และองค์ประมุข ที่ท่านนำความสุขมาให้คนไทยอีกครั้ง
ขอปรบมือให้ พณฯนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  ด้วยความชื่นชม

Cr: Jittipol Chaiyasith

โค๊ด:
ตอนนักท่องเที่ยวซาอุมากิน ดื่มแถวนานา
ผมเป็น "Waiter" พนักงาน เสิร์ฟ   Arab restaurant (ห้องอาหารอาราเบียน)
เข้างาน ช่วงค่ำ ถึงตี2 ทุกวัน
มีรายได้วันละ 7-8 พันบาท แทบทุกวันจาก Tip

เลิกงานเสร็จ พาน้องนุชสุดสวาท
ไปเล่นจ่ำจี๊กันที่บ้านเช่าซอยหมอเล็ง
รายได้วันละ 7-8 พัน เสาร์ อาทิตย์ หมื่นกว่าบาท
ไม่เหลือ เลย โหม๊ดดดดดดดดด
พอซาอุ ไม่เข้ามาเที่ยว ร้านเจ๊ง ปิดกิจการ ต้องหางานใหม่


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ธันวาคม 22, 2022, 01:27:43 pm
เพิ่งเข้ามาอ่าน ขอบคุณEskimo Bkk
ที่นำมาฝากครับ
วันนี้ซาอุฯเปลี่ยนไปยอะมาก  Prince Mohammad bin Salman มีวิศัยทัศน์ยาวไกล กำหนดปี2030 หรืออีก8ปีข้างหน้าเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่โมเดลใหม่ เป็นซาอุฯใหม่
มีโอกาสจะเข้ามาเขียนครับ
 :D


หัวข้อ: Re: วันแรกที่ซาอุฯ
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ ธันวาคม 22, 2022, 06:43:11 pm
 thank2