พิมพ์หน้านี้ - หมากินช๊อกโกเล็ตแล้วตายจริงมั๊ยครับ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => สัตว์เลี้ยงน่ารัก... => ข้อความที่เริ่มโดย: หลอดไฟ ที่ กันยายน 17, 2012, 10:21:05 am



หัวข้อ: หมากินช๊อกโกเล็ตแล้วตายจริงมั๊ยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หลอดไฟ ที่ กันยายน 17, 2012, 10:21:05 am
หมากินช๊อกโกเล็ตแล้วตายจริงมั๊ย ใครรู้บ้างครับ  :(


หัวข้อ: Re: หมากินช๊อกโกเล็ตแล้วตายจริงมั๊ยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กันยายน 17, 2012, 09:25:55 pm
จริงหรือไม่นั่นผมยังไม่เคยเจอกับตัวเองครับ เห็นแต่เพื่อนบ้านก็บอกว่าอย่างนั้น อย่าให้หมากินช็อกโกแลต
และผมไปเจอบทความบทหนึ่งมาครับ ลองอ่านดู  lsv-smile

จริงหรือเท็จ: ช็อกโกแลตเป็นพิษต่อสุนัข
(http://variety.teenee.com/science/img0/47199.jpg)
ตามความเชื่อทั่วไป หมาพันธุ์เล็กอาจจะตายหลังจากกินลูกกวาดช็อกโกแลตตรา M&M เข้าไป

แต่เมื่อจ้องมองเจ้ามูส สุนัขพันธุ์ชิวาวา (Chihuahua) ที่วิ่งรอบห้องหลังจากกินขนมนี้เข้าไปอาจจะทำให้หลายคนสงสัยว่าช็อกโกแลตมันเป็นพิษต่อสุนัขจริงหรือไม่?

สุนัขและมนุษย์มีรสนิยมที่คล้ายคลึงกัน พวกมันมองหาของหวานและกินอย่างเอร็ดอร่อยเหมือนกับมนุษย์ แต่มันไม่เหมือนกับมนุษย์ตรงที่ช็อกโกแลตมีอันตรายต่อสุขภาพสุนัขกล่าวคือ ช็อกโกแลตเป็นพิษต่อพวกมันและในบางครั้งอาจจะทำให้ถึงตายได้ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบร้ายแรงนี้อาจจะเป็นการคาดการณ์ที่สูงเกินไปก็ได้ กล่าวโดยทิม แฮกเก็ตต์ (Tim Hackett) นายสัตวแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตท อันตรายของช็อกโกแลตต่อสุนัขขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพ สุนัขพันธุ์ใหญ่อาจจะกินช็อกโกแลตปริมาณน้อยแต่ไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ช็อกโกแลตปริมาณเท่ากันนี้อาจจะเป็นปัญหาสำหรับสุนัขพันธุ์เล็กอย่างเจ้ามูส

ช็อกโกแลตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากเม็ดที่มีรสขมของต้นโกโก้ (cacao tree) ซึ่งมีกลุ่มสารประกอบชื่อเมธิลแซนธีน (methylxanthine) รวมอยู่ด้วย

สารประกอบกลุ่มนี้ได้แก่คาเฟอีน (caffeine) และสารธีโอโบรมีน (theobromine) สารทั้งสองตัวนี้จะไปจับกับตัวรับบนผิวเซลล์และป้องกันไม่ให้สารอื่นมาเกาะได้ กลุ่มสารเมธิลแซนธีนในปริมาณน้อยอาจจะทำให้สุนัขอาเจียนและท้องร่วงได้และยังทำให้เกิดภาวะเคลิ้มสุข (euphoria) ในมนุษย์ ในช็อกโกแลตจะมีปริมาณธีโอโบรมีนมากและมีคาเฟอีนน้อยกว่า ถ้ารับสารธีโอโบรมีนหรือคาเฟอีนในปริมาณมากแล้ว สุนัขบางตัวอาจจะกล้ามเนื้อสั่น (muscle tremor) หรือชัก (seizure) ได้ สารเหล่านี้ในช็อกโกแลตสามารถทำให้หัวใจสุนัขเต้นเร็วขึ้นสองเท่าและสุนัขบางตัวอาจจะวิ่งวนราวกับว่ามันดื่มเอสเพรสโซ่ไปหนึ่งแกลลอน แฮกเก็ตต์กล่าว ดูเหมือนว่าเจ้ามูสเองมีสารธีโอโบรมีนในร่างกายสูงทีเดียว

สุนัขสามารถกินช็อกโกแลตได้แต่มันขึ้นอยู่กับน้ำหนักสุนัขและประเภทของช็อกโกแลตที่กินเข้าไปด้วย

ช็อกโกแลตดำมีสารธีโอโบรมีนมากกว่าช็อกโกแลตนมถึง 6 เท่า แม้ว่าปริมาณโกโก้จะแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อก็ตาม ช็อกโกแลตนมน้อยกว่า 4 ออนซ์อาจจะทำให้สุนัขพันธุ์เล็กและเจ้ามูสตายได้ ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมความเป็นพิษต่อสัตว์ ASPCA ในช่วงวันหยุดที่มีความเสี่ยงเช่นวันวาเลนไทน์ วันอีสเตอร์ และวันคริสต์มาส มีสุนัขอย่างน้อย 3-4 ตัวต้องส่งเข้ารักษาในโรงพยาบาลสัตว์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตท แต่ระยะเวลา 16 ปีของการเป็นสัตวแพทย์ห้องฉุกเฉิน แฮกเก็ตต์ได้เห็นสุนัขตายจากช็อกโกแลตเป็นพิษมาแล้ว และเขาคาดว่าน่าจะมีโรคอื่นที่ทำให้มันตายจากการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น(จากช็อกโกแลต)ได้ง่ายขึ้น สุนัขที่กินช็อกโกแลตปริมาณน้อยจะสามารถกำจัดกลุ่มสารเมธิลแซนธีนออกจากร่างกายโดยไม่ต้องรักษาได้ แต่สุนัขที่กินเข้าไปเยอะจะรักษาโดยการทำให้อาเจียนและให้กินผงถ่าน (activated charcoal) เพื่อดูดซับสารเมธิลแซนธีนที่ตกค้างภายในลำไส้หรือที่อยู่ในเลือดที่เข้าไปยังระบบย่อยอาหาร

สุดท้ายเจ้ามูสก็รอดเงื้อมมือ(เพชรฆาต)ของขนมช็อกโกแลตจนได้ แต่ไม่ว่าคุณจะอบ ห่อ หรือละลายช็อกโกแลต เจ้ามูสและช็อกโกแลตไม่ใช่ของคู่กันเอาเสียเลยครับ

ขอขอบคุณที่มาของบทความ  http://variety.teenee.com/science/11140.html