พิมพ์หน้านี้ - อย่าติคนติดฤทธิ์ เพราะการมีฤทธิ์ เป็นของดี

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: kittanan_2589 ที่ พฤษภาคม 16, 2011, 04:35:21 pm



หัวข้อ: อย่าติคนติดฤทธิ์ เพราะการมีฤทธิ์ เป็นของดี
เริ่มหัวข้อโดย: kittanan_2589 ที่ พฤษภาคม 16, 2011, 04:35:21 pm
(http://gallery.palungjit.com/data/500/medium/00-_.jpg)

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. เห็นคนติดฤทธิ์ จงอย่าตำหนิเขา เพราะจิตของบุคคลผู้ยังเข้าไม่ถึงพระอริยเจ้า ย่อมจักติดฤทธิ์เป็นธรรมดา สอบสวนอารมณ์ของจิตให้ดีๆ พวกเจ้าในอดีตก็ติดฤทธิ์อยู่เช่นกัน พอหนักเข้าเห็นทุกข์ ก็เริ่มปล่อยจากการต้องการฤทธิ์ กำลังของฤทธิ์เป็นกำลังของอภิญญา เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรม ในหลักสูตรของคำสอนของพระพุทธศาสนานี้ หาก มีแล้วใช้ไปในด้าน สัมมาทิฎฐิ ก็เป็นของดี มิใช่ของทราม แต่ถ้าใช้ไปในทางด้าน มิจฉาทิฎฐิ ก็จักเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ จิตมักเหลิงทะนงตนว่าเป็นผู้ประเสริฐ

๒. แต่ถ้าอภิญญาสมาบัตินั้นเป็น โลกุตรวิสัย ของผู้ใช้ ก็ย่อมไม่เป็นโทษแก่ตนเองและผู้อื่น อภิญญาเป็นของดี นี่ถ้าหากใช้ให้เป็นก็มีประโยชน์ จึงไม่พึงไปกล่าวตำหนิติเตียนเรื่องฤทธิ์ให้มากนัก เพราะตั้งแต่ เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัตปัตโต เป็นหมวดของอภิญญาทั้งหมด หากพูดตำหนิไปก็ไม่ต่างกับการปรามาสพระธรรม เพราะฉะนั้นจุดนี้ตั้งใจให้ดีๆ พิจารณาคำพูดก่อนจักพูดเรื่องฤทธิ์ทุกครั้ง อย่าสักแต่ว่าพูดโดยมิได้คิด

๓. เพราะฉะนั้น การมีฤทธิ์เป็นของดี แต่ดีให้จริงคือดีใน สัมมาทิฎฐิ เป็นที่ตั้ง การฝึกฝนอภิญญา เพราะฉะนั้นคนใดที่ติดฤทธิ์ จักกล่าวว่าไม่ดีก็ไม่ได้ จักต้องคิดว่าเขาติดดี เพียงแต่เวลาคุณหมอคุย ก็พึงให้เขาติดด้วยความเป็น สัมมาทิฎฐิ คือ มีศีลเป็นพื้นฐาน ไม่ไปตำหนิเขา แต่พูดเสริมให้เขาไปในทางที่ถูก ยึดหลักพระตถาคตเจ้าเข้าไว้ ท่านไม่ตำหนิใคร จักกล่าวเสริมแนะนำในสิ่งที่บุคคลนั้นๆ ได้ทำอยู่แล้ว ให้ทำให้ถูกยิ่งๆ ขึ้นไป

๔. อย่างคน ๆ หนึ่งนั้น ชอบบริโภคน้ำพริกกะปิอยู่เป็นปกติ เราจักไปเปลี่ยนแปลงเขาไม่ให้บริโภคได้อย่างนั้นหรือ แต่ถ้าแนะนำเขาให้หาผักมาแกล้มด้วยเอาอย่างนั้นมาเสริม ก็ย่อมจักดีกว่าไปบอกเขาให้เลิกกินน้ำพริกกะปิ

๕. อย่างคนติดฤทธิ์ก็คือคนติดดี ฤทธิ์เป็นของดีในพระพุทธศาสนา เราก็ไม่จำเป็นต้องคัดค้าน เพียงแต่แนะนำส่งเสริมให้เขาดำเนินอยู่ในศีล จิตเขาก็อยู่ในฌานสมาบัติได้ทรงตัว เป็นการป้อนสังโยชน์ ๓ เพิ่มให้ไม่ขัดใจใคร เชิญตามอัธยาศัย เยี่ยงนี้จักมีประโยชน์มากกว่า

๖. อนึ่ง ถ้าจักเตือนเรื่องพระเทวทัต ติดฤทธิ์ ก็พึงย้ำว่า เป็นอภิญญาโลกีย์ คือ ท่านไม่มีศีล ฤทธิ์จึงเสื่อม แต่ในที่นี้ทุกคนไม่อยากให้พบกับความเสื่อม ก็พึงต้องมีศีล อย่างต่ำคือศีล ๕ ให้เป็นปกติ รับรองว่าฤทธิ์หรืออภิญญาสมาบัติก็จักไม่เสื่อม เน้นตรงนี้ให้เข้าใจกันจักดีกว่า


ที่มา: http://tangnipparn.com/page36_b00k7.html