พิมพ์หน้านี้ - ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 28, 2011, 02:05:59 pm



หัวข้อ: ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 28, 2011, 02:05:59 pm
ปัญหาภาวะขาดแคลนแหล่งพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ทุกประเทศกำลังเผชิญในขณะนี้ สำหรับเมืองไทยมีทางเลือกไม่มากนักในขณะที่พลังงานอย่างอื่นพลังงานทางน้ำหรือแก๊สธรรมชาติก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในปัจจุบัน พลังงานนิวเคลียร์จึงเป็นทางออกที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้
(http://www.vcharkarn.com/uploads/111/111197.gif)
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์ความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR)

                        คล้ายคลึงกับแบบ Boiling Water Reactor (BWR)แต่แยกการทำงานเป็นสอง ลูปทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสารกัมตภาพรังสีรั่วไหล แต่ข้อเสียคือต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่า แบบ Boiling Water Reactor (BWR)
(http://www.vcharkarn.com/uploads/111/111199.gif)

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์น้ำมวลหนัก (Pressurized Heavy Water Reactor : PHWR)

                        มีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์ความดันสูง (Pressurized Water Reactor : PWR)แต่ใช้ ดิวทอเรียม (D2O) ซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจนแทนที่น้ำ(H2O) ข้อดีของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบนี้คือใช้พลังงานเชื้อเพลิงน้อย แต่ข้อเสียคือ ดิวทอเรียม หาได้ยาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์น้ำมวลหนักเรียกอีกอย่างว่า candu เนื่องจากประเทศแคนนาดาเป็นผู้ผลิตโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบนี้
(http://www.vcharkarn.com/uploads/111/111200.gif)
 เครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำมวลหนัก

(http://www.vcharkarn.com/uploads/111/111201.jpg)
โรงงานนิวเคลียร์

ที่มาhttp://www.nst.or.th/


หัวข้อ: Re: ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
เริ่มหัวข้อโดย: BEBOSS ที่ พฤศจิกายน 21, 2011, 01:06:46 pm
 :-\ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ จะคุ้มหรือเปล่า..เมื่อคืนดูช่อง Thai PBS น่ากลัวครับ...


หัวข้อ: Re: ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
เริ่มหัวข้อโดย: nantawut ที่ เมษายน 17, 2012, 10:44:23 pm
ขนาดโรงไฟฟ้าชีวภาพ ยังประท้วงไม่ยอมให้สร้างเลย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คงหมดสิทธิครับ
แต่ผมยอมนะ ถ้ามันจะทำให้ค่าไฟฟ้าหรือน้ำมันถูกลง


หัวข้อ: Re: ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ เมษายน 18, 2012, 12:06:08 pm
(http://www.nst.or.th/logo/logo-pnc1.gif)
ท่านที่มีข้อเสนอแนะ หรือต้องการเผยแพร่ผลงานหรือบทความ ติดต่อเพื่อส่งเรื่องลงในเวบไซต์ หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของสมาคมฯ ต้องการสมัครสมาชิกใหม่ ปรับปรุงข้อมูลสมาชิก ติดต่อได้ที่เลขาธิการสมาคมฯ
คุณอารีรัตน์ email: areeratt@oaep.go.th หรือ areerattk@gmail.com
ที่ทำการ ... สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 16 ถ.วิภาวดีรังสิต ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02 596 7600, 02 562 0123 ต่อ 3413, 3414,3416 โทรสาร 02-5620118
Email adress: wichian4@yahoo.com
(http://www.nst.or.th/article/article53/pictures/article5302a.jpg)
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังชั้นสูง

หลายประเทศกำลังพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยุคที่ 3 และ 4
เครื่องปฏิกรณ์ชั้นสูงยุคที่ 3 ได้ทำการเดินเครื่องในญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ.1996
เครื่องปฏิกรณ์ชั้นสูงรุ่นใหม่มีการออกแบบที่ง่ายขึ้น และลดต้นทุน มีการใช้เชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
เทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์ในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงมามากกว่า 5 ทศวรรษ เครื่องปฏิกรณ์ยุคที่ 1 ได้ถูกพัฒนาในทศวรรษที่ 1950-1960 และนอกจากสหราชอาณาจักร ไม่มีที่ใดเดินเครื่อง เครื่องปฏิกรณ์ยุคที่ 2 เป็นแบบอย่างของกองเรือสหรัฐปัจจุบัน และส่วนมากอยู่ในระหว่างการเดินเครื่อง เครื่องปฏิกรณ์ยุคที่ 3 (และ 3+) เป็นเครื่องปฏิกรณ์ชั้นสูงที่กำลังจะกล่าวถึง เครื่องแรกอยู่ในระหว่างการเดินเครื่องในญี่ปุ่น เครื่องอื่นๆ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือพร้อมที่จะถูกสั่งซื้อ เครื่องปฏิกรณ์ยุคที่ 4 ยังอยู่ระหว่างการออกแบบและจะไม่เดินเครื่องก่อนปี ค.ศ.2020

เครื่องปฏิกรณ์ยุคที่ 3 ให้ประโยชน์ต่อไปนี้

การออกแบบที่เป็นมาตรฐานทำให้การออกใบอนุญาตเสร็จโดยเร็ว ลดต้นทุนและเวลาก่อสร้าง
การออกแบบที่ง่ายขึ้นและให้ทนทานมากขึ้น ทำให้เดินเครื่องง่าย
อายุการใช้งานนานกว่า ประมาณ 60 ปี
ลดความเป็นไปได้ของอุบัติเหตุแกนหลอมละลาย
ต้านทานความเสียหายซึ่งจะทำให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากการชนของอากาศยาน
การเผาไหม้สูงกว่า ทำให้ลดการใช้เชื้อเพลิงและปริมาณกาก
ขยายอายุเชื้อเพลิง
สิ่งที่ต่างจากการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ยุคที่ 2 คือ มีการใช้ระบบพาสซีฟ(passive) ซี่งไม่ ต้องใช้ระบบควบคุมอย่างแอคทีฟ (active) ที่ใช้ระบบไฟฟ้าหรือเครื่องกลในการสั่งงาน แต่ใช้ปรากฏการณ์ทางกายภาพ เช่น การพา(convection) แรงโน้มถ่วง หรือความต้านทานต่ออุณหภูมิสูง

เครื่องปฏิกรณ์น้ำมวลเบา (Light Water Reactors)

ในสหรัฐอเมริกา Department of Energy (DOE) และอุตสาหกรรมนิวเคลียร์เพื่อการพาณิชย์ ในทศวรรษที่ 1990 พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ชั้นสูง 4 ชนิด สองในจำนวนนั้นถูกสร้างโดยตรง จากประสบการณ์การทำงานของเครื่องปฏิกรณ์น้ำมวลเบาใน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้อยู่ในขนาด 1300 เมกะวัตต์

หนึ่งในจำนวนนั้นคือ Advanced boiling water reactor (ABWR) จากการออกแบบของ General Electric ตัวอย่างสองเครื่องสร้างโดย Hitachi และอีกสองสร้างโดย Toshiba กำลังเดินเครื่องอยู่ในญี่ปุ่น มีชุดอื่นอยู่ในระหว่างก่อสร้าง และอีกสองเครื่องอยู่ในไต้หวัน 4 เครื่อง ถูกวางแผนสร้างในญี่ปุ่น และอีก 2 เครื่องถูกวางแผนสร้างในสหรัฐอเมริกา ทั้ง GE-Hitachi และ Toshiba กำลังทำการตลาดการออกแบบนี้ ส่วน Tepco ให้ทุนการออกแบบ BWR ยุคต่อไป

http://www.nst.or.th/article/article53/article5302.html


หัวข้อ: Re: ประเทศไทยกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
เริ่มหัวข้อโดย: BIRD4K33 ที่ เมษายน 18, 2012, 01:38:34 pm
เห็นว่าประชาคมโลกเริ่มหักหลังให้กับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เหตุผลเพราะทราบถึงผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งความร้ายกาจของมันญี่ปุ่นได้รับผลกระทบถึง 2 ครั้งมาแล้ว   แล้วประเทศไทยที่เดินโครงการอยู่ก็จะเลิกใช้แล้วนี่ครับ
ข่าวมาอย่างงี้ หรือว่าเขาต้องการคนถักท่วงให้สงบ สงสัย :(