หัวข้อ: สดชื่นไปกับ เครื่องสร้างอากาศดี เริ่มหัวข้อโดย: puri5689 ที่ มกราคม 10, 2011, 01:32:12 pm (http://img39.imageshack.us/img39/3171/67138156.jpg) Thanks: โยกัง (http://xn--12cm5fsc9d.com) โยกัง
เรื่องเครื่องผลิตอากาศบริสุทธิ์ จากรูป ไฟฟ้ากระแสสลับ 220V 59Hz ป้อนเข้าวงจรที่ประกอบด้วยไดโอดกับตัวเก็บประจุซึ่งต่อกันเป็นวงจรทวีแรงดันไฟฟ้า (Voltage Multiplier) 30 สเตท ทำให้ได้แรงดันไฟฟ้าลบสูงมากประมาณ 4KV ออกมาทางเอ้าท์พุทของวงจรผ่านชุดความต้านทานR2ถึงR8 ต่อไปต่อไปยังปลายเข็ม ซึ่งเป็นตัวกระจายประจุลบไปยังอากาศ เนื่องจากปลายเข็มมีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบสูงมาก และเนื่องด้วยศักย์ไฟฟ้าลบสูงๆนี้มีจำนวนประจุลบมากมาย แต่ปลายเข็มมีพื้นที่น้อยมาก จึงทำให้ประจุลบที่ปลายเข็มหลุดออกมาได้ง่าย ประจุลบที่กระจายออกมาจากปลายเข็มจะไปเกาะอยู่กับโมเลกุลของอากาศทำให้อากาศมีประจุลบเพิ่มขึ้นกลายเป็นอากาศบริสุทธ์ตามที่กล่าวจากตอนต้น ถึงแม้ปลายเข็มจะมีศักย์ไฟฟ้าลบสูงมาก แต่สามารถใช้มือสัมผัสได้โดยตรงโดยไม่เป็นอันตราย เพราะวงจรได้ออกแบบให้มีการจำกัดกระแสที่ไหลผ่านตัวเราคือ ตัวต้านทานR2ถึงR8 ที่ต่ออนุกรมกัน ตัวต้านทานชุดนี้จะคอยจำกัดกระแสขณะผู้ใช้สัมผัสถูกปลายเข็มที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง แต่ถ้าไม่มีการสัมผัสกับปลายเข็ม ตัวต้านทานแทบจะไม่มีผลต่อศักย์ไฟฟ้าลบที่วงจรจ่ายไปยังปลายเข็มเลย การสร้าง เนื่องจากวงจรที่ใช้กับความต่างศักย์สูงมาก ดังนั้นอุปกรณ์จึงต้องทนแรงดันสูง คือ ไดโอดทนแรงดันอย่างต่ำ 1000V ควรใช้เบอร์ 1N4007 ซึ่งมีราคาถูกและทนแรงดันสูงถึง 1000V ตัวเก็บประจุควรใช้ชนิดเซอรามิค ที่ทนแรงดันได้ไม่ต่ำกว่า 1000V เท่ากัน เมื่อได้อุปกรณ์มาครบ ใส่อุปกรณ์ตามรูปแสดงการวางอุปกรณ์โดยระวังเรื่องขั้วไดโอด จากนั้นใช้เข็มเย็บผ้าเลือกซื้อขนาดที่เล็กมากๆเพื่อให้ปลายเข็มแหลมมากๆซึ่งมีผลทำให้การกระจายประจุลบดีขึ้น ใช้เข็มบัดกรีติดกับแผ่นปริ๊นอีกแผ่นวงจรก็พร้อมจะทำงานได้แล้ว หัวข้อ: Re: สดชื่นไปกับ เครื่องสร้างอากาศดี เริ่มหัวข้อโดย: puri5689 ที่ มกราคม 10, 2011, 01:35:23 pm (http://img39.imageshack.us/img39/4967/15681303.jpg) Thanks: โยกัง (http://xn--12cm5fsc9d.com) โยกัง
เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องท่านโดยผลิตประจุลบ ความต่างศักย์สูงมาที่ปลายเข็ม เรามีวิธีทดสอบโดยการสร้างเครื่องทดสอบง่ายๆตามรูป เริ่มต้นจากตัดแผ้นวงจรพิมพ์ขนาดกว้าง 1 ซ.ม. ยาว 15 ซ.ม. จากนั้นกรีดแผ่นทองแดงบนแผ่นวงจรให้ขาดจากกันเป็นสองส่วน โดยวัดจากปลายข้างหนึ่งของแผ่นวงจนพิมพ์เข้ามาประมาณ 1-2ซ.ม. จากนั้นใช้หลอดนีออนและตัวเก็บประจุค่า 4700 uF ต่อขนานกับหลอดนีออนคร่อมพื้นที่แผ่นทองแดงทั้งสองของแผ่นวงจนพิมพ์ เมื่อสร้างเครื่องทดลองเสร็จใช้นิ้วมือจัดส่วนที่พื้นที่ทองแดงด้ามสั้น แล้วนำพื้นที่ทองแดงด้านยาวไปไว้ใกล้ๆปลายเข็มจะเห็นหลอดนีออนสว่างถ้าเครื่องทำงานปกติจากนั้นใช้หลังนิ้วมือเข้าไปใกล้ๆปลายเข็ม จะรู้สึกมีลมเบาๆออกมาจากปลายเข็ม เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องใช้งานได้จริง ลองได้โดยยกกล่องพลาสติกใสมีฝาปิด จากนั้นนำเครื่องใส่ลงในกบ่องพลาสติก พ่นควันบุหรี่ลงในกล่องพลาสติกพอประมาณ แล้วปิดฝาคร่อมจากนั้นเปิดเครื่องให้ทำงาน จะเห็นควันบุหรี่จางหายไปอย่างรวดเร็ว ถ้านำแผ่นวงจรพิมพ์ บรรจุลงกล่องจำเป็นต้องใช้กล่องพลาสติก เพื่อป้องกันประจุไฟฟ้ารั่วไหลลงตัวกล่องปลายเข็มไม่จำเป็นต้องโผล่ออกไปนอกตัวกล่องอาจเป็นอันตรายได้ ใช้วิธีเจาะรูเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. แล้วโผล่ปลายเข็มให้เสมอกับตัวกล่องโดยให้ปลายเข็มอยู่ที่จุดกึ่งกลางของรูที่เจาะ การทำความสะอาด เมื่อมีการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ต้องทำการทดสอบการปล่อยประจุของวงจรด้วยเครื่องทดสอบที่สร้างขึ้น ถ้าการปล่อยประจุน้อยลงคือสังเกตการติดของหลอดนีออนและระยะห่างของเครื่องทดสอบขณะทดลอง ถ้ายิ่งใกล้กับปลายเข็มมากหลอดจึงติด ต้องทำความสะอาดปลายเข็ม โดยใช้ภู่กันปัดบริเวณเข็ม หรือใช้แอกอฮอล์เช็ดที่เข็ม เมื่อมีการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ต้องทำการทดสอบการปล่อยประจุของวงจรด้วยเครื่องทดสอบที่สร้างขึ้น ถ้าการปล่อยประจุน้อยลงคือสังเกตการติดของหลอดนีออนและระยะห่างของเครื่องทดสอบขณะทดลอง ถ้ายิ่งใกล้กับปลายเข็มมากหลอดจึงติด ต้องทำความสะอาดปลายเข็ม โดยใช้ภู่กันปัดบริเวณเข็ม หรือใช้แอกอฮอล์เช็ดที่เข็ม (http://img39.imageshack.us/img39/8724/70884832.jpg) Thanks: โยกัง (http://xn--12cm5fsc9d.com) โยกัง หัวข้อ: Re: สดชื่นไปกับ เครื่องสร้างอากาศดี เริ่มหัวข้อโดย: yanyongs ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2012, 08:51:03 am เพิ่งมาถึงครับ
อยากได้รายละเอียดครับ (รูปหายหมดแล้ว ) น้ายังอยู่ใน Club ก็ ตอบด้วยครับผม lv! หัวข้อ: Re: สดชื่นไปกับ เครื่องสร้างอากาศดี เริ่มหัวข้อโดย: super_s ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2012, 08:00:03 pm :D
|