พิมพ์หน้านี้ - คลังจี้จัดซื้อจากต่างประเทศ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => เศรษฐกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: Nattawut-LSV Team ที่ ตุลาคม 28, 2010, 06:40:25 am



หัวข้อ: คลังจี้จัดซื้อจากต่างประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ ตุลาคม 28, 2010, 06:40:25 am
(http://www.dailynews.co.th/content/reporter/Thai_money27101006_12_53.jpg)

เงินบาทแข็งค่า ทำโรงงานเล็งเจรจาลดราคาเกษตร ด้านคลังกระตุ้นภาครัฐเร่งจัดซื้อจากต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้เร่งกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐ ส่วนราชการหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ และมีแผนหรือโครงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ จากต่างประเทศแล้ว หากสามารถจัดซื้อและจ่ายเงินได้เลย ก็ให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเงินบาทแข็งค่า

 “จากสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่า จากอัตราแลกเปลี่ยนขณะนี้ กรมบัญชีกลาง ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ เห็นว่า แม้จะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยตรงจากการสูญเสียมูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทกับเงินสกุลต่างชาติ แต่อีกด้านหนึ่งของผู้ที่ทำธุรกิจ ในการซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะได้รับประโยชน์ รวมทั้งการชำระหนี้ให้ผู้ค้าต่างประเทศในช่วงเวลานี้ด้วย”นายรังสรรค์ กล่าวและว่า ในส่วนของภาครัฐเองก็ได้รีบดำเนินการโดยเร่งด่วนเช่นกัน โดยเฉพาะรายการที่สามารถจัดซื้อจัดจ้างและจ่ายเงินได้โดยเร็วไม่ผูกพันระยะยาว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มของอัตราแลกเปลี่ยนโดนใช้เงินบาทจำนวนน้อยลง เป็นการประหยัดเงินงบประมาณ และนำเงินที่ประหยัดได้ไปใช้ในงานหรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในงานสัมมนา ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยกับการเติบโตของจีดีพี ปี 54 ว่า ปัญหาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ระกอบการ ทำให้หลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป,  ผลไม้กระป๋อง, อาหาร, สิ่งทอฯ,  เฟอร์นิเจอร์ เตรียมเจรจาขอลดราคาวัตถุดิบกับเกษตรกรลง เพื่อลดต้นทุนสินค้าให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เนื่องจากประเทศคู่ค้าจำนวยมากไม่ยอมให้ไทยปรับราคาขึ้นในรูปของเงินสกุลสหรัฐ  “โรงงานไม่ต้องการที่จะเจรจาให้เกษตรกรลดราคาวัตถุดิบเนื่องจากไม่ต้องการให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้ไป แต่หากอุตสาหกรรมอยู่ไม่ได้เชื่อว่าเกษตรกรก็อยู่ลำบาก ดังนั้นก็จะให้รับภาระกันคนละครึ่ง เช่น ค่าเงินบาทแข็ง 10% จะเจรจาให้เกษตรกรลดราคาสินค้าเกษตรลด 5% และที่เหลืออีก 5% โรงงานจะรับภาระ”
(http://www.dailynews.co.th/newstartpage/includes/images/logo.gif)