พิมพ์หน้านี้ - "ตำนานภูลังกา" ดินแดนแห่งพระเจ้าห้าพระองค์

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: kittanan_2589 ที่ กันยายน 19, 2010, 04:02:03 pm



หัวข้อ: "ตำนานภูลังกา" ดินแดนแห่งพระเจ้าห้าพระองค์
เริ่มหัวข้อโดย: kittanan_2589 ที่ กันยายน 19, 2010, 04:02:03 pm
(http://www.muangthai.com/images/news_demons/t23-01-01.jpg)


ความลึกลับของภูลังกาหรือ(รังกา) อันเป็นดินแดนลี้ลับอย่างอาถรรพณ์ มีภูเขาห้าลูกเชื่อมโยงกันด้วยป่าไม้หนาแน่นสูงเฉียดฟ้าและหุบเหว มีเรื่องปรัมปราพื้นบ้านเล่าสืบทอดกันมาว่า

ภูลังกาในสมัยดึกดำบรรพ์ ยุคสร้างโลกเป็นที่สถิตอยู่ของ “รังกาเผือก” มีไข่ ๕ ฟอง วันหนึ่งขณะที่ กาเผือกสองผัวเมียออกไปหาอาหารได้เกิดลมพายุพัดเอารังกาพลิกไหว ไข่ทั้ง ๕ ฟอง ปลิวไปตามลมแรงกระจัดกระจายไปตกลงยังที่ต่างๆ

ไข่ฟองที่ ๑ ไปตกยังถิ่นของแม่ไก่ แม่ไก่นำไปเลี้ยงไว้ต่อมาก็คือพระกกุสันโธพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๒ ไปตกในเมืองพญานาค ท้าวพญานาคนำไปเลี้ยงไว้ ต่อมาได้เป็นพระโกนาคมพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๓ ไปตกในแดนของเต่า พญาเต่านำไปเลี้ยงไว้กลายเป็นพระกัสโปพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๔ ไปตกในแดนแม่โค แม่โคได้เลี้ยงไว้ ต่อมากลายเป็นพระสมณโคตมะพุทธเจ้า และ
ไข่ฟองที่ ๕ ไปตกที่แดนของพญาราชสีห์ พญาราชสีห์เอาไปเลี้ยงไว้กลายเป็นพระศรีอริยเมตไตรย รวมเป็นพระเจ้า ๕ พระองค์

เรื่องภูลังกาที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า ๕ พระองค์นี้ เป็นเรื่องพื้นถิ่นความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบันดาลใจให้ชาวบ้านเทิดทูนพระพุทธเจ้า ต้องการให้เห็นว่าพื้นถิ่นของตนนั้นมีความผูกพันเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้ง ๕พระองค์อยู่ตลอดไปก็เลยเป็นว่าภูลังกาเป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์

ภูลังกา...ดินแดนพิสูจน์คนกล้า พระแกร่ง

(http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-wang-thitisaro/lp-wang-hist-01-pics/30645.jpg)

ภูลังกา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระป่าอันสัปปายะวิเวก ที่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนชอบแวะเวียนไปอยู่เสมอ ถึงแม้จะลำบากในเรื่องอาหาร ต้องอดแห้งอดแล้งท้องกิ่วเหมือนฤๅษีชีไพรและอาหารที่ไปบิณฑบาตมาได้จะเป็นเพียงข้าวเหนียว ๑ ก้อนเล็กๆ กับเกลือและพริกได้มาแค่ไหนก็ฉันกันแค่นั้น ไม่คิดมากไม่ถือว่าเรื่องอาหารเป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนา เพราะจิตมีความมุ่งหมายอยู่ที่การขูดเกลากิเลสตัณหาความ ทะยานอยากให้หมดไป เพื่อพ้นทุกข์ จิตสะอาดบริสุทธิ์ สว่าง สงบ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ดังนั้นพระป่าจึงไม่มีการบ่นว่า หิวเหลือเกิน อ่อนเพลียไม่ มีแรงจะเป็นลม ต่างก็หุบปากเงียบ เฝ้าแต่เดินจงกรม กับนั่งสมาธิภาวนา กำหนดสติรู้คอยระมัดระวังกิเลสตัณหาในตัวเองอยู่ตลอดเวลา รู้เท่าทันกิเลส ใช้ขันติ ความอดทน อดกลั้น ในทุกสถานการณ์ ไม่ทำตามกิเลสทุกรูปแบบ บังคับตัวเองได้ เป็นนายตัวเองได้ ถ้าเจ็บไข้ อาพาธ ไม่ต้องไปหาหยูกยาใดๆ รักษาตัวเองด้วยการนั่งสมาธิภาวนา สลับกับเดินจงกรม ไม่ฉันอาหาร เพื่อให้กระเพาะลำไส้ได้หยุดพักผ่อน เรียกว่า รักษาด้วยธรรมโอสถ หายก็ดี ไม่หายก็ตาย ถ้าตายก็หายห่วง จะได้ดับให้สนิทไปเลย ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ความตายไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอะไร !
ภูลังกา ธรรมสถานแห่งพระอริยะ
พระ ป่าในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เคยไปอยู่จำพรรษา หรือไปเพื่อการวิเวก บนภูลังกาหลายองค์ เช่น พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นต้น

พระอาจารย์ชา สุภัทโธ ปรารถนาพบพระอาจารย์วัง
พระ อาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ อายุได้ ๓๑ พรรษาที่ ๑๑ ได้เดินธุดงค์ออกจากวัดป่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บุกป่าฝ่าดงขึ้นสู่ภูลังกา ใกล้กับบึงโขงหลง เหตุที่พระอาจารย์ชาต้องบุกป่าฝ่าแดนอันตรายด้วยไข้ป่าและสัตว์ร้ายไปภู ลังกา ก็เพราะว่าอยากจะพบปะสนทนากับ พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลืออยู่ในหมู่นักธรรมกรรมฐานว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ เชี่ยวชาญในเจโตสมาธิ ทั้งในด้านสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ปรารถนาพุทธภูมิ

(http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-wang-thitisaro/lp-wang-hist-01-pics/30648.JPG)

ตอนนั้นพระอาจารย์ชายังไม่เคยเห็นหน้าพระอาจารย์วังมา ก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อเสียงอันบันลือของท่านเท่านั้น พระอาจารย์ชามีความปรารถนาอยากจะพบพระอาจารย์วังให้ได้ ระยะเวลานั้น พระอาจารย์ชามีความสับสนในธรรมปฏิบัติมาก ต้องการหาใครก็ได้ที่พอจะเป็นกัลยาณมิตร ช่วยชี้แนะแนวทางปฏิบัติธรรมให้ เหมือนกับว่าเดินไปถึงจุดๆ หนึ่งแล้วมีอันต้องสะดุดหยุดชะงักลง ไม่สามารถเดินต่อไปได้ มันมืดแปดด้าน ก็ระลึกถึงพระอาจารย์วังที่ขึ้นไปนั่งบำเพ็ญเพียรบนยอดภูลังกา แม้จะยังไม่เคยเห็นความแกร่งกล้าในการบำเพ็ญเพียรของพระอาจารย์วัง ว่าบรรลุถึงขั้นใดแล้วก็ตาม แต่พระอาจารย์ชาก็เชื่อมั่นอย่างหนึ่งว่า พระอาจารย์วังคงต้องมีดี อย่างใดอย่างหนึ่ง มิฉะนั้นคงไม่ขึ้นอยู่บนยอดเขา

เมื่อ ขึ้นไปถึงถ้ำชัยมงคลบนยอดภูลังกาแล้ว ก็ได้พบว่าครูบาวังอยู่กับสามเณรเพียง ๒ รูปเท่านั้น บรรยากาศบนภูลังกาเงียบสงบ อากาศดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรยิ่งนัก พระอาจารย์ชา ได้ปรารภถึงความสับสนของตนในการบำเพ็ญเพียรภาวนา จึงได้บุกบั่นมาเพื่อขอให้ครูบาวังช่วยชี้แนะนำทางที่ถูกที่ควรให้
ครูบาวังได้ถามฉันเมตตาจิตว่า ความสับสนนั้นเป็นประการใด

พระ อาจารย์ชาได้กล่าวว่า การทำสมาธิภาวนาเหมือนสะดุดอยู่กับที่ ไม่มีที่ไป แม้ย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ เพื่อหาทางต่อไป แต่ก็ไม่อาจทำได้ ยังคงหยุดอยู่กับที่เช่นเดิม

ครูบาวัง ได้นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง หลับตากำหนดรู้ด้วยกระแสญาณ แล้วลืมตาขึ้น ได้ให้คำชี้แนะแก่พระอาจารย์ชาว่า ไม่ต้องกำหนดจิตไปไหน ให้หยุดอยู่ตรงนั้นแหล่ะ กำหนดรู้อยู่ตรงนั้น แล้วมันก็จะเปลี่ยนไปเอง เราไม่ต้องไปบังคับใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ให้กำหนดรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง เดี๋ยวจิตมันก็เปลี่ยนไปเอง เราไม่ต้องไปวุ่นวายอะไร อย่าเข้าใจว่าหมดสิ้นแล้ว เดี๋ยวมันจะมีขึ้นอีก เพียงแต่กำหนดสติรู้แล้วปล่อยวาง มันจะไม่เป็นอันตราย ถ้าเราไม่วิ่งตามมัน

พระ อาจารย์ชาได้สดับตรับฟังแล้ว มีความรู้สึกว่า ความสับสนวุ่นวายในจิตได้หายไปเป็นปลิดทิ้ง เกิดความเข้าใจในความละเอียดอ่อนลึกซึ้งในธรรมปฏิบัติมากขึ้น มีความสบายอก สบายใจ ไม่รุ่มร้อนดังแต่ก่อน ได้กำหนดในใจว่า จะอยู่บำเพ็ญเพียรบนภูลังกาสัก ๓ วัน ต่อจากนั้นจะออกจาริกธุดงค์ต่อไป ไม่ติดที่อยู่อาศัย ท่องเที่ยวไปตามลำพังแต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เพียรพายามเผากิเลส เพื่อทำให้รู้แจ้งถึงที่สุดพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม อันเป็นสุดยอดปรารถนาของเหล่ากุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา
พระ อาจารย์ชาได้พยามบำเพ็ญธรรมอย่างหนัก เร่งทำความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อให้ได้ผลเร็วขึ้น เมื่อมาอยู่ใกล้ครูบาวังผู้ล้ำลึกในธรรม ควรที่จะตักตวง มีอะไรสงสัยจะได้ถามท่านได้และก็ไม่ได้ผิดหวังเลย ครูบาวังได้ให้ความกระจ่างในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น ทำให้ พระอาจารย์ชาได้หลักการอย่างหนึ่งว่า นักปฏิบัติธรรมนั้นไม่สามารถจะไปเจริญภาวนาคนเดียวได้ แม้จะภาวนาได้ก็จริง แต่ชักช้าเนิ่นนานมาก แต่ถ้ามีกัลยาณมิตรคอยช่วยชี้แนะแนวทางให้ การปฏิบัติธรรมก็จะไปเร็วขึ้น ไปสู่ทางที่ปรารถนาเร็วขึ้น

อยู่ ครบ ๓ วันแล้วพระอาจารย์ชาก็กราบลาครูบาวังลงมาจาก ภูลังกา ออกเดินธุดงค์แสวงหาโมกขธรรมต่อไป ดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอจักมีใจจดจ่ออยู่ในเสนาสนะป่าอยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย พึงเที่ยวไปคนเดียวดุจช้างม้าตังคะที่เที่ยวไปในป่าตัวเดียว เป็นสัตว์มักน้อยฉะนั้น


หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
หนังสือ ๑๐๐ ปีหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้กล่าวถึงการไปจำพรรษาของท่าน บนภูลังกาไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ อายุ ๔๕ ปี พรรษาที่ ๒๖ เดินทางกลับบ้านบัว เพื่อดูแลและเทศนาสั่งสอนอบรมสมาธิให้แก่โยมแม่เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเข้าพรรษา โยมแม่ก็เสียชีวิต ได้จัดการฌาปนกิจศพโยมแม่เสร็จแล้วจึงตั้งใจไปจำพรรษาที่ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอเซกา (ในขณะนั้น) จังหวัดหนองคาย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัวประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ได้ไปแวะที่วัดศรีวิชัยก่อนขึ้นไปจำพรรษาที่ภูลังกา เดินทางร่วมกับพระอาจารย์สวน และตาผ้าขาว ได้เลือกชะโงกหินเหนือถ้ำชัยมงคล บนยอดภูลังกาของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร สหธรรมมิก ที่เคยร่วมกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่นเป็นที่จำพรรษา พระอาจารย์วังเคยจำพรรษาอยู่ก่อนถึง ๕- ๖ ปี ซึ่งต้องเดินขึ้นที่สูงเต็มไปด้วยโขดผาหิน ต้องไต่เขาและปีนป่ายขึ้นที่สูงชัน ใช้เวลาหลายชั่วโมง ในสมัยนั้นในป่าเขา เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด อีกทั้งเป็นฤดูฝน หนทางขึ้นลงก็ลำบาก ยากต่อการบิณฑบาต ความเป็นอยู่การขบฉันเป็นด้วยความลำบากยากแค้น มีชาวบ้านปวารณาตัว จึงนำเสบียงอาหารใส่เกวียน เดินทางจากหมู่บ้านศรีเวินชัยไปถึงภูลังกาใช้เวลา ๑ วัน ขึ้นไปส่งให้อาทิตย์ละครั้ง ต้องนอนพักค้างแรมอีก ๑ คืน อาหารหลักคือหน่อไม้ ลูกคอนแคน ยอดคอนแคนจิ้มน้ำพริก ตลอดจนหัวกลอย เป็นต้น แต่การภาวนาที่นี่เป็นที่พอใจมาก “ปรากฏธรรมอัศจรรย์” ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ปัจจุบันยังมีลายมือหลวงปู่ที่เขียนไว้ว่า “ถ้ำอยู่เย็นเป็นสุข ถ้ำอาจารย์สิม” ณ เงื้อมชะโงกผา ที่ท่านปักกลดจำพรรษาตลอดพรรษานั้นยังคงปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เคยมาจำพรรษาบนภูลังกา
จาก ประวัติหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ได้บันทึกการมาปฏิบัติธรรมของท่านบนภูลังกาเอาไว้ว่า ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านเจริญกัมมัฏฐานมาหลายปีทีเดียว แต่จะเป็นพรรษาที่เท่าไรนั้น ท่านก็มิได้บอกให้ทราบ ท่านเล่าแต่เพียงว่าเมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาที่ภูลังกา ท่านก็ได้ทำความเพียร ในขณะที่เร่งทำความเพียรอยู่ที่ภูลังกานั้น ถึงกับไม่ฉันข้าว ฉันน้ำ ท่านว่ามันจึงจะรู้จักโลก แจ้งโลก พอจิตบรรลุถึง “ โคตรภูญาณ ” จิตก็รู้ได้หมดได้ทั่วไปว่า วิญญาณพวกไหนที่อยู่ในโลก ก็สามารถรู้จักและเห็นหมดในโลกธาตุ ว่าเป็นอยู่อย่างไร

หลวงปู่สังข์ ออกธุดงค์ มาถึงภูลังกา
จาก ประวัติหลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ได้บันทึกว่าพรรษาแรกที่บรรพชาเป็นสามเณรอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า หลังจากออกพรรษาแล้ว เคยไปกราบครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิหลวงปู่สีลา อิสฺสโร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม เป็นต้น จากนั้นได้ไปเที่ยวรุกขมูลกับพระอาจารย์บุญส่ง โสปโก ตามทางหลวงปู่ตื้อเคยไป เช่น บึงโขงหลง แล้วไปถึงภูลังกา ได้พบกับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่ถ้ำชัยมงคล

หลวงปู่คำพันธ์ ธุดงค์ผ่านภูลังกา
จาก ประวัติหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ บันทึกว่า ท่านได้เดินรุกขมูลขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง เข้าเขตุอำเภอบ้านแพง ขึ้นภูลังกา ยามเย็นได้ไปยืนอยู่ที่หน้าผาฝั่งตะวันตก ในเขตบึงโขงหลง มองลงมาข้างล่าง เห็นฝูงช้างจำนวนมาก บางตัวก็มีลูกอ่อน พากันหักต้นกล้วยป่ากินเป็นอาหารแบบสบายอารมณ์ ฝูงละ ๕ ตัว ๖ ตัวบ้าง

จาก การค้นคว้าประวัติครูบาอาจารย์ ทำให้รู้ว่าอาณาบริเวณถ้ำชัยมงคลโดยรอบคือ แดนพระอริยสงฆ์แต่อดีตถึงปัจจุบันได้ขึ้นบำเพ็ญภาวนาไม่ได้ขาด น่าเสียดายที่ทุกวันนี้ดินแดนแห่งนี้ กลับกลายเป็นแหล่งหาผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มไปเสียแล้ว

พระอาจารย์โง่น โสรโย ระลึกถึงอาจารย์
ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๖ เป็นเวลา ๙ ปี ที่พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคล ยอดภูลังกา มีพระภิกษุสามเณรเที่ยววิเวกแสวงธรรม แวะเวียนมาพักปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์วังตลอด มีช่วงหนึ่งที่พระอาจารย์โง่น โสรโย ได้แวะกลับมาเยี่ยมพระอาจารย์วัง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน หลังจากทราบข่าวว่าพระอาจารย์วังได้ขึ้นมาจำพรรษาบนภูลังกาแล้ว ท่านจึงได้ตามขึ้นไปเพื่ออยู่อุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์วังเป็นเวลา ๒๐ วัน ในครั้งนั้น พระอาจารย์โง่น ได้นำดอกจิก ดอกรัง มาผสมกับดิน ปั้นรูปเสือและลิงเอาไว้ที่ถ้ำ จนปรากฏมาถึงทุกวันนี้

 lsv-smile เครดิต:kittanan002  lsv-smile