หัวข้อ: น้ำมันมะพร้าว Oil pulling อะไรคือออยล์พูลลิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤศจิกายน 13, 2009, 03:40:25 pm (http://www.gmwebsite.com/upload/naturalmind.co.th/content/group10.jpg)
น้ำมันมะพร้าวปาริสุทธิ์ ผลิตด้วยกรรมวิธีการหมักบ่มที่ทันสมัย Modify Fermentation คงคุณประโยชน์ของสารอาหารจากธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าวไว้ได้มากกว่าการผลิตวิธีอื่นๆ - ใช้รับประทานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ลดการเกิดโรคร้ายต่างๆ ช่วยควบคุมน้ำหนัก - เป็นน้ำมันที่เหมาะที่สุดสำหรับใช้ทำ ออยล์พูลลิ่ง - ใช้นวดหน้าล้างเครื่องสำอางทำให้ผิวหน้านิ่มนวลลดปัญหาเรื่องสิว - ใช้นวดตัวทุกวันลดร่องรอยเหี่ยวย่นด่างดำผิวหนังมีสุขภาพดี แห้งแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ อ่านเพิ่มเติม - ใช้หมักผมทำให้ผมมีน้ำหนัก ผมสวยเป็นเงาไม่หลุดร่วงง่าย ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ การรับประทาน ผู้ใหญ่วันละ 3 ช้อนโต๊ะ เด็กลดลงตามส่วน โดยแบ่งรับประทานก่อนอาหารมื้อละ 1 ช้อนโต๊ะ หรืออย่างน้อยแบ่งเช้า/เย็น รับประทานเป็นประจำทุกวันทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี ช่วยลดการเกิดโรคร้ายต่างๆที่เกิดจากการบริโภคน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเช่นโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง เป็นสารแอนตีออกซิแดนท์ช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระจากการรับประทานน้ำมันพืชทั่วไปและช่วยควบคุมน้ำหนัก สามารถใช้ปรุงอาหารแทนน้ำมันพืช และผสมในเครื่องดื่มร้อนๆเช่นโกโก้ กาแฟ และน้ำผลไม้อุ่นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค 100% ปราศจากสารพิษหรือสารเคมีตลอดกระบวนการการผลิต เริ่มตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบใช้มะพร้าวจากสวนที่ปราศจากสารพิษหรือสารเคมี ตลอดจนถึงกระบวนการการผลิตทุกขั้นตอนที่ปราศจากสารพิษหรือสารเคมี ได้ใบรับรองออร์แกนิค ทั้งจากยุโรปและอเมริกา การผลิตใช้วิธีคงคุณค่าของพลังชีวิตจากธรรมชาติไว้ให้มากที่สุดด้วยมาตราฐานการผลิตและสุขอนามัยของ GMP โดยการรับรองของกระทรวงสาธารณสุข (อย.) และสินค้าฮาลาล วิธีการเหวี่ยงแยก (Centrifuge Process) หลักการทำงานคือ การใช้แรงหนีศูนย์กลาง ซึ่งอาศัยหลักการความแตกต่างกันระหว่างความหนาแน่นของสสาร (น้ำ น้ำมันมะพร้าว และตะกอนต่างๆ) โดยสสารที่มีความหนาแน่น (density) สูงกว่า ในที่นี้คือน้ำและตะกอนจะถูกเหวี่ยงแยกออก ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ระยะเวลาอันสั้นในการผลิตและบรรจุ จึงส่งผลให้มีโอกาสปนเปื้อนต่ำ สามารถรักษาคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้สามารถแยกชั้นน้ำและตะกอนออกจากน้ำมันได้อย่างสมบูรณ์ น้ำมันที่ได้มีความเสถียรสูง ปริมาณความชื้นต่ำมาก เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis Reaction) และปฎิกริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) อันส่งผลให้น้ำมันมะพร้าวมีกลิ่นเหม็นหืนและเหม็นเปรี้ยว ตัวอย่างข้อมูลอ้างอิง ซึ่งบ่งชี้ถึงข้อดีในการใช้เครื่องเหวี่ยงแยก ผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (http://www.coconut-virgin.com/centrifuge002.jpg) http://www.coconut-virgin.com/centrifuge.html (http://www.coconut-virgin.com/centrifuge.html) ออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) คืออะไร ? ออยล์พูลลิ่ง เป็นวิธีการบำบัดของชาวอินเดีย โดยการอมน้ำมันไว้และเคลื่อนน้ำมันไปให้ทั่วช่องปาก ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อ Dr. F. Karach, M.D., ได้เสนอรายงานต่อที่ประชุมสัมมนาบัณฑิตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซียเมื่อปี 2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง และแบคทีเรียซึ่ง Dr.Karach ได้อธิบายถึงการบำบัดรักษาโรคที่ยอดเยี่ยมไม่เหมือนใครด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้การอมน้ำมัน ผลลัพธ์ของการบำบัดด้วยวิธีนี้ ทำให้ผู้คนตะลึง ประหลาดใจ เต็มไปด้วยความสงสัยในรายงานของเขาเป็นอันมาก อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้มีการอธิบาย ซักถามกันถึงการรักษา มีการทดสอบ ทดลองใช้ทดลองทำ พิสูจน์หาความสมเหตุสมผลที่เกิดขึ้นต่างก็ยิ่งประหลาดใจถึงผลที่ได้รับจากการรักษาอย่างสมบูรณ์อีกทั้งยังไม่มีอันตรายใดๆด้วย เป็นการรักษาทางด้านชีววิทยาโดยแท้ ด้วยวิธีการง่ายๆ ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด Dr. Bruce Fife N.D. นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเขียนหนังสือไว้หลายเล่มรวมทั้ง Coconut Oil Miracle เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสงสัยในรายงานดังกล่าว จึงได้ทดลองทำออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ Dr.Fife ถึงกับออกปากว่า ออยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาของแพทย์ทางเลือก ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่สิ่งที่ Dr. Fife สงสัยคือ เหตุใดการอมน้ำมันจึงช่วยรักษาโรคได้ เขาเริ่มศึกษาการทำออยล์พูลลิ่งของ Dr. Karach อย่างจริงจังรวมทั้งศึกษารายงานอีกเป็นร้อยๆชิ้น ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Dr. Fife เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling Therapy มีใจความบางตอนดังนี้ ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น และอุณหภูมิคงที่ ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน กล่าวกันว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำนวนประชาการของคนทั้งโลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก บางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรงฟันและการใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดิม โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก อาจฟังดูเหลือเชื่อ แต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือโรคจากการบาดเจ็บต่างๆ โรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆล้วนเริ่มต้นที่ปาก เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นใน ปากและลำไส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดไม่ และบางชนิด เป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตราย ก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด ตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ (http://www.the-arokaya.com/web/images/content/oilpulling.jpg) อะไรคืออยล์พูลิ่ง ออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) ทำงานอย่างไร ? ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำบัดที่ทำได้ง่ายที่สุดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาการรักษาทางธรรมชาติด้วยเช่นกัน สำหรับหลายๆคนมีความรู้สึกว่า แค่การอมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปาก ไม่น่าจะช่วยรักษาโรคได้ อันที่จริงออยล์พูลลิ่งไม่ได้รักษาโรค แต่มันช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหรือเป็นตัวการปล่อยสารพิษให้หมดไป เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้ฟื้นฟู ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆ แบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่เป็นสัตว์เซลล์เดียว เซลล์เหล่านี้ปกคลุมด้วยน้ำมันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผิวเซลล์ ( เซลล์ของคนเราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำมันลงในน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำกับน้ำมันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกัน แต่ถ้าคุณเทน้ำมันสองชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำมันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง เมื่อคุณใส่น้ำมันลงในปาก เนื้อเยื่อที่เป็นน้ำมันหรือไขมันของแบคทีเรียจะถูกน้ำมันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปาก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟันจะถูกดูดออกจากที่ซ่อนและติดแน่นอยูในส่วนผสมของน้ำมัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป 20 นาที ส่วนผสมของน้ำมันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ คุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะกลืนมันเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียจะถูกดูดออกด้วยเช่นกัน สิ่งที่ไม่ใช่น้ำมัน ( water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำลาย น้ำลายยังช่วยลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็นโอกาสดีที่ร่างกายได้ทำการฟื้นฟู การอักเสบทั้งหลายหมดไป กระแสเลือดเป็นปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซม การมีสุขภาพดี จึงกลับมาในที่สุด น้ำมันชนิดใดเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) ? ตามตำราโบราณของอินเดียแนะนำให้ใช้น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันงา เนื่องจากเป็นน้ำมันที่หาได้ทั่ว ไปในอินเดียขณะนั้น Dr. Fifeกล่าวว่า น้ำมันชนิดใดก็สามารถใช้ทำออยล์พูลลิ่งได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบน้ำมันมะพร้าว เนื่องจากต้องการใช้น้ำมันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา หรือน้ำมันพืชชนิดใดๆ กรดลอริคในน้ำมันมะพร้าวเมื่อถูกกับเอนไซม์ในน้ำลายจะแตกตัว เป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค เหตุผลอีกประการหนึ่ง น้ำมัน มะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะมีความสะอาดถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย วิธีการทำออยล์พูลลิ่ง ทำขณะที่ท้องว่าง จะดื่มน้ำก่อนหรือไม่ก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชา อมไว้ในปาก ค่อยๆ ดูด ดัน และดึง ให้น้ำมันไหลผ่านฟันและเหงือกน้ำมันจะเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือมีสีเหลือง เคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 นาที จากนั้นให้บ้วนน้ำมันทิ้งไป บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยการดื่มน้ำ ทำอย่างนี้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย ควรจะทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) เวลาไหนถึงจะดี ? แพทย์ทางอายุรเวท แนะนำว่าควรจะทำในช่วงเช้า หลังจากแปรงฟัน และท้องว่างอยู่ Dr Karach แนะนำให้ทำช่วงเช้า ตอนท้องว่าง จะให้ดีควรเป็นหลัง 1 ชั่วโมง หลังจากดื่มน้ำเปล่า ชา กาแฟ หรือน้ำใดๆ ในช่วงเช้า แต่ขอให้ทำก่อนอาหารมื้อเช้า หรือ ตอนท้องว่าง ขณะที่รู้สึกไม่ค่อยสบาย สุขภาพร่างกายมีปัญหา ก็ทำได้ น้ำมันที่ใช้เพียง 10 cc. มันดูน้อยจัง ใช้ 20 cc. จะได้ไหม ? เมื่อเราทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) น้ำมันที่อมในปากนั้นจะต้องรู้สึกบางเบา จางลง มีความรู้สึกคล้ายน้ำ ไม่ใช่ยังรู้สึกว่ายังอมน้ำมันอยู่ ควรจะรู้สึกคล้ายน้ำ เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้จึงจะเป็นผลดี และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายในการทำ โดยทั่วไปความรู้สึกอย่างนี้จะเกิดขึ้นหลังจากอมไว้ 15-20 นาที แต่ถ้าใช้น้ำมันมากเกินไปมาอม ก็จะต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่น้ำมันจะกลายเป็นน้ำสีขาวๆ เราก็คงไม่มีเวลาที่จะมาอมน้ำมันอยู่นานๆ กันแน่ ถ้าหากบ้วนทิ้งออกมาแล้วยังรู้สึกว่ายังคงเป็นน้ำมันอยู่ ก็เป็นเรื่องเสียเปล่า ไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก จะไม่ค่อยรู้สึกสดชื่น ไม่ได้ผลสำเร็จตามที่ปรารถนา ถ้าจะใช้มากสักนิดหน่อยก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ ไม่เสียหายมากมาย เพียงแต่ใช้เวลานานเสียหน่อย และสำหรับเด็กเราก็ใช้แค่ 5 cc.ก็พอ โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำออยล์พูลลิ่ง ผลของการทำออยล์พูลลิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟันขาวขึ้น แน่นขึ้นไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าออยล์พูลลิ่งจะช่วยเยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรังได้อีกหลายชนิด ต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามีการตอบสนองที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง: สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำมูกมาก หืด หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลัง ปวดคอ ข้ออักเสบ กลิ่นปาก ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก ท้องผูก แผลในกระเพาะ ลำไส้ ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน ส่วนอาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปากโดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำออยล์พูลลิ่งได้แก่ ปัสสาวะเป็นกรด ปอดอักเสบ( ARDS) ถุงลมโป่งพอง การอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือดในสมอง ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาต์ ถุงน้ำดี หัวใจ น้ำตาลในเลือดสูง แท้งบุตร ไต ตับ ความผิดปกติของระบบประสาท กระดูกพรุน ปอดบวม ทารกคลอด ก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย แพ้สารพิษ และโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด ช่วงเวลาใดที่เหมาะสมจะทำออยล์พูลลิ่ง ? ในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร การแปรงฟันช่วยลดปริมาณแบคทีเรียได้ไม่มากเนื่องจากฟันมีพื้นที่แค่ 10% ของช่องปาก ก่อนอาหารกลางวันปริมาณแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และ ลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น เมื่อคุณหลับแบคทีเรียมีโอกาสกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่ โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน การทำออยล์พูลลิ่งจึงควรทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากมีปริมาณมากที่สุด การทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) ช่วยบำบัดรักษาโรคได้อย่างไร ? Dr (med.) Karach ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า ตามหลักการน้ำมันได้ช่วยรักษาฟันได้ดีอยู่แล้วตามที่ทราบกันดี จะเห็นผลได้ชัดเจนว่าน้ำมันทำให้ฟันมั่นคง แข็งแรง ช่วยรักษาฟันที่โยกคลอน รักษาอาการเลือดออกที่เหงือก และทำให้ฟันขาว Oil Pulling ในด้านการแพทย์อายุรเวท เรียกว่า KAVALA GRAHAM ในหัวข้อของ Charaka Samhita sutra ได้เขียนไว้ว่า การอมน้ำมันจะช่วยรักษาฟันที่เป็นรู เป็นแมงกินฟัน ช่วยรักษารากฟันให้แข็งแรง รักษาโรคฟัน อาการเสียวฟันที่เวลากินของเปรี้ยว จะช่วยรักษาฟันที่ผุ ทำให้ฟันแข็งแรงสามารถที่จะขบเคี้ยวของแข็งๆ ได้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นที่รู้และต่างก็มีประสบการณ์กันในการรักษาโรคฟันมาแล้วมากมาย มีหลักฐานเป็นที่เชื่อถือได้ในการใช้วิธี OP บำบัดรักษาโรคฟัน ป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฟัน หรือที่เกี่ยวกับฟัน และเห็นผลอย่างเด่นชัด ซึ่งหมอฟันไม่สามารถทำได้ จากประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เราจะเห็นว่า OP ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ขจัดการติดเชื้อ หยุดความเสียหายความเสื่อมสภาพที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้วกับฟัน บรรเทาหรือกำจัดอาการเสียวฟัน ทำให้ฟันมั่นคงและไม่โยกคลอน ตามที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถนำมาเชื่อมโยงเหตุผลเข้ามาเป็นเหตุผลว่าทำไม OP ช่วยรักษาอาการปวดให้หายไปได้ ต่อต้าน และกำจัดอาการติดเชื้อ ช่วยเยียวยารักษาสภาพของฟันที่กำลังเสียหายช่วยอาการเสียว ปวดฟัน ช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปาก ช่วยเหนี่ยวนำระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น ให้ต่อมไร้ท่อ ต่อมคัดหลั่งทำงานได้ดี ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลร่างกาย ในทำนองเดียวกัน OP ก็จะช่วยบำบัดอาการปวดศีรษะ ไมเกรน การจาม อาการเย็น อาการปวดในเวลาไม่กี่วัน และจะทำวันละครั้งหรือหลายครั้งก็ได้ อาการเมาค้าง สามารถบำบัดได้โดยเพียงทำ OP 2- 3 ครั้งในช่วงเช้า สิ่งที่ปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นการศึกษา และเป็นประสบการณ์ ถ้าฝึกทำบ่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญในการปฏิบัติ และก็สามารถประเมินผลที่ได้จากประสบการณ์ที่เราได้ทำ ได้เจอด้วยตัวของตัวเอง วิธีการบำบัดโดย OP ก็จะคล้ายๆ กันในแต่ละโรค จะมีแตกต่างกันบ้างก็ในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัดในแต่ละคน ที่มา : ขอขอบพระคุณ www.the-arokaya.com |