หัวข้อ: วิธีอ่านแบบก่อสร้าง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ ตุลาคม 31, 2009, 11:23:38 am เริ่มแรกขอเริ่มจากฐานราก และเสา ก่อนจ้า
แปลนฐานราก หรือบางคนเรียกว่า ตอม่อ ในแบบจะเขียน ว่า F0,F1,F2...แล้วแต่ผู้ออกแบบจะออกแบบ ว่ามีกี่ขนาด ของ บ้านเรามี 6 ขนาด ก็จะ F0-F5 คำย่อ F=Foundation อีกอย่างก็คือ แปลนเสา ในแบบจะเขียน ว่า C1,C2...... คำย่อ C=Column ในแบบนี้ ก็จะแสดงระยะจากเสาถึงเสา โดยวัดจากศูนย์กลาง ถึง ศูนย์กลาง (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251599260.jpg) หลังจากดูแบบ ฐานราก และเสาแล้ว เราก็จะมาดูในรายละเอียดว่า ฐานรากต้นนี้ มีรายละเอียดอะไรบ้าง จะขอยกตัวอย่าง F3 ซึ่งใช้อยู่เยอะพอสมควร จากรูปสี่เหลี่ยมบน เป็นการมอง Top View แสดงว่า ฐานรากต้นนี้ จะต้องมีขนาด กว้างXยาว = 1.5X1.5 เมตร จากนั้นก็มามองภาพหน้าตัดด้านข้าง ตอม่อนี้จะต้องลึก 1 เมตร (-1) โดยวัดจากระดับอ้างอิง หลุมนี้จะต้อง เททรายหยาบ หนา 5 ซม. หลังจากนั้นต้องเทคอนกรีตหยาบรองพื้น หรือที่ช่างเรียกว่า เทลีน หนา 5 ซม. เช่นกัน ตรง 11-DB12 หมายความว่า DB12 หมายถึงเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 mm 11 หมายถึง ใช้จำนวน 11 เส้น สังเกตุได้จากจุดดำๆ จะนับได้ 11 เส้นพอดี ส่วน 1-RB9 หมายถึง รัดเหล็กข้ออ้อย ด้วยเหล็กเส้น 9mm. ข้างบน จำนวน 1 เส้น (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251601033.jpg) มาดูของจริงกันเลย..... แต่นับอาจไม่ได้ 11 นะเพราะคนละเสาและก็ไม่ได้เทลีนด้วย เพราะก้นหลุมฝังไม้มงคลไว้ แล้วก็ก้นหลุม เป็นดินทรายอยู่แล้ว (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251601386.jpg) หลังจากเทปูน (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251601451.jpg) ทีนี้ก็มาดูแบบเสากัน รหัส C2 จะมี สองแบบ ที่เขียนอยู่ข้างล่าง จากเสา C2 รูปล่าง แสดงแบบเสา จาก ฐานราก -พื้นชั้นล่าง เสานี้จะมีขนาดกว้างยาว 20X20 ซม. 10-DB12 หมายความว่า เสาจาก ฐานราก -พื้นชั้นล่าง ใช้เหล็ก ข้ออ้อย ขนาด 12 มม. จำนวน 10 เส้น (สังเกตุจากจุดดำๆ ) ป-RB6@0.15 ป หมายถึงปลอกรัดเหล็กข้ออ้อย RB6 หมายถึงเหล็กเส้น ขนาด 6 มม. ซึ่งขนาดเหล็กเส้นของปลอก นี้ก็มีหลายขนาดตามแต่ขนาดของเสา บางเสาก็ 9 มม. ส่วน @0.15 ปลอกรัดเสา แต่ละปลอกต้องห่างกัน 15 ซม. ส่วน เสา C2 รูปบนก็จะแสดงแบบเสา จาก พื้นชั้นล่าง ถึงหลังคา วิธีการดูก็เหมือนกัน จะเห็นว่า จำนวนเหล้กเส้นจะลดลงเหลือแค่ 4 เส้น แล้ว (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251603630.jpg) ทีนี้ก็มาดูแบบคานกัน คาน แต่ละแนวจะรับน้ำหนักไม่เท่ากัน จึงมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน คานจะใช้ ว่า B1,B2,B3 B=Beam ถ้าดูจากแปลนคาน ทุกแนวคานจะกำหนด รหัสคานบอกไว้ ตามด้วยตัวเลขในวงเล็บ (+0.50) หมายถึงส่วนบนสุดของคานจะสูงจากระดับอ้างอิง 50 ซม. รูปหน้าจอเล็กหน่อย (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251604507.jpg) ทีนี้ก็มาดูรายละเอียดคานกัน คานบางอันรายละเอียดตลอดแนวจะแบบเดียวกันตลอดก็จะดูง่ายหน่อย แต่รูปข้างล่างนี้ เป็นรายละเอียดของ คาน B19 ซึ่งจะมี 2 แบบ สำหรับวิธีการดูเหล็กที่ใช้ก็ใช้หลักการเดียวกันกับ แบบเสา (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251605552.jpg) มาดูรูปจริงกันเลย (http://www.bloggang.com/data/j/jfamily/picture/1251605602.jpg) ping! Credit พันวสา http://www.bloggang.com/ หัวข้อ: Re: วิธีอ่านแบบก่อสร้าง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เริ่มหัวข้อโดย: kittanan_2589 ที่ ตุลาคม 31, 2009, 11:25:11 am :D lsv52 eat!!!
หัวข้อ: Re: วิธีอ่านแบบก่อสร้าง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เริ่มหัวข้อโดย: boontheim ♥ ที่ พฤศจิกายน 16, 2009, 12:49:51 pm :D :D :D :D
|