หัวข้อ: พิพิธภัณฑสถานชุมชนโป่งมะนาว ( ไปเที่ยวมาเลยเอาข้อมูลมาฝาก) เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กันยายน 24, 2009, 07:17:31 pm พิพิธภัณฑ์ สถานบ้านโป่งมะนาว ริเริ่มและดำเนินการโดยองค์กรชุมชนภายใต้ชื่อ ชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีและทรัพยากรธรรมชาติ ตำบลห้วยขุนราม ชมรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากสำนึกของชุมชนที่รวมตัวกันทำงานด้านการอนุรักษ์ โบราณสถานโบราณวัตถุภายในชุมชน เกิดขึ้นหลังจากที่มีการจับกุมผู้ลักลอบขุดค้นวัตถุโบราณผิดกฎหมายภายใน บริเวณวัดโป่งมะนาว ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2543 เหตุเกิดจากมีผู้มาติดต่อกับทางวัดจะขอขุดพื้นที่ภายในบริเวณวัดอ้างว่าจะมา ล้างป่าช้า คณะกรรมการวัดได้อนุญาตให้ขุดโดยไม่ทราบเจตนาที่แท้จริง และต้องการนำเงินมาปรับปรุงวัด ต่อมาทราบว่ากลุ่มคนเหล่านั้นลักลอบขุดวัตถุโบราณ จึงแจ้งตำรวจจับกุม สามารถจับกุมได้ทั้งสิ้นถึง 64 คน
การลักลอบขุดทำให้ชาวบ้านห้วยขุนราม พบเห็นชิ้นส่วนโครงกระดูกจำนวนมากที่พวกลับลอบขุดค้นไม่ต้องการกองทิ้งไว้ เกลื่อนกลาด จึงได้รายงานไปที่กรมศิลปากร และติดต่อขอให้คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเข้ามาช่วยดูแล และทำการขุดแต่งบริเวณขอบหลุมที่ถูกลักลอบขุด นำโดย รศ. สุรพล นาถะพินธุ และนักศึกษาจากคณะโบราณคดี จากการขุดค้นเพิ่มเติมพบว่ามีโครงกระดูกอยู่ถึง 46 โครง พบข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับ อาวุธ เครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักกระจัดกระจายอยู่อีกเป็นจำนวนมาก การพัฒนาแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว กระทำโดยต่อเนื่อง ด้วยมีชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานและทรัพยากรธรรมชาติตำบลห้วยขุนราม เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานมาโดยตลอด โดยเฉพาะการจัดหาเงินทุนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทางชมรมฯ เป็นผู้จัดหาทุนมาดำเนินสนับสนุนการขุดค้นและพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และ ท่องเที่ยว โดยขอเงินสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขุนราม กองทุนพัฒนาสังคม(SIF) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เป็นต้น จากนั้นในปี 2544 ชุมชนห้วยขุนรามร่วมกับรศ.สุรพล นาถะพินธุ และนักศึกษาจากคณะโบราณคดี จึงได้ทำการรวบรวมข้าวของที่ขุดพบ จัดทำพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อต้องการ บอกเล่าถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนดึกดำบรรพ์ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 3,000 ปี ของชิ้นเด่นที่ขุดพบคือ โครงกระดูกคาบขันสำริด เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด การจัดแสดงเริ่มแรกจึงอาศัยพื้นที่ใต้ถุนอาคารหอสวดมนต์เป็นพื้นที่จัดแสดง ของข้าวต่าง ๆ จัดแสดงไว้ในตู้กระจกเล็ก ๆ ไม่กี่ตู้ตามแต่กำลังคนและกำลังทรัพย์จะทำได้ ต่อมาในปี 2546 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี จัดสรรงบประมาณมาให้จำนวนหนึ่ง เพื่อทำเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ขึ้น มีการปรับปรุงการจัดแสดงใหม่ โดยมีนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรช่วยเหลือเรื่องการจัดนิทรรศการภายใน รวมถึงฝึกอบรมเยาวชนเป็นมัคคุเทศน์นำชม นอกจากนี้มีการแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นร้านขายของที่ระลึก เพื่อหารายได้เข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายในพิพิธภัณฑ์ การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ทำโดยคณะกรรมการชมรมฯ ที่ทุกคนสมัครใจเข้ามาทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทน คณะกรรมการมีหน้าที่ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมชม ตรวจตราเงินที่ได้รับบริจาค และร่วมตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งต้องมีการลงมติเห็นชอบร่วมกัน หัวข้อ: Re: พิพิธภัณฑสถานชุมชนโป่งมะนาว ( ไปเที่ยวมาเลยเอาข้อมูลมาฝาก) เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กันยายน 24, 2009, 07:23:14 pm ที่วิทยาลัยจัดไป เมื่อ วันอาทิตย์ - วันจันทร์ ที่แล้ว......
เป็นที่ ที่ผมประทับใจมาก ที่สุด............ lsv-smile :) ยังมีโครงกระดูกที่ ขุดค้นพบด้วย.... หัวข้อ: Re: พิพิธภัณฑสถานชุมชนโป่งมะนาว ( ไปเที่ยวมาเลยเอาข้อมูลมาฝาก) เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ กันยายน 24, 2009, 07:42:17 pm แล้วยังมี น้องมายและน้องแคทสองพี่น้องและเพื่อนๆ ยุวมัคคุเทศก์บรรยายได้ ทั้งภาษาไทย , อังกฤษ,ญี่ปุ่น เก่งมากๆ เลยครับ......
|