หัวข้อ: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: prachan-mb ที่ สิงหาคม 17, 2009, 06:34:03 pm เมื่อท่านได้ทำการซ่อมเครื่องปรับอากาศ แวคคั่มและเติมน้ำยา ทำให้ระบบทำงานทำความเย็นอย่างถูกต้องแล้ว ขณะท่านเผลอลูกน้องตัวแสบก็ได้แอบอัดไนโตรเจนเข้าไปในระบบเล็กน้อย ท่านคิดว่าเครื่องปรับอากาศนี้จะแสดงอาการอย่างไร อุณหภูมิ และแรงดัน แต่ล่ะจุดจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย อิอิ เผื่อช่างจะว่าง ไม่ว่างวิเคราะห์ก็ไม่เป็นไร
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: omomo ที่ สิงหาคม 17, 2009, 08:57:27 pm ผมจะให้ลูกน้องเขียนใบลาออกพร้อมเช็นให้ทันที
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: benzservice ที่ สิงหาคม 17, 2009, 09:34:13 pm embarrassed7ผมคิดว่าไม่มีใครพิเลนแบบนี้มังครับ ถ้ามีสติคงไม่ค่อยดีเท่าไร lsv-smile
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: srithaimax ♥1,510 ที่ สิงหาคม 17, 2009, 10:09:01 pm http://video.showded.com/watch?vdoId=987
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: prachan-mb ที่ สิงหาคม 17, 2009, 11:56:36 pm เอาเป็นลองอธิบายดีกว่าน่ะ มันไม่ใช่จะพิเรนหรือไม่ แต่มันเป็นโจทย์
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: prayothk ที่ สิงหาคม 18, 2009, 08:57:15 am เดา ตามหลัการน้ำยาผสมกับก๊าซเฉื่อย มันน่าจะมีปัญหาที่อุณหภูมิไม่คงที่หรือเปล่า เดียวรอท่านต่อไปสนุกๆๆ
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: santipp ที่ สิงหาคม 18, 2009, 07:42:04 pm เพรสเชอร์ ที่ LO/HI สูงขึ้น ความเย็นปกติ ใช้ได้ไม่นาน
คอมฯไม่มีแรงอัด (เดานะครับ เคยคิดเหมือนกันว่าน่าจะทดลองดูแต่ก็ไม่กล้าทำ) ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อาจจะเลวร้ายกว่าที่เราคิด (เข็มขัดสั้น) :) หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: gnan.nan ที่ สิงหาคม 18, 2009, 08:13:01 pm ไนโตรเจน มีคุณสมบัติใม่ขยายตัวเมื่อเจอความร้อนจึงเหมาะสัมหรับเดิมยางรถ ในงานแอร์ใช้สัมหรับใล่ระบบ ดูดความชื้นใด้ดี ขอตอบว่าแอร์ใม่เย็น หรือเย็นใม่ช่ำ เดานะครับอย่าว่ากัน ประสบการ์ด้านแอร์ใม่ถึงปี ผมจะรอเฉลยนะครับ
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: omomo ที่ สิงหาคม 18, 2009, 08:51:24 pm เอาหลักการหน่อย ไนโตรเจนคุณสมบัติเป็นก๊าชเฉื่อย อุณหภูมิของเหลว-240 องศา หากไปรวมในระบบน้ำยาจะรามตัวกันเป็นน้ำแข็งทำให้ระบบตันชื้นขึ้นมา แต่ยังไงๆๆผมก็ไม่เคยลองทำสักที
หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 19, 2009, 08:41:52 am จะไม่ตอบการบ้านแต่อยากให้รู้จักไนโตรเจน
ออกไซด์ของไนโตรเจนประกอบด้วยไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไนตริกออกไซด์ (NO) ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ ( N2O3) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ไดไนโตรเจนเตตราออกไซด์ (N2O4) และไดไนโตรเจนเพนตอกไซด์ไซด์ (N2O5) ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ NO และ NO2เนื่องจากเป็นก๊าซที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมากกว่า ออกไซด์ของไนโตรเจนตัวอื่น ๆ ไนตริกออกไซด์ (NO) เป็นก๊าซไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้บ้างเล็กน้อย ส่วนไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติก๊าซทั้งสองเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิดปฏิกิริยาขิงจุลินทรีย์ในดินหรืออาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิง การอุตสาหกรรม การทำกรดไนตริก กรดกำมะถันการชุบโลหะและการทำวัตถุระเบิด เป็นต้น จุดเดือด -195.79 ซ๊ หลอมละลาย -210.00ซี วิกิพีเดีย ไนโตรเจน (อังกฤษ: Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไนด์ [แก้] ลักษณะทั่วไป ไนโตรเจนเป็นธาตุอโลหะที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี 3.0 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 5 อิเล็กตรอน ไนโตรเจนบริสุทธิ์ประกอบด้วยอะตอมของไนโตรเจน 2 อะตอม มีสถานะเป็นแก๊สที่ อุณหภูมิห้อง ไม่มีสี กลิ่น หรือรส เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบรรยากาศโลก เนื่องจากมีปริมาณมากถึง 78 เปอร์เซนต์ของแก๊สทั้งหมด ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ไนโตรเจนจะควบแน่นเป็นไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ 77 เคลวิน และแข็งตัวที่อุณหภูมิ 63 เคลวิน [แก้] การนำไปใช้ประโยชน์ * ไนโตรเจน ใช้เติมในลมยางของรถยนต์บางรุ่น * แอมโมเนีย ใช้เป็นอาวุธในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และใช้เป็นปุ๋ยในพืช * ยูเรีย ใช้เป็นปุ๋ยในพืช * กรดไนตริก ผสมกับกรดไฮโดรคลอริกจะได้อควารีเจีย หรือกรดกัดทอง สามารถละลายทองคำได้ * ไนตรัสออกไซด์ หรือก๊าซหัวเราะ ใช้เป็นยาสลบในทางทันตกรรม * โซเดียมเอไซด์ ใช้บรรจุในถุงลมนิรภัย * ไนโตรเจนเหลว ใช้ถนอมอาหาร ในกระบวนการเกิดปฏิกิริยานี้ขั้นแรก NO2 จะเกิด ปฏฺกิริยาโฟโตลิซิส (Photolysis) ทำให้เกิดอะตอมออกซเจน (O) ซึ่งตอมาอะตอมจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) ทำให้เกิโอโซน (O3) และ O3 ก็จะทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) ทำให้เกิดจาก NO2 แล้วกลับไปเริ่มต้นปฏิกิริยาโฟโตลิซิสอีก ดังแสดงในสมการ NO2 + hv -----> NO + O (สมการที่ 1) O+O2 -----> O3 (สมการที่ 2) NO + O3 -----> NO2 + O2 (สมการที่ 3) Stephen (1968) แสดงในเห็นว่าหากมีไนโตรเจนไดออกไซด์ 0.1 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้เกิด โอโซนประมาณ 0.027 ส่วนในล้านส่วน แต่ในสภาพควา มเป็นจริงระดับของโอโซน อาจขึ้นไปสูงถึง 0.5 ส่วนในล้านส่วนได้ ดังนั้นปฏิกิริยการเกิดดอโวนจะต้องมีกระบวนการอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลต่อปฏิกิริยาโฟโตลอซิสของในโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้ความเข้มข้นของโอโซนเพิ่มขึ้น สารที่มีผลต่อการเกิด O3 คือ สารเอกทีฟไฮโครคาร์บอน โดยจะทำปฏิกิริยากับอนุมูลไฮดรอกซิล (Hydroxyl Redical : OH) ทำให้เพิ่มปริมาณของโอโซน ปฏิกิริยาการเกิดอนุมูลไฮดรอกซิลเกิดจากปฏิกิริยาที่ไอน้ำในอากาศทำ ปฏิกิริยากับอะตอมของออกซิเจนดังสมการ O3 + UV -----> O2 + O*0 (สมการที่ 4) O0 + ไอน้ำ ----> 2OH0 (สมการที่ 5) หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ สิงหาคม 19, 2009, 03:00:04 pm วิธีทำไนโตรเจน
กรรมวิธีการผลิต ขบวนการผลิตออกซิเจน,ไนโตรเจน,อาร์กอน ประกอบด้วย 1.เครื่องกรองอากาศ ทำหน้าที่กรองอากาศก่อนเข้าเครื่องอัดอากาศให้บริสุทธิ์ปราศจากฝุ่นละออง แล้วส่งผ่านไป 2.เครื่องอัดอากาศ ทำหน้าที่อัดอากาศเพิ่มความดันให้สูงขึ้น และลดอุณหภูมิลงกับน้ำ (water cooler) ากาศที่เย็นแล้ว ประมาณ 45 องศาเซ็นติเกรด ส่งผ่านไป 3.เครื่องทำความเย็นอากาศ ซึ่งทำหน้าที่ลดอุณหภูมิอากาศจนได้อุณหภูมิอากาศประมาณ 5องศาเซ็นติเกรด โดยมีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำยาฟรีออน (FREON CHILLER) อากาศที่เย็นลงจะส่งผ่านไป 4.เครื่องอบแห้งอากาศ ดูดซับความชื้นในอากาศ(น้ำ) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อากาศที่แห้งและสะอาดจะผ่านต่อไป 5.หอแยกอากาศเป็นออกซิเจน,ไนโตรเจน,อาร์กอน ประกอบด้วย 5.1 ตู้แลกเปลี่ยนความร้อนด้วยก๊าซทิ้ง อากาศ ซึ่งทำหน้าที่ลดอุณหภูมิอากาศให้เย็นลงอีก จนได้อุณหภูมิ– 175องศาเซ็นติเกรด อากาศที่เย็นจนเป็นของเหลวเรียก อากาศเหลวจะส่งผ่านไป 5.2 หอกลั่นลำดับส่วน อากาศที่ผ่านเข้าไปจะเย็นลงจนเป็นอากาศเหลว(ออกซิเจนเหลวรวมกับไนโตรเจนเหลว)อยู่ในส่วนหอกลั่นส่วนล่าง ส่วนไนโตรเจนที่มีจุดเดือดต่ำกว่า จะระเหยเป็นก๊าซขึ้นไปบนยอดหอกลั่นส่วนล่าง และกลั่นตัวเป็น ผลผลิตไนโตรเจนเหลว อากาศเหลวจะส่งผ่านต่อไปยังหอกลั่นส่วนบนไหลตกลงมาที่ถังควบแน่น เพื่อแยกเอาผลผลิตออกซิเจนเหลว ออกมา ส่วนไนโตรเจนที่มีจุดเดือดต่ำกว่า (-192 ‘C)จะระเหยเป็นก๊าซเย็นขึ้นไปบนยอดหอกลั่นส่วนบน ปล่อยทิ้งออกมาทางอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อทำให้อากาศใหม่ที่เข้ามาเย็นขึ้น อาร์กอนที่มีจุดเดือดต่ำกว่าออกซิเจนแต่สูงกว่าไนโตรเจน จะระเหยเป็นก๊าซขึ้นไปบริเวณส่วนกลางของหอกลั่นส่วนบน และกลั่นตัวเป็นอาร์กอนหยาบ จะส่งผ่านต่อไปยังหอกลั่นที่สอง 5.3 หอกลั่นอาร์กอนบริสุทธิ์ อาร์กอนหยาบจะแยกตัวเนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างจากออกซิเจน เอาผลผลิตอาร์กอนออกมา 6. ถังเก็บผลผลิตไนโตรเจนเหลว,ออกซิเจนเหลว,อาร์กอนเหลว ทำหน้า ที่เก็บสำรองผล ผลิตไนโตรเจนเหลว,ออกซิเจนเหลว,อาร์กอนเหลวที่ผลิตได้ เพื่อนำมาส่งให้กับผู้ใช้ต่อไป เครดิต ลุงสุข นักฟิสิกซ์มีคำตอบ http://webhost.wu.ac.th/wuchem/chem1/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA.htm#3.%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA (http://webhost.wu.ac.th/wuchem/chem1/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA.htm#3.%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA) หัวข้อ: Re: ช่างแอร์เข้ามาทำข้อสอบข้อนี้หน่อยครับ เริ่มหัวข้อโดย: prachan-mb ที่ สิงหาคม 21, 2009, 12:04:16 am ถูกต้องคร้าบ.. ไม่รู้นั่นแหละ ผมไม่ใช่ช่างซ่อม ผมเคยโดนช่างแอร์ไล่ออกจากร้าน จริงๆก็ไม่ได้ไล่ คือผู้ดีเขาบอกว่าแบบนี้เขาคงจะไม่ทำให้ ไปทำที่อื่นเถอะ แล้วเขาก็อุตส่าห์ออกไปโบกรถให้ผมถอยออกจากร้านเขาด้วยน่ะ อิอิ.. คือผมจะเข้าไปให้เขาเช็คน้ำยาแอร์ให้ว่ามันพร่องไปบ้างหรือปล่าว เพราะแอร์ไม่ค่อยเย็น แต่ผมเป็นช่างสมัครเล่นผมเป็นช่างไฟฟ้า ผมได้ต่อรีเลย์ช่วยครัชท์แอร์ไว้เพื่อถนอมหน้าคอนแทคสวิทช์แอร์ แต่ช่างคนนั้นเขาไม่เช็คน้ำยาแอร์ครับเขามาติดใจรีเลย์ผมนี่แหละ จะรื้อรีเลย์ผมให้ได้ เตรียมคีมมาตัดแล้ว หาว่าผมต่อสายผิด ต่อขาคอยล์รีเลย์ไม่ถูก เขาว่าเอาขั้วลบไปเข้าไฟบวก เอาขาบวกไปลงกราวด์ ผมก็เลยบอกว่าผมต่อถูกแล้วผมเป็นช่างไฟฟ้าอย่ามายุ่งตรงนี้ แค่นี้แหละ เขาบอกลูกน้องเก็บเครื่องมือเสียบสายกลับคืนและบอกว่า อย่างนี้เขาซ่อมให้ไม่ได้ นัยว่าเจือกรู้มากกว่าช่าง เหอๆๆ มันเช็คน้ำยาเติมน้ำยาให้ก็จบแล้ว ดันมามีปัญหากับลูกค้าเสียงั้น แต่บางครั้งประสบการณ์เราก็น้อย ยอมรับผมเคยร้อนวิชาไปเถียงกับช่างแอร์อีกนั่นแหละ เขาเอาเทปพันเกลียวไปพันเกลียว fitting เขาว่ากันรั่ว ผมก็ว่าถ้ามันรั่วน้ำยามันก็ออกทางท้ายสิจะไปออกทางเกลียวทำไม แต่บางช่างก็บอก กันน้อตคลายเออพอฟัง แต่ผมไปเจอช่างอายุเยอะหน่อย เขาบอกว่าตามประสบการณ์ทำมาเกือบสามสิบปี ถ้าเป็นข้อต่อระหว่าง อลูมิเนียมกับทองแดงนี่ต้องพันเกลียวด้วย ผมก็อืมเลยครับ ประสบการณ์จริง ผมเชื่อตามครับ เพราะโลหะต่างชนิดกันสัมผัสกันมันจะเกิดปฏิกริยาเคมีทำให้เกลียวมันกร่อนและหลวมมั้ง ตอนนี้ก็เป็นลูกค้าประจำลุงช่างคนนี้ ผมก็มักชอบคุยอวดรู้บ้าง อิอิแบบว่าชวนคุย แต่ลุงเขาก็เกรงใจผมอยู่ดูจากเครื่องแบบชุดทำงานคงคิดว่าผมรู้มาก จริงๆลุงเขาก็เรียนมาพอๆกับผมนั่นแหละ เผลอๆก็รุ่นพี่สีกสี่ห้าปี วันก่อนลุงช่างบอกว่าอยากเข้าไปดูระบบแอร์ของเทสโก้โลตัส แต่เขาไม่ให้เข้า(จริงๆอาจจะเป็นเพราะไม่รู้จักใครในนั้น) อยากรู้ว่ามันทำงานอย่างไร ผมก็เลยอธิบายระบบแอร์ชิลเล่อร์ ส่งน้ำเย็นมาเข้า AHU พอคร่าวๆให้ ผมบอกว่าผมเคยอยู่โรงงานใหญ่คุมระบบแอร์แบบนี้ที่นั่นระบบแอร์ใช้น้ำยา R11 ลุงรีบบอกเลย ที่นี่เราก็ใช้ นั่นไง ชี้ที่ขวดน้ำยาล้างระบบ อิอิ จะรู้มากรู้น้อยหรืออวดรู้ก็ต้องเสียเงินให้ลุงช่างเป็นประจำแหละครับ รถสามคันเวียนเวียนเติมน้ำยาตลอด อิอิ ....
|