พิมพ์หน้านี้ - การปฏิบัติธรรมของในหลวง...จากคำบอกเล่าของพระราชพรหมยานเถระ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤษภาคม 03, 2009, 02:48:17 pm



หัวข้อ: การปฏิบัติธรรมของในหลวง...จากคำบอกเล่าของพระราชพรหมยานเถระ
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤษภาคม 03, 2009, 02:48:17 pm
เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้วที่ผมมีโอกาสได้รับฟังเรื่องพระราชกรณียกิจของพระองค์ส่วนหนึ่ งที่พระองค์สนับสนุนให้พระเดชพระคุณพระราชพรหมยานเถระ(พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี)ตั้งศูนย์สงเคราะห์คนยากจนในถิ่นทุรกันดารขึ้นที่วัด หลวงพ่อมีโอกาสถวายพระพรในด้านธรรมะและสนทนาธรรมกับพระองค์ท่านอยู่ระยะหนึ ่ง หลวงพ่อท่านกล่าวถึงพระองค์เสมอว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในธรรมมาก เป็นเหตุให้ พวกเรามีโอกาสได้รับรู้และซาบซึ้งในอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านมากขึ้น ดังนั้นในวโรกาสวันมหามงคลคือวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ผมจึงขอนำเรื่องที่หลวงพ่อท่านเทศน์สอนลูกหลานและได้กล่าวถึงพระองค์ท่านไว้ มาให้อ่าน ดังนี้..
(http://www.pantown.com/data/14227/board1/38-20051011064652.jpg)


“ต่อไปนี้พ่อจะขอปรารภเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีความสามารถทั้งในด้านการปฏิบัติในเรื่องส่ วนพระองค์ และในด้านปฏิบัติกับปวงชนชาวไทยทั้งหมดรวมทั้งปฏิบัติกับชาวต่างประเทศด้วย แม้แต่กระทั่งกับศัตรูพระองค์ก็ทรงเห็นว่าเป็นมิตร ไม่เคยคิดที่จะเป็นศัตรูกับใคร สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดนั่นก็คือพระองค์ทรงช่วยประชาชนทรงช่วยชาวโลกด้วยแ ละก็ทรงช่วยพระองค์เองได้ดีที่สุด ในด้านของธรรมะสำหรับวันนี้พ่อจะขอนำพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวที่ทรงประพฤติปฏิบัติให้ลูกรักทั้งหลายจะพึงรับทราบ รับทราบแล้วก็จงปฏิบัติตามด้วยเพราะว่าจะช่วยให้พวกเราดี ก่อนที่จะพูดถึงธรรมะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติได้ ก็จะขอย้อนไปถึงจริยาวัตรของพระองค์ พระราชจริยาวัตรของพระองค์นี่เราจะรู้ไม่ได้เลยว่า ทรงทำอะไรบ้าง วันทั้งวัน พระองค์ไม่มีเวลาว่าง บางวันมีพระราชภารกิจตั้งแต่เช้าจรดเย็น เวลาเย็นก็ต้องมานั่งปฏิบัติงาน รับแขกกลางคืนอีก กว่าจะทรงเซ็นหนังสือได้ก็ต้องใช้เวลา ๒๔ นาฬิกาผ่านไป เมื่อทรงเซ็นหนังสือแล้ว หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเจริญพระกรรมฐาน วันที่พ่อเข้าไปพบกับพระองค์ พระองค์ตรัสว่าเวลานี้การฟังเทปรู้สึกว่า ฟังไม่ค่อยจบ นอนฟัง ฟังไป ฟังไป รู้สึกว่าหนักเข้า ความไม่ได้ยินในเทปรู้สึกว่า เคลิ้มหลับ แต่ว่าพอเทปดังแกร๊ก รู้สึกตัวตื่นขึ้น แล้วก็พลิกฟังใหม่อีกหน้าหนึ่ง คราวนี้ก็หลับไปเลย พระองค์ทรงติพระองค์เองว่า รู้สึกว่าไม่ดี แต่พ่อกลับทูลพระองค์ไปว่า นั่นเป็นความดี เพราะว่าถ้าหลับในระหว่างการฟังธรรม ชื่อว่าจิตฝังอยู่ในธรรมตลอดเวลา และการฟังค่อย ๆ เคลิ้มไปทีละน้อย ๆ พอเทปหมดหน้า รู้สึกเสียงดังแกร๊ก ก็แสดงว่านั่นไม่ได้หลับ แต่ทว่าจิตฟังธรรมเป็นฌานสมาบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นเป็นฌาน ๔ ความจริงเรื่องนี้ดีมาก ฉะนั้นขอบรรดาลูกรักทุกคนจงปฏิบัติเยี่ยงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จงอย่าอ้างว่าข้าพเจ้ามีงานมาก มีภารกิจมาก ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีโอกาสเอาจิตเข้าไปฝึกฝนธรรมะ ..

..การปฏิบัติธรรมะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงปรารภให้พ่อฟั งดูเหมือนว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ไม่มีเวลาว่าง เวลาใดถ้ามีโอกาสว่างนิดหนึ่ง ก็ใช้เวลาฟังเทปบ้าง วินิจฉัยธรรมะบ้าง และในบางขณะที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปรอบ ๆ พระราชฐานที่พัก พระองค์จะถือเวลา ว่าจะเดินสักกี่ชั่วโมง ถ้าเดิน ๑ ชั่วโมง เอาเทปสะพายไปด้วย แล้วก็ฟัง ๒ หน้า ถ้าเดิน ๒ ชั่วโมง ก็ฟัง ๔ หน้าเทป อย่างนี้รู้สึกว่าพอดี จริยาวัตรส่วนนี้ ขอบรรดาลูกรักควรจะฝึกฝนใจให้มาก พยายามปฏิบัติตามพระองค์ให้มาก เวลาบูชาพระ พระองค์ก็ทรงสมาธิ ทำสมาธิ และวิปัสสนาญาณในระยะนั้น เวลาที่เสด็จบรรทมก็ทรงฟังเทป เป็นอันว่าพระองค์จะไม่ยอมให้เวลาที่ว่างอยู่เสียเปล่าไปในด้านของความดี จะพยายามหาทางบีบบังคับอารมณ์จิตให้อยู่ในขอบเขตของความดี คือฟังเสียงธรรมะ ขณะใดที่จิตสนใจในธรรม พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ขณะนั้นจิตย่อมว่างจากกิเลส ลูกต้องมีความขยันหมั่นเพียร มีความสนใจให้มาก เรียกกันว่าเป็นการปฏิบัติแบบเบา ๆ อีกประการหนึ่งการเจริญพระกรรมฐานของพระองค์อันดับแรก คงจะตั้งพระทัยมุ่งสมาธิเป็นฌานสมาบัติบทใดบทหนึ่ง และการที่พ่อไปพบกับพระองค์ตอนนั้นพระองค์ตรัสว่า การทำสมาธิเวลานี้ ไม่มุ่งหวังจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ ปล่อยไปตามสบาย จะถึงไหนก็ใช้ได้ เป็นที่พอใจ จริยาแบบนี้ลูกรักเป็นจริยาที่ดีที่สุด เพราะพ่อเองก็เคยตกอยู่ในความหวั่นไหวมามากแล้วทำให้ยุ่งยากใจเพราะการบังคั บจิตต้องการจะให้ได้ฌานชั้นนั้นได้ฌานชั้นนี้ .. ..แต่ในที่สุดแทนที่มันจะดี มันก็กลับเลวสู้การปล่อยอารมณ์ใจสบายไม่ได้ การทรงสมาธิหรือพิจารณากรรมฐานในด้านสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาอย่างใดอย่าง หนึ่งก็ดี ถ้าจิตเราปล่อยไปตามสบาย มันจะถึงฌานไหนก็ช่าง เมื่อถึงไหนพอใจแค่นั้น อย่างนี้ถูก อารมณ์ฌานและวิปัสสนาญานที่เข้าถึงใจ จะมีการทรงตัวและในที่สุดก็จะสามารถตัดกิเลสสมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้อย่างเด็ดขาดกิเลสไม่กำเริบ เรียกว่ามีอารมณ์จิตเข้าถึงพระนิพพานได้แน่นอน วิธีปฏิบัติแบบนี้ลูกรักต้องพยายามปฏิบัติให้มาก คำว่ามากก็หมายความว่า การเว้นจากการงาน เมื่อยามว่าง ไม่ควรจะให้โอกาสปล่อยไป ฉะนั้นการปฏิบัติ ขอบรรดาลูกรักทั้งหลาย จงพยายามปฏิบัติเอาอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลูกรักทั้งหลายจงจำไว้ว่า ความดีเกิดขึ้นกับเรามากคนเขาก็รักเรามาก แต่ถ้าความดีเกิดขึ้นกับเราน้อย คนเขาก็รักเราน้อย เมื่อคนรักน้อย คนเกลียดมาก เราก็มีความทุกข์กายทุกข์ใจมากกว่าความสุข เดินไปพบคนที่เรารัก หรือเขารักเรา เราก็ยิ้มแย้มแจ่มใสมีความชื่นบาน แต่ถ้าไปพบคนที่เกลียดเราเมื่อไร เมื่อนั้นแหละความกลุ้มใจ กำเริบใจมันก็เกิดขึ้น เราจะหาความสุขไม่ได้ ..

(http://www.dannipparn.net/web/mini/ministory27.jpg)

.ขณะที่พ่อนอนป่วยอยู่ที่บ้านพักชายทะเลจังหวัดระยอง พ่อยืนมองดูคลื่นในทะเลที่พัดเข้ามาหาฝั่งแล้วก็สลายตัวไป แล้วพ่อก็มองดูตัวของพ่อเอง ว่าตัวของพ่อก็ไม่ต่างอะไรกับคลื่นในทะเล มันเกิดขึ้น มันก็สลายไป เกิดขึ้นแล้วก็สลายไป ที่ยังมีคลื่นอยู่ ก็เพราะยังมีลม ถ้าลมหมดเมื่อไร คลื่นก็หมดเมื่อนั้น เหมือนกับชีวิตของพ่อเช่นเดียวกัน มันจะหนุ่ม มันจะแก่ มันจะขาว มันจะดำ ก็เป็นเรื่องของลมหายใจ ลมมันสร้างให้เกิดขึ้น ถ้าลมหมดเมื่อไร พ่อก็ตายเมื่อนั้น เช่นเดียวกับคลื่นในทะเล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสบอกกับพ่อว่า เรื่องคลื่นนี่ผมก็ชอบ เพราะว่าชอบดูคลื่น การที่ชอบคลื่นและพิจารณาคลื่นเป็นกรรมฐาน ก็เพราะอาศัยชอบเล่นเรือใบ และก็ทรงวินิจฉัยต่อไปว่า เห็นคลื่นที่มากระทบฝั่ง คลื่นมันเกิดแต่ละลูก ไม่ใช่คลื่นลูกเก่า มันเป็นคลื่นลูกใหม่ ขึ้นทดแทนซึ่งกันและกัน ในที่สุดมันก็มากระทบฝั่งหายไป และน้ำอาจจะกระเพื่อมขึ้นมาใหม่กลายเป็นคลื่นลูกใหม่ ก็มาเทียบกับอารมณ์จิตของพระองค์ว่า ร่างกายมันก็ทรงอยู่ได้คล้ายกับคลื่นในทะเล คลื่นในทะเล ถ้าลมยังมีอยู่เพียงใดคลื่นก็จะมีอยู่เพียงนั้นถ้าลมหมดเมื่อไรคลื่นก็หายเห มือนกับร่างกายของเราถ้าหมดลมเสียเมื่อไรก็ชื่อว่าตาย เห็นไหมลูกรัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นทุกอย่างเป็นกรรมฐาน ที่พ่อเคยบอกลูกว่า จงดูทุกอย่างให้เป็นสมถะและวิปัสสนา จิตใจจะได้ตัดกิเลสง่าย อีกตอนหนึ่งพระองค์ตรัสว่า ที่หลวงพ่อบอกว่าร่างกายมันกรอบเต็มที ถ้าหมดภารกิจคือลูกหลายมีกำลังใจใหญ่ พอจะคุ้มตัวได้ ก็จะขอวางภาระ ตรัสต่อไปว่า กระผมเห็นว่าคงจะไม่มีใครทรงตัวได้แน่นอน มั่นคง แม้แต่กระผมเองก็เหมือนกัน ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าดี ฉะนั้น ผมอยากจะขออาราธนาหลวงพ่อให้อยู่ต่อไป พ่อได้กราบทูลว่า เรื่องขันธ์ ๕ พ่อยึดถือไม่ได้ เพราะอะไร ๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องของพ่อ ขันธ์ ๕ มันจะเกิด ขันธ์ ๕ มันจะพังมันก็เป็นเรื่องของขันธ์ ๕ แต่ที่พยายามรวบรวมกำลังใจให้อยู่เช่นนี้ ก็เพราะห่วงลูกห่วงหลาน เพราะลูกหลานของพ่อดีทุกคน ..

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสปรารภถึงเรื่องที่เกิดขึ้นที่เม ืองยะลาในเดือนกันยายน ขณะที่พระองค์เสด็จเยี่ยมประชากรของพระองค์ที่จังหวัดยะลาปรากฏว่ามีเสียงระ เบิดดังขึ้น ๒ ครั้ง แต่ความจริงพ่อได้ยินข่าว พ่อก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่าในใจส่วนหนึ่งยังอดที่จะสงสารพระองค์ไม่ได้ เพราะว่าพระองค์ทรงกระทำทุกอย่างเพื่อความสันติสุขของปวงชนชาวไทยทั้งชาติ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เสียสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ มีน้ำพระราชหฤทัยหวังอยู่อย่างเดียวว่า ทำอย่างไรคนไทยทั้งชาติจึงจะมีความสุข และถ้าสิ่งนั้นไม่เกินความสามารถของพระองค์แล้ว พระองค์ทรงทำทุกอย่างรวมความแล้วพระองค์เป็นผู้ให้ไม่ใช่ผู้รับ พระองค์จึงได้ปรารภว่า วันนั้นพอได้ยินเสียงระเบิดครั้งแรกเห็นคนเขาวิ่งวุ่นขวักไขว่ไปมา ก็มีความรู้สึกว่าเสียงระเบิด มันระเบิดไปแล้วก็เป็นอดีต อย่างนี้ตามภาษาบาลีเขาเรียกว่า อดีตใกล้ปัจจุบัน ถ้าเราจะเอาจิตไปคิดห่วงใยเรื่องราวในอดีต งานในปัจจุบันของเราก็ไม่เป็นผล ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงวางอารมณ์เฉยเป็นอุเบกขา ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเกิดแล้วก็แล้วกันไป เวลานี้มีหน้าที่ที่จะทำงานในปัจจุบันก็ทำ ทำไปจนกว่าจะเสร็จ และหลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงให้โอวาทแก่ลูกเสือชาวบ้าน ทรงปรารภว่าวันนั้นพูดยาวหน่อย เพราะเป็นการดับกำลังใจในความตื่นเต้นของประชาชนและลูกเสือทั้งหลาย ..หลังจากให้โอวาทเสร็จ จะต้องเสด็จไปเยี่ยมประชาชน ก็ทรงดำริว่า ถ้าขณะที่ไปเสียงระเบิดมันระเบิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จะเป็นอย่างไร ความจริงระเบิดที่ระเบิดขึ้นมานั้น ไกลจากที่ประทับ ลูกหนึ่ง ๕๐ เมตร อีกลูกหนึ่ง ๑๐๐ เมตร แต่ว่าถ้าพระองค์เสด็จไปเยี่ยมประชากรของพระองค์ ระเบิดทั้งสองจุดจะไกลจากพระบาทเพียง ๗ เมตรเท่านั้น พ่อทราบจากเจ้าหน้าที่ผู้มีความชำนาญในระเบิดแสวงผลประเภทนี้มีรัศมีทำการถึ ง ๒๐ เมตรที่ได้ผลและขอลูกทุกคนก็จงศึกษาไว้ว่าระเบิดแบนนี้เขาทำไว้ เขาวางไว้ หรือเขาหมกไว้ ในที่ไม่น่าจะสงสัย เขาจะมีวัตถุชิ้นหนึ่งเป็นเครื่องล่อตา เช่น ไม้ขีดจุดไฟแช็ค หรือว่าปืน หรือของที่น่ารักวางไว้ แต่มีสายล่ามไว้ ถ้าบังเอิญใครมีความสนใจในวัตถุนั้นหยิบขึ้นมา สายเชือกที่ผูกกับชนวนจะกระตุกระเบิด ระเบิดก็จะเกิดระเบิดทันที เรื่องนี้ลูกทั้งหลายก็ควรระวังไว้ เพราะว่าอันตรายมันจะเกิดมีเพราะสิ่งที่เรารัก ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยัง ความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้นจากความรัก ภัยอันตรายเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความรักเป็นเหตุ นี่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสอย่างนี้ตรง ฉะนั้น ขอลูกทั้งหลายจงจำไว้ ระมัดระวังเรื่องนี้ให้มาก แต่ถ้าบังเอิญวิบากกรรมให้ผล ก็จะเป็นปัจจัยให้เราลืมได้เหมือนกัน ในตอนที่สอง พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัย ว่าเรื่องระเบิดที่จะระเบิดขึ้นมาภายหลัง มันเป็นเรื่องของอนาคต ถ้าเอาจิตใจไปยุ่งกับอนาคตเข้าแล้ว งานปัจจุบันมันจะเสีย เป็นอันว่า น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความมั่นคงในอุเบกขารมณ์ มีความมั่นในธรรม คนที่จิตมั่นในธรรมจริง ๆ มีความกล้าพอที่จะเอาชีวิตเข้าแลกกับความดีได้..




ฉะนั้น ขอบรรดาลูกรักทั้งหลายจงจำพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ และจงพยายามกระทำน้ำใจของลูกให้เหมือนกับน้ำพระทัยของพระองค์ คือว่า จงเห็นว่าชีวิตมีความหมายน้อยกว่าความดี เราเกิดมาแล้วคราวนี้ เราก็ต้องตาย ไหน ๆ จะตาย ขอให้เราตายอยู่กับความดีเท่านี้เป็นพอ และถ้าความดีนี้เป็นความดีสูงสุดลูกรักทั้งหมดของพ่อก็จะไปพระนิพพานได้ เป็นอันว่าพ่อเห็นน้ำพระทัยในความเมตตาปรานีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว ่าพระองค์ทรงปฏิบัติตามธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ในด้านพรหมวิหาร ๔ ได้อย่างครบถ้วน เห็นหรือยังลูกรัก ถ้าเห็นแล้วก็จำไว้ ทำอย่างพระองค์ ความดีไม่หนีเราไปไหน ในเมื่อเราทำความดี ใครเขาจะหาว่า เราชั่ว เราเลว ก็ช่างเขา จงจำวาจาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า นินทา ปสังสา ขึ้นชื่อว่านินทาและสรรเสริญเป็นธรรมดาของโลก ไม่มีใครจะหนีการนินทา ไม่มีใครจะหนีการสรรเสริญได้ ถ้าลูกไปรับมันเมื่อไรลูกก็จะมีแต่ความทุกข์ใจเท่านั้น ..อีกตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสกับพ่อว่า ท่านหญิงวิภาวดีมีความห่วงใยในพระองค์มาก เพราะว่ามาเตือนอยู่เสมอ ขณะที่พระองค์ตรัส รู้สึกว่าเหลียวซ้ายแลขวา และก็ตรัสอีกว่า เวลานี้หายไป การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่า ท่านหญิงวิภาวดีมาเยี่ยมอยู่เสมอ และก็ตักเตือนเสมอ จุดนี้ขอบรรดาลูกรักจงจำให้ดี ว่าความรู้สึกอย่างนี้จะมีขึ้นมาได้ นั่นก็คือ บุคคลผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม จะต้องมีอารมณ์เข้าถึงทิพจักขุญาณ คือมีอารมณ์เป็นทิพย์ มีความรู้สึกทางใจคล้ายกับตาทิพย์ ในเมื่อท่านได้ทิพจักขุญาณ ท่านก็มีโอกาสรับสัมผัสได้ นี่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภารกิจมาก เรื่องของพระองค์มีเรื่องกวนทั้งกายและก็ใจ อย่างที่บรรดาลูก ๆ ทั้งหลายจะไม่มีโอกาสประสบการรบกวนอย่างพระองค์เลย กลางวันก็ไม่ได้พักกลางคืนก็ไม่ได้พัก มีเวลาพักอยู่นิดเดียวพระองค์ทรงทำพระกรรมฐาน และก็ทรงทำได้ดี บุคคลประเภทนี้ ลูกควรจะลอกแบบเข้าไว้ การเลียนแบบ การลอกแบบ “การปฏิบัติตามท่านในด้านของความดีไม่ใช่ความเสีย เป็นผลกำไรที่เราไม่ต้องรื้อฟื้นเอง” ความจริงท่านหญิง วิภาวดี รังสิต นี่เป็นลูกศิษย์เจริญพระกรรมฐานกับอาตมาเป็นเวลา ๘ เดือน หลังจากที่ท่านมาเรียนพระกรรมฐานด้วยสัก ๗ วัน ไม่ใช่มานอนปฏิบัติด้วยนะ ไม่ใช่เกาะครูนะเป็นแต่เพียงมาศึกษาพอเข้าใจแล้วก็กลับไปปฏิบัติเอง ๗ วัน ผ่านไป ก็ปรากฏว่าท่านได้ธรรมปีติเป็นกรณีพิเศษ เป็นอุเพ็งคาปีติ และสามารถควบคุมสมาธิได้ตามเวลาที่ต้องการ แล้วต่อมาท่านก็ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบทูลอาการนี้ให้ทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านหญิงต้องไปขอหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานมาให้ฉันเล่มห นึ่งจากหลวงพ่อ ไม่อย่างนั้นท่านหญิงจะออกหน้าฉันไป ฉันไม่ยอม” ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต จึงมาแจ้งอาตมาทราบ อาตมาก็มอบหนังสือไปถวายแล้ว บอกกับท่านว่า “ท่านหญิงระวังจะเสียท่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพราะว่าพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงได้พระกรรมฐานมาตั้งแต่เด็ก ถ้าท่านหญิงสงสัยละก็ไปสอบถามท่านว่า เมื่ออายุประมาณ ๗–๘ ปี ไม่เกิน ๑๒ ปี ท่านเคยเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานจนกระทั่งเห็นแสง มีอารมณ์จิตแน่นสนิทเป็นสมาธิดี ท่านได้มาตั้งแต่ตอนนั้นจนปัจจุบันท่านก็ไม่ได้ละ เวลานี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกำลังสมาธิสูงมาก สามารถเข้าฌานออกฌานได้ตลอดเวลา และยิ่งกว่านั้น ยังสามารถฝึกสมาธิเป็นพิเศษเป็นกีฬาสมาธิ บางส่วนได้ด้วย” เมื่อท่านหญิงวิภาวดี รังสิต ได้รับทราบ เมื่อเอาหนังสือไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทูลถาม ท่านก็ทรงรับว่าเป็นความจริง หลังจากนั้นมา ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต ท่านก็เจริญพระกรรมฐานวิปัสสนาญาณ พระกรรมฐานนี่มี ๒ อย่าง คือ สมถภาวนาด้านสมาธิจิต ซึ่งต้องควบคู่กับวิปัสสนาญาณ ถ้าฝึกเฉพาะสมถภาวนาประเดี๋ยวมันก็พัง ถ้าไม่ฝึกควบคู่กับวิปัสสนาญาณ แล้วก็เอาดีไม่ได้เมื่อสมาธิดี เข้มข้นดี วิปัสสนาญาณยังอ่อน ตอนหลังก็พยายามฝึกควบวิปัสสนาญาณให้มีความเข้มแข็งเท่าสมาธิจิต ........

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก

http://seedang.com/stories/54310